สถานการณ์เศรษฐกิจการค้านิวซีแลนด์ประจำเดือนพฤษภาคม ปี 2567

นิวซีแลนด์

  1. สถานการณ์เศรษฐกิจ– ยอดขาดดุลการค้านิวซีแลนด์ลดลงในช่วงไตรมาสเดือนมีนาคมลดลงจาก 2,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯอยู่ที่ 1,400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นผลจากมูลค่าการส่งออกนิวซีแลนด์และการส่งออกภาคบริการ (ภาคการท่องเที่ยว) ที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมีมูลค่า 17,050 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลงร้อยละ 14 (ตัวเลขจาก Overseas Trade Index (OTI) เป็นการลดการนำเข้าสินค้าน้ำมันปิโตรเลียม (ลดลงร้อยละ 20.2) เครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ด้านขนส่ง (ลดลงร้อยละ 33.1)- การส่งออกสินค้านมผงซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14 ของมูลค่าการส่งออกสินค้านิวซีแลนด์ทั้งหมด (เป็นสินค้าส่งออกหลักและสร้างรายได้ของนิวซีแลนด์ตั้งแต่ปี 2551 หลังข้อตกลงการค้าเสรีนิวซีแลนด์-จีนเริ่มบังคับใช้) มีมูลค่า 9,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีการขยายตัวทั้งเชิงมูลค่าและปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 109 และร้อยละ 112 ตามลำดับ โดยสินค้าร้อยละ 30 ส่งออกไปจีนเป็นหลัก

    – ภาวะเงินเฟ้อนิวซีแลนด์อยู่ที่ 4% อัตราการว่างงานอยู่ที่ 4.3% อัตราดอกเบี้ยนโยบายนิวซีแลนด์อยู่ที่ร้อยละ 5.5 ความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคธุรกิจหดตัวลงจากแรงกดดันด้านค่าครองชีพและต้นทุนธุรกิจจากภาวะเงินเฟ้อ

  2. สถานการณ์การค้าภาพรวมของนิวซีแลนด์ [1]ปี 2567 เดือนมกราคมพฤษภาคม สถานการณ์การส่งออกสินค้าของนิวซีแลนด์ มีมูลค่า 18,199 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 1.74) เป็นการส่งออกนมและผลิตภัณฑ์นม เนย ไขมัน (ร้อยละ 29.92) เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค (ร้อยละ 13.52) กีวี (ร้อยละ 7.48) ไม้ที่ยังไม่แปรรูป (ร้อยละ 6.47) อาหารปรุงแต่งสำหรับใช้เลี้ยงทารก (ร้อยละ 3.54) ประเทศส่งออกหลัก คือ จีน สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้  สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 11 (นมและครีมที่ทำให้เข้มข้น แอปเปิ้ล เยื่อไม้เคมีที่เป็นเยื่อไม้โซดาหรือเยื่อไม้ซัลเฟต อลูมิเนียม และอาหารปรุงแต่งสำหรับใช้เลี้ยงทารก)ปี 2567 เดือนมกราคมพฤษภาคม การนำเข้าสินค้าของนิวซีแลนด์ มีมูลค่า 18,673 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 12.65) โดยเป็นการนำเข้าน้ำมันปิโตรเลียมดิบและน้ำมันดิบที่ได้จากแร่บิทูมินัส (ร้อยละ 15.6) เครื่องกังหันไอพ่น (ร้อยละ 13.25) รถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 11.90)  เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 9.00) อุปกรณ์และเครื่องใช้ในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ร้อยละ 3.66) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้และญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ขาดดุลการค้า 474 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 7 มีมูลค่า 728.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 2.13) (รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ น้ำตาลและขนมทำจากน้ำตาล โพลิเมอร์ของเอทิลีนในลักษณะขั้นปฐม แชมพูและสิ่งปรุงแต่งที่ใช้กับเส้นผม และเตาอบ เครื่องใช้ที่ให้ความร้อนด้วยไฟฟ้า )  โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 395.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (14,641.27 ล้านบาท)

    สถานการณ์การส่งออกสินค้าของนิวซีแลนด์ในเดือนพฤษภาคม 2567 มีมูลค่า 4,279.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 0.95)  เป็นการส่งออกนมและผลิตภัณฑ์นม เนย ไขมัน (ร้อยละ 28.24) เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค (ร้อยละ 13.82) กีวี (ร้อยละ 11.77) ไม้ที่ยังไม่แปรรูป (ร้อยละ 5.67) และอาหารปรุงแต่งสำหรับใช้เลี้ยงทารก (ร้อยละ 3.73) โดยประเทศส่งออกหลัก คือ จีน สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้  สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 16  (นมและครีมที่ทำให้เข้มข้น แอบเปิ้ล อาหารปรุงแต่งสำหรับใช้เลี้ยงทารก เคซีอิน และเนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค)

    การนำเข้าสินค้าของนิวซีแลนด์ในเดือนพฤษภาคม 2567 มีมูลค่า 4,164 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 2) โดยเป็นการนำเข้าปิโตรเลียมดิบและน้ำมันดิบที่ได้จากแร่บิทูมินัส (ร้อยละ 14.75) เครื่องกังหันไอพ่น (ร้อยละ 14.27) รถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 12.00) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 8.09) เครื่องบิน/เฮลิคอปเตอร์ (ร้อยละ 4.23) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ซึ่งในเดือนพฤษภาคม 2567 นิวซีแลนด์ได้ดุลการค้า 115.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ  ไทย เป็นคู่ค้าอันดับ 8 (รถยนต์ น้ำตาลและขนมทำจากน้ำตาล เครื่องปรับอากาศ โพลิเมอร์ของเอทิลีนในลักษณะขั้นปฐมและเครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ)

    3. สรุปสถานการณ์การค้าไทย-นิวซีแลนด์ [1]

    เป้าหมายส่งออก มูลค่าการค้ารวม (ล้าน US$) มูลค่าการส่งออก (ล้าน US$) มูลค่าการนำเข้า (ล้าน US$)
    ปี 2023

    (%)

    ปี 2024

    (%)

    ปี 2023 ปี 2024 ปี 2023 ปี 2024 ปี 2023 ปี 2024
    ม.ค.– ธ.ค. ม.ค.-พ.ค. +/- (%) ม.ค. – ธ.ค. ม.ค.-พ.ค. +/- (%) ม.ค. – ธ.ค. ม.ค.-พ.ค. +/- (%)
    2.0

    (-24.94)

    1.0 2,242.32

    (-21.20)

    1,032.93 6.97 1,404.14

    -24.94

    658.16 14.52 838.18

    (-14.00)

    374.77 -4.13

    [1] Source: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

    4. การค้าของไทยเดือนพฤษภาคม ปี 2567

  • การส่งออกสินค้าไทยไปนิวซีแลนด์เดือนพฤษภาคม ปี 2567 มีมูลค่า 128.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (4,494 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ53 เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำตาลทราย เครื่องปรับอากาศ เม็ดพลาสติก เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักร แต่การส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง อาหารทะเลกระป๋อง เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียมและผลิตภัณฑ์พลาสติกลดลง
  • การนำเข้าสินค้าของไทยจากนิวซีแลนด์เดือนสิงหาคม ปี 2567 มีมูลค่า 70.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (2,471 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ 24.77 เป็นการลดลงของสินค้านมและผลิตภัณฑ์นม อาหารปรุงแต่งสำหรับใช้เลี้ยงทารก ไม้ซุงและไม้แปรรูป สัตว์น้ำสด แช่เย็นแช่แข็ง และเคมีภัณฑ์ แต่การนำเข้า ผัก ผลไม้ เยื่อกระดาษ เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค สินแร่โลหะอื่นๆและสัตว์สำหรับทำพันธุ์
thThai