รัฐซาบาห์ของมาเลเซียเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วจากการเป็น ผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายสำคัญของโลก

ที่มา : สำนักข่าว Bernama

รัฐซาบาห์เป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) รายใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย โดยมีปริมาณการผลิต 4.5 ล้านตันในปี 2566 เนื่องมาจากกำลังการผลิตและอัตราการสกัดน้ำมันที่สูงมาก ซึ่งสร้างรายได้มากมายให้กับเกษตรกร โรงงานแล้วรัฐบาลมาเลเซียอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลแห่งรัฐซาบาห์มุ่งมั่นที่จะสร้างความมั่นคงให้กับอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มในอนาคต ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญที่สุดของซาบาห์ โดยคิดเป็นร้อยละ 22 จากรายได้ทั้งหมดของรัฐ โดยสร้างมูลค่ากว่า 6,220 ล้านริงกิตต่อปี ในปัจจุบันรัฐซาบาห์กำลังใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการผลิตน้ำมันปาล์ม โดยการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวได้ถูกใช้งานจากโรงงาน 128 แห่งทั่วทั้งรัฐ ซึ่งมีกำลังการผลิตผลปาล์มสดได้มากถึง 34.7 ล้านตันต่อปี และรัฐบาลซาบาห์เป็นเจ้าของคลัสเตอร์อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มในเมืองลาฮัดดาตูซึ่งมีขนาด 1,781 เฮกตาร์บนชายฝั่งตะวันออกของซาบาห์

เป็นที่น่าสนใจว่าอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของซาบาห์มีบทบาทสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสนับสนุนเป้าหมายของมาเลเซียในการบรรลุการปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 ซึ่งสอดคล้องกับแผนงานการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานแห่งชาติ โดยอุตสาหกรรมนี้ก็มีศักยภาพในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแผนอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มยังยืน

 

 

แผนอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของซาบาห์

  1. การจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน
    • การปลูกป่าทดแทน : อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มในซาบาห์ให้ความสำคัญกับการปลูกป่าทดแทนหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อรักษาความสมดุลของระบบนิเวศและลดการปล่อยคาร์บอน
    • การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ : มีการดำเนินโครงการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อรักษาพันธุ์พืชและสัตว์ท้องถิ่น
    • การใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ : การปรับปรุงเทคนิคการปลูกและการจัดการสวนปาล์มน้ำมัน ทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ได้มากขึ้น ลดความจำเป็นในการขยายพื้นที่ปลูกใหม่
  1. การผลิตพลังงานทดแทน
    • การผลิตไบโอดีเซล : น้ำมันปาล์มสามารถนำมาผลิตเป็นไบโอดีเซล ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงทดแทนที่ช่วยลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
    • การผลิตไฟฟ้าจากกากปาล์ม : กากปาล์มที่เหลือจากกระบวนการผลิตน้ำมันปาล์ม สามารถนำมาเผาเพื่อผลิตไฟฟ้า ซึ่งเป็นพลังงานทดแทนอีกชนิดหนึ่ง
  1. การดักจับคาร์บอน
    • การปลูกป่า : ต้นปาล์มน้ำมันสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศได้ ทำให้ช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ
    • การใช้ดิน : การจัดการดินในสวนปาล์มน้ำมันอย่างถูกวิธี สามารถช่วยเพิ่มปริมาณคาร์บอนที่ถูกกักเก็บไว้ในดินได้
  1. การส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น:
    • สร้างรายได้ : อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและชุมชนในพื้นที่ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต
    • สร้างงาน : อุตสาหกรรมนี้สร้างงานให้กับประชาชนในท้องถิ่นจำนวนมาก

รัฐซาบาห์มีการผลิตไฟฟ้าชีวมวล 25.75 ล้านตันจากกิจกรรมการปลูกและการสกัดน้ำมันปาล์ม ซึ่งเปิดโอกาสอันยิ่งใหญ่สำหรับพลังงานหมุนเวียนและนวัตกรรมในปีหน้า นอกจากนี้รัฐซาบาร์กำลังพยายามดึงดูดนักลงทุนและผู้กำหนดนโยบายทุกคนร่วมมือกับรัฐบาลในการทำให้ซาบาห์เป็นศูนย์กลางการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนระดับโลก

 

บทวิเคราะห์ผลกระทบ

     รัฐซาบาห์เป็นรัฐที่มีศักยภาพในการปลูกและการสกัดน้ำมันปาล์มโดยให้ความสนใจกับเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มและพลังงานยั่งยืน นอกจากนี้รัฐซาบาร์กำลังพยายามดึงดูดนักลงทุนและผู้กำหนดนโยบายทุกคนร่วมมือกับรัฐบาลในการทำให้ซาบาห์เป็นศูนย์กลางการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนระดับโลกแล

ปัจจุบัน อินโดนีเซียและมาเลเซีย ถือเป็นสองประเทศที่เป็นผู้นำในการผลิตน้ำมันปาล์มของโลก โดยทั้งสองประเทศครองส่วนแบ่งตลาดน้ำมันปาล์มดิบรวมกันมากกว่าร้อยละ 80 ของตลาดโลกโดยมีหลายปัจจัยจากสภาพภูมิอากาศและดินที่เหมาะสมและนโยบายสนับสนุนจากรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ในช่วง              หลายปีที่ผ่านมา มีความพยายามในการผลักดันให้การผลิตน้ำมันปาล์มเป็นไปอย่างยั่งยืน เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การบุกรุกพื้นที่ป่า การใช้สารเคมี และการปล่อยน้ำเสีย

 

ความคิดเห็น สคต.      

การเติบโตของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มในรัฐซาบาห์ประเทศมาเลเซียถือเป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการไทยที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีทางการเกษตรที่จะส่งออกและเข้าร่วมเป็น Partner และมีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องของรัฐซาบาห์

สำนักงานฯ มีความเห็นว่านี้เป็นโอกาสในการค้าและลงทุนที่ผู้ประกอบการไทยสามารถส่งออกสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันไปยังซาบาห์ได้มากขึ้น เช่น เครื่องจักรกลการเกษตร ปุ๋ย เคมีภัณฑ์ และบริการที่ปรึกษา และที่สำคัญคือการส่งออกเทคโนโลยีและนวัตกรรมรวมไปถึงการแลกเปลี่ยนความรู้       การทำงานร่วมกับบริษัทในซาบาห์ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยได้เรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน รวมไปถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของตลาด และเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการไทยที่สามารถเข้ามาร่วมทุนกับบริษัทในซาบาห์

 

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์

thThai