1. ภาพรวม

1.1 สถานการณ์ตลาด

ศักยภาพในการผลิตผลไม้ของฮ่องกงนั้นค่อนข้างน้อย จากพื้นที่การเพาะปลูกที่มีจำกัดสืบเนื่องจากโครงการพัฒนาพื้นที่เกษตรกรรมให้กลายเป็นตึกเพื่อการพาณิชย์และที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ฮ่องกงไม่มีนโยบายสนับสนุนภาคเกษตรกรรมมากนัก จากข้อมูลของกระทรวงเกษตร ประมง และการอนุรักษ์แห่งฮ่องกง (AFCD) มีผลไม้สดที่ผลิตในท้องถิ่นเพียงไม่กี่สายพันธุ์ เช่น มะละกอ แตงโม แก้วมังกรแดง กล้วย ลิ้นจี่ และลำไย

 

ปัจจุบันประชากรที่อาศัยอยู่ในฮ่องกงมีความหลากหลายทางเชื้อชาติมีทั้งประชากรท้องถิ่นและชาวต่างชาติ จึงทำให้ความต้องการในการบริโภคสูงและมีความหลากหลายตามไปด้วย ส่งผลให้มีการนำเข้าผลไม้สดจากแหล่งที่มาต่าง ๆ โดยสามารถจัดลำดับแหล่งที่มาจากประเทศดังต่อไปนี้ ชิลี ไทย จีน ออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ

 

รายงานการตลาดผลไม้ไทยในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง

แหล่งที่มา :  https://www.atohongkong.com.hk/wps/wp-content/uploads/HK2024-0001-Hong-Kong-Fresh-Fruit-Market.pdf

 

การนำเข้าผลไม้สดของฮ่องกงในช่วงปี 2018 ถึง 2022  มูลค่าการนำเข้ารวมของฮ่องกงมีการเติบโต อย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นจาก 3,161 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2018 เป็น 3,687 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2022 ประเทศไทยแสดงให้เห็นถึงการเติบโต โดยเพิ่มมูลค่าการส่งออกจาก 462 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  ในปี 2018 เป็น 916 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2021 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในช่วงเวลาเพียงสี่ปี

 

1.2 แนวโน้มการบริโภค

 

สำหรับแนวโน้มการบริโภคผลไม้ของประชากรที่อาศัยอยู่ในฮ่องกงนั้น มีปัจจัยหลักที่สำคัญคือ  ความตระหนักถึงโภชนาการ โดยกรมอนามัยฮ่องกง (The Centre for Health Protection) มีการเผยแพร่ข้อมูลสากลจากทางองค์การอนามัยโลกผ่านเว็ปไซต์ แนะนำให้รับประทานผักและผลไม้วันละ 400 กรัม เป็นอย่างน้อย เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พร้อมทั้งจัดทำแบบสำรวจพฤติกรรมการบริโภคผลไม้และผักของประชากรฮ่องกง โดยพบว่าประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป  ร้อยละ 49.4  รับประทานผลไม้สดทุกวัน ทำให้ฮ่องกงเป็นตลาดที่มีการนำเข้าผลไม้จากทั่วโลกเป็นจำนวนมากตลอดทั้งปี

 

2. การนำเข้าผลไม้ในฮ่องกง

 

ในปี 2023 การนำเข้าผลไม้สดของฮ่องกงฟื้นตัวจากการลดลงในปี 2022 ซึ่งเกิดจากปัญหาด้านโลจิสติกส์และการขนส่งในช่วงการระบาดของโควิด-19 ผลไม้ที่นำเข้ามากที่สุดได้แก่ เชอร์รี่ ทุเรียน องุ่น ส้ม และแอปเปิ้ล  ฮ่องกงเป็นตลาดนำเข้าที่มีความสามารถในการแข่งขันสูง เนื่องจากมีระบบการนำเข้าที่เปิดกว้าง และโครงสร้างพื้นฐานด้านการค้าที่ยอดเยี่ยม รวมถึงการสนับสนุนด้านการเงินและโลจิสติกส์ นอกจากนี้ ผู้บริโภคฮ่องกงยังมีความเชื่อมั่นในคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารจากต่างประเทศ

 

ตารางแสดงข้อมูลสถิติมูลค่าการนำเข้าผลไม้เรียงลำดับตามแหล่งที่มา

รายงานการตลาดผลไม้ไทยในเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแหล่งที่มา :https://www.fruitnet.com/main-navigation/hong-kong-potential-for-us-exporters/258290.article

 

ฮ่องกงนำเข้าผลไม้จากไทยมากเป็นอันดับ 2 รองจาก ชิลี ซึ่งผลไม้ส่วนใหญ่ที่นำเข้ามาจากไทยคือ ทุเรียน มังคุด ลำไย และมะม่วง

 

รายงานการตลาดผลไม้ไทยในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง

 

 

3. ช่องทางการจำหน่ายผลไม้

 

3.1 ตลาดค้าส่งผลไม้ในฮ่องกง

(1) ตลาด Western Wholesale Food Market   ในฝั่งฮ่องกง เป็นตลาดค้าส่งสินค้าทางการเกษตรที่หน่วยงานรัฐบาล Agriculture, Fisheries and Conservation Department (AFCD) ฮ่องกงจัดให้กับเอกชนเช่าโดยแยกตามชนิดสินค้า จำนวนแผงค้าส่งผลไม้มีจำนวน 133 แผง มีค่าเฉลี่ยของจำนวนการบริโภค 1530 ตัน/วัน ในปี 2566

 

รายงานการตลาดผลไม้ไทยในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง

แหล่งที่มาภาพ: https://yukamhung.hk/western-wholesale-market/

 

 

(2) ตลาดค้าส่งผลไม้ Yau Ma Tei นับเป็นตลาดที่มีการขายส่งผลไม้สดที่เก่าแก่และเป็นที่รู้จักในฮ่องกง ตลาด Yau Ma Tei ในช่วงเช้ามืดจนถึงเที่ยง และคึกคักมากในช่วงเวลา ตีสี่ถึง 8 โมงเช้า ผลไม้นำเข้าจากหลากหลายประเทศ ร้านค้าส่งผลไม้จะเป็นรูปแบบร้านค้าตึกแถวที่มีมายาวนาน เจ้าของดั้งเดิมดำเนินธุรกิจมานานและส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น

 

รายงานการตลาดผลไม้ไทยในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง

 

แหล่งที่มาภาพ: https://www.klook.com/activity/82628-grayline-travel-hongkong/

 

 

3.2 ซุปเปอร์มาร์เก็ต ตลาดสด และ แพลตฟอร์มออนไลน์

อัตราแลกเปลี่ยน : 1 ดอลลาร์ฮ่องกง เท่ากับ 4.35 บาท

 

รายงานการตลาดผลไม้ไทยในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง

รายงานการตลาดผลไม้ไทยในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง

 

4. การขนส่ง

 

การเลือกรูปแบบการขนส่งที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการขนส่งผลไม้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวเลือกหลักที่มี ได้แก่ รถบรรทุกห้องเย็นและการขนส่งทางอากาศ ซึ่งแต่ละทางเลือกมีข้อได้เปรียบที่แตกต่างกัน   ขึ้นอยู่กับประเภทของผลผลิตและระยะทางในการขนส่ง ซึ่งการขนส่งผลไม้จากไทยมาฮ่องกง มีด้วยกัน 2 วิธี

 

4.1 การขนส่งทางเรือ

 

การขนส่งผลไม้สดจากไทยไปฮ่องกงทางเรือมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ผู้ส่งออกจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ อย่างรอบด้าน ทั้งประเภทของผลไม้ ปริมาณการส่งออก ต้นทุน และความต้องการของตลาดปลายทาง เพื่อตัดสินใจเลือกวิธีการขนส่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับธุรกิจของตน

 

การขนส่งผลไม้สดจากไทยไปฮ่องกงทางเรือมีขั้นตอนสำคัญดังนี้

 

1) การเตรียมสินค้าคัดเกรดและบรรจุหีบห่อที่เหมาะสมสำหรับการขนส่งทางเรือ

2) การจัดเตรียมเอกสาร ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า, ใบรับรองสุขอนามัยพืชและเอกสารการ   ส่งออกอื่นๆ ตามข้อกำหนด

3) การขนส่งไปท่าเรือ ใช้รถห้องเย็นขนส่งจากแหล่งผลิตไปยังท่าเรือ และรับการตรวจสอบจากศุลกากรผ่านพิธีการศุลกากรขาออกที่ท่าเรือไทย

4) การบรรทุกสินค้าบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ควบคุมอุณหภูมิลงเรือ ใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน จากท่าเรือไทยถึงฮ่องกง

5) การนำเข้ามายังฮ่องกง ผ่านพิธีการศุลกากรขาเข้าที่ท่าเรือฮ่องกงตรวจสอบคุณภาพสินค้าโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการกระจายสินค้าส่งต่อไปยังผู้ค้าส่งหรือผู้ค้าปลีกในฮ่องกง

 

 

4.2 การขนส่งทางเครื่องบิน

 

เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งเหมาะสำหรับผลผลิตที่มีความเสี่ยงที่จะเน่าเสียได้ง่าย เช่นผลไม้ออแกนิก หรือผลผลิตที่มีความจำเป็นจะต้องใช้ระยะเวลาขนส่งให้สั้นที่สุด แม้ว่าการขนส่งทางเครื่องบินจะมีราคาสูงกว่า แต่การขนส่งทางเครื่องบินจะช่วยลดระยะเวลาในการขนส่งให้สั้นลง ลดโอกาสที่ผลไม้จะเน่าเสีย และสามารถรับประกันได้ว่าผลผลิตที่ขนส่งนั้นจะยังคงสภาพสดใหม่เข้าสู่ตลาดไปจนถึงมือผู้บริโภค

 

การขนส่งทางเครื่องบินมีขั้นตอนสำคัญดังนี้

1) การเตรียมสินค้า บรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับการขนส่งทางอากาศ

2) จัดเตรียมเอกสารสำคัญ เช่น ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า ใบรับรองสุขอนามัยพืช และเอกสารการส่งออกอื่นๆ ตามข้อกำหนด

3) ใช้รถห้องเย็นขนส่งจากแหล่งผลิตไปยังสนามบินต้นทางและดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากร   ขาออกที่สนามบิน

4) การบรรทุกสินค้าผลไม้จะถูกบรรทุกในส่วนเก็บสินค้าของเครื่องบินที่ควบคุมอุณหภูมิ ใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมงจากกรุงเทพฯ ถึงฮ่องกง

5) นำเข้าที่ฮ่องกงผ่านพิธีการศุลกากรขาเข้าและตรวจสอบคุณภาพสินค้าและการกระจายสินค้าส่งต่อไปยังผู้ค้าส่งหรือผู้ค้าปลีกในฮ่องกงอย่างรวดเร็ว

 

5. กฎระบียบที่ผู้ส่งออกผลไม้ไทยควรทราบ

  5.1 กฏระเบียบจากหน่วยงานไทย

 

1)พระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522

2)พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551

3)พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

 

5.2 ใบรับรอง

  1. ) ใบรับรองสุขอนามัยพืช (Phytosanitary Certificate) ออกโดยกรมวิชาการเกษตรรับรองว่า ผลไม้ปลอดจากศัตรูพืชและโรคพืชเป็นเอกสารที่ประเทศผู้นำเข้าส่วนใหญ่ต้องการ
  2. )ใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม GAP (Good Agricultural Practice) รับรองว่าผลไม้ผลิตจากฟาร์มที่ได้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ออกโดยกรมวิชาการเกษตรหรือหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง
  3. )ใบรับรองมาตรฐานโรงคัดบรรจุ GMP (Good Manufacturing Practice) รับรองว่าโรงคัดบรรจุผลไม้ได้มาตรฐานการผลิตที่ดี ออกโดยกรมวิชาการเกษตรหรือหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง
  4. )ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) แสดงแหล่งที่มาของผลไม้ ออกโดยกรมการค้าต่างประเทศหรือหอการค้าไทย

 

5.3 หน่วยงานในฮ่องกง

สำหรับการนำเข้าผลไม้ในฮ่องกง มีหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบและรับสินค้า ดังนี้

 

  1. ) Centre for Food Safety (CFS) – ศูนย์ความปลอดภัยด้านอาหาร เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยของอาหารนำเข้า รวมถึงผลไม้ ทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยของผลไม้นำเข้า
  2. ) Food and Environmental Hygiene Department (FEHD) – กรมสุขอนามัยอาหารและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานที่ CFS สังกัดอยู่ ดูแลเรื่องสุขอนามัยและความปลอดภัยของอาหารโดยรวม
  3. ) Agriculture, Fisheries and Conservation Department (AFCD) – กรมเกษตร ประมง และอนุรักษ์ รับผิดชอบในการตรวจสอบพืชนำเข้าเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคพืช ตรวจสอบใบรับรองสุขอนามัยพืช (Phytosanitary Certificate)
  4. ) Customs and Excise Department – กรมศุลกากรและสรรพสามิต ดูแลเรื่องพิธีการศุลกากรและการตรวจปล่อยสินค้า

 

6.โอกาส อุปสรรค ความท้าทาย

 

6.1 โอกาส

ผู้บริโภคชาวฮ่องกงมีความพิถีพิถันในเรื่องอาหารการกิน ดังนั้นการเลือกซื้อผลไม้จึงมีปัจจัยหลักในการเลือกซื้อ คือปลอดสารพิษและตรงตามฤดูกาล ปัจจุบันเทรนด์รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพจึงเป็นที่นิยมแพร่หลาย แม้ผลไม้ปลอดสารพิษและผักผลไม้ออแกนิกจะมีราคาค่อนข้างสูง ผู้บริโภคชาวฮ่องกงมองว่าราคาไม่ใช่ปัญหาที่จะจ่ายเพื่อซื้อคุณภาพและสุขภาพที่ดี ประเทศไทยนอกจากมีการผลิตผลไม้ที่เพียงพอต่อ ประชากรในประเทศแล้ว เรายังสามารถควบคุมคุณภาพของผลไม้เพื่อการส่งออกได้เป็นอย่างดี อีกทั้งผลไม้ไทยยังเป็นชื่นชอบของชาวฮ่องกงมายาวนาน เช่น ทุเรียน มังคุด หรือผลไม้อื่นๆ ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีของการส่งออกผลไม้ไทย

 

6.2 อุปสรรค

การนำเข้าผลไม้ไทยมายังฮ่องกง มีหลากหลายชนิด โดยเฉพาะผลไม้เขตร้อน (Tropical Fruits) เช่น ทุเรียน มังคุด กล้วย มะม่วง เงาะ ผลไม้เหล่านี้ไม่เพียงแต่มีการนำเข้าจากประเทศไทย แต่มีการแบ่งสัดส่วนทางการตลาดจากเวียดนาม มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ประเทศเพื่อนบ้านของประเทศไทยเราเหล่านี้มีการเพิ่มการผลิตและพัฒนาคุณภาพเพื่อการส่งออกมากขึ้น นอกจากนี้ฮ่องกงมีการนำเข้าผลไม้บางชนิดและสายพันธุ์ที่มีข้อจำกัดการเพาะปลูกในเขตร้อน เช่น การนำเข้าเชอร์รี กีวี่ จาก สหรัฐอเมริกา ชิลี นิวซีแลนด์และออสเตรเลีย มีการนำเข้าสตรอเบอร์รี่จากญี่ปุ่นและเกาหลี ซึ่งผลไม้รสเปรี้ยว (Citrus Fruits) เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคฮ่องกงและมีส่วนแบ่งทางตลาดของผลไม้เขตร้อนไปมาก

 

การขนส่งผลไม้จากไทยไปยังฮ่องกงต้องพิจารณาถึงระยะทางที่ไกลและเส้นทางขนส่งที่เหมาะสม เนื่องจากผลไม้เป็นวัตถุดิบที่ต้องการความรวดเร็วในการขนส่งเพื่อให้คงความสดใหม่ได้ในตลาดปลีกและส่งออก การขนส่งผลไม้ต้องใช้ระบบความเย็นที่เหมาะสมเพื่อรักษาคุณภาพของผลไม้ให้ดีที่สุด ทั้งนี้ต้องการการจัดการและทรัพยากรที่มีความเชี่ยวชาญในการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นขณะขนส่ง บางครั้งอุปสรรคอาจเกิดขึ้นเมื่อมีปัญหาในการคมนาคม ทั้งโดยทางอากาศและทางทะเล แต่ถึงอย่างนั้นประเทศไทยยังครองตลาดผลไม้บางชนิดเรื่อยมา เช่น ทุเรียน มังคุด เป็นต้น

 

7. ข้อเสนอแนะ

 

7.1 การสร้าง Branding ให้กับผลไม้จากประเทศไทย เน้นย้ำคุณภาพพรีเมียมของผลไม้ไทย ด้วยการใช้บรรจุภัณฑ์ที่สะท้อนถึงคุณภาพ พร้อมทั้งบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับแหล่งเพาะปลูก นอกจากนี้การใช้เอกลักษณ์ความเป็นไทยในการออกแบบโลโก้และบรรจุภัณฑ์ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยสร้างความแตกต่างและดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภคชาวฮ่องกง

 

ตัวอย่างแบรนด์: TP (Tropical Premium)

 

เป็นสัญลักษณ์ที่สร้างโดยผู้นำเข้าผลไม้บริษัท Shing Kee Lan Co. Ltd เพื่อแสดงถึงผลไม้จากไทยที่มีคุณภาพ ไม่เพียงแต่ใช้สำหรับทุเรียนเท่านั้น แต่ยังกำหนดใช้ในผลไม้และผักที่ผ่านการคัดสรรคุณภาพจากประเทศไทยโดยเฉพาะ

 

รายงานการตลาดผลไม้ไทยในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง

 

7.2 สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผลไม้จากประเทศไทยโดยใช้ความสดใหม่และคุณภาพเป็นจุดขายสำคัญของผลไม้ไทย ดังนั้น การใช้สโลแกนที่สื่อถึงการขนส่งที่รวดเร็วและการแสดงวันที่เก็บเกี่ยวอย่างชัดเจนจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค นอกจากนี้ การพัฒนาแบรนด์เฉพาะสำหรับตลาดฮ่องกง โดยใช้ภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่นในการสื่อสาร จะช่วยให้ผลไม้ไทยเข้าถึงผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น

 

รายงานการตลาดผลไม้ไทยในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง

 

 

7.3 ใช้เทคโนโลยี ในยุคที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น การนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนาการและประโยชน์ต่อสุขภาพของผลไม้ไทยจะเป็นจุดขายที่สำคัญ การใช้เทคโนโลยี เช่น QR Code เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแหล่งที่มาและวิธีการปลูก จะช่วยสร้างความโปร่งใสและความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค

 

รายงานการตลาดผลไม้ไทยในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง

 

7.4 การประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าต่าง ๆ ของสำนักงานส่งเสริมการค้า และการประชาสัมพันธ์ไปยังผู้นำเข้า การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้าไทยและการประชาสัมพันธ์ผลไม้ไทยในซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ โดยเลือกสถานที่จัดงานบริเวณย่านการค้า ออฟฟิศสำนักงาน และชุมชน

 

รายงานการตลาดผลไม้ไทยในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง

 

__________________________________________________

 

 สคต. ณ เมืองฮ่องกง

thThai