A. ด้านการค้า

  1. การค้าระหว่างประเทศของเวียดนาม

1.1 เดือนกันยายน 2567

ในเดือนกันยายน 2567 การค้าของเวียดนามมีมูลค่า 65,836 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 8.0 เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2567 โดยเป็นการส่งออกมูลค่า 34,078 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 9.8 และการนำเข้ามูลค่า 31,758 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 5.9 โดยเกินดุลการค้ามูลค่า 2,319 ล้านเหรียญสหรัฐ

สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบ มูลค่า 6,362 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2567 รองลงมาคือ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล มูลค่า 5,010 ล้านเหรียญสหรัฐ (+5.3%) โทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่า 4,617 ล้านเหรียญสหรัฐ (-1.7%) สิ่งทอและเครื่องนุ่มห่ม มูลค่า 2,979 ล้านเหรียญสหรัฐ (-26.5%) และรองเท้า มูลค่า1,567 ล้านเหรียญสหรัฐ (-24.6%) ตามลำดับ

สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบ มูลค่า 9,708 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2567 รองลงมาคือ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล มูลค่า 4,038 ล้านเหรียญสหรัฐ (-11.0%) สิ่งทอ หนัง และรองเท้าและชิ้นส่วน มูลค่า 2,343 ล้านเหรียญสหรัฐ (-0.7%) เหล็กและเหล็กกล้า มูลค่า 1,065 ล้านเหรียญสหรัฐ (+4.3%) และโทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่า 1,045 ล้านเหรียญสหรัฐ (+14.9%) ตามลำดับ

1.2 ช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม – กันยายน)

1.2.1 การค้ารวม

ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม – กันยายน) การค้ารวมของเวียดนามมีมูลค่า 578,492 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 โดยเป็นการส่งออกมูลค่า 299,650 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 และการนำเข้ามูลค่า 278,842 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3 โดยเกินดุลการค้ามูลค่า 20,808 ล้านเหรียญสหรัฐ

ตารางที่ 1: สถิติการค้าระหว่างเวียดนามกับโลก

หน่วย: พันล้านเหรียญสหรัฐ

รายการ ช่วงเดือนมกราคม – กันยายน
2565 2566 2567
มูลค่า %

การเปลี่ยนแปลง

มูลค่า %

การเปลี่ยนแปลง

มูลค่า %

การเปลี่ยนแปลง

ปริมาณการค้ารวม 559.1 15.2 497.4 -11.0 578.5 16.3
– การส่งออก 282.9 17.5 259.7 -8.2 299.6 15.4
– การนำเข้า 276.1 13.0 237.7 -13.9 278.8 17.3
ดุลการค้า 6.9 -300.8 22.1 219.6 20.8 -5.7

ที่มา: กรมศุลกากรของเวียดนาม

1.2.2  การส่งออก

ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม – กันยายน) สินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนาม 5 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบ มูลค่า 52,756 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 รองลงมาคือ โทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่า 41,895 ล้านเหรียญสหรัฐ (+7.2%) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล มูลค่า 37,793 ล้านเหรียญสหรัฐ (+22.1%) สิ่งทอและเครื่องนุ่มห่ม มูลค่า 27,345 ล้านเหรียญสหรัฐ (+8.9%) และรองเท้า มูลค่า 16,538 ล้านเหรียญสหรัฐ (+12.5%) ตามลำดับ

ตลาดส่งออกสินค้าสำคัญของเวียดนาม 5 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา มูลค่า 88.16 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 รองลงมาคือ จีน มูลค่า 44.39 พันล้านเหรียญสหรัฐ (+3.7%) เกาหลีใต้ มูลค่า 18.88 พันล้านเหรียญสหรัฐ (+6.6%) ญี่ปุ่น มูลค่า 18.01 พันล้านเหรียญสหรัฐ (+4.6%) และเนเธอร์แลนด์ มูลค่า 9.45 พันล้านเหรียญสหรัฐ (+27.5%) ตามลำดับ ทั้งนี้ ไทยเป็นตลาดส่งออกสำคัญลำดับที่ 9 มูลค่า 5.87 พันล้านเหรียญสหรัฐ (+7.7%)

1.2.3 การนำเข้า

ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม – กันยายน) สินค้านำเข้าสำคัญของเวียดนาม  5อันดับแรกได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบ มูลค่า 79,116 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 รองลงมาคือ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล มูลค่า 35,419 ล้านเหรียญสหรัฐ (+16.6%) สิ่งทอ หนัง และรองเท้าและชิ้นส่วน มูลค่า 20,386 ล้านเหรียญสหรัฐ (+14.8%) เหล็กและเหล็กกล้า มูลค่า 8,972 ล้านเหรียญสหรัฐ (+18.9%) และเม็ดพลาสติก มูลค่า 8,473 ล้านเหรียญสหรัฐ (+18.1%) ตามลำดับ

ตลาดนำเข้าที่สำคัญของเวียดนาม 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน มูลค่า 104.81 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 รองลงมาคือ เกาหลีใต้ มูลค่า 41.45 พันล้านเหรียญสหรัฐ (+8.4%) ไต้หวัน มูลค่า 16.62 พันล้านเหรียญสหรัฐ (+21.7%) ญี่ปุ่น มูลค่า 15.99 พันล้านเหรียญสหรัฐ (+1.7%) และสหรัฐอเมริกา มูลค่า 10.96 พันล้านเหรียญสหรัฐ (+6.8%) ตามลำดับ ทั้งนี้ ไทยเป็นตลาดนำเข้าสำคัญลำดับที่ 6 มูลค่า 8.90 พันล้านเหรียญสหรัฐ (+2.5%)

 

ตารางที่ 2: สถิติการส่งออกไปยังตลาดหลักของเวียดนามในช่วงเดือนมกราคม – กันยายน 2567

ที่ ตลาด สินค้าหลัก มูลค่า

(พันล้านเหรียญสหรัฐ)

%

การเปลี่ยนแปลง

1 สหรัฐอเมริกา –     เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบ

–     เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล

–     สิ่งทอ

88.16 25.5
2 จีน –     โทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์และส่วนประกอบ

–     เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบ

–     ผักและผลไม้

44.39 2.9
3 เกาหลีใต้ –     เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบ

–     โทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์และส่วนประกอบ

–     เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล

18.88 6.6
4 ญี่ปุ่น –     สิ่งทอ

–     ยานพาหนะการขนส่ง ชิ้นส่วน อุปกรณ์และส่วนประกอบ

–     เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล

18.01 4.6
5 เนเธอร์แลนด์ –     เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบ

–     เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล

–     รองเท้า

9.45 27.5
6 ฮ่องกง –     เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบ

–     โทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์และส่วนประกอบ

–     เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล

9.29 38.4
7 อินเดีย –     โทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์และส่วนประกอบ

–     เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบ

–     เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล

7.06 13.5
8 ไทย –     เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล

–     โทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์และส่วนประกอบ

–     เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบ

5.87 7.7
9 เยอรมนี –     เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล

–     โทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์และส่วนประกอบ

–     เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบ

5.83 4.6
10 สหราชอาณาจักร –     เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล

–     โทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์และส่วนประกอบ

–     รองเท้า

5.66 21.1

ที่มา: กรมศุลกากรของเวียดนาม

ตารางที่ 3: สถิติการนำเข้าตามตลาดหลักของเวียดนามในช่วงเดือนมกราคม – กันยายน 2567

ที่ ตลาด สินค้าหลัก มูลค่า

(พันล้านเหรียญสหรัฐ)

%

การเปลี่ยนแปลง

1 จีน –     เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบ

–      เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล

–     สิ่งทอ

104.81 32.4
2 เกาหลีใต้ –     เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบ

–      เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล

–     ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม

 

41.45

 

8.4
3 ไต้หวัน –     เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบ

–     สิ่งทอ

–     เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล

16.62 21.7
4 ญี่ปุ่น –     เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบ

–     เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล

–     เหล็กและเหล็กกล้า

15.99 1.7
5 สหรัฐอเมริกา –     เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบ

–     เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล

–     อาหารสัตว์และวัตถุดิบอาหารสัตว์

10.96 6.8
6 ไทย –     รถยนต์

–     เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล

–     เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบ

8.90 2.5
7 อินโดนีเซีย –     ถ่านหิน

–     เหล็กและเหล็กกล้า

–     รถยนต์

7.39 15.7
8 มาเลเซีย –     เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบ

–     ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม

–     เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล

6.82 21.3
9 ออสเตรเลีย –      ถ่านหิน

–      แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่

–      กลุ่มแร่โลหะพื้นฐานอื่นๆ

5.81 -9.2
10 คูเวต –      น้ำมันดิบ

–     ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas)

–     เม็ดพลาสติก

5.74 45.9

ที่มา: กรมศุลกากรของเวียดนาม

  1. การค้าระหว่างเวียดนามกับไทย

2.1 เดือนกันยายน 2567

2.1.1 การค้ารวม

ในเดือนกันยายน 2567 การค้าระหว่างเวียดนามกับไทยมีมูลค่า 1,718.20 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2567 โดยเวียดนามส่งออกสินค้าไปไทยมูลค่า 629.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 และเวียดนามนำเข้าสินค้าจากไทยมูลค่า 1,088.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.3

2.1.2 การส่งออก

  • สินค้าส่งออกไปไทยที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล มูลค่า 90.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2567 รองลงมาคือ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบ มูลค่า 86.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (+0%) น้ำมันดิบ มูลค่า 50.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (+100.0%) โทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่า 49.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (+23.2%) และยานพาหนะอื่นๆ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่า 39.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (-14.1%) ตามลำดับ
  • สินค้าส่งออกไปไทยที่มีอัตราการเติบโตสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ น้ำมันดิบ มูลค่า 6 ล้านเหรียญสหรัฐ (+100.0%) รองลงมาคือ แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่ มูลค่า 0.25 ล้านเหรียญสหรัฐ (+99.8%) พริกไทย มูลค่า 3.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (+91.2%) เหล็กและเหล็กกล้า มูลค่า 10. 9 ล้านเหรียญสหรัฐ (+29.3%) และผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ มูลค่า 26.1 ล้านเหรียญสหรัฐ (+23.7%) ตามลำดับ

2.1.3 การนำเข้า

  • สินค้านำเข้าจากไทยที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ รถยนต์ มูลค่า 2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.8 เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2567 รองลงมาคือ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบ มูลค่า 97.4 ล้านเหรียญสหรัฐ (-4.6%) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล มูลค่า 91.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (+0.2%) อุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์ มูลค่า 67.0 ล้านเหรียญสหรัฐ (+20.8%) และเม็ดพลาสติก มูลค่า 56.4 ล้านเหรียญสหรัฐ (-14.2%)
  • สินค้านำเข้าจากไทยที่มีอัตราการเติบโตสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ปุ๋ย มูลค่า 3 ล้านเหรียญสหรัฐ (+402.4%) รองลงมาคือ ยาฆ่าแมลง สารเคมีกำจัดหนูและวัตถุดิบ มูลค่า 5.1 ล้านเหรียญสหรัฐ (+284.6%) วัตถุดิบในการผลิตยา มูลค่า 0.41 ล้านเหรียญสหรัฐ (+130.7%) เหล็กและเหล็กกล้า มูลค่า 9.1 ล้านเหรียญสหรัฐ (+71.8%) และกล้องถ่ายรูป กล้องวิดีโอ และอุปกรณ์ มูลค่า 8.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (+64.3%)

2.2 ช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม – กันยายน)

2.2.1 การค้ารวม

ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม – กันยายน) การค้าระหว่างเวียดนามกับไทยมีมูลค่า 14,765.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 หรือคิดเป็นร้อยละ 2.6 ของการค้าระหว่างประเทศของเวียดนามทั้งหมด โดยเวียดนามส่งออกสินค้าไปไทยมูลค่า 5,867.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 หรือคิดเป็นร้อยละ 2.0 ของการส่งออกทั้งหมด และเวียดนามนำเข้าสินค้าจากไทยมูลค่า 8,897.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 หรือคิดเป็นร้อยละ 3.2 ของการนำเข้าทั้งหมด ส่งผลให้เวียดนามขาดดุลการค้ากับไทยประมาณ 3,030.3 ล้านเหรียญสหรัฐ

ตาราง 4: สถิติการค้าระหว่างเวียดนามกับไทย

หน่วย: พันล้านเหรียญสหรัฐ

รายการ ในช่วงมกราคม – กันยายน
2565 2566 2567
มูลค่า ขยายตัว

(%)

สัดส่วน (%) มูลค่า ขยายตัว

(%)

สัดส่วน (%) มูลค่า ขยายตัว

(%)

สัดส่วน (%)
ปริมาณการค้า 16.1 17.4 2.9 14.1 -12.3 2.8 14.8 4.5 2.6
– การส่งออก 5.6 27.4 2.0 5.4 -2.4 2.1 5.9 7.7 2.0
– การนำเข้า 10.5 12.7 3.8 8.7 -17.6 3.7 8.9 2.5 3.2
ดุลการค้า -4.9 -0.26 -71.8 -3.2 35 -14.7 -3.0 -6.4 -14.6

ที่มา: กรมศุลกากรของเวียดนาม

2.2.2 การส่งออก

  • สินค้าส่งออกไปไทยที่มีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล มูลค่า 6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 รองลงมาคือ โทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่า 657.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (-14.2%) เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบ มูลค่า 584.4 ล้านเหรียญสหรัฐ (+27.9%) น้ำมันดิบ มูลค่า 576.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (+1.3%) และยานพาหนะอื่นๆ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่า 430.8 ล้านเหรียญสหรัฐ (-23.2%) ตามลำดับ รายละเอียดตามภาคผนวก 1
  • สินค้าส่งออกไปไทยที่มีอัตราการเติบโตสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เคมีภัณฑ์ มูลค่า 5 ล้านเหรียญสหรัฐ (+253.9%) รองลงมาคือ แร่และผลิตภัณฑ์แร่ มูลค่า 1.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (+220.1%) ผลิตภัณฑ์จากพลาสติก มูลค่า 175.0 ล้านเหรียญสหรัฐ (+142.9) อัญมณี โลหะมีค่า และเครื่องประดับ มูลค่า 9.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (+141.0%) และแก้วและผลิตภัณฑ์จากแก้ว มูลค่า 42.8 ล้านเหรียญสหรัฐ (+88.3%) ตามลำดับ

2.2.3 การนำเข้า

  • สินค้านำเข้าจากไทยที่มีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ รถยนต์ มูลค่า 922.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 รองลงมาคือ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบ มูลค่า 898.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (-8%) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล มูลค่า 739.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (+11.3%) เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านและส่วนประกอบ มูลค่า 643.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (+21.1%) และเม็ดพลาสติก มูลค่า 501.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (+8.2%) ตามลำดับ รายละเอียดตามภาคผนวก 2
  • สินค้านำเข้าจากไทยที่มีอัตราการเติบโตสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ แร่และผลิตภัณฑ์แร่ มูลค่า 64.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (+121.6%) อัญมณี โลหะมีค่า และเครื่องประดับ มูลค่า 29.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (+8%) กล้องถ่ายรูป กล้องวิดีโอ และอุปกรณ์ มูลค่า 26.9 ล้านเหรียญสหรัฐ (+69.5%) วัตถุดิบในการผลิตยา มูลค่า 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (+53.2%) และสายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล มูลค่า 58.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (+52.7%)

B. การลงทุน

    1. การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign direct investment-FDI)

จากสถิติของกระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนาม (Vietnam’s Ministry of Planning and Investment) ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 20 กันยายน 2567 มีต่างประเทศเข้ามาลงทุนในเวียดนามมูลค่า 24,783 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 โดยมีโครงการใหม่จำนวน 2,492 โครงการ รวมมูลค่า 13,553 ล้านเหรียญสหรัฐ (+11.3%) โครงการที่เพิ่มมูลค่าการลงทุนจำนวน 1,027 โครงการ รวมมูลค่า 7,643 ล้านเหรียญสหรัฐ (+48.1%) และโครงการที่นักลงทุนต่างชาติซื้อหุ้นจากบริษัทเวียดนามจำนวน 2,471 โครงการ รวมมูลค่า 3,585 ล้านเหรียญสหรัฐ (-26.2%)

สาขาที่ได้รับการลงทุนมากที่สุดคือ อุตสาหกรรมการผลิตและการประมง (15,637 ล้านเหรียญสหรัฐ) อสังหาริมทรัพย์ (4,380 ล้านเหรียญสหรัฐ) การผลิตและการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า น้ำประปา ก๊าซ และเครื่องปรับอากาศ (1,120 ล้านเหรียญสหรัฐ) การค้าส่งและการค้าปลีก และการซ่อมรถยนต์รถจักรยานยนต์ (920.0 ล้านเหรียญสหรัฐ) และกิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ (847.1 ล้านเหรียญสหรัฐ)

ตาราง 5:  สาขาที่ได้รับการลงทุนมากที่สุดในเวียดนาม

ที่ ช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 20 กันยายน 2567 การลงทุนสะสม

(ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2530 – 20 กันยายน 2567)

สาขา โครงการใหม่ มูลค่ารวม

(ล้านเหรียญสหรัฐ)

สาขา โครงการ มูลค่า

(ล้านเหรียญสหรัฐ)

1 อุตสาหกรรมการผลิตและการประมง 844 15,637.9 อุตสาหกรรมการผลิตและการประมง 17,615 298,713.5
2 อสังหาริมทรัพย์ 55 4,380.0 อสังหาริมทรัพย์ 1,189 71,521.5
3 การผลิตและการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า น้ำประปา ก๊าซ และเครื่องปรับอากาศ 3 1,120.0 การผลิตและการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า น้ำประปา ก๊าซ และเครื่องปรับอากาศ 196 41,674.2
4 การค้าส่งและการค้าปลีก และ
การซ่อมรถยนต์รถจักรยานยนต์
872 920.0 ธุรกิจบริการที่พักและอาหาร 1,007 15,427.2
5 กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ 287 847.1 การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ 7,824 11,672.2
อื่นๆ 431 1,878.4 อื่นๆ 13,483 52,705.2
รวม 2,492 24,783.4 รวม 41,314 491,713.9

ที่มา: สำนักงานการลงทุนต่างประเทศ ภายใต้กระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนาม

 

ประเทศที่ลงทุนมากที่สุดในเวียดนาม คือ สิงคโปร์ (7,350 ล้านเหรียญสหรัฐ) จีน (3,225 ล้านเหรียญสหรัฐ) เกาหลีใต้ (2,892 ล้านเหรียญสหรัฐ) ฮ่องกง (2,586 ล้านเหรียญสหรัฐ) และญี่ปุ่น (2,584 ล้านเหรียญสหรัฐ)

 

ตาราง 6: ประเทศที่ลงทุนมากที่สุดในเวียดนาม

ที่ ช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 20 กันยายน 2567 การลงทุนสะสม

(ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2530 – 20 กันยายน 2567)

ประเทศ โครงการใหม่ มูลค่ารวม

(ล้านเหรียญสหรัฐ)

ประเทศ โครงการ มูลค่า

(ล้านเหรียญสหรัฐ)

1 สิงคโปร์ 339 7,350.2 เกาหลีใต้ 10,054 88,292.9
2 จีน 729 3,225.7 สิงคโปร์ 3,806 81,126.7
3 เกาหลีใต้ 302 2,892.7 ญี่ปุ่น 5,431 76,865.7
4 ฮ่องกง 263 2,586.2 ไต้หวัน 3,234 40,564.3
5 ญี่ปุ่น 190 2,584.8 ฮ่องกง 2,706 36,980.5
อื่นๆ 669 6,143.8 อื่นๆ 16,083 167,883.7
รวม 2,492 24,783.4 รวม 41,314 491,713.9

ที่มา: สำนักงานการลงทุนต่างประเทศ ภายใต้กระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนาม

 

ตั้งแต่ชายฝั่งตอนกลางใต้ถึงสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงของเวียดนาม จังหวัดที่ได้รับการลงทุนมากที่สุด คือ นครโฮจิมินห์ (1,914 ล้านเหรียญสหรัฐ) จังหวัดบาเรีย – วุ๊งเต่า (1,704 ล้านเหรียญสหรัฐ) จังหวัดบิ่นห์เยือง (1,651 ล้านเหรียญสหรัฐ) นครด่งนาย (1,413 ล้านเหรียญสหรัฐ) และจังหวัดลองอาน (671.4 ล้านเหรียญสหรัฐ)

ตาราง 7: จังหวัดที่ได้รับการลงทุนมากที่สุดตั้งแต่ชายฝั่งตอนกลางใต้ถึงสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงของเวียดนาม

ที่ ช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 20 กันยายน 2567 การลงทุนสะสม

(ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2530 – 20 กันยายน 2567)

บริเวณ โครงการใหม่ มูลค่ารวม

(ล้านเหรียญสหรัฐ)

บริเวณ โครงการ มูลค่า

(ล้านเหรียญสหรัฐ)

I ชายฝั่งตอนกลางใต้ 75 1,272.3   1,858 29,617.1
1 Ninh Thuan 4 1,004.6 Da Nang 1,054 6,584.4
2 Quang Nam 8 97.9 Quang Nam 234 6,433.8
3 Quang Ngai 2 50.9 Khanh Hoa 124 4,437.7
4 Khanh Hoa 3 45.6 Binh Thuan 159 3,867.3
5 Da Nang 55 31.2 Ninh Thuan 61 2,661.1
จังหวัดอื่นๆ 3 42.1 จังหวัดอื่นๆ 219 5,062.8
II. ที่ราบสูงตะวันตก 3 562.1   170 1,931.9
1 Dak Lak 2 525.4 Dak Lak 32 723.2
2 Gia Lai 0 26.7 Lam Dong 101 553.9
3 Dak Nong 1 6.5 Dak Nong 21 318.4
4 Lam Dong 0 3.6 Kon Tum 8 243.4
5     Gia Lai 8 93.0
III. ภาคใต้ 1,438 8,269.0 23,112 225,052.8
A. ตะวันออกเฉียงใต้ 1,334 7,220.8 21,043 188,450.9
1 Ho Chi Minh City 1,025 1,914.2 Ho Chi Minh City 13,285 58,204.4
2 Ba Ria – Vung Tau 34 1,704.1 Binh Duong 4,348 42,028.1
3 Binh Duong 153 1,651.4 Dong Nai 1,974 36,977.1
4 Dong Nai 75 1,413.8 Ba Ria – Vung Tau 584 36,488.9
5 Tay Ninh 27 336.6 Tay Ninh 382 9,887.2
6 Binh Phuoc 20 200.7 Binh Phuoc 470 4,865.2
B. สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง 104 1,048.2 2,069 36,601.9
1 Long An 89 671.4 Long An 1,466 14,077.2
2 Tien Giang 4 293.4 Kien Giang 68 4,832.0
3 Kien Giang 3 21.6 Bac Lieu 17 4,697.6
4 Bac Lieu 1 21.0 Tra Vinh 40 3,199.7
5 Soc Trang 0 16.5 Tien Giang 147 2,993.1
จังหวัดอื่นๆ 7 24.4 จังหวัดอื่นๆ 331 6,802.3

ที่มา: สำนักงานการลงทุนต่างประเทศ ภายใต้กระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนาม

  1. การลงทุนของไทยในเวียดนาม

2.1 ช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 20 กันยายน 2567 บริษัทไทยเข้ามาลงทุนในเวียดนามมูลค่า 91 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีโครงการใหม่จำนวน 25 โครงการ มูลค่า 59.25 ล้านเหรียญสหรัฐ โครงการที่เพิ่มมูลค่าการลงทุนจำนวน 7 โครงการ มูลค่าเพิ่มประมาณ 45.34 ล้านเหรียญสหรัฐ และโครงการที่นักลงทุนไทยซื้อหุ้นจากบริษัทเวียดนามจำนวน 31 โครงการ มูลค่า 26.33 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 14 จาก 98 ประเทศที่เข้ามาลงทุนในเวียดนาม

2.2 การลงทุนสะสม (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2530 – 20 กันยายน 2567) ไทยเป็นผู้ลงทุนอันดับที่ 9 จาก 148 ประเทศที่เข้ามาลงทุนในเวียดนาม โครงการลงทุนรวม 756 โครงการ มูลค่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ

***********************************

thThai