กลุ่มสหกรณ์ JA ของจังหวัดนีงาตะ ในนามกลุ่ม “กักซันคิน” (Gassan Kin) เป็นชื่อของสาเกญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียง ผลิตโดยโรงกลั่นสาเก Gassan Sake Brewery ในจังหวัดยามากาตะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นกลุ่มทรงอิทธิพลในพื้นที่ได้กำหนดราคาซื้อข้าวจากเกษตรกรระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน ตามประกาศของ JA Zennou Niigata เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2567 ข้าวโคชิฮิคาริชั้น 1 จากแหล่งผลิตทั่วไปจะมีราคาซื้อ 17,000 เยนต่อ 60 กิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3,100 เยน หรือคิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้น 22% จากปีที่แล้ว
ราคาเก็บเกี่ยวข้าวโคชิฮิคาริ (Koshihikari) จากจังหวัดนีงาตะ อาจส่งผลทั่วประเทศ โดยกลุ่มสหกรณ์ JA ของจังหวัดนีงาตะ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น จะปรับขึ้นราคาเก็บเกี่ยวข้าวใหม่ในปี 2567 สูงขึ้นอย่างมาก โดยราคาเก็บเกี่ยวข้าวโคชิฮิคาริชั้น 1 จะเพิ่มขึ้น 22% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งสะท้อนถึงการขาดแคลนข้าวในร้านค้าและต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นสำหรับเกษตรกร เนื่องจากราคาข้าวจากจังหวัดนีงาตะจะถูกใช้เป็นตัวชี้วัดราคาใหม่ของข้าวจากแหล่งผลิตทั่วประเทศก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งข้าวโคชิฮิคาริ (Koshihikari) เป็นพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมอย่างมากทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ ข้าวชนิดนี้มีลักษณะเมล็ดสั้นและกลม มีความเหนียวนุ่มและรสชาติหวานหอม ทำให้เหมาะสำหรับการทำซูชิและอาหารญี่ปุ่นอื่น ๆ

 

สาเหตุหลักที่ทำให้ราคาข้าวใหม่เพิ่มขึ้น มีอยู่สองประการ เหตุผลแรกคือ ผลผลิตที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจากอุทกภัย และจากราคาข้าวของปี 2566 ที่พุ่งสูงขึ้น เหตุผลที่สองคือ ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ ชาวนาชายวัย 70 ปีจากนีงาตะ กล่าวว่า “ต้นทุนปุ๋ยและค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจนแทบไม่เหลือกำไร” เป็นเสียงสะท้อนจากเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ โดยราคาข้าวโคชิฮิคาริจากจังหวัดนีงาตะในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 28,050 เยน ราคาสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2537 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดวิกฤติข้าวเฮเซ
จากราคาข้าวในจังหวัดนีงาตะที่สูงขึ้น คาดว่าแหล่งผลิตหลักอื่นๆ เช่น ฮอกไกโด อาคิตะ และยามางาตะ จะปรับขึ้นราคาเก็บเกี่ยวข้าวเช่นกัน ข้าวใหม่ที่เริ่มวางจำหน่ายในร้านค้าหลังเดือนกันยายนนี้ มีแนวโน้มว่าจะมีราคาสูงกว่าปกติ นอกจากนี้ ร้านค้าและซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ ก็ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนและราคาที่สูงขึ้น เช่น ข้าวบรรจุถุงขนาด 5 กิโลกรัมหมดสต็อก หรือมีการจำกัดการซื้อให้กับลูกค้าเพียงหนึ่งถุงต่อคน อุตสาหกรรมอาหารนอกบ้านอาจได้รับผลกระทบเช่นกัน เช่น เครือร้านอาหารจีน “Hidaya” กล่าวว่าการแข่งขันซื้อข้าวใหม่ในปี 2567 รุนแรงขึ้น และคาดว่าราคาข้าวจะยังคงสูงในช่วงเริ่มต้น โดยได้รับการยืนยันจากผู้จัดหาข้าวถึงปริมาณที่สามารถจัดหาได้ แต่ก็ยังกังวลเกี่ยวกับคุณภาพที่อาจลดลงและปริมาณการผลิตที่ลดลงเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนสูงขึ้น

 

บทวิเคราะห์ (ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย)
จากการที่ราคาข้าวญี่ปุ่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความต้องการที่ไม่สมดุล ทำให้ข้าวหอมมะลิไทยซึ่งเคยถูกมองว่าเป็นสินค้าราคาสูงกว่าข้าวญี่ปุ่น มีโอกาสในการแข่งขันในตลาดญี่ปุ่นมากขึ้น ในอดีตชาวญี่ปุ่นมักบริโภคข้าวไทยเฉพาะเมื่อรับประทานอาหารไทย แต่หากพฤติกรรมการบริโภคของชาวญี่ปุ่นเปลี่ยนไป อาจมีความต้องการข้าวไทยในสังคมญี่ปุ่นอาจเพิ่มขึ้นได้

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
อ้างอิงจาก
หนังสือพิมพ์ Nikkei News ฉบับวันที่ 21 สิงหาคม 2567

thThai