- อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจ (GDP Growth)
สำนักงานวิเคราะห์เศรษฐกิจสหรัฐฯ (U.S. Bureau of Economic Analysis) กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ (U.S. Department of Commerce) รายงานมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติแท้จริง (Real GDP) สหรัฐฯ ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 และมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติไตรมาสที่ 2 ปี 2567ประมาณการครั้งที่ 2 (Second Estimate) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 (ประมาณการล่วงหน้าอัตราร้อยละ 2.8)
แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 เป็นผลมาจากการขยายตัวของการใช้จ่ายภาคประชาชน การลงทุนคงคลังภาคเอกชน และการลงทุนถาวรที่ไม่ใช่สำหรับที่อยู่อาศัย ในขณะที่การขยายตัวของมูลค่าการนำเข้ามีส่วนส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติสหรัฐฯ ในช่วงดังกล่าว
สถิติอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจสหรัฐฯ ปี 2562 – 2567
ที่มา: Bureau of Economic Analysis, U.S. Department of Commerce
- อัตราการว่างงาน
สำนักงานสถิติแรงงาน (Bureau of Labor Statistics) กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ (U.S. Department of Labor) รายงานอัตราการว่างงานสหรัฐฯ ประจำเดือนกรกฎาคม 2567 (ข้อมูลล่าสุด) ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมาเป็นร้อยละ 4.6 (ปรับตัวสูงขึ้นมาโดยตลอดในช่วงไตรมาสที่ 2) โดยมีจำนวนผู้ว่างงานในระบบเศรษฐกิจทั้งสิ้น 5.9 ล้านคน
ทั้งนี้ สหรัฐฯ มีการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Nonfarm Payroll Employment) ในช่วงดังกล่าวเพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 114,000 ตำแหน่ง (ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาที่ 215,000 ตำแหน่งต่อเดือน)
- กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมบริการด้านสุขภาพ 55,000 ตำแหน่ง อุตสาหกรรมก่อสร้าง 25,000 ตำแหน่ง อุตสาหกรรมการโรงแรมและการท่องเที่ยว 23,000 ตำแหน่ง อุตสาหกรรมการจ้างงานภาครัฐ 17,000 ตำแหน่ง อุตสาหกรรมการขนส่งและคงคลังสินค้า 14,000 ตำแหน่ง และอุตสาหกรรมสังคมสงเคราะห์ 9,000 ตำแหน่ง อุตสาหกรรมค้าส่ง 4,300 ตำแหน่ง และอุตสาหกรรมค้าปลีก 4,000 ตำแหน่ง
- กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมสารสนเทศ 20,000 ตำแหน่ง และอุตสาหกรรมบริการอื่นๆ 5,000 ตำแหน่ง และอุตสาหกรรมการเงิน 4,000 ตำแหน่ง
- ส่วนการจ้างงานในอุตสาหกรรมเหมืองแร่และขุดเจาะพลังงาน อุตสาหกรรมการผลิต และอุตสาหกรรมบริการทางธุรกิจไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
สถิติอัตราการว่างงานสหรัฐฯ ย้อนหลัง 12 เดือน
ที่มา: Bureau of Labor Statistics, U.S. Department of Labor
- ภาวะเงินเฟ้อ (Consumer Price Index: CPI)
สำนักงานสถิติแรงงาน (Bureau of Labor Statistics) กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ (U.S. Department of Labor) รายงานภาวะเงินเฟ้อสหรัฐฯ ประจำเดือนกรกฏาคม 2567 (ข้อมูลล่าสุด) ปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมาเหลือร้อยละ 2.9 (ไม่ปรับฤดูกาล หรือ Not Seasonally Adjusted)
โดยในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาราคาสินค้าไม่ปรับฤดูกาล (Not Seasonally Adjusted) กลุ่มสินค้าอื่นๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 กลุ่มสินค้าอาหารปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 และกลุ่มสินค้าพลังงานปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 รายละเอียด ดังนี้
3.1 กลุ่มสินค้าอาหาร ได้แก่ เนื้อสัตว์และไข่ (+ร้อยละ 3.0) เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (+ร้อยละ 1.9) ซีเรียลและเบเกอรี (ไม่เปลี่ยนแปลง) ผลิตภัณฑ์จากนม (-ร้อยละ 0.2) และผักและผลไม้สด (-ร้อยละ 0.2)
3.2 กลุ่มสินค้าพลังงาน ได้แก่ ไฟฟ้า (+ร้อยละ 4.9) ก๊าซธรรมชาติ (+ร้อยละ 1.5) และน้ำมันเชื้อเพลิง (-ร้อยละ 0.3)
3.3 กลุ่มสินค้าและบริการอื่น ได้แก่ บริการขนส่ง (+ร้อยละ 8.8) บุหรี่และยาสูบ (+ร้อยละ 7.9) ที่พักอาศัย (+ร้อยละ 5.1) วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ (+ร้อยละ 2.8) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (+ร้อยละ 1.9) เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม (+ร้อยละ 0.2) รถยนต์ใหม่ (-ร้อยละ 1.0) บัตรโดยสารเครื่องบิน (-ร้อยละ 2.8) และรถยนต์มือสอง (Used Cars) (-ร้อยละ 10.9)
สถิติอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ย้อนหลัง 12 เดือน
ที่มา: Bureau of Labor Statistics, U.S. Department of Labor
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Index: CCI)
The Conference Board (CB) รายงานผู้บริโภคชาวอเมริกันมีความเชื่อมั่นต่อสภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ดีขึ้นพอสมควรในเดือนสิงหาคม 2567 โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Index) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดิม 101.9 ในเดือนกรกฏาคม 2567 (ปีฐาน: ปี 2528 = 100) เป็น 103.3 ในเดือนสิงหาคม 2567 ดัชนีความเชื่อมั่นในภาวะปัจจุบัน (Present Situation Index) ที่วัดแนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจและการจ้างงานในปัจจุบันปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดิม 133.1 ในเดือนกรกฏาคม 2567 เป็น 134.4 ในเดือนสิงหาคม 2567 และดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภค (Expectations Index) ซึ่งวัดจากมุมมองของผู้บริโภคต่อสถานการณ์ทางด้านรายได้ การดำเนินกิจการ และการจ้างงานในตลาดแรงงานในระยะสั้นปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดิม 81.1 ในเดือนกรกฏาคม 2567 เป็น 82.5 ในเดือนสิงหาคม 2567 (ทั้งนี้ ดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภคในระดับต่ำกว่า 80.0 เป็นสัญญาณแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ภายในระยะเวลา 12 เดือนข้างหน้า)
ในช่วงสองปีที่ผ่านมาความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวอเมริกันในตลาดปรับตัวดีขึ้นในกรอบแคบๆ ผู้บริโภคเชื่อมั่นต่อสภาวะด้านเศรษฐกิจการค้าดีขึ้นในขณะที่ยังคงมีความกังวลต่อภาวะการจ้างงานในตลาด โดยส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยด้านตัวเลขการว่างงานในตลาดที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังมีความเชื่อมั่นว่าภาวะการจ้างงานและแนวโน้มรายได้จะปรับตัวดีขึ้นในอนาคต
ที่มา: The Conference Board
- ภาวะการค้าปลีกของสหรัฐฯ
สำนักงานสถิติสหรัฐฯ (U.S. Census Bureau) กระทรวงพาณิชย์ สหรัฐฯ รายงานภาวะการค้าปลีกและ การบริการด้านอาหารประจำเดือนล่วงหน้า (Advance Monthly Sales for Retail and Food Services) สหรัฐฯ ประจำเดือนกรกฏาคม 2567 (ข้อมูลล่าสุด) สามารถสรุปได้ ดังนี้
- มูลค่าการค้าปลีกสินค้าและการบริการด้านอาหาร (Retail & Food Services) ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.0 เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 709,668 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- มูลค่าการค้าปลีก (Retail Trade Sales) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 615,001 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- มูลค่าการค้าปลีกไม่ผ่านร้านค้า (Nonstore Retailers) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 122,671 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
กลุ่มสินค้าและบริการที่มียอดค้าปลีกขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สินค้ารถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ (+ร้อยละ 3.6) สินค้าครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ (+ร้อยละ 1.6) สินค้าวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง (+ร้อยละ 0.9) สินค้าอาหารและเครื่องดื่ม (+ร้อยละ 0.9) สินค้าเพื่อสุขภาพและสุขอนามัยส่วนบุคคล (+ร้อยละ 0.8) สินค้าเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน (+ร้อยละ 0.5) สินค้าปลีกทั่วไป (+ร้อยละ 0.5) การบริการร้านอาหารและเครื่องดื่ม (+ร้อยละ 0.3) และสินค้าน้ำมันเชื้อเพลิง (+ร้อยละ 0.1) ตามลำดับ
กลุ่มสินค้าและบริการที่มียอดค้าปลีกหดตัวลง ได้แก่ สินค้าปลีกผ่านช่องทางร้านค้าอื่นๆ (-ร้อยละ 2.5) สินค้าอุปกรณ์กีฬา (-ร้อยละ 0.7) และสินค้าเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม (-ร้อยละ 0.1) ตามลำดับ
ที่มา: U.S. Census Bureau, U.S. Department of Commerce
- ภาวะการค้าระหว่างประเทศ
สำนักงานสถิติสหรัฐฯ (U.S. Census Bureau) กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานสถิติดุลการค้า (ส่งออก – นำเข้า) สหรัฐฯ ประจำเดือนมิถุนายน 2567 (ข้อมูลล่าสุด) สรุปได้ ดังนี้
สหรัฐฯ ขาดดุลการค้า ในเดือนมิถุนายน 2567 สุทธิทั้งสิ้น 73,109 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 1,897 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือลดลงร้อยละ 2.53 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา
สหรัฐฯ มีมูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการในเดือนมิถุนายน 2567 เป็นมูลค่า 265,938 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3,932 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.50 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา แบ่งเป็น
- การส่งออกสินค้าเป็นมูลค่า 174,242 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 4,360 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 57 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา
- การส่งออกบริการเป็นมูลค่า 91,697 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 427 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือลดลงร้อยละ 46 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา
โดยกลุ่มสินค้าและบริการที่สหรัฐฯ มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องบินโดยสาร ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันเชื้อเพลิง และปิโตรเคมีภัณฑ์ เป็นต้น
สหรัฐฯ มีมูลค่าการนำเข้าสินค้าและบริการในเดือนมิถุนายน 2567 เป็นมูลค่า 339,047 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 2,035 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.60 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา แบ่งเป็น
- การนำเข้าสินค้าเป็นมูลค่า 271,594 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 1,869 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 69 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา
- การนำเข้าบริการเป็นมูลค่า 67,453 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 166 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.25 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา
โดยกลุ่มสินค้าและบริการที่สหรัฐฯ มีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เวชภัณฑ์ ชิ้นส่วนกึ่งตัวนำไฟฟ้า อุปกรณ์โทรคมนาคม อุปกรณ์ไฟฟ้า การบริการด้านการท่องเที่ยว และการบริการซ่อมบำรุง เป็นต้น
ที่มา: U.S. Census Bureau, U.S. Department of Commerce
- ภาวะการค้าระหว่าง สหรัฐฯ – ไทย
ในเดือนมิถุนายน 2567 (ข้อมูลล่าสุด) สหรัฐฯ และไทยมีมูลค่าการค้าสุทธิทั้งสิ้น 6,635.74 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 17) เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.63 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา โดยสหรัฐฯ มีดุลการค้า ขาดดุล ไทยเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3,649.08 ล้านดอลลาร์สหรัฐลดลงร้อยละ 0.96 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา
- สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 5,142.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 13) เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.57 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา โดยสินค้าหลักนำเข้าจากไทย ได้แก่ อุปกรณ์โทรศัพท์ (HS Code 8517) เพิ่มขึ้นร้อยละ 81 เครื่องประมวลผลข้อมูล (HS Code 8471) เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.33 ชิ้นส่วนกึ่งตัวนำไฟฟ้า (HS Code 8541) ลดลงร้อยละ 13.37 ยางรถยนต์ (HS Code 4011) เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.75 และเครื่องพิมพ์ (HS Code 8473) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.04
ตารางแสดง: เปรียบเทียบมูลค่าสหรัฐฯ นำเข้าสินค้าจากไทย 10 อันดับแรกเดือนมิถุนายน 2567
- สหรัฐฯ ส่งออกไปไทย เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 1,33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 23) เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.94 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา โดยสินค้าหลักส่งออกไปไทย ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียม (HS Code 2709) ชิ้นส่วนเครื่องบิน (HS Code 8800) เพิ่มขึ้นร้อยละ 449.75 อัญมณีและหินสี (HS 7103) ลดลงร้อยละ 16.63 แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (HS Code 8542) เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.83 และก๊าซปิโตรเลียม (HS Code 2711) เพิ่มขึ้นร้อยละ 175.97
ตารางแสดง: เปรียบเทียบมูลค่าสหรัฐฯ ส่งออกสินค้าไปไทย 10 อันดับแรกเดือนมิถุนายน 2567
ที่มา: Global Trade Atlas
มูลค่าการค้าระหว่างสหรัฐฯ – ไทย (เฉพาะรัฐในเขตพื้นที่อาณาดูแลของ สคต. ชิคาโก)
ในเดือนมิถุนายน 2567 สหรัฐฯ และไทย มีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศเฉพาะในเขตพื้นที่อาณาดูแลของ สคต. ชิคาโก เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 1,525.71 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.74 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา โดยรัฐในเขตพื้นที่ดูแลมีมูลค่าการนำเข้าจากไทยทั้งสิ้น 1,094.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.59 และรัฐในเขตพื้นที่อาณาดูแลมีมูลค่าการส่งออกไปไทยทั้งสิ้น 431.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.09 โดยรวมรัฐในเขตพื้นที่อาณาดูแลมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ ขาดดุล ไทยทั้งสิ้น 663.13 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 5.45 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา
- รัฐที่นำเข้าจากไทยเป็นสัดส่วนสูง ได้แก่ รัฐอิลลินอยส์ (ร้อยละ 36.88) รัฐเคนทักกี (ร้อยละ 18.60) รัฐโอไฮโอ (ร้อยละ 11.23) รัฐอินดีแอนา (ร้อยละ 9.83) และรัฐมิชิแกน (ร้อยละ 8.00) ตามลำดับ สินค้าส่งออกสำคัญของไทยในรัฐเขตพื้นที่อาณาดูแล ได้แก่ จุกและฝาโลหะ (HS Code 8309) ร้อยละ 31 เครื่องพิมพ์ (HS Code 8469) ร้อยละ 18.05 วัสดุก่อสร้างพลาสติก (HS Code 3925) ร้อยละ 7.96 คอนเทนเนอร์ (HS Code 8609) ร้อยละ 4.47 นิกเกิลแผ่น (HS Code 7506) ร้อยละ 2.53 อุปกรณ์สำนักงาน (HS Code 8472) ร้อยละ 2.28 อุปกรณ์ทางการแพทย์ (HS Code 9018) ร้อยละ 2.25 เรดาร์ (HS Code 8526) ร้อยละ 1.19 เครื่องรับสัญญาณวิทยุ (HS Code 8527) ร้อยละ 1.19 และเลนส์ (HS Code 9002) ร้อยละ 1.06 ตามลำดับ
- รัฐที่ส่งออกไปไทยเป็นสัดส่วนสูง ได้แก่ รัฐลุยเซียนา (ร้อยละ 22.07) รัฐโอไฮโอ (ร้อยละ41) รัฐมิชิแกน (ร้อยละ 16.03) รัฐอิลลินอยส์ (ร้อยละ 9.34) และรัฐแคนซัส (ร้อยละ 9.25) ตามลำดับ สินค้านำเข้าสำคัญของไทยจากรัฐในเขตพื้นที่อาณาดูแล ได้แก่ เศษกากโลหะ (HS Code 2619) ร้อยละ 20.21 พิตช์โค้ก (HS Code 2708) ร้อยละ 12.52 จุกและฝาโลหะ (HS Code 8309) ร้อยละ 9.19 น้ำมันและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ (HS Code 2707) ร้อยละ 7.69 แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (HS Code 8542) ร้อยละ 3.78 นิกเกิลแผ่น (HS Code 7506) ร้อยละ 1.46 อุปกรณ์ทางการแพทย์ (HS Code 9018) ร้อยละ 1.38 ไฮไดรด์ ไนไตรด์ อะไซด์ ซิลิไซด์ และบอไรด์ (HS Code 9018) ร้อยละ 1.32 รถเข็นผู้พิการ (HS Code 8713) ร้อยละ 1.27 และเครื่องเซ็นตริฟิวจ์ (HS Code 8421) ร้อยละ 1.06ตามลำดับ
สถิติการค้าสหรัฐฯ – ไทย (เฉพาะรัฐในเขตพื้นที่ดูแลของ สคต. ชิคาโก)
ที่มา: U.S. Census Bureau, U.S. Department of Commerce
******************************
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครชิคาโก