มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ของมณฑลเจียงซี ในครึ่งแรกของปี 2567 มีมูลค่าอยู่ที่ 1.56 ล้านล้านหยวน ขยายตัวร้อยละ 4.5 YoYและเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสแรกของปีเดียวกัน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5
ทั้งนี้ องค์ประกอบทางเศรษฐกิจของมณฑลเจียงซีมีพื้นฐานสำคัญจาก ภาคบริการ (Tertiary Industry) มีมูลค่าเพิ่ม 817,570 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 YoY ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก ภาคอุตสาหกรรม (Secondary Industry) อยู่ที่ 669,530 ล้านหยวน ขยายตัวร้อยละ 6.9 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก และภาคการเกษตร (Primary Industry) อยู่ที่ 76,700 ล้านหยวน ขยายตัวร้อยละ 3.3 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก
ครึ่งแรกของปี 2567 มูลค่ารวมการนำเข้าและส่งออกสินค้าในมณฑลทั้งหมด 31,106.64 ล้านหยวน ลดลงร้อยละ 38.24 YoY โดยเป็นการส่งออกมูลค่า 20,214.77 ล้านหยวน ลดลงร้อยละ 47.3 YoY และการนำเข้า 10,891.87 ล้านหยวน ลดลงร้อยละ 9.28 YoY ตลาดหลัก ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา เวียดนาม เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น มีสัดส่วนการค้ารวมอยู่ที่ร้อยละ 13.87, 8.45, 6.84, 5.39 และ 4.97 ตามลำดับ
โดยครึ่งแรกของปี 2567 มณฑลเจียงซีนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 15 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.38 ของเจียงซีนำเข้าจากทั่วโลก โดยมูลค่านำเข้าสินค้าจากไทยรวมทั้งสิ้น 259.71 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.38 YoY สินค้าหลักของการนำเข้า ดังนี้
ตารางแสดง มูลค่าการนำเข้าของมณฑลเจียงซีจากไทย 5 อันดับแรก
- การผลิตภาคเกษตรมีเสถียรภาพ อุปทานสินค้าเกษตรเพียงพอ
ในครึ่งปีแรก มูลค่าผลผลิตรวมของภาคเกษตร ป่าไม้ ปศุสัตว์ และประมงของจังหวัดอยู่ที่ 1.42 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 พื้นที่เพาะปลูกผักอยู่ที่ 5.556 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ผลผลิตผักและเห็ดมีปริมาณ 8.871 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ผลผลิตเนื้อหมูมีปริมาณ 1.27 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 0.9 ผลผลิตเนื้อสัตว์ปีกมีปริมาณ 396,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ผลผลิตไข่มีปริมาณ 366,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 ณ สิ้นไตรมาสที่สอง จำนวนสุกรมี 16.60 ล้านตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในช่วงครึ่งแรกของปี จำนวนสุกรที่ออกจำหน่ายอยู่ที่ 15.326 ล้านตัว ลดลงร้อยละ 1.5 ขณะที่ผลผลิตจากการประมงอยู่ที่ 1.372 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4
- การผลิตอุตสาหกรรมมีการเติบโตขึ้นอย่างมั่นคงต่อเนื่อง ผลิตภัณฑ์พลังงานใหม่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
ในช่วงครึ่งปีแรก มูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในมณฑลเติบโตขึ้น 8.8 YoY เมื่อแยกตามประเภทอุตสาหกรรม มูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมเหมืองแร่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 อุตสาหกรรมการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 และการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ความร้อน ก๊าซ และน้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตเทคโนโลยีขั้นสูงและอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักร ขยายตัวขึ้นร้อยละ 20.2 และ 17.2 ตามลำดับ
เมื่อแยกตามประเภทเศรษฐกิจ มูลค่าเพิ่มของบริษัทที่รัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นเติบโตขึ้นร้อยละ 4.5 บริษัทที่เป็นห้างหุ้นส่วนเติบโตขึ้นร้อยละ 9.2 บริษัทที่ได้รับการลงทุนจากต่างชาติรวมถึงฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวันเติบโตขึ้นร้อยละ 6.6 ส่วนบริษัทเอกชนเติบโตร้อยละ 10.1 และเมื่อแบ่งแยกตามผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยานยนต์พลังงานใหม่ (รถยนต์ไฟฟ้า) เพิ่มขึ้นร้อยละ 155.1 แผงวงจรรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.1 และสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.2
ในเดือนมิถุนายน มูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 และในช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม บริษัทอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีผลกำไรรวม 6,030 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3
- การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเติบโตต่อเนื่อง การลงทุนภาคอุตสาหกรรมขยายตัวอย่างรวดเร็ว
ในช่วงครึ่งปีแรก การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรของมณฑลเจียงซีเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 YoY หากแบ่งตามประเภทการลงทุน การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานลดลงร้อยละ 0.1 การลงทุนในภาคการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ลดลงร้อยละ 10.9
พื้นที่การขายอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ทั่วทั้งมณฑลอยู่ที่ 12.979 ล้านตารางเมตร ลดลงร้อยละ 32.9 มูลค่าการขายอสังหาริมทรัพย์อยู่ที่ 92,690 ล้านหยวน ลดลงร้อยละ 34.1
หากแบ่งตามภาคเศรษฐกิจ การลงทุนในภาคเกษตรลดลงร้อยละ 11.8 การลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 การลงทุนในภาคบริการลดลงร้อยละ 1.4 การลงทุนจากภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 การการลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงเติบโตขึ้นร้อยละ 0.9 โดยเฉพาะการลงทุนในอุตสาหกรรมบริการเทคโนโลยีขั้นสูงเติบโตขึ้นร้อยละ 18.4 การลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 โดยเฉพาะการลงทุนในด้านการปรับปรุงเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1
- ตลาดการบริโภคเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยสินค้าประเภทการยกระดับการบริโภคเติบโตได้ดี
ในช่วงครึ่งแรกของปี ยอดค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคของมณฑลเจียงซีอยู่ที่ 646,280 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 ยอดค้าปลีกของยอดค้าปลีกสินค้าของหน่วยค้าปลีกขนาดใหญ่ อยู่ที่ 254,770 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 YoY
เมื่อแบ่งตามประเภทการบริโภค ยอดค้าปลีกสินค้าในหน่วยงานที่มีขนาดเกินขีดกำหนดอยู่ที่ 234,660 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 รายได้จากการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มอยู่ที่ 20,120 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 ยอดขายสินค้าบางประเภทที่เป็นการยกระดับการบริโภคมีการเติบโตดี โดยเฉพาะยอดค้าปลีกสินค้าประเภทอุปกรณ์สื่อสาร กีฬาและบันเทิง และเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6, 34.5, และ 11.5 ตามลำดับ โดยยอดค้าปลีกรถยนต์พลังงานใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.2
ยอดค้าปลีกออนไลน์ของทั้งมณฑลอยู่ที่ 140,280 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 โดยยอดค้าปลีกสินค้าออนไลน์ที่เป็นสินค้าจริงอยู่ที่ 120,400 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 โดยในเดือนมิถุนายน ยอดค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งหมดเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 YoY
- ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคของประชาชนปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่อัตราการลดลงของราคาผู้ผลิตอุตสาหกรรมลดลง
-
- ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 YoY โดยแบ่งตามหมวดหมู่สินค้าดังนี้
6. สถานการณ์การจ้างงานโดยรวมมีความมั่นคง และรายได้ของประชาชนยังคงเติบโต
-
-
- รายจ่ายด้านการบริโภคโดยเฉลี่ยต่อหัว 16,679 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 YoY
- รายจ่ายด้านการบริโภคโดยเฉลี่ยต่อหัวในเขตเมือง 23,052 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 YoY
- รายจ่ายด้านการบริโภคโดยเฉลี่ยต่อหัวในชนบท 9,441 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 YoY
-
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 มีการจ้างงานใหม่ในเมืองทั้งหมด 271,000 คน มีผู้ว่างงานในเมืองที่หางานทำได้ 90,000 คน และมีผู้ที่มีความยากลำบากในการหางานทำได้ 30,000 คน นอกจากนี้ ยังมีการย้ายแรงงานจากชนบทเพิ่มขึ้น 376,000 คน
ในช่วงครึ่งแรกของปี รายจ่ายด้านการบริโภคโดยเฉลี่ยต่อหัวอยู่ที่ 16,679 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 YoY เมื่อแบ่งตามถิ่นที่พักอาศัย รายจ่ายด้านการบริโภคโดยเฉลี่ยต่อหัวในเขตเมือง 23,052 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 YoY รายจ่ายด้านการบริโภคโดยเฉลี่ยต่อหัวในชนบท 9,441 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 YoY
ความเห็นสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน: โดยรวมแล้ว ในช่วงครึ่งแรกของปี มีปัจจัยเชิงบวกในการดำเนินงานทางเศรษฐกิจของมณฑลเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีแนวโน้มการฟื้นตัวและการพัฒนาที่ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ดี ปัจจุบันสภาพแวดล้อมภายนอกมีความซับซ้อน และยังคงต้องจับตามองแนวโน้มของตลาดเจียงซีอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากช่วงครึ่งปีหลังเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของมณฑลเจียงซี จะยังคงเผชิญกับสถานการณ์ภายในและภายนอกที่มีความยากลำบากและซับซ้อน ทำให้พื้นฐานในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังต้องการการพัฒนา
มณฑลเจียงซีมีข้อจำกัดด้านการขนส่ง เนื่องจากเป็นพื้นที่ Inland แต่การเชื่อมต่อด้วยเส้นทางรถไฟ ลาว-จีนเปิดโอกาสใหม่ในการขนส่งสินค้าไทย เช่น ชิ้นส่วนเครื่องจักรและไม้ยางพารา ซึ่งมีศักยภาพในการเติบโต ขณะเดียวกันเมืองหนานชางและเขตหนานคังมีตลาดผู้บริโภคที่มีความต้องการซื้อ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน จึงได้ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้าไทยอย่างต่อเนื่อง พบว่า สินค้าไทย โดยเฉพาะผลไม้ เช่น ทุเรียน ได้รับความนิยมและยังมีโอกาสในการเติบโต
https://www.jiangxi.gov.cn/art/2024/7/18/art_5862_4955953.html#:~:text=7%E6%9C%8818%E6%97%A5%EF%BC%8C
http://tjj.jiangxi.gov.cn/art/2024/7/18/art_38582_4955757.html
https://mp.weixin.qq.com/s/6kMWgnpNUYFM-5dALx42Eg
Global Trade Alas
เรียบเรียงโดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน
4 ตุลาคม 2567