แถลงข่าวการประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗

แถลงข่าวการประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗

วันพฤหัสบดีที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๑๔.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.
ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ

นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ประธานกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗
ได้แถลงผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
๑. ความคืบหน้าของโครงการที่ได้รับจัดสรรงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และ พ.ศ. ๒๕๖๘
โดยได้มีการติดตามโครงการที่ได้รับจัดสรรงบกลางภายใต้โครงการที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการฯ
ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ จำนวน ๒๕ โครงการ วงเงิน ๖๓๕.๕๔ ล้านบาท ซึ่งโครงการที่สำคัญส่วนใหญ่
เป็นโครงการภายใต้นโยบาย One Family One Soft Power หรือ OFOS และโครงการสนับสนุนอุตสาหกรรม
เพื่อการสร้าง Ecosystem ให้เหมาะสมในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมแต่ละด้าน และมีการดำเนินการ
เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ อาทิ โครงการ MUAYTHAI SOFT POWER ประจำปี ๒๕๖๗ การสนับสนุนเทศกาล
งานประกาศรางวัลภาพยนตร์ ละคร ซีรีส์ สารคดี แอนิเมชันในประเทศไทย การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้าน
อาหารจะมีโครงการหนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งเชฟอาหารไทย ที่เมื่อจบหลักสูตรแล้วสามารถเป็นเชฟมืออาชีพและมีงาน
รองรับทันที สำหรับในปีงบประมาณ ๒๕๖๘ ได้รับจัดสรร ๓๓ โครงการ วงเงิน ๒,๓๓๒.๕๘ ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่
จะเป็นโครงการสนับสนุนอุตสาหกรรมเพื่อการสร้าง Ecosystem ซึ่งขณะนี้หน่วยรับงบประมาณอยู่ระหว่าง
หารือกับภาคเอกชนเพื่อเตรียมดำเนินการให้เป็นไปตามแผน นอกจากนี้ สำนักงบประมาณได้มาชี้แจงปฏิทิน
งบประมาณและแนวทางการขอรับจัดสรรงบประมาณปี ๒๕๖๙ ซึ่งต้องพิจารณาใน ๗ ประเด็นสำคัญ ได้แก่ (๑)
มุ่งเน้นดำเนินการตามนโยบายสำคัญของรัฐบาล นโยบายเร่งด่วน นโยบายระยะกลางและระยะยาว (๒)
สนับสนุนโอกาสในการพัฒนาประเทศ (๓) พิจารณาลำดับความสำคัญตามความจำเป็นเร่งด่วน (๔) มุ่งเน้น
ดำเนินการตามนโยบายจัดทำแผนงาน/โครงการ โดยกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด ผลลัพธ์ที่จะเป็นประโยชน์กับ
ประชาชน (๕) พิจารณาความครอบคลุมทุกแหล่งเงิน ทั้งเงินงบประมาณ และเงินนอกงบประมาณ (๖) ให้
ความสำคัญกับการจัดทำงบประมาณมิติพื้นที่ (Area) ให้สอดคล้องกับแผนการพัฒนาพื้นที่ (Area) และ (๗)
ดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ ๒๕๖๑ พ.ร.บ.
วิธีการงบประมาณ ๒๕๖๑ กฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน
๒. ความคืบหน้าของโครงการ One Family One Soft Power (OFOS) ปัจจุบันมีผู้สมัคร
ลงทะเบียน OFOS จำนวน ๕๘๓,๒๒๘ คน ซึ่งหลักสูตรที่ประชาชนให้ความสนใจมากที่สุด ได้แก่ ด้านอาหาร
รองลงมา คือ ด้านการท่องเที่ยว ด้านดนตรี ด้านกีฬา ด้านแฟชั่น ด้านภาพยนตร์ ละครและซีรีส์ ด้านเกม ด้าน
การออกแบบ ด้านหนังสือ ด้านศิลปะ และด้านเฟสติวัล ตามลำดับ โดยจังหวัดนครราชสีมา กรุงเทพมหานคร
และนครพนม เป็น ๓ พื้นที่ที่มีจำนวนผู้ลงทะเบียนสูงที่สุด โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
หรือ DGA ได้พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเว็บไซต์ THACCA เพื่อรวบรวมข้อมูล ข่าวสาร บทความต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
การขับเคลื่อนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ และระบบ OFOS Portal รวบรวมข้อมูลหลักสูตร Upskill / Reskill
ที่ได้รับความเห็นชอบจากแต่ละอุตสาหกรรม รวมถึงระบบลงทะเบียน OFOS ให้ประชาชนลงทะเบียน
แจ้งความประสงค์ และเข้ารับการอบรมเพื่อ Upskill / Reskill ในอุตสาหกรรม และอาชีพที่ตนสนใจเรียบร้อย
แล้ว และอยู่ระหว่างการพัฒนาแพลตฟอร์ม THACCA Academy สำหรับรวบรวมข้อมูลเนื้อหาการเรียนการ
สอน ประวัติการเรียน ผลการเรียน ผลการสอบ ทั้งหลักสูตรแบบ Online และ Onsite
๓. ความคืบหน้าของร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ พ.ศ. …. (พ.ร.บ. THACCA)
ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างรอนำเสนอเสนอคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติที่มีนายกรัฐมนตรีเป็น
ประธาน เพื่อพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
หน้า ๒/๓
Press Release
๔. การจัดงาน Thailand Winter Festivals คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านเฟสติวัล
ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในการวางแผนจัดงาน Thailand Winter Festivals โดยจะจัดกิจกรรม
กว่า ๕๒ งานใน ๕ ภูมิภาค แบ่งเป็น ๗ กลุ่ม ได้แก่ ลอยกระทง เคาท์ดาวน์ กีฬา อาหาร Culture and Faithful
ดนตรี และ Lighting and Illumination ซึ่งได้มีการแถลงข่าวเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๗
ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่การจัดกิจกรรมงานสีสันแห่งสายน้ำ มหกรรมลอยกระทง ระหว่างวันที่ ๑๓ – ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๗
และต่อด้วยกิจกรรมแรกของงาน Bangkok Illumination ในวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน – ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๗
ที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งจะเป็นการใช้ Lighting และ Illumination เพื่อสร้างบรรยากาศการท่องเที่ยว โดยจะจัดให้มี
กิจกรรม และมี Gimmick ต่อเนื่องจากงานวิจิตรเจ้าพระยา รวมถึงจะมีการจะมีการตกแต่งไฟ ใช้แสงเลเซอร์
และภาพเคลื่อนไหวเพื่อสร้างสีสันเชื่อมระหว่างจุดต่าง ๆ ของพื้นที่จัดงานในกรุงเทพมหานคร เพื่อดึงดูด
นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
๕. งานเทศกาลไทยในต่างประเทศประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๘ โดยกระทรวงการต่างประเทศมุ่งเน้น
ที่จะยกระดับและ Rebrand เทศกาลไทยให้มีความทันสมัยด้วยภาพลักษณ์ใหม่ และมีการจัดทำแผนที่โครงการ
เทศกาลไทยในต่างประเทศ รวมกว่า ๔๕ โครงการ (๓๒ ประเทศ) ทั้งนี้ มีการกำหนดประเทศที่เป็น Flagship
๖ ประเทศ จาก ๔ ภูมิภาค ได้แก่ เทศกาลที่วอชิงตัน ปารีส นิวเดลี ริยาด ปักกิ่ง และฮานอย
๖. แนวทางการสร้าง Ecosystem เพื่อขับเคลื่อนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ สำนักงาน ป.ย.ป.
รายงานผลการสร้าง Ecosystem ซึ่งที่ผ่านมาสำนักงาน ป.ย.ป. อยู่ระหว่างการยกร่างกรอบยุทธศาสตร์และ
แผนการขับเคลื่อนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ ซึ่งเป็นการดำเนินการร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ที่เกี่ยวข้อง ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญในแต่ละอุตสาหกรรมเป้าหมาย นอกจากนี้ ยังได้มีการดำเนินการ
เกี่ยวกับการจัดทำมาตรการสิทธิประโยชน์ และการปรับปรุงกฎหมาย โดยได้มีการรวบรวมประเด็นมาตรการ
สิทธิประโยชน์ที่ต้องพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขกฎหมายจากทั้ง ๑๑ อุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยผลงาน
ที่ดำเนินการแล้วในปี ๒๕๖๗ และจะดำเนินการต่อเนื่อง คือ ประเด็นเกี่ยวกับธุรกิจโรงแรม/ที่พัก และประเด็น
ธุรกิจนำเที่ยว/มัคคุเทศก์ และในปี ๒๕๖๘ จะเป็นประเด็นการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ ทรัพย์สินทางปัญญา
และ MICE รวมถึงได้มีการเตรียมการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการกำหนดนโยบายและการส่งเสริม
การพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ โดยประมวล จัดระเบียบพัฒนา และเชื่อมโยงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบคลังข้อมูล
อิเล็กทรอนิกส์ที่เข้าถึงง่าย พร้อมใช้ ครอบคลุม ถูกต้องแม่นยำ และมีประสิทธิภาพ และการพัฒนาระบบหรือ
แพลตฟอร์มสำหรับการเชื่อมโยงข้อมูล การใช้ข้อมูล ตลอดจนการเชื่อมบุคลากรและทรัพยากร และเชื่อม
ระหว่างธุรกิจและผู้บริโภค ให้ภาคเอกชนและสาธารณชนนำไปใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ มีมติมอบหมายให้สำนักงาน ป.ย.ป. เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ รวมถึงให้เสนอแผนการดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
ซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ ต่อประธานกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
และรายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานให้คณะกรรมการฯ ทราบเป็นระยะต่อไป
๗. ความคืบหน้าการดำเนินการของหอศิลป์แห่งชาติ (รัชดาภิเษก) และการดำเนินการในระยะต่อไป
ที่ผ่านมาคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านศิลปะร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรมดำเนิน
โครงการสร้างคอลเลคชั่นถาวรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หอศิลป์แห่งชาติ (รัชดาภิเษก) เพื่อเป็นสถานที่สร้าง
นิทรรศการระยะยาวบนพื้นที่ ๑๕,๐๐๐ ตารางเมตร ที่จะรวบรวมผลงานจากหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงาน
ภาคเอกชน และ ของบุคคล ซึ่งจะเป็นการเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยของไทย
โดยในหอศิลป์แห่งชาติ (รัชดาภิเษก) จะประกอบไปด้วยกิจกรรม (๑) การจัดนิทรรศการมรดกวัฒนธรรมไทย
และศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทย ห้องแกลเลอรี ๑ – ๓ (ชั้น G) (๒) การจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ เพื่ออำนวย
ความสะดวกในการเข้าชมนิกรรศการศิลปะ ณ หอศิลป์แห่งชาติ (๓) การจัดเตรียมพื้นที่ให้เหมาะสมกับการจัด
หน้า ๓/๓
Press Release
แสดงนิทรรศการ (๔) กิจกรรมสร้างการรับรู้และการประชาสัมพันธ์ (๕) กิจกรรมการแสดง Projection
Mapping และ (๖) กิจกรรมอบรมและสัมมนา ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมมีแผนจะเปิดหอศิลป์แห่งชาติ
(รัชดาภิเษก) เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน และเป็นหมุดหมายของศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย
นอกจากนี้ ยังได้มีการนำเสนอแผนการดำเนินงาน และงบประมาณที่จะใช้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ เพื่อให้
ที่ประชุมพิจารณา ซึ่งที่ประชุมมีมติรับหลักการดำเนินการหอศิลป์ฯ โดยให้กระทรวงวัฒนธรรม และ
คณะอนุกรรมการฯ ด้านศิลปะจัดทำข้อมูลให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การขอรับงบประมาณ และนำเสนอต่อ
คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติเพื่อพิจารณาต่อไป
๘. การดำเนินการร่วมกันของคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติกับตลาดนัดจตุจักร และ
กรุงเทพมหานคร ซึ่งการบริหารตลาดนัดจตุจักรมีศักยภาพในการพัฒนาเป็น Thailand Soft Power Gateway
ของทั้ง ๑๑ อุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยตลาดนัดจตุจักรมีทั้งหมด ๓๑ โครงการ รวมกว่า ๑๐,๓๓๔ แผงค้า
มีนักท่องเที่ยวเฉลี่ยหลังโควิดสูงสุด ๓๐๙,๓๕๖ คนต่อวัน สร้างเงินหมุนเวียนมากกว่า ๔๓๐ ล้านบาทต่อเดือน
คณะกรรมการฯ จึงมีมติเห็นชอบให้มีการศึกษาแนวทางการพัฒนาตลาดจตุจักรและบริเวณพื้นที่โดยรอบ และให้
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อขับเคลื่อนงานพัฒนาตลาดจตุจักรอย่างเป็นรูปธรรม และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
๙. การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมรวม ๑๖ คณะ ประกอบด้วย คณะอนุกรรมการ
ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม ๑๒ ด้าน ๑๔ คณะ ได้แก่ ด้านภาพยนตร์ สารคดี และแอนิเมชั่น ด้านละครและซีรีส์ ด้าน
ออกแบบ ด้านกีฬา ด้านศิลปะ ด้านหนังสือ ด้านอาหาร ด้านแฟชั่น ด้านเฟสติวัล ด้านเกม ด้านดนตรี และ
ด้านท่องเที่ยว โดย ๑๒ คณะเดิมได้มีการการปรับแก้ไขชื่อและองค์ประกอบของแต่ละคณะอนุกรรมการให้มีขนาด
เล็กลง แต่ครอบคลุมผู้เกี่ยวข้องมากขึ้น โดยได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ เพิ่มเติม ๒ คณะ ได้แก่ ได้แก่
คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านศิลปะการแสดง ที่แยกออกมาจากคณะอนุกรรมการฯ ด้านศิลปะ
เดิม และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านอุตสาหกรรม Wellness นอกจากนี้ ยังได้เห็นชอบให้มี
คณะอนุกรรมการอํานวยการจัดการประชุมนานาชาติด้านซอฟต์พาวเวอร์ และคณะอนุกรรมการจัดทำมาตรการ
สิทธิประโยชน์เพื่อการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศด้วย

thThai