กรมสรรพากรเคนยา หรือ The Kenya Revenue Authority (KRA) เล็งออกกฎหมายที่จะให้ผู้ทำธุรกิจทาง WhatsApp จะต้องมีการออกใบสำคัญอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อจะเรียกจัดเก็บภาษีที่ได้จากการทำธุรกรรมหรือทำธุรกิจผ่าน Application ดัวกล่าว โดยผู้เชี่ยวชาญกล่าว ปัจจุบัน Chatbot ในแอฟ WhatsApp สามารถออกใบเสร็จรับเงินจากระบบดังกล่าวได้ และ KRA ก็มองว่า ปัจจุบัน ผู้ทำธุรกิจผ่าน ระบบนี้ เป็นผู้หลีกเลี่ยงการจัดเก็บภาษีธุรกิจวิธีหนึ่งที่เป็นไปอย่างแพร่หลายในเคนยา ทำให้ประเมินว่า รัฐบาลสูญเสียรายได้จากส่วนนี้ถึงกว่า หลายร้อยล้าน USD ต่อปี
ทั้งนี้ เคนยาเพิ่งมีการจัดทำระบบ ใบเสร็จแบบอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นในปี 2024 ที่ผ่านมา และเริ่มมีการใช้งานมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งระบบดังกล่าวนี้ สามารถจัดทำ platform หรือเชื่อมโยงกับ application ทาง Social media ได้โดยไม่ยาก จึงเล็งจะเรียบเก็บค่าใช้จ่ายนี้กับ ผู้ทำธุรกิจผ่าน WhatsApp ดังกล่าวข้างต้น
โดยปัจจุบัน รัฐบาลเคนยาได้ออกมาตรการทางภาษีหลายอย่าง เพื่อหารายได้เพิ่มเติมเพื่อให้มีการขาดดุลงบประมาณลดลง และช่องทางหนึ่งที่ได้มีการเล็งไว้ก็คือ การจัดเก็บภาษีของผู้ทำธุรกิจผ่าน application online ต่างๆ และ WhatsApp ซึ่งเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเคนยา ก็จะเป็นหนูทดลองในเรื่องนี้
ทั้งนี้ รัฐบาลเคนยาประมาณการว่า หากสามารถจัดเก็บภาษีทาง WhatsApp ได้แล้ว จะเพิ่มรายได้ทางภาษีกับรัฐบาลกว่า 200-500 ล้าน USD เลยที่เดียว และมีวัตถุประสงค์ให้นักธุรกิจที่หลีกเลี่ยงภาษีนิติบุคคลแล้วหันมาใช้ข่องว่างในการใน Application ในการทำธุรกิจดังกล่าวนั้น จะต้องถูกเก็บภาษีในที่สุด
ความเห็นของ สคต.
ต้นทุนของภาคธุรกิจในเคนยาได้มีการปรับตัวสูงขึ้น จากการขึ้นภาษีหลายรายการของรัฐบาล ในช่วงปี 2567 ที่ผ่านมา นอกจากนั้น การที่จะมีการเรียกเก็บภาษีกับผู้ทำธุรกิจรายย่อยและบุคคลนั้น ต่างเป็นมาตรการที่ได้รับการคัดค้านจากประชาชนและภาคธุรกิจเป็นอย่างมาก เนื่องจาก ทุกฝ่ายเห็นว่า การเพิ่มต้นทุนดังกล่าว จะยิ่งทำให้ไม่มีทางออกจะลดต้นทุนของการดำเนินธุรกิจในประเทศได้ แม้ทางรัฐบาลกล่าวว่า มาตรการดังกล่าว จะทำให้การเสียภาษีของภาคธุรกิจมีความเท่าเทียมและเป็นธรรมมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน รัฐบาลก็ไม่ได้มีโครงการหรือสิ่งที่แสดงให้ประชาชนทราบว่า ภาษีที่เก็บเพิ่มเหล่านี้ รัฐบาลจะเอาไปดำเนินการอะไรบ้าง ซึ่งแม้จะเป็นการปฎิบัติตามกรอบนโยบายด้านการคลังของเคนยาที่ได้รับการแนะนำจาก IMF เรื่องนี้ส่งผลให้ความนิยมของรัฐบาล ปธน. รูโต้ ตกต่ำลงอย่างมาก ซึ่งเมื่อต้นทุนธุรกิจสูงขึ้น ส่วนใหญ่ค่าใช้จ่ายนี้ ก็จะส่งต่อผ่านมายังผู้บริโภคในที่สุด และจะส่งผลให้กำลังขื้อของผู้บริโภคลดลงตามไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
สำหรับประเทศไทยนั้น ผู้ส่งออกไทยควรติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจของเคนยาอย่างใกล้ชิด เพราะในภาพรวมที่กล่าวมาข้างต้นนั้น มีผลให้กำลังชื้อของผู้บริโภคในเคนยาลดลง ซึ่งจะเห็นได้จากการส่งออกของไทยที่ลดลงกว่าร้อยละ -18.87% ในช่วง ม.ค.- ส.ค. 2567 ที่ผ่านมานั่นเอง ดังนั้น ผู้ส่งออกต้องใช้ความระมัดระวังในการส่งมอบสินค้าและเก็บค่าสินค้าจากผู้นำเข้าให้ดีมากขึ้น อย่างไรก็ดี มีสินค้าหลายชนิดที่ขยายตัวได้ดี เช่น อาหารสำเร็จรูป ปลากระป๋อง ผลิตภัณฑ์สิ่งทอต่างๆ เป็นต้น โดยคาดว่า การส่งออกของไทยมาเคนยาในปี 2567 ทั้งปีจะมีมูลค่าประมาณ 6,000 ล้านบาท ลดลงกว่า –10% จากปี 2566
ผู้ส่งออกที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมด้านการค้าและการลงทุนต่าง ๆ เกี่ยวประเทศเคนยา และประเทศในแอฟริกาตะวันออก ท่านสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ E-mail: ของสำนักงานฯ ที่ info@ocanairobi.co.ke
ที่มา : the EastAfrican