การค้าระหว่างประเทศของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 6 เดือนแรก ปี 2567 ขยายตัว 11.2%

สำนักข่าว WAM ของรัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์หรือยูเออีรายงานผลการค้าระหว่างประเทศโดย H.H Sheikh Mohammed bin Rashid Al Maktoum รองประธานาธิบดี/นายกรัฐมนตรีและเจ้าผู้ปกครองรัฐดูไบกล่าวว่าภาวะการค้าระหว่างประเทศสินค้าที่ไม่รวมน้ำมันของยูเออีในช่วงครึ่งแรกปี 2567 ประสบความสําเร็จอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ทั้งที่เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ยูเออีได้กําหนดเป้าหมายทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยตั้งเป้าการส่งออกไว้ที่ 1.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี พ.ศ. 2574 ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายที่ท้าทายมากในเวลานั้น

ขณะนี้การส่งออกของยูเออีในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 มีมูลค่าเท่ากับที่เคยส่งออกทั้งปีก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปี 2562 ปัจจุบันการค้าต่างประเทศของยูเออีมีมูลค่าเกือบ 0.382 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีการส่งออกสินค้าที่ไม่รวมน้ำมันขยายตัวร้อยละ 25 ทั้งนี้ยูเออีได้กำหนดเป้าหมาย ที่จะบรรลุการค้าต่างประเทศสินค้าที่ไม่รวมน้ำมันไว้ที่ 0.818 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ นอกจากนี้  ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของ ยูเออีกับประเทศต่างๆมีความเข้มแข็งมากขึ้น เมื่อจำแนกรายตลาด การค้ากับอินเดียเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 กับทูรเคียร้อยละ 15 และอิรักเพิ่มขึ้นร้อยละ 41 ทำให้อิรักเป็นจุดหมายปลายทางอันดับต้นๆ สำหรับการส่งออกของยูเออี

แม้ว่าอัตราการเติบโตของการค้าต่างประเทศทั่วโลกจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 1.5 แต่การค้าต่างประเทศของยูเออียังคงเติบโตขึ้นร้อยละ 11.2 ต่อปี โดยในช่วงครึ่งแรกปี 2567 ยูเออีการส่งออกสินค้าไม่รวมน้ำมันไป 10 ประเทศแรกขยายตัวขึ้นร้อยละ 28.7 ในขณะที่ประเทศอื่นๆขยายตัวร้อยละ 12.6

สินค้าสำคัญที่ส่งออก ได้แก่ ทองคำ เครื่องประดับ บุหรี่ อลูมิเนียม ลวดทองแดง สิ่งพิมพ์ เงิน ผลิตภัณฑ์เหล็ก และน้ำหอม หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.6 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า สิ่งพิมพ์ เงิน ผลิตภัณฑ์เหล็ก และน้ำหอม หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.6 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า สินค้าอื่นๆที่เหลือขยายตัวร้อยละ 1

การส่งออกต่อ (Re-export) มีมูลค่า 94.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวขึ้นร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (YOY)  โดยเมื่อจำแนกรายตลาด การส่งออกต่อของยูเออีไปยังซาอุดีอาระเบีย อิรัก อินเดีย สหรัฐอเมริกา คูเวต และกาตาร์ คาซัคสถาน เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์  การส่งออกต่อไปยัง 10 อันดับประเทศที่ส่งออกต่อไปสูงสุด ขยายตัวร้อยละ 7.6 โดยมีสินค้าหลักๆ ได้แก่ โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ เพชร ชิ้นส่วนและส่วนประกอบเครื่องบิน รถยนต์ และรถยนต์ขนส่ง

ในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 มีการนำเข้าสินค้าที่ไม่รวมน้ำมันของยูเออีมีมูลค่าประมาณ             218 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.6  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565

การนำเข้านี้เป็นส่วนสำคัญของการส่งออกต่อ (re-exports) เพราะประมาณร้อยละ 70 ของสินค้าที่นำเข้าใช้สำหรับส่งออกต่อ ประเทศที่นำเข้ามูลค่าสูงสุด 10 อันดับแรกขยายตัวร้อยละ 7.2 หรือมีสัดส่วนร้อยละ 48.7 ของการนำเข้า ประเทศอื่นที่นำเข้าหรือทีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 51.3 ขยายตัว 15.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (YOY)

นโยบายส่งเสริมการส่งออกต่อ (re-exports)

เมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 รัฐบาลยูเออีประกาศเป็นวาระแห่งชาติสำหรับแผนเพื่อพัฒนาการส่งออกต่อ พ.ศ. 2570  (National Agenda for Re-Export Development 2030)  เพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกต่อ (Re-export)  ให้ขยายตัวเพิ่มเป็นสองเท่าในอีกเจ็ดปีข้างหน้า ผ่านโครงการริเริ่มและแผนงานจำนวน 24 แผน โดยจะขยายหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ ปรับปรุงขั้นตอนเพื่ออำนวยความสะดวกการส่งออกต่อ ขยายการเข้าถึงตลาดส่งออกต่อ โดยการเพิ่มความสัมพันธ์กับตลาดที่มีอยู่ผ่านข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม (CEPA) ผ่านสำนักงานตัวแทนการค้า 50 แห่งทั่วโลก เพื่อหาตลาดและผลิตภัณฑ์ใหม่ นอกจากนี้จะปรับปรุงความช่วยเหลือด้านการเงินเพื่อลดภาระผู้ส่งออกต่อ จัดหาคลังสินค้าปลอดศุลกากรสําหรับผลิตภัณฑ์บางประเภท รัฐบาลวางแผนที่จะเปิดตัวแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนเพื่อให้ง่ายต่อการนําเข้าและส่งออกบรรจุภัณฑ์และสินค้าฝากขายขนาดเล็ก รวมทั้งช่วยผู้ส่งออกในการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น

ความเห็นของ สคต. ณ เมืองดูไบ

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนาและส่งเสริมของการส่งออกและส่งออกต่อ(re-exports) ในยูเออี ได้แก่

  1. สถานที่ตั้งเชิงกลยุทธ์: อยู่บนเส้นทางการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญทำให้เป็นจุดขนถ่ายสินค้าระหว่างทวีปต่างๆ
  2. เขตปลอดอากร (Free Zone): รัฐบาลยูเออีได้จัดตั้งเขตปลอดอากรหลายแห่ง โดยเสนอสิ่งจูงใจต่างๆ เช่น การยกเว้นภาษีและขั้นตอนทางศุลกากรที่คล่องตัว ซึ่งดึงดูดธุรกิจต่างชาติให้ตั้งศูนย์กระจายสินค้าหรือคลังสินค้าเพื่อวัตถุประสงค์ในการส่งออกต่อ
  3. นโยบายที่เป็นมิตรต่อธุรกิจ: นโยบายที่เอื้อต่อธุรกิจ ปรับเปลี่ยนกฎหมายต่างๆ ลดค่าธรรมของหน่วยงานภาครัฐ ฯลฯ
  4. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน: โดยรัฐบาลได้ลงทุนอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระดับโลก เช่น ท่าเรือ สนามบิน และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการค้า
  5. การกระจายความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ: เพื่อลดการพึ่งพารายได้จากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ การค้าส่งออกต่อจึงเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของกลยุทธ์การกระจายความเสี่ยงนี้

จากปัจจัยดังกล่าวข้างต้น ยูเออีจึงยังคงเป็นหนี่งในประเทศที่มีศักยภาพ เป็นประเทศเป้าหมายของตลาดส่งออกสินค้าของไทยในภูมิภาค ทั้งนี้ จากข้อมูลการส่งออกของไทยในช่วงครึ่งแรกปี 2567  ที่ไทยส่งออกไปกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง (15 ประเทศ) มีการส่งออกไปยูเออีมูลค่าสูงสุด 1,725 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+5.27%) หรือสัดส่วนร้อยละ 30 ที่ไทยส่งออกไปภูมิภาคตะวันออกกลาง สินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกมีหลายรายการที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ ผลิตภัณฑ์ยาง ปลากระป๋อง เครื่องจักรและส่วนประกอบ โทรศัทพท์มือถือ ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม เครื่องใช้ไฟฟ้า และกระดาษ เป็นต้น ดังนั้นไทยสามารถใช้ยูเออีเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าในภูมิภาคตะวันออกกลาง  เอเชียกลางและแอฟริกาเหนือ

 

thThai