การจัดส่งล่าช้าและขาดแคลนสินค้าในร้านค้าปลีก สืบเนื่องจากผลกระทบจากนโยบายกระทรวงคมนาคมของญี่ปุ่น ปี 2024 ซึ่งเกิดจากปัญหาการจำกัดชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาสำหรับคนขับรถบรรทุกทำให้จำนวนคนขับรถไม่เพียงพอ เริ่มได้รับผลกระทบมากขึ้น โดยเฉพาะการจัดส่งสินค้าจากระยะไกลที่ล่าช้า นอกจากนี้ เครือข่ายการขนส่งที่ผ่านเมืองบริโภคหลักอย่างโตเกียวและโอซาก้าเริ่มมีปริมาณขนส่งลดลง
ห้างซุปเปอร์มาร์เก็ต Viva City Heiwado เคยยึดติดกับการใช้มะเขือเทศและบรอกโคลีจาก Hokkaido แต่ตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิ (เมษายน) เป็นต้นมาก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไปมากขึ้น บรอกโคลี ปัจจุบันรับจากแหล่งผลิตจังหวัด Nagano ที่มีระยะทางที่อยู่ใกล้กว่า Hokkaido
ปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นในปี 2024 อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงนี้ คือ ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และปลา สามารถแช่เย็นแช่แข็งและขนส่งได้ แต่ผลไม้และผักสดทำได้ยากขึ้น ความสดใหม่เป็นสิ่งสำคัญมาก แต่การวางจำหน่ายสินค้าภายในวันถัดจากการเก็บเกี่ยวก็เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ซึ่งสินค้าจากภูมิภาค Tohoku (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะฮอนชู) ปลายทางการขนส่งมักจะสิ้นสุดที่ตลาดโตเกียว ซึ่งจำนวนการจัดส่งจากแหล่งผลิตลดลง และบางสินค้าที่เคยจัดส่ง 5 วันต่อสัปดาห์ ตอนนี้ลดลงเหลือ 3 วัน โดยมีการรวบรวมสินค้าจากแหล่งผลิตกันมากขึ้น และส่งผ่านตลาดกลางแทนที่จะส่งตรงจากแหล่งผลิต มีบางกรณีที่การจัดส่งล่าช้ากว่าปกติหนึ่งวันหรือนานกว่านั้น
มีรายงานว่าการจัดส่งสินค้าในสภาพที่ความสดใหม่ลดลง ก็มีให้เห็นมากขึ้น พื้นที่ที่เคยมีการจัดส่งสินค้าต้องมีการพิจารณาใหม่ โดยหันไปหาสินค้าที่คุณภาพการผลิตใกล้เคียงกับคุณภาพจากแหล่งผลิตเดิม
Heiwado เปลี่ยนแปลงนโยบายการจัดซื้อยังส่งผลต่อสินค้าประเภทอื่นๆ ด้วย ตั้งใจจะลดจำนวนสินค้าที่วางขายลง 20-30% ตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงนี้ (ตุลาคมเป็นต้นไป) โดยเน้นพิจารณาสินค้าปริมาณมาก เช่น เครื่องปรุงรส
ช่วงเวลาทำงานล่วงเวลาของคนขับรถบรรทุกขนส่งสินค้าตั้งแต่เดือนเมษายนลดลงเหลือ 960 ชั่วโมงต่อปี กรณีที่คนขับรถบรรทุกย้ายไปทำงานอื่นที่รายได้สูงกว่าก็มีเพิ่มขึ้นด้วย ทำให้ขาดแคลนคนขับรถบรรทุกมากขึ้น มีบริษัทค้าปลีกหลายแห่งกล่าวว่า “บริษัทขนส่งหลายแห่งก็ถอนตัวจากการจัดส่งให้กับร้านค้า” ซึ่งทำให้ความเสี่ยงในการขาดแคลนสินค้าสูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าที่ต้องควบคุมอุณหภูมิ สำหรับสินค้าการนำเข้า เช่น กล้วย จำนวนรถบรรทุกที่รับสินค้าจากท่าเรือลดลง ทำให้เกิดการล่าช้าในกำหนดวันส่ง สินค้าบางอย่างก็เสียหายจากการที่ความสดใหม่ที่ลดลง
Nomura Research Institute คาดการณ์ว่าในปี 2025 จะมีการขนส่งสินค้าได้เพียง 28% ของทั้งหมด และในปี 2030 จะลดลงเหลือเพียง 36% ในพื้นที่ชนบทจะมีความรุนแรงมากกว่าในเมือง การเข้าถึงสินค้าจากภูมิภาค Tohoku ใน Kansai (ภาคกลางตอนใต้ของเกาะฮอนชู) จะยากขึ้น และอาหารสดจาก ภูมิภาคชูโกกุ (Chugoku) ตั้งอยู่ทางตะวันตกสุดของเกาะฮอนชู ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น และ คิวชู (Kyushu) ตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของเกาะหลักทั้งสี่ของญี่ปุ่น ก็จะเข้าถึง Tokyo ได้ยากขึ้นเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงในระบบการขนส่งทำให้การบริโภคในญี่ปุ่นอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน โดยปัจจัยอุปสรรคการขนส่งผลไม้สดในญี่ปุ่นมีความท้าทายหลายประการที่ต้องพิจารณา เช่น
การรักษาคุณภาพ : ผลไม้สดต้องถูกเก็บรักษาในสภาพที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเน่าเสีย การควบคุมอุณหภูมิและความชื้นเป็นสิ่งสำคัญมาก
การกักกันพืช : ญี่ปุ่นมีกฎระเบียบที่เข้มงวดเกี่ยวกับผักผลไม้สดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของแมลงศัตรูพืชและโรคพืช
การขนส่ง : การขนส่งผลไม้สดต้องใช้เวลาและการจัดการที่ดีเพื่อให้ผลไม้ถึงมือผู้บริโภคในสภาพที่ดีที่สุด
ต้นทุน : การขนส่งผลไม้สดมีต้นทุนสูงเนื่องจากต้องใช้เทคโนโลยีและการจัดการที่ซับซ้อน
บทวิเคราะห์ (ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย)
การขนส่งในประเทศญี่ปุ่นที่มีปัญหาอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าจากไทย ตามที่กระทรวงคมนาคมของญี่ปุ่น รายงานปริมาณการขนส่งภายในประเทศญี่ปุ่นมีจำนวน 38 ล้านตัน โดย 90% ของทั้งหมดเป็นการขนส่งด้วยรถบรรทุก การจำกัดชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาสำหรับคนขับรถบรรทุกทำให้การขนส่งมีข้อจำกัดมากขึ้น ในบทความได้กล่าวถึงความล่าช้าในการนำเข้ากล้วยสดทำให้เกิดการเสียหายจากความสดใหม่ ข้อมูลการค้าแสดงให้เห็นว่าไทยส่งออกผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้จำนวน 53,699 ตัน คิดเป็น 111.45 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2023 การลดจำนวนสินค้าจัดการอาหารแปรรูปอาจส่งผลกระทบต่อสินค้าเหล่านี้เช่นกัน
ข่าวเด่นประจำสัปดาห์
ฉบับที่ 44 ประจำวันที่ 27 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม 2567 -DITP
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
อ้างอิงจาก
หนังสือพิมพ์ Nikkei MJ ฉบับวันที่ 31 กรกฎาคม 2567