1. ภาพรวมตลาดมังคุดในจีน

มังคุด ราชินีแห่งผลไม้ มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีรสชาติหวานหอมและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว นอกจากจะมีรสชาติอร่อยแล้ว มังคุดยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น วิตามินซีและโพแทสเซียม ซึ่งมีประโยชน์มากมายต่อสุขภาพของมนุษย์ ด้วยกระแสโลกาภิวัตน์และการที่ผู้คนหันมาใส่ใจเรื่องการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น มังคุดจึงกลายเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในตลาดโลก ประเทศไทย และอินโดนีเซีย เป็นแหล่งมังคุดที่สำคัญของประเทศจีน และเป็นแหล่งมังคุดนำเข้าคุณภาพดีและสดใหม่ ได้แก่  ไทย อินโดนเซีย เวียดนาม เมียนมาร์

 

 

  1. มังคุดนำเข้าในประเทศจีน

มังคุดนำเข้าในประเทศจีนแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ มังคุดผิวลาย (沙竹) มังคุดดอก (花竹) และมังคุดผิวมัน (油竹) โดยสามารถบ่งบอกถึงอายุของต้นแม่ได้จากการแบ่งเกณฑ์ของผิวเปลือก เนื้อสัมผัส และรสชาติได้จากมังคุด

 

  • มังคุดผิวลาย (沙竹)

สถานการณ์นำเข้ามังคุดประเทศจีน 7 เดือนแรกของปี 2567

มาจากต้นมังคุดที่มีอายุมากกว่า 50 ปี จะให้ผลผลิตเป็นมังคุดที่เปลือกดูแห้งแตก โดยเปลือกของผลมังคุดชนิดนี้จะค่อนข้างหยาบ และมีเนื้อผลที่เป็นสีขาวบริสุทธิ์ แม้ว่าผลของมังคุดผิวทรายอาจจะไม่ดูสวยงาม แต่เนื้อของมันกลับมีรสชาติที่ดีกว่าและอร่อยกว่า

 

 

  • มังคุดดอก (花竹)

สถานการณ์นำเข้ามังคุดประเทศจีน 7 เดือนแรกของปี 2567

มังคุดที่มาจากต้นอายุ 15 ถึง 50 ปี ซึ่งผลจะดูหมองคล้ำ ไม่สดใส มองดูเหมือนว่าคุณภาพไม่ดี แต่จริงๆ แล้วเป็นลักษณะธรรมชาติของมังคุด เปลือกของผลมังคุดดอกมีสีแดงเข้มหรือม่วงแดง

 

 

  • มังคุดผิวมัน (油竹)

สถานการณ์นำเข้ามังคุดประเทศจีน 7 เดือนแรกของปี 2567

ผลมังคุดชนิดนี้มีเปลือกสีดำเงา ในระหว่างการเจริญเติบโต เปลือกของมันจะมีน้ำมันที่ช่วยป้องกันการระเหยของน้ำในเนื้อผล แต่เนื้อผลมังคุดผิวมันนี้มักจะเกิดปัญหาเนื้อสีเหลืองได้ง่าย อายุของต้นแม่จะอยู่ที่ประมาณ 7 ถึง 15 ปี

 

 

เกรดของมังคุด โดยทั่วไปจะใช้การจัดเกรดตามขนาด เช่น 2A 3A 4A 5A และ 6A  (โดยเกรดสูงขึ้นหมายถึงขนาดและราคาที่สูงขึ้น)สถานการณ์นำเข้ามังคุดประเทศจีน 7 เดือนแรกของปี 2567

ที่มา : https://pics4.baidu.com

 

 

3. ปริมาณนำเข้า-ส่งออกของจีน

7 เดือนแรกของปี 2024 ประเทศจีนมีปริมาณการนำเข้ามังคุดรวม 216,611 ตัน มูลค่านำเข้าอยู่ที่ 513.56 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 8.63 โดยมีการนำเข้าหลักมาจากประเทศไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม เมียนมาร์ และเปรู

จากข้อมูล ประเทศไทยยังคงเป็นแหล่งนำเข้ามังคุดที่ใหญ่ที่สุดของจีน ถึงกระนั้นสัดส่วนการนำเข้ามังคุดจากประเทศไทยมีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2565 โดยมีแนวโน้มนำเข้ามังคุดจากอินโดนีเซีย รวมถึงประเทศในอาเซียนมากขึ้น

โดยใน 7 เดือนแรกมีปริมาณนำเข้าจากประเทศไทยอยู่ที่ 153,235 ตัน มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 513.56 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 73.85 จากการนำเข้าทั่วโลก หดตัวลงร้อยละ 6.53 YoY

สัดส่วนการนำเข้ามังคุดจากประเทศไทยมีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2565 โดยมีแนวโน้มนำเข้ามังคุดจากอินโดนีเซีย เวียดนาม และเมียนมาร์มากขึ้น โดยการนำเข้าจากอินโดนีเซียในปี 2565 มีสัดส่วนร้อยละ 4.93 และในปี 2567 สัดส่วนการนำเข้าขยายตัวเป็น 24.92 ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 108.10 มีแนวโน้มว่าจะมีการนำเข้ามังคุดจากอินโดนีเซียจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาจจะเข้ามากินสัดส่วนทางตลาดนำเข้ามังคุดจากไทยได้ ขณะเดียวกันตลาดนำเข้าจากเวียดนามก็มีการปรับตัวขึ้นหลังจากที่ซบเซาจากปี 2566 โดยในปี 2567 นี้ มูลค่าและสัดส่วนการนำเข้ามีการปรับตัวขึ้นเล็กน้อย

สถานการณ์นำเข้ามังคุดประเทศจีน 7 เดือนแรกของปี 2567ที่มา:Global Trade Atlas

ปริมาณส่งออกของไทย

การนำเข้ามังคุดจากประเทศไทยในเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2567 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 379.25 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวลดลงร้อยละ 10.78 เมื่อเทียบกับ 7 เดือนแรกของปีก่อน โดยนำเข้าผ่านทางมณฑลยูนนานมากที่สุด โดยมีมูลค่านำเข้าอยู่ที่ 150.75 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีสัดส่วนการนำเข้าอยู่ที่ 39.75 ส่วนด่านนำเข้ามังคุดหลักอื่นๆจากประเทศไทย อยู่ที่มณฑล กว่างตง หูเป่ย เหอเป่ย และกว่างซี โดยมีมูลค่านำเข้าอยู่ที่ 61.37, 30.52, 28.71 และ 20.02 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีสัดส่วนการนำเข้าอยู่ที่ 16.24, 8.05, 7.58 และ 5.28 ตามลำดับ

สถานการณ์นำเข้ามังคุดประเทศจีน 7 เดือนแรกของปี 2567ที่มา:Global Trade Atlas

 

 

4. ราคาขายปลีกของมังคุดไทยในซูเปอร์มาร์เก็ตจีนเมืองเซี่ยเหมิน

สถานการณ์นำเข้ามังคุดประเทศจีน 7 เดือนแรกของปี 2567ที่มา :  pupu, walmart, sungiven

 

 

5. สถานการณ์การผลิตมังคุดของประเทศคู่แข่ง

      เวียดนาม

ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทในหลายๆเมืองของเวียดนามแสดงให้เห็นว่า ผลผลิตในหลายพื้นที่ลดลงถึง 50-60% เนื่องจากอากาศร้อนและการขาดการให้น้ำเป็นสาเหตุหลักที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพและปริมาณของมังคุด การลดลงของปริมาณมังคุดและคุณภาพที่ไม่ดีทำให้มีราคาลดลงอยู่ที่ 25,000-40,000 ดอง/กิโลกรัม (7.15-11.4 บาท/กิโลกรัม) ซึ่งลดลงครึ่งหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา และลดลงประมาณ 10% เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว

ปัจจุบันมังคุดเวียดนามในฤดูกาลหลักยังไม่สามารถแข่งขันกับมังคุดไทยได้ ราคาจึงลดลงอย่างรวดเร็ว ผู้ค้าส่งมังคุดกล่าวว่า สภาพอากาศที่ไม่เสถียรทำให้ผลไม้ลดลงและคุณภาพมังคุดไม่ดี ราคาจึงลดลง นอกจากนี้ ตลาดมีมังคุดจากไทยจำนวนมาก ซึ่งบังคับให้ผู้ค้าต้องลดราคาต่อไป มังคุดเวียดนามท้องถิ่นมีจำนวนน้อย เกษตรกรหรือผู้ค้าอาจส่งตรงถึงลูกค้าโดยไม่ผ่านตลาดขายส่ง

 

      อินโดนีเซีย

ณ ปัจจุบันมังคุดอินโดนีเซียมีศักยภาพในการส่งออกมังคุดเป็นอันดับสองรองจากไทยในตลาดประเทศจีน และมีแนวโน้มว่าจะส่งออกเข้าสู่ประเทศจีนมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ประเทศอินโดนีเซียเองกำลังเตรียมพร้อมที่จะส่งออกมังคุดสู่ตลาดออสเตรเลีย จากข้อตกลงทางเศรษฐกิจระหว่างทั้งสองประเทศ (IA-CEPA) โดยอยู่ในขั้นตอนการขออนุมัติรัฐบาลออสเตรเลียสำหรับการฉายรังสีเพื่อตรวจสอบสินค้าส่งออกทางการเกษตรจากอินโดนีเซีย ในด้านมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพที่เข้มงวดของออสเตรเลียยังคงมีความท้าทายต่ออินโดนีเซียเป็นอย่างมาก

 

 

6. โอกาสและอุปสรรคของไทย

สถานการณ์นำเข้ามังคุดประเทศจีน 7 เดือนแรกของปี 2567

 

 

ความเห็นสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน :มังคุดไทยถือเป็นผลไม้ส่งออกศักยภาพอีกชนิดนึงของประเทศไทย เพราะผลใหญ่ เปลือกบางและมีรสชาติทีดีกว่ามังคุดของประเทศคู่แข่งอื่นๆ ซึ่ง ณ ปัจจุบันไทยเองยังครองส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับหนึ่งอย่างต่อเนื่องแสดงถึงความเชื่อมั่น และความต้องการบริโภคมังคุดไทยในประเทศจีน อย่างไรก็ตาม ในช่วง 7 เดือนแรก ปี 2567 มูลค่าการนำเข้ามีอัตราขยายตัว รวมถึงสัดส่วนการนำเข้าลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ในขณะที่ ผู้เล่นหลักอันดับ2, 3 และ 4 ในตลาดอย่างประเทศอินโดนีเซีย เวียดนาม และเมียนมาร์ตามลำดับ ที่จีนมีการนำเข้าเติบโตขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากอัตราการพบมังคุดเนื้อแก้วในมังคุดที่นำเข้าจากประเทศไทย ส่งผลให้ผู้นำเข้าต้องรับความเสี่ยง รวมถึงผลผลิตที่ออกสู่ตลาดน้อยลง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน เช่น อากาศร้อนจัดและภัยแล้ง ดังนั้นประเทศไทยยังควรต้องรักษาคุณภาพมังคุดเพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจ  และควรกระจายความเสี่ยงด้วยการส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ เพื่อขยายการเข้าถึงตลาดและเพิ่มความสามารถของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของไทย และเพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาตลาดจีนมากจนเกินไป

 

 

https://www.ymt.com/hangqing/juhe-8278

https://new.qq.com/rain/a/20240125A032A700

https://baijiahao.baidu.com/s?id=1800804843398340953&wfr=spider&for=pc

https://www.forestry.gov.cn/c/www/ggzyxx/32270.jhtml

https://www.sohu.com/a/797403399_121900421

https://www.xiaohongshu.com/explore/62e3f643000000001202af60

https://price.21food.cn/product/514.html#:~:text=%E6%9C%80%E6%96%B0%E5%B1%B1%E7%AB%B9%E5%B8%82%E5%9C%BA%E8%A1%8C%E6%83%85.

https://www.freshplaza.com/asia/article/9620393/indonesia-aims-to-expand-mangosteen-export-to-australia/

Global Trade Atlas

เรียบเรียงโดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน

6 กันยายน 2567

 

 

thThai
thThai