ตลาดเพชรสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มูลค่า 40 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโต 5.5%
นาย Juma Al Kait รองปลัดกระทรวงเศรษฐกิจ (ฝ่ายการค้าต่างประเทศ) กล่าวระหว่างการแถลงข่าวในงาน Dubai Diamond Conference ครั้งที่ 6 ที่จัดโดย Dubai Multi Commodities Centre (DMCC) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน Dubai Diamond Week ว่ามูลค่าการค้าเพชรของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์หรือยูเออีจะมากกว่า 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2567 ซึ่งเพชรนั้นคิดเป็นสัดส่วนสูงสุดของการค้าสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมัน (non-oil) หรือร้อยละ 5.5% คิดเป็นมูลค่าเกือบ 3.9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2566 และในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 มีมูลค่าประมาณ 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ
ขณะนี้ยูเออีได้ก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการค้าเพชรที่สำคัญของโลก โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลายประการ อาทิ
- ข้อตกลงการค้าที่ครอบคลุม (CEPA) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการค้าเพชรของยูเออี โดยสามารถขจัดอุปสรรคทางการค้า เปิดตลาดและโอกาสใหม่ๆ ในภูมิภาคเอเชีย แอฟริกา และทั่วโลก ช่วยกระตุ้นการค้าเพชรระหว่างประเทศ
- บทบาทของ DMCC : Dubai Multi Commodities Centre มีส่วนสำคัญในการผลักดันการค้าเพชรทั่วโลก ผ่านการสร้างโครงสร้างพื้นฐานและระบบนิเวศที่เอื้อต่อธุรกิจเพชร
- นอกจากนี้ ความสำคัญของอุตสาหกรรมเพชรมีบทบาทที่สำคัญมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจของ ยูเออี โดยมีจุดเด่นคือความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง การปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น ตำแหน่งประธาน Kimberley Processในปี 2567 ยูเออีจะทำหน้าที่เป็นประธาน Kimberley Process เป็นการดำรงตำแหน่งครั้งที่สองหลังจากที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกเมื่อปี 2559 ครั้งนี้ นาย Ahmed Bin Sulayem ประธานบริหารและซีอีโอของ DMCC จะทำหน้าที่เป็นประธาน ซึ่งในปี 2567 จะเป็น “ปีแห่งการส่งมอบ” (Year of Delivery) โดยมุ่งเน้นการผลักดันโครงการสำคัญให้เกิดผลเป็นรูปธรรม มีแผนงานหลัก อาทิ การจัดตั้งสำนักงานเลขาธิการถาวรในบอตสวานา การส่งเสริมความโปร่งใสและการปฏิบัติตามหลักนิติธรรม การทบทวนและปฏิรูปกระบวนการ Kimberley Process การนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้กับใบรับรอง Kimberley Process เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมเพชรโดยสรุป ยูเออีมุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือ การปฏิรูปกระบวนการและการนำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อลดอุปสรรคทางการเมืองและเพิ่มประสิทธิภาพของ Kimberley Processความสำคัญต่ออุตสาหกรรมเพชรของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เริ่มแต่ปี 2564 ยูเออีเป็นศูนย์กลางการค้าเพชรที่ใหญ่ที่สุดในโลก และในปี 2565 มีมูลค่าการค้าเพชรดิบและเพชรเจียระไน มูลค่า 3.74 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 ขณะนี้ยูเออีเป็นผู้นำเข้าและส่งออกเพชรที่มีใบรับรอง Kimberley Process รายใหญ่ที่สุด ซึ่งการเป็นประธาน Kimberley Process ครั้งนี้จะช่วยตอกย้ำบทบาทของยูเออีในฐานะศูนย์กลางการค้าเพชรระดับโลก สะท้อนถึงความสำเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรมเพชรของประเทศ แสดงให้เห็นถึงตำแหน่งของยูเออีในฐานะจุดหมายปลายทางด้านการค้าและการลงทุนระดับโลก และตอกย้ำวิสัยทัศน์ในการสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจการค้าอัญมณีมีค่าระหว่างไทย-ยูเออียูเออีเป็นคู่ค้าอันดับที่ 8 ของไทยในตลาดสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ในปี 2566 ไทยส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับปี 2567 (ม.ค-ก.ย.) ไทยส่งออกอัญมณีเครื่องประดับ และทองคำไปยูเออีมูลค่า 177.53 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สินค้าหลักที่ส่งออกได้แก่เครื่องประดับแท้มีสัดส่วนสูงสุดหรือร้อยละ 70 รองลงไปคือพลอยสัดส่วนร้อยละ 27 และอัญมณีสังเคราะห์ร้อยละ 2
—————————————————————-