ผู้ค้าปลีกในประเทศได้แสดงจุดยืนคัดค้านการนำเข้าสินค้าบางประเภทผ่านท่าเรือในภาคตะวันออกของ
อินโดนีเซียแทนที่จะเป็นบนเกาะชวา ซึ่งรัฐบาลระบุว่าแผนดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อควบคุมการขนส่งสินค้า ที่ผลิตจากต่างประเทศซึ่งเป็นภัยคุกคามต่ออุตสาหกรรมในท้องถิ่น การเปลี่ยนแปลงจุดนำเข้าที่เสนอ เปลี่ยนไปนำเข้าทางท่าเรือตะวันออกจะส่งผลกระทบต่อการนำเข้าสิ่งทอ เครื่องแต่งกาย เซรามิก อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รองเท้า เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง สมาคมผู้ค้าปลีกอินโดนีเซีย (Hippindo) กล่าวว่า แม้รัฐบาลต้องการจะสนับสนุนเป้าหมายในการส่งเสริมการพัฒนาระดับภูมิภาคทั่วประเทศ แต่การเปลี่ยนจุดนำเข้าออกไปทางตะวันออก อาจไม่ใช่แนวทางแก้ไขที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการปราบปรามการนำเข้าสินค้าผิดกฎหมาย “การเปลี่ยนท่าเรือนำเข้านี้อาจสร้างภาระให้กับทั้งอุตสาหกรรมค้าปลีกและการผลิต” นายบูดิฮาร์ตโจ อิดูอันสจาห์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกอินโดนีเซียกล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันพฤหัสบดี
นายบูดิฮาร์ดโจ กล่าวว่าความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นจากนโยบายที่เสนอนี้ ได้แก่ ต้นทุนการดำเนินการที่สูงขึ้น รวมถึงค่าขนส่งและการกระจายสินค้า ซึ่งอาจทำให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นเนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานในอินโดนีเซียตะวันออกยังพัฒนาน้อยกว่า
หากต้นทุนสินค้ายังคงเพิ่มขึ้นเนื่องจากต้นทุนด้านโลจิสติกส์ที่สูงขึ้น อำนาจซื้อของผู้บริโภคจะลดลง และเป้าหมายการใช้จ่ายในประเทศก็จะยากต่อการบรรลุเป้าหมาย” เขากล่าวจากนโยบายจะเปลี่ยนพื้นที่การขนส่ง จากเกาะชวาเป็นอินโดนีเซียตะวันออก นายบูดิฮาร์ดโจเสนอให้มี การกำกับดูแลและบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดยิ่งขึ้นในทุกท่าเรือเข้าออก รวมทั้งเพิ่มความร่วมมือกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อปราบปรามผู้นำเข้าที่ผิดกฎหมายจะดีกว่า สมาคมผู้ค้าปลีกอินโดนีเซีย ยังเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งการผลิตในประเทศ โดยเฉพาะสินค้าที่มีปริมาณการผลิตในปัจจุบันไม่เพียงพอ ต่อความต้องการในประเทศ นายบูดิฮาร์ดโจยังเรียกร้องให้รัฐบาลอำนวยความสะดวกในการผลิตในท้องถิ่นอีกด้วย “นอกจากการคิดนโยบายเปลี่ยนท่าเรือนำเข้าสำหรับสินค้าที่ผลิตในต่างประเทศแล้ว ยังจำเป็นต้องเพิ่มอุปทาน
จากโรงงานในประเทศด้วย หากจำเป็น อาจสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศได้ แต่ต้องมีเงื่อนไขว่าสินค้าที่ผลิตในอินโดนีเซียจะต้องขายในประเทศ ไม่ใช่เพื่อการส่งออกเท่านั้น”
ปัจจุบันกระทรวงอุตสาหกรรมกำลังสรุปข้อเสนอในการเปลี่ยนโซนนำเข้าสำหรับ สินค้าอุปโภค บริโภคไปยังภูมิภาคตะวันออกของประเทศ ได้แก่ Bitung ในสุลาเวสีเหนือ Kupang ในนูซาเต็งการาตะวันออก และ Sorong ในปาปัวตะวันตก หากประกาศใช้ นโยบายใหม่นี้จะบังคับให้ผู้นำเข้าต้องแบกรับต้นทุน ด้านโลจิสติกส์เพิ่มเติมในการขนส่งสินค้าจากท่าเรือเข้าออกในภาคตะวันออกของอินโดนีเซียไปยัง เกาะชวาและสุมาตรา ซึ่งเป็นที่ที่สินค้าอุปโภคบริโภคส่วนใหญ่ขายให้กับลูกค้า นาย Agus Gumiwang Kartasasmita รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมปกป้องแผนดังกล่าว โดยกล่าวว่า การเคลื่อนไหวดังกล่าวไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อจำกัดการนำเข้า แต่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่นและ อุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าของภูมิภาคการขนส่งทางตะวันออกด้วย นาย Agus ยังเน้นย้ำว่าการเปลี่ยนแปลง ที่เสนอนี้มีผลเฉพาะกับสินค้าอุปโภคบริโภคเท่านั้น ไม่ใช่กับวัตถุดิบ โดยเสริมว่ากระทรวง จะผ่อนปรนกระบวนการจัดซื้อวัตถุดิบเพื่อช่วยฟื้นฟูอุตสาหกรรมสิ่งทอที่กำลังประสบปัญหาให้เติบโตได้ ข้อเสนอนี้ได้รับการสนับสนุนจากนาย Zulkifli Hasan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้า และ Teten Masduki รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ด้วย เขากล่าว
ผู้ผลิตในอินโดนีเซียมีมุมมองค่อนข้างลบต่อแนวโน้มการเติบโตของภาคส่วนนี้ เนื่องจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ในเดือนสิงหาคมยังคงอยู่ในภาวะหดตัวเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน โดยได้รับแรงหนุนจากยอดขายที่ลดลง การลดลงนี้ทำให้บริษัทบางแห่งต้องลดจำนวนพนักงานลง แม้ว่าบริษัทต่างๆ จะยังมีความหวังว่าปีหน้าจะมีสภาพการทำงานที่ดีขึ้นก็ตาม
ความคิดเห็นของสำนักงาน
แม้ว่ารัฐบาลจะมองว่านโยบายดังกล่าวเป็นแนวทางในการส่งเสริมการพัฒนาภูมิภาคและลดการพึ่งพาการนำเข้า แต่ภาคอุตสาหกรรมในประเทศกลับกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่จะตามมาเช่นความต้องการ ของผู้บริโภคที่ลดลง และผู้นำเข้าต้องแบกรับต้นทุนด้านโลจิสติกส์เพิ่มเติมในการขนส่งสินค้า จากท่าเรือเข้าออกในภาคตะวันออกของอินโดนีเซียไปยังเกาะชวาและสุมาตรา ซึ่งเป็นศูนย์กลางจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคให้ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศ หากรัฐบาลต้องการให้นโยบายนี้ประสบความสำเร็จ อาจต้องหาจุดสมดุลระหว่างข้อกังวลของภาคเอกชนกับเป้าหมายการพัฒนาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลสำหรับ อินโดนีเซียตะวันออก ควบคู่ไปกับความพยายามในการเสริมสร้างการผลิตในประเทศและบังคับใช้ กฎระเบียบอย่างมีประสิทธิภาพ