นาย Ömer Faruk Doğan เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐตุรกี ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับคำร้องขอเข้าร่วมเป็นสมาชิก BRICS ของตุรกีกับสำนักข่าว AA
BRIC ได้เริ่มก่อตั้งในปี 2549 โดยมีบราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง และในปี 2554 แอฟริกาใต้ อียิปต์ เอธิโอเปีย อิหร่าน ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ได้ขอร่วมเป็นสมาชิกของเพิ่มเติม ทำให้เปลี่ยนชื่อกลุ่มประเทศเป็น BRICS เป็นต้นมา สิ่งที่ทําให้ BRICS มีความสําคัญคือ ประเทศสมาชิกที่มีความสําคัญในภูมิศาสตร์ของตนเอง เช่น จีนและรัสเซีย รวมถึงบราซิลและแอฟริกาใต้
ประชากรทั้งหมดของประเทศในกลุ่ม BRICS คือ 3.5 พันล้านคน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ประเทศ BRICS มีประชากรทั้งหมดร้อยละ 45-50 ของโลก ในขณะที่ประชากรในโลกตะวันตกมีอายุมากขึ้นและผลผลิตทางเศรษฐกิจลดลง BRICS ได้กลายเป็นการก่อตัวที่สําคัญและมีประสิทธิภาพ โดยประชากรส่วนใหญ่ของประเทศสมาชิกประกอบด้วยประชากรอายุน้อย ที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี นอกจากนี้ ภาพรวมของเศรษฐกิจของประเทศ BRICS คิดเป็นมูลค่ากว่า 29 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ตัวบ่งชี้นี้แสดงให้เห็นว่าประมาณร้อยละ 30 เปอร์เซ็นต์ของเศรษฐกิจโลกถูกควบคุมโดยประเทศ BRICS กล่าวได้ว่า BRICS ประกอบด้วยประเทศที่อยู่ในกระบวนการพัฒนา นอกจากนี้ ประเทศ BRICS ยังเป็นเจ้าของน้ำมันดิบประมาณร้อยละ 45 ของโลก สิ่งนี้ทําให้ BRICS มีความสําคัญในแง่ของพลังงานอีกด้วย และ BRICS ให้ความสําคัญเป็นพิเศษกับโครงการเพื่อการพัฒนาต่างๆ โดย BRICS ได้จัดตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาใหม่ ซึ่งทํางานภายในหน่วยงานของตนเอง เพื่อให้มีเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ประเทศกําลังพัฒนา อันที่จริง
BRICS ได้ให้เงินกู้ประมาณ 32 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แก่ประเทศกําลังพัฒนาจนถึงปี 2565 เพื่อแสดงถึงความให้ความสำคัญด้านโครงสร้างพื้นฐานเช่น โครงการถนน สะพาน รถไฟ และน้ำประปา
ผู้เชี่ยวชาญด้านชาวตะวันตกมองว่า BRICS ถือเป็นปฏิกิริยาต่อแนวทางของตะวันตก มีการระบุว่ารัสเซียกําลังพยายามเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับตัวเองเพื่อเอาชนะการคว่ำบาตรที่กําหนดโดยตะวันตก ทั้งปัญหาความยืดเยื้อจากสงครามจากสงครามยูเครน-รัสเซีย และคงปฏิเสธไม่ได้ว่าความมั่งคั่งด้านก๊าซธรรมชาตินั้นอยู่ในมือรัสเซียในการจัดหาพลังงานของโลก สิ่งนี้ถึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับตะวันตก ในสถานการณ์ปัจจุบัน เป็นที่ทราบกันดีว่ายุโรปและสหรัฐอเมริกา เป็นผู้มีอิทธิพลในแง่เศรษฐกิจ ความต้องการของตะวันตกได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญในแง่ของแหล่งพลังงานสะอาด เช่น ก๊าซธรรมชาติ ตลอดจนความจําเป็นในการทดแทนช่องว่างที่เกิดจากประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยประชากรวัยหนุ่มสาว ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และจนถึงวันนี้ ตุรกีไม่ได้แสดงจุดอ่อนใด ๆ ในกระบวนการขอร่วมเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (EU) แต่กลับเป็นสหภาพยุโรปเองที่ชะลอกระบวนการพิจารณาคำขอเข้าร่วมสมาชิกสหภาพยุโรปของตุรกี ซึ่งสิ่งควรระลึกไว้เสมอว่าตุรกีเป็นสมาชิกที่สําคัญของนาโต้ที่มีความสามารถทางการทหารที่สําคัญและเป็นประเทศที่รุนแรงที่สุดในภาคตะวันออก ตุรกีตระหนักถึงความรับผิดชอบของตนเองเสมอทั้งเกี่ยวกับกระบวนการเข้าร่วมสหภาพยุโรปและในแง่ของภาระผูกพันที่เกิดขึ้นจากการเป็นสมาชิกนาโต้ เจ้าหน้าที่สูงสุดได้ระบุอย่างชัดเจนว่าคําขอของตุรกีในการสมัครเป็นสมาชิกผู้สมัครเข้าร่วม BRICS ไม่ได้หมายถึงความไม่ต้องการในแง่ของกระบวนการเข้าร่วมสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นไปอย่างละเอียดรอบคอบ หรือในแง่ของการเป็นสมาชิกนาโต้ และตุรกีอยู่เบื้องหลังความมุ่งมั่นและความรับผิดชอบของตนเอง
การสมัคร BRICS เป็นผลมาจากการแสดง “วิสัยทัศน์แห่งศตวรรษของตุรกี” ที่เสนอโดยประธานาธิบดีตุรกี นายRecep Tayyip Erdoğan ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในเดือนพฤษภาคม 2566 อีกครั้ง ประกอบกับแนวทางของรัฐมนตรีต่างประเทศ Hakan Fidan มีบทบาทอย่างแข็งขันมากขึ้นและเพิ่มความร่วมมือในการร่วมมือระหว่างประเทศและระดับภูมิภาคเพื่อให้แนวทางนโยบายต่างประเทศใหม่ๆ ของตุรกีเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
อันที่จริงแล้ว ตุรกีพยายามแสดงบทบาทของตนในฐานะผู้ไกล่เกลี่ยในสงคราม การยึดครอง และวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ การยืนคำร้องขอร่วมเป็นสมาชิก BRICS ของตุรกีเป็นเพียงแนวทางในการรวมเศรษฐกิจเชื่อมระหว่างตะวันออกและตะวันตก และในทางภูมิศาสตร์ด้วยการบูรณาการทางเศรษฐกิจเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจตะวันออกกับเศรษฐกิจตะวันตก โดยตุรกีมีความพยายามอย่างแน่วแน่ที่จะมีส่วนร่วมในเวทีที่สามารถที่ส่งเสริมขยายตัวของสันติภาพ ความเงียบสงบ และเศรษฐกิจโลก โดยสรุปอาจกล่าวได้ว่า ตุรกียึดมั่นต่อข้อตกลงใดๆ ที่เคยลงนามมาจนถึงตอนนี้ และได้พยายามอย่างมากที่จะปฏิบัติตามคํามั่นสัญญาที่ได้ทําไว้ นอกจากนี้ ตุรกียังเป็นเพียงประเทศเดียวในภูมิศาสตร์ของตัวเอง การประเมินความสัมพันธ์ของ BRICS ของตุรกีของตะวันตกจากมุมมองนี้ เป็นแนวทางที่จะมีส่วนสําคัญต่อทุกภาคส่วนและให้แรงผลักดันเพิ่มเติมต่อสันติภาพและความเงียบสงบ
ข้อคิดเห็นจากสำนักงานฯ
BRICS จะเป็นหัวโขนอันใหม่สำหรับตุรกีหากได้รับคัดเลือกให้เข้ามาเป็นสมาชิก ถึงแม้ว่าคำร้องการขอเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปยังคงค้างอยู่และดูเหมือนจะไม่มีความคืบหน้าใดๆ ในตอนนี้ หรือแม้แต่สถานะสมาชิกของนาโต้ของตุรกีเอง แต่การยื่นคำร้องครั้งนี้ตุรกีพยายามพูดถึงการสร้างความสมดุลระหว่างโลกตะวันตกและตะวันออก โดยพยายามวางสถานะตัวเองให้เป็นกลางกับทุกฝ่าย ซึ่งก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าตุรกีเป็นหนึ่งในสมาชิกนาโต้ที่แข็งแกร่งและหลายชาติตะวันตกมีความเกรงใจตุรกี จึงทำให้การขอเข้าร่วม BRICS ของตุรกีในครั้งนี้เป็นที่จับตามองของโลกตะวันตกพอสมควรว่าหลังจากนี้ ตุรกีจะแสดงท่าทีต่อชาติสมาชิกนาโต้หรือประเทศในสหภาพยุโรปอย่างไรต่อไป อีกเรื่องที่น่าสนใจคือท่าทีของประชาชนตุรกีที่ไม่ค่อยจะพอใจกับการขอเข้าร่วม BRICS ของรัฐบาลอังการาในครั้งนี้มากนัก ซึ่งก็อาจจะกระทบกับความนิยมของพรรครัฐบาลในการเลือกตั้งครั้งหน้าได้ด้วยเช่นกัน
ที่มา https://www.aa.com.tr/tr/analiz/turkiyenin-bricse-uyelik-basvurusu-nasil-degerlendirilmeli/3329344#