รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าของประเทศชิลี ฉบับที่ 9 ประจำปี 2567

ภาพรวมเศรษฐกิจ 

  • เศรษฐกิจของชิลีประจำเดือนกรกฎาคม 2567 ในภาพรวม GDP ขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ 4.2% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า การบริโภคภาคเอกชนโดยรวมปรับตัวดีขึ้นที่ 5.0% บรรยากาศการลงทุนในภาพรวมยังอยู่ในช่วงหดตัว อัตราว่างงานและอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ 8.7% และ 4.6% ตามลำดับ การนำเข้าลดลง -3.3% ในขณะที่ตัวเลขการส่งออกโดยรวมเพิ่มขึ้นถึง 4.1% ซึ่งทองแดงยังคงเป็นสินค้าส่งออกหลักที่สร้างรายได้เข้าประเทศชิลีอย่างต่อเนื่อง โดยระหว่างเดือนมกราคม – กรกฎาคม 2567 มีมูลค่าการส่งออกกว่า 23,974 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 41.1 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าทั้งหมดของชิลี ในส่วนของรายละเอียดในแต่ละด้านประจำเดือนกรกฎาคม 2567 สคต. ณ กรุงซันติอาโก ขอสรุปรายละเอียด ดังนี้

1. การบริโภคภาคเอกชน (ข้อมูลจากธนาคารกลางชิลี )

    การบริโภคภาคเอกชนของชิลีประจำเดือนกรกฎาคม 2567  ในภาพรวมปรับตัวดีขึ้นที่ 5.0% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยเดือนกรกฎาคมของชิลีในปีนี้ มีฝนตกหนักต่อเนื่องและมีลมกรรโชกแรง ทำให้บ้านเรือนของประชาชนได้รับความเสียหาย และจำเป็นต้องซ่อมแซมที่อยู่อาศัยดังกล่าวส่งผลให้สินค้าในหมวดอุปกรณ์และวัสดุก่อสร้าง ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ในแดนบวกเป็นครั้งแรกในรอบปีนี้ที่ 1.9% ในส่วนสินค้าคงทนโดยเฉพาะรถยนต์ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากที่ระดับ -28.0% มาอยู่ที่ 10.1% ตามมาด้วยหมวดยางรถยนต์และอุปกรณ์แต่งรถยนต์จาก -11.8% มาอยู่ที่ 6.6% หมวดยารักษาโรคเพิ่มขึ้นเช่นกันจาก 3.8% มาอยู่ที่ 6.7% ส่วนหมวดอาหารและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปรับตัวดีขึ้นแต่ยังอยู่ในแดนลบ ที่ -2.6% และ -4.8% ตามลำดับ

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนกรกฎาคม 2567      ปรับระดับลดลง -0.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากระดับ 41.0 มาอยู่ที่ 40.8

 

2.การลงทุน (ข้อมูลจากธนาคารกลางชิลี https://www.bcentral.cl/)

บรรยากาศการลงทุนในภาครัฐและเอกชนของชิลีประจำเดือนกรกฎาคม 2567 ในภาพรวมยังคงซบเซา โดยหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน สะท้อนจากตัวเลขการขออนุญาตก่อสร้าง (คิดเป็นตารางเมตร) จาก 1.4 ล้านตารางเมตร มาอยู่ที่ 473,226 ตารางเมตร ลดลง -65.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ปริมาณการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับใช้ในการก่อสร้างลดลง -35.2% ในส่วนของปริมาณการจำหน่ายสินค้าวัสดุและอุปกรณ์ในการก่อสร้างแม้จะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.9% แต่ใช้ไปกับการซ่อมแซมบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหายมากกว่าการลงทุนใหม่

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจโดยรวมประจำเดือนกรกฎาคม 2567 มีการปรับระดับเพิ่มขึ้นจากระดับ 41.1 มาอยู่ที่ 45.3 เพิ่มขึ้น 10.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยภาคธุรกิจเหมืองแร่มีดัชนีความเชื่อมั่นสูงที่สุดที่ 63.2 และภาคธุรกิจการก่อสร้างมีดัชนีความเชื่อมั่นต่ำที่สุดที่ 28.4

 

3. เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (ข้อมูลจากธนาคารกลางชิลี https://si3.bcentral.cl และสำนักงานสถิติแห่งชาติของชิลี https://www.ine.gob.cl)

    อัตราการว่างงานของประเทศชิลีในเดือนกรกฎาคม 2567         ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 8.7% ของจำนวนผู้ใช้แรงงานทั้งหมดในประเทศ หากพิจารณาแยกตามเขตการปกครอง แคว้นที่มีอัตราการว่างงานสูงที่สุดคือ แคว้นนูบเล ที่ 10.8% และแคว้นที่มีอัตราการว่างงานต่ำที่สุดคือ แคว้นไอเซน ที่ 4.2%

 

4. การส่งออก-นำเข้า (ข้อมูลจากกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศของชิลี SUBREI – www.subrei.gob.cl)

สภาวะเงินเฟ้อของประเทศชิลีในเดือนกรกฎาคม 2567 อัตราเงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 4.6% ทั้งนี้ สินค้า 3 หมวดแรกที่ปรับเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในรอบ 3 เดือนนี้ ได้แก่ (1) หมวดที่อยู่อาศัยและสาธารณูปโภค (2) หมวดประกันและบริการทางการเงิน และ (3) หมวดการศึกษา โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ 6.2%, 5.9% และ 5.8% ตามลำดับ

การส่งออกสินค้าของชิลีระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2567          มีมูลค่ารวมที่ 58,289 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 4.1%  เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยสินค้าส่งออกหลัก ได้แก่

 

สินค้า ม.ค.-ก.ค. (ล้านเหรียญสหรัฐ) ขยายตัว

(66/67)

ปี 2566 ปี 2567
สินแร่ 29,832 33,005 10.6%
ผลไม้ 5,397 5,970 10.6%
เคมีภัณฑ์ 6,313 4,714 -25.3%
ปลาแซลมอน 3,566 3,437 -3.6%
เยื่อกระดาษ 1,875 2,211 17.9%
เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 1,247 1,259 1.0%
เฟอร์นิเจอร์จากไม้ 1,305 1,244 -4.7%

   การนำเข้าของชิลีระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2567 มีมูลค่ารวมที่ 47,833 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง -3.3% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยสินค้านำเข้าหลัก ได้แก่

 

สินค้า ม.ค.-ก.ค. (ล้านเหรียญสหรัฐ) ขยายตัว

(66/67)

ปี 2566 ปี 2567
สินค้าหมวดพลังงาน 26,830 26,005 -3.1%
สินค้าอุปโภคบริโภค 12,473 12,729 2.1%
สินค้าทุน 10,182  9,099 -10.6%
 -รถยนต์เชิงพาณิชย์ 1,349   1,250 -7.3%
 -เครื่องจักรสำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมก่อสร้าง 815            528 -35.2%

จากตัวเลขการส่งออกของชิลีที่สูงกว่าตัวเลขการนำเข้า ทำให้ชิลีได้ดุลการค้า จำนวน 10,456 ล้านเหรียญสหรัฐ

 

5. การค้าของชิลีกับไทย และกลุ่มประเทศอาเซียน (ข้อมูลสถิติทางการค้าจาก Global Trade Atlas)

ชิลีนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยระหว่างเดือนมกราคม  ถึง เดือนกรกฎาคม 2567 มูลค่ารวม 301.69 ล้านเหรียญสหรัฐ    (ลดลง -7.69% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า)   ซึ่งสินค้าที่นำเข้าจากไทยมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่

  • รถยนต์และส่วนประกอบ (97 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง -2.86%)
  • เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (60.97 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง -9.51%)
  • เครื่องจักรไฟฟ้าและอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (67 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 21.28%)
  • ปลากระป๋อง (21.39 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง -40.03%)
  • ไข่มุกและอัญมณี (48 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 5.75%)

สำหรับตัวเลขการนำเข้าของชิลีจากกลุ่มประเทศอาเซียนใน 5 อันดับแรก ได้แก่

  • ชิลีนำเข้าจากเวียดนาม 691.39 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 6.11%)
  • ชิลีนำเข้าจากไทย 301.69 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -7.69%)
  • ชิลีนำเข้าจากอินโดนีเซีย 210.45 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 22.30%)
  • ชิลีนำเข้าจากมาเลเซีย 117.93 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 22.34%)
  • ชิลีนำเข้าจากสิงคโปร์ 57.38 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 24.42%)

ชิลีส่งออกสินค้าไปยังประเทศไทยระหว่างเดือนมกราคม  ถึง เดือนกรกฎาคม 2567 มูลค่ารวม 394.69 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 3.26% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า)  ซึ่งสินค้าที่ส่งออกไปยังไทยมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่

  • ทองแดง (79 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 1.46%)
  • เยื่อกระดาษ (11 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 82.54%)
  • แซลมอนและอาหารทะเล (31 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง -28.59%)
  • สินแร่อื่น ๆ (30.63 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 73%)
  • ผลไม้และผลิตภัณฑ์ธัญพืช (9.39 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง -92%)

สำหรับตัวเลขการส่งออกของชิลีไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนใน 5 อันดับแรก ได้แก่

  • ชิลีส่งออกไปยังไทย 394.69 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 37.00%)
  • ชิลีส่งออกไปยังเวียดนาม 181.90 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 17.05%)
  • ชิลีส่งออกไปยังฟิลิปินส์ 172.63 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 16.18%)
  • ชิลีส่งออกไปยังมาเลเซีย 136.39 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 12.78%)
  • ชิลีส่งออกไปยังสิงคโปร์ 79.08 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 7.41%)

 

มูลค่าการค้ารวมระหว่างไทย-ชิลี ระหว่างเดือนมกราคม – เดือนกรกฎาคม 2567 อยู่ที่ 696.38 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -1.79%)  โดยชิลีส่งออกสินค้าไปยังไทยมากกว่านำเข้าจากไทย ทำให้ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้าที่ 93 ล้านเหรียญสหรัฐ

 

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงซันติอาโก

กันยายน 2567

thThai