สป.คองโก และเคนยา ประเทศที่มีความเสี่ยงในการลงทุนมากที่สุดในแอฟริกาตะวันออกจริงหรือ?

จากผลการจัดทำดัชนีความเสี่ยงด้านการลงทุนและสภาพแวดล้อมด้านการเมืองในแอฟริกาในปี 2024 (Africa Risk-Reward Index 2024) จากการศึกษาของ สถาบัน Oxford Economics Africa ประจำปี 2024 ที่จะให้คะแนนประเทศต่างๆ ในแอฟริกา โดยเป็นการพิจารณา ด้านปัจจัยความเสี่ยงในด้านต่างๆ ได้แก่ การเมืองภายในประเทศ ความเสี่ยงด้านสังคม ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ และความเสี่ยงด้านการลงทุน เป็นต้น

 

โดยผลการจัดอันดับในปี 2024 พบว่า ในประเทศที่อยู่ในแอฟริกาตะวันออกนั้น 3 ลำดับแรก ได้แก่ สป.คองโก มีความเสี่ยงมากที่สุด (7.6) เคนยา (6.06) ยูกานดา (6.01) ตามลำดับ โดยการให้คะแนนนี้ เป็นจัดลำดับทุกปี โดยเป็นข้อมูลตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2566 ปีก่อนถึง กันยายน 2567 โดยประเทศที่มีความเสี่ยงน้อยสุดและน่าลงทุนมากที่สุดในแอฟริกาได้แก่ รวันดา (5.11)

 

โดยหากมาดูสถานการณ์ในแต่ละประเทศแล้ว สป.คองโก มีความเสี่ยงมากที่สุดเนื่องจากยังมีการสู้รบและความไม่สงบในหลายพื้นที่ ซึ่งรัฐบาลกลางยังไม่สามารถควบคุมได้ อย่างไรก็ดี หากพิจารณาผลการประเมินจะเห็นได้ว่าความเสี่ยงในเรื่องดังกลาวมีคะแนนที่ลดลง 0.3 จุดแสดงให้เห็นว่า ความเสี่ยงมีอัตราน้อยลงตามลำดับในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

 

หันมาดูประเทศเคนยา ที่ว่าทำไมถึงถูกจัดลำดับให้มีความเสี่ยงในการลงทุนมากขึ้นนั้น สาเหตุหลักก็คือ ประการแรก เคนยาถูกลดลำดับในการให้เครติดจาก S&P จากลำดับ “B” เป็น “B-” และ Fitch จาก “B” เป็น “B-” เช่นเดียวกัน ทำให้ถูกมองว่า มีความเสี่ยงมากขึ้น ประการถัดมา เนื่องจาก ในเดือน มิถุนายนที่ผ่านมาเกิดการประท้วงและเหตุการณ์ไม่สงบทั่วกรุงไนโรบี ในการที่รัฐบาลต้องการแก้ไขกฎหมายด้านภาษีและการเงินตามคำแนะนำของ IMF ทำให้คนเคนยาได้เกิดความไม่พอใจเนื่องจากจะทำให้ได้รับความเดือนร้อนจากภาษีและค่าครองชีพที่สูงขึ้น เนื่องจากกฎหมายดังกล่าว มีหลายเรื่องที่เป็นผลกระทบเป็นวงกว้าง เช่น การเรียกเก็บภาษีการสินค้าขนมปังที่ไม่เคยเก็บมาก่อน การเพิ่มค่าธรรมเนียมทางหลวง ที่ไม่เคยมีการเรียกเก็บ เป็นต้น ซึ่งแม้การประท้วงจะไม่ได้รุนแรงมากนัก แต่ก็ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในด้านการดำเนินธุรกิจที่จะมีต้นทุนสูงขึ้น และมีความสงบและประท้วงกันมาเป็นระยะ จนในที่สุดรัฐบาลต้องออกประกาศว่าจะมีการทบทวนกฎหมายดังกล่าว ให้มีผลกระทบน้อยที่สุดต่อไป ประการต่อมา รัฐบาล ปธน. รูโต้ ไม่ได้รับความเชื่อมั่นทั้งทางภาคธุรกิจและประชาชนค่อนข้างมาก หลังจากที่ขึ้นมาบริหารประเทศ ก็มีความไม่พอใจหลายประการ อาทิ การใช้จ่ายงบประมาณที่ไม่โปร่งใส การที่มีการขึ้นภาษีน้ำมันโดยเรียกเก็บ VAT 16% ส่งผลให้สินค้าหลายรายการปรับตัวสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งนำมาสู่การประท้วงในที่สุด อย่างไรก็ดี ตามกระบวนการเลือกตั้ง รัฐบาลของรูโต้ ยังมีวาระในการดำรงตำแหน่งมากกว่า 2 ปีจากในปัจจุบัน และไม่ยอมจะลาออกหรือจัดการเลือกตั้งใหม่ตามที่มีการเรียกร้อง ทำให้ความเชื่อมั่นในรัฐบาลนี้น้อยลงตามลำดับ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจต่อไปอย่างแน่นอน

 

นอกจากนั้น ทั้งสองประเทศ ยังมีผู้เสียชีวิตทั้งจากความไม่สงบใน สป.คองโก ที่มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 200 คนในพื้นที่ทางตอนเหนือของเมือง Kivu และในเคนยาที่มีผู้เสียชีวิตจากการประท้วงรัฐบาลกว่า 20 คน ทำให้ทั้งสองประเทศนี้ ถูกมองว่า มีความเสี่ยงด้านการเมืองและความมั่นคงที่ยังสูง และมีแนวโน้มที่อาจจะพัฒนารุนแรงมากขึ้นได้ในอนาคต

 

ความเห็นของ สคต.

 

จากตัวเลขทางเศรษฐกิจที่เคนยาต้องประสบในปี 2024 นี้ ทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มลดลงจากเดิม 5.5% เป็น 5.0% ทำให้แม้ประเทศยังคงมีเศรษฐกิจที่เติบโตกว่าปี 2023 ดังกล่าว แต่มีตัวเลขและแนวโน้มหลายด้านที่ยังมีสัญญานที่ไม่ดีนัก ไม่ว่าจะเป็นค่าครองชีพที่สูงขึ้นมาก อัตราเงินเฟ้อที่ยังคงควบคุมให้อยู่ในกรอบไม่ได้ หรือ การขาดดุลการค้า และงบประมาณที่นำไปสู่การประท้วงไม่สงบในประเทศ ล้วนส่งผลให้บรรยากาศด้านการค้าและการลงทุนในเคนยา อาจไม่สดในเท่าที่ควร อย่างไรก็ดี IMF ยังมองว่า ปี 2025 เคนยาจะขยายตัวดีขึ้น

 

จากปี 2024 โดยคาดการณ์ว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 5.2-5.5% แต่ต้องมีสมมุติฐานว่า ไม่มีภาวสงครามหรือราคาพลังงานสูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ตลอดจนความเสี่ยงจากการประท้วงที่ยังคงมีอย่างต่อเนื่องแม้จะไม่รุนแรงเช่นที่เคยเกิดขึ้นในเดือน มิ.ย. 2567 ที่ผ่านมา

 

สำหรับประเทศไทยนั้น ผู้ส่งออกไทยควรติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจของเคนยาอย่างใกล้ชิด เพราะในภาพรวมที่กล่าวมาข้างต้นนั้น มีผลให้กำลังชื้อของผู้บริโภคในเคนยาลดลง ซึ่งจะเห็นได้จากการส่งออกของไทยที่ลดลงกว่าร้อยละ -18.87% ในช่วง ม.ค.- ส.ค. 2567 ที่ผ่านมานั่นเอง ดังนั้น ผู้ส่งออกต้องใช้ความระมัดระวังในการส่งมอบสินค้าและเก็บค่าสินค้าจากผู้นำเข้าให้ดีมากขึ้น อย่างไรก็ดี มีสินค้าหลายชนิดที่ขยายตัวได้ดี เช่น อาหารสำเร็จรูป ปลากระป๋อง ผลิตภัณฑ์สิ่งทอต่างๆ เป็นต้น โดยคาดว่า การส่งออกของไทยมาเคนยาในปี 2567 ทั้งปีจะมีมูลค่าประมาณ 6,000 ล้านบาท ลดลงกว่า –10% จากปี 2566

 

ผู้ส่งออกที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมด้านการค้าและการลงทุนต่าง ๆ เกี่ยวประเทศเคนยา และประเทศในแอฟริกาตะวันออก ท่านสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ E-mail: ของสำนักงานฯ ที่ info@ocanairobi.co.ke

 

ที่มา : the Eastafrican

thThai