แนวทางนโยบายการค้าฮ่องกง กับ สหรัฐฯ ภายหลังชัยชนะทรัมป์

  แนวทางนโยบายการค้าฮ่องกง กับ สหรัฐฯ ภายหลังชัยชนะทรัมป์

แนวทางนโยบายการค้าฮ่องกง กับ สหรัฐฯ ภายหลังชัยชนะทรัมป์

เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 นาย John Lee Ka -Chiu ตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง  กล่าวว่าฮ่องกงจะพยายามสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าแบบ
“ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย”แต่จะใช้แนวทางพื้นฐานเพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางธุรกิจได้อย่างสูงสุดกับสหรัฐฯ หลังจากที่นาย Donald Trump ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดี

นาย Donald Trump  ซึ่งจะเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคมปีหน้า ได้ให้คำมั่นระหว่างการหาเสียงว่าจะจัดเก็บภาษีนำเข้าสินค้า “Made in China” ร้อยละ 60 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ในการให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมของอเมริกาเป็นอันดับแรก และเมื่อถูกถามถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายที่นาย Trump อาจนำมาใช้กับฮ่องกง
นาย Lee กล่าวว่า “เราหวังที่จะพัฒนาความสัมพันธ์การค้าเสรีและส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้าที่เป็นประโยชน์ร่วมกันและเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายโดยยึดหลักการเคารพ
ซึ่งกันและกัน”

หลายปีที่ผ่านมาประเทศสหรัฐอเมริกามียอดเกินดุลการค้ากับฮ่องกงมูลค่าราว 270,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และในปี 2566 มีบริษัทอเมริกันที่ตั้งสำนักงาน 419 แห่งในฮ่องกง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดระหว่างฮ่องกงและสหรัฐอเมริกา รวมถึงผลประโยชน์ทางธุรกิจอันมหาศาลของธุรกิจสหรัฐฯ ในฮ่องกง

การค้าระหว่างฮ่องกงกับสหรัฐอเมริกา

                         ในปี 2566 สหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่เป็นอันดับสองของฮ่องกง รองจากจีน มูลค่าการส่งออกทั้งหมดของฮ่องกงไปยังสหรัฐฯ 34,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (272,500 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง)  สินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ อุปกรณ์โทรคมนาคมและส่วนประกอบ (23%) คอมพิวเตอร์ (9%) ไข่มุกและอัญมณีมีค่า (9%) เซมิคอนดักเตอร์และท่อและวาล์วอิเล็กทรอนิกส์ (7%) เครื่องประดับ (7%) ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของใช้สำนักงาน/คอมพิวเตอร์ (5%) งานศิลปะ (4%) และอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับวงจรไฟฟ้า (4%)

                        ในปีเดียวกัน สหรัฐฯ เป็นแหล่งนำเข้าสินค้ารายใหญ่เป็นอันดับ 6 ของฮ่องกง โดยการนำเข้าสินค้าทั้งหมดของฮ่องกงจากสหรัฐฯ มีมูลค่า 25,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รายการนำเข้าหลัก ได้แก่ อุปกรณ์โทรคมนาคมและส่วนประกอบ (17%) เซมิคอนดักเตอร์ หลอดและวาล์วอิเล็กทรอนิกส์ (15%) ไข่มุกและอัญมณีมีค่า (11%) งานศิลปะ (9%) เครื่องประดับ (6%) เครื่องยนต์และมอเตอร์ อุปกรณ์ที่ไม่ใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบ (6%) และคอมพิวเตอร์ (3%)

แนวทางนโยบายการค้าฮ่องกง กับ สหรัฐฯ ภายหลังชัยชนะทรัมป์

                         https://research.hktdc.com/en/article/MzIwNjY2NTgx

 

ความคิดเห็นของ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองฮ่องกง

ผู้ประกอบการฮ่องกงที่มีธุรกิจการผลิตในจีนคาดว่า จะมีผลกระทบกับนโยบายที่ นาย Donald Trump ที่ประกาศให้คำมั่นระหว่างการหาเสียงว่าจะจัดเก็บภาษีนำเข้าสินค้า “Made in China” ร้อยละ 60 ซึ่งถ้าหากเป็นจริงย่อมเกิดผลกระทบโดยตรงกับผู้ประกอบการฮ่องกง โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากภาษี ซึ่งผู้ประกอบการฮ่องกง อาจต้องพิจารณาย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น ๆ ที่มีต้นทุนที่ต่ำกว่า ซึ่งรัฐบาลไทยควรอาศัยจังหวะนี้ทำการประชาสัมพันธ์ด้านการลงทุนเพื่อเสนอให้ฮ่องกงมาขยายการลงทุนในไทยแทน หรือเป็นการร่วมลงทุน อย่างไรก็ตาม ไทยก็ควรระมัดระวังมาตรการกีดกันจากสหรัฐฯ ที่นาย Donald  Trump ประกาศนโยบาย American First เช่นกัน

 

แหล่งข้อมูล :  https://www.scmp.com/news/hong-kong/hong-kong-economy/article/3286170/hong-kong-seek-win-win-trade-ties-us-after-trumps-victory-john-lee

 

thThai