ยอดการสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมลดลงอย่างน่าสะพรึง

ปัญหาเศรษฐกิจที่รุนแรงได้สร้างแรงกดดันให้กับนาย Olaf Scholz นายกรัฐมนตรีเพิ่มขึ้น จนทำให้เขาต้องออกมาชี้แจงแนวทางในการจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่อย่างรวดเร็ว และเนื่องด้วยจากการขาดคำสั่งซื้อในภาคเศรษฐกิจของเยอรมันที่รุนแรงกว่าที่เคยเกิดขึ้นนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินโลกในปี 2009 และจากข้อมูลการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารของบริษัทต่าง ๆ ของสถาบันเพื่อการวิจัยทางเศรษฐกิจของมหาวิทยาลัยมิวนิค (Ifo – Institut für Wirtschaftsforschung an der Universität München) ซึ่งเปิดเผยโดยนาย Klaus Wohlrabe หัวหน้าการสำรวจฯ กล่าวว่า “แทบจะไม่มีธุรกิจใดในประเทศรอดพ้นจากปัญหาทางเศรษฐกิจสักรายเดียว” และจากตัวเลขของ Ifo พบว่า สถานการณ์ของอุตสาหกรรมมีความรุนแรงเป็นพิเศษ โดยกว่า ครึ่ง (หรือ 1 ใน 2) ของภาคอุตสาหกรรมออกมาบ่นถึงปัญหาขาดแคลนธุรกิจใหม่ ๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมด้านวิศวกรรมเครื่องกล อุตสาหกรรมโลหะ และอุตสาหกรรมไฟฟ้า โดยกลุ่ม Union หรือกลุ่มสหภาพที่ประกอบด้วยพรรคสหภาพคริสต์เตียนเพื่อประชาธิปไตยประเทศเยอรมนี (CDU – Christlich Demokratische Union Deutschlands) และพรรคสหภาพสังคมนิยมคริสต์เตียนแห่งนครรัฐบาวาเรีย (CSU – Christlich-Soziale Union in Bayern) ได้ออกมาเรียกร้องให้นาย Scholz ประกาศลงมติการอภิปรายไม่ไว้วางใจในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งนาย Scholz ในฐานะที่สังกัดพรรคสังคมนิยมเพื่อประชาธิปไตยเยอรมนี (SPD – Sozialdemokratische Partei Deutschlands) ได้ออกมาปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามข้อเรียกร้อง และหวังว่าจะสามารถผ่านกฎหมายสำคัญต่าง ๆ ผ่านรัฐสภาให้แล้วเสร็จ โฆษกรัฐบาลได้ออกมากล่าวว่า “หากแกนนำฝ่ายค้านไม่สนใจที่จะบรรลุข้อตกลงที่สำคัญ ๆ เหล่านี้นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยตัวเองว่า เมื่อใด ว่า ควรขอให้มีการลงลงมติการอภิปรายไม่ไว้วางใจเกิดขึ้น”

 

ภาคเศรษฐกิจแทบจะไม่สามารถทนต่อภาวะทางตันทางการเมืองที่ยืดเยื้อนี้ได้และจากการสำรวจของสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเยอรมนี (DIHK – Der Deutsche Industrie- und Handelskammertag) พบว่า 40% ของภาคอุตสาหกรรมในท้องถิ่นวางแผนที่จะลดการลงทุนในเยอรมนีลง และเมื่อมองถึงวิกฤติในปัจจุบัน นโยบายเศรษฐกิจจะเป็นตัวกำหนดนโยบายการหาเสียงเลือกตั้ง โดยนาย Carsten Linnemann เลขาธิการหลักพรรค CDU กล่าวว่า “เยอรมนีต้องเริ่มต้นใหม่ และต้องไม่ติดกับภาพลวงตาที่ว่า เยอรมันจะสามารถกลับมาเจริญรุ่งเรืองได้โดยง่าย โดยที่ไม่ต้องพยายามทำอะไรเลย แต่เยอรมันต้องหันหน้าสู้กับความจริงที่ว่า เราต้องพร้อมที่จะทำงานหนัก มุ่งมั่นสร้างความสำเร็จ และมีความทะเยอทะยาน ที่จะกลับมามีความเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง” ในทางกลับกันนาย Scholz ต้องการโปรโมทตัวเอง และพรรค SPD ด้วยการส่งสัญญาณว่า จะมีการใช้จ่ายด้านการทหารสูงขึ้นและการสนับสนุนประเทศยูเครนนั้น ไม่ควรต้องแลกมาด้วยการปรับลดค่าประกันสังคม โดยในการเลือกตั้งระดับประเทศ ผู้ลงคะแนนเสียงต้องเผชิญกับการตัดสินใจถึงทิศทางนโยบายเศรษฐกิจพื้นฐานในอนาคต แล้วพวกเขาจะต้องคิดว่า นโยบายในการหาเสียงใดที่จะสามารถปลดแอกเยอรมนีจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ ซึ่งเป็นเหตุผลที่สำคัญที่ทำให้รัฐบาลในปัจจุบันเดือดร้อน/เสียหายจากปัญหาที่กล่าวมานี้ ประเด็นสำคัญ คือ เอกสารแผนผลักดันเศรษฐกิจทั้ง 2 ฉบับแทบจะไม่ได้แตกต่างกัน โดยเอกสารดังกล่าวได้กลายเป็นพื้นฐานสำหรับการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งต่อไป นาย Christian Lindner สังกัดพรรคเพื่ออิสรภาพและประชาธิปไตย (FDP – Freie Demokratische Partei) อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการคลังที่พึ่งถูกนาย Scholz นายกรัฐมนตรีไล่ออกไปหมาด ๆ เรียกเอกสารหลักของเขาว่า “แผนการพลิกฟื้นทางเศรษฐกิจ” ซึ่งการพิจารณาของเขาสอดคล้องกับแนวคิดของพรรค CDU โดยส่วนใหญ่ในแง่ที่เกี่ยวข้องด้านเนื้อหาระหว่างกลุ่ม Union และ FDP คือ การลดระบบราชการ การลดภาษี และปลดปล่อยกลไกตลาด โดยนาย Scholz ออกมาตอบโต้เอกสารดังกล่าวของนาย Lindner ด้วยนโยบายกระตุ้นภาคอุตสาหกรรม และหวังว่า จะสามารถทำคะแนนได้ในฐานะผู้พิทักษ์รัฐสวัสดิการในช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของประเทศ นาย Robert Habeck รองนายกรัฐมนตรีสังกัดพรรคยุค 90 พันธมิตรสีเขียว (Bündnis 90/Die Grünen) ก็คิดเช่นเดียวกันกับนาย Scholz โดยนักเศรษฐศาสตร์ได้มาจัดประเภทแนวคิดของเอกสารเหล่านี้ให้สำหรับหนังสือพิมพ์ Handelsblatt โดยเฉพาะ

 

  • นโยบายทางการเงิน

Scholz ต้องการอะไร ?” นโยบายทางการเงินเป็นประเด็นหลักของความขัดแย้งระหว่าง Scholz กับ Lindner ซึ่งท้ายที่สุดได้กลายเป็นสาเหตุที่ทำให้รัฐบาลชุดนี้สิ้นสุดลง นายกรัฐมนตรีได้ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศใช้ภาวะฉุกเฉินภายใต้กฎหมาย Schuldenbremse (การรักษางบประมาณให้มีความสมดุล  หรือ Balanced Budget Amendment) โดยนาย Scholz ต้องการสร้างหนี้ใหม่ที่สูงขึ้นเพื่อให้การสนับสนุนยูเครนด้วยเงินหลายพันล้านเพิ่มเติม เขาให้เหตุผลถึงเรื่องนี้ว่า ปัจจุบันยูเครนกำลังลำบากเนื่องจากทำสงครามกับรัสเซีย และการสนับสนุนที่น่าจะลดลงของสหรัฐอเมริกาภายใต้การปกครองของนาย Donald Trump ในฐานะประธานาธิบดีของประเทศ

 

Lindner ต้องการอะไร ?” Lindner ได้ออกมาปฏิเสธการประกาศใช้ภาวะฉุกเฉินภายใต้กฎหมาย Schuldenbremse โดยเขากังวลในข้อกฎหมายดังกล่าว และกล่าวหาว่า Scholz ต้องการทำให้เขาผิดจุดยืน (คำสาบาน) ในการดำรงตำแหน่งฯ และเห็นว่า การที่นาย Scholz ต้องการให้ประกาศใช้ภาวะฉุกเฉินไม่ได้เกี่ยวข้องกับยูเครน เขาต้องการตอบสนองความต้องการทางการเมืองของผู้สนับสนุนพรรค SPD เท่านั้น โดยการปฏิเสธข้อเสนอแนะทั้งหมดของนาย Lindner และเพื่อที่เขาจะหาทางเพิ่มช่องทางการเงินงบประมาณให้มากขึ้น อดีตรัฐมนตรีฯ ยังกล่าวอีกว่า กระทรวงการคลังต้องการที่จะตัดสวัสดิการ หรือตัดลดเงินบำนาญของประชาชน แทนที่จะก่อหนี้ใหม่

 

“นักเศรษฐศาสตร์พูดอย่างไร ?” นาย Christian Bayer ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Bonn เชื่อว่า แนวคิดของ Lindner เข้มงวดเกินไป และ “ไม่สอดคล้องกับห้วงเวลาและสถานการณ์ โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาถึงเบื้องหลังด้านสงครามรัสเซียในยุโรป และภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นกับ NATO” นาย Michael Hüther ผู้อำนวยการสถาบันเศรษฐศาสตร์เยอรมนี (IW – das Institut der deutschen Wirtschaft) กล่าวว่า การที่ Lindner คิดจะตัดหรือลดสวัสดิการด้านทางสังคมเพียงอย่างเดียวนั้น ไม่เพียงพอ และยังกล่าวว่า “การสันนิษฐานของ Lindner ไม่มีหลักฐานที่สนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรม ว่า หากตั้งใจที่จะตัดสวัสดิการหรือตัดลดเงินบำนาญ เขาจะสามารถหาเงินจากแหล่งอื่นได้” นาย Lars Feld นักเศรษฐศาสตร์จากเมือง Freiburg ซึ่งเป็นหนึ่งในหัวหน้าทีมที่ปรึกษาส่วนตัวของ Lindner กลับมองแตกต่างออกไปว่า “รัฐบาลกลางที่นำโดย SPD ไม่ต้องการที่จะยอมรับการประนีประนอมในการตัดทอนค่าใช้จ่ายด้านสังคมใด ๆ แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ด้วยงบประมาณที่มีปริมาณประมาณ 480 พันล้านยูโร ก็ตาม” นาย Clemens Fuest ประธานสถาบันเพื่อการวิจัยทางเศรษฐกิจของมหาวิทยาลัยมิวนิค (Ifo – Institut für Wirtschaftsforschung an der Universität München) สรุปว่า ข้อพิพาทเรื่อง Schuldenbremse ไม่สามารถตอบได้ในเชิงเศรษฐกิจเพราะ “ไม่ว่าคุณจะสร้างหนี้เพิ่มเติมหรือไม่ ทุกการตัดสินใจก็ถือเป็นการตัดสินใจทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการกระจายภาระระหว่างคนแต่ละรุ่น”

 

  • นโยบายภาษี

Scholz ต้องการอะไร ?” เขาเสนอให้ใช้โปรแกรมโบนัสส่งเสริมการการลงทุน (Investment Premium) เมื่อบริษัทใดก็ตามทำการลงทุน พวกเขาสามารถใช้เงินนี้ไปหักลดภาษีได้ แนวคิดเรื่องโบนัสการลงทุนเดิมมาจากรัฐมนตรีเศรษฐกิจนาย Habeck ซึ่งต้องการคืนเงินให้บริษัท 10% สำหรับการลงทุนใด ๆ ของพวกเขา อย่างไรก็ตามข้ อเสนอของ Scholz ไม่ตรงกับความคิดของนาย Habeck ทุกอย่าง โดยเอกสารของ Scholz กล่าวว่า กฎหมายความช่วยเหลือของรัฐของยุโรป (State aid European Union) มีข้อกำหนดที่เข้มงวดเกี่ยวกับโบนัสการลงทุน ดังนั้น EU น่าจะได้รับอนุญาตให้มีโบนัสส่งเสริมการลงทุน เฉพาะกับมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงานเท่านั้น”

 

Lindner ต้องการอะไร ?” ในทางกลับกันอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลังต้องการลดภาษีให้กับบริษัทโดยตรง โดยขั้นแรกเสนอให้ลดภาษีนิติบุคคลลง 2% ทันที ภายในปี 2025 ขั้นตอนไปควรปฏิบัติต่อเนื่องในปี 2027 และต่อไปอีกครั้งอย่างช้าที่สุดในปี 2029 นอกจากนี้ ผู้นำพรรค FDP ยังต้องการยกเลิกการจัดเก็บภาษีเพื่อความเป็นปึกแผ่น (Soli – Solidarritätszuschlag) ในขั้นแรก 2.5% ในปี 2025 ซึ่งหมายความว่า Soli ก็จะยังคงสูงอยู่ที่ 3% ในขั้นตอนที่ 2 สามารถกำจัด Soli ได้อย่างสมบูรณ์ ในปี 2027 โดยตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นมาเฉพาะผู้มีรายได้สูง รวมถึงภาคเอกชนเท่านั้นที่ต้องชำระภาษีดังกล่าว

 

“นักเศรษฐศาสตร์พูดว่าอย่างไร ?” นาย Simon Jäger จากสถาบัน Massachusetts Institute of Technology (MIT) เปิดเผยว่า ไม่ว่าจะเป็นโบนัสฯ หรือการลดภาษี ต่างก็ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ด้วยกันทั้งคู่ โดยการยกเลิก Soli จะเป็นประโยชน์ต่อผู้มีรายได้สูงเป็นหลัก และ “การยกเลิก Soli ไม่น่าจะทำให้เกิดผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างมีนัยสำคัญ” โดยชี้ให้เห็นว่า ผู้มีฐานะก็ไม่มีแนวโน้มที่จะบริโภคสูงขึ้น เมื่อรายได้สุทธิของพวกเขาเพิ่มขึ้นหลังจากยกเลิก Soli อย่างไรก็ตามนาย Hüther ผู้อำนวยการสถาบัน IW เชื่อว่า การยกเลิก Soli นั้นสมเหตุสมผลสำหรับภาคเอกชน และกล่าวว่า “ด้วยวิธีนี้ ช่วยลดข้อเสียเปรียบด้านภาระภาษีนิติบุคคลสำหรับภาคเอกชนเยอรมันที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้อย่างเห็นได้ชัด”

 

  • นโยบายพลังงาน

“นาย Scholz ต้องการอะไร ?” โดย Scholz ต้องการบรรเทาทุกข์ให้กับภาคอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสูง เพราะราคาพลังงานที่สูงได้เป็นข้อเสียเปรียบในการแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ดังนั้น Scholz จึงต้องการลงทุนกว่า 1.3 พันล้านยูโร เพื่อป้องกันไม่ให้ค่าธรรมเนียมเครือข่ายพลังงานไฟฟ้า (Netzentgelt) เพิ่มขึ้นอีกในปีหน้า นอกจากนี้ ยังมี “การรับประกันไม่ค่าไฟฟ้าเกินกว่ากำหนด” และต้องการให้มีการชดเชยค่าไฟฟ้าให้กับภาคธุรกิจอื่น ๆ อีกด้วย

 

“นาย Lindner ต้องการอะไร ?” ผู้นำพรรค FDP ไม่ต้องการใช้จ่ายเงินกับเรื่องนี้ โดย Lindner  ต้องการยุติการระดมทุนผ่านค่าการจัดสรรพลังงานตามกฎหมายว่าด้วยเรื่องพลังงานทางเลือก (EEG-Umlage) เนื่องจาก เห็นว่า พลังงานเหล่านี้ต้องมีอยู่ในตลาดเพียงอย่างเดียว เราไม่ควรไปยุ่งกับตลาด และในเอกสารยังเสนอให้มีการปรับเปลี่ยนแผนการขยายเครือข่าย แต่ไม่ต้องระบุรายละเอียดเพิ่มเติมใด ๆ

 

“นักเศรษฐศาสตร์พูดว่าอย่างไร ?” จริง ๆ แล้วในทางปฏิบัติ Lindner ไม่จำเป็นต้องปฏิเสธข้อเสนอของนาย Scholz สำหรับเรื่องพลังงาน สำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสูง โดยควรพิจารณาถึงข้อดี ซึ่ง Hüther ได้วิเคราะห์ว่า “แต่เขาปฏิเสธรูปแบบการจัดสรรเงินทุนที่จำเป็น” ในด้านหนึ่ง การอภิปรายนี้เชื่อมโยงกับข้อพิพาทเรื่องกฎหมาย Schuldenbremse นั้นเอง ในทางกลับกันนาย Lindner ได้ปฏิเสธแผนก่อนหน้านี้ของนาย Scholz ที่ต้องการให้ใช้เงินหลายพันล้านไปกับการสนับสนุนการตั้งโรงงานของบริษัท Intel นำมาลดค่าธรรมเนียมเครือข่ายพลังงานไฟฟ้า (Netzentgelt) นาย Bayer นักเศรษฐศาสตร์จากเมือง Bonn เห็นว่า ระดับค่าธรรมเนียมเครือข่ายพลังงานไฟฟ้าเป็นปัญหาหลัก และเงินอุดหนุนถาวรนั้นไม่ใช่ทางออก นาย Bayer แนะนำให้สร้างแรงจูงใจที่เหมาะสมเพื่อผลักดันให้ค่าธรรมเนียมเครือข่ายพลังงานไฟฟ้ามีความยืดหยุ่นมากขึ้น และควรปรับราคาค่าไฟฟ้าตามภูมิภาค (ปัจจุบันราคาเดียวทั้งประเทศ) โดยให้สิ่งที่กล่าวมานี้กับ ผู้บริโภค และการขยายเครือข่ายไฟฟ้า ไปพร้อม ๆ กัน

 

  • นโยบายด้านสภาพภูมิอากาศ

Scholz ต้องการอะไร ?” โดย Scholz ต้องการให้โครงการสนับสนุนเงินทุนสำหรับภาคอุตสาหกรรมมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น เมื่อมีคำถามว่า จะยังสามารถใช้ก๊าซในช่วงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบพลังงานไปใช้งานไฮโดรเจนได้หรือไม่ ซึ่งในเอกสารดังกล่าวไม่มีการระบุรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่วงน้ำหนักว่า จะบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศนั้น ควรจะทำด้วยเงินอุดหนุน หรือการกำหนดราคาค่าการค้าขายแลกเปลี่ยนแก๊สเรือนกระจก (Emissions Trading) มากกว่ากัน

 

Lindner ต้องการอะไร ?” อย่างที่เขาพูดอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังต้องการทำให้การปกป้องสภาพภูมิอากาศมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศที่ตั้งไว้ เขาต้องการพึ่งพาราคา Emissions Trading เพียงอย่างเดียว เขาต้องการยกเลิกการอุดหนุนภาคเอกชนที่เปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีที่ปล่อยแก๊สเรือนกระจกต่ำ เช่นการยกเลิก “ข้อตกลงการปกป้องสภาพภูมิอากาศ (Klimaschutzverträge)” กับอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสูงเป็นต้น

 

“นักเศรษฐศาสตร์พูดว่าอย่างไร ?” นาง Claudia Kemfert นักเศรษฐศาสตร์ด้านพลังงานจากสถาบันเพื่อการวิจัยทางเศรษฐกิจเยอรมนี (DIW – Deutscher Institut für Wirtschaftsforschung) เห็นว่า ควรขยายเงินอุดหนุน โดยนาง Kemfert แนะให้ใช้เงินของรัฐบาลในระดับยุโรปเพื่อลงทุนในเทคโนโลยีในอนาคต เช่น เทคโนโลยีพลังงานทดแทน หรือเทคโนโลยีผลิตแบตเตอรี่ และ Kemfert ได้กล่าวว่า “เทคโนโลยีดังกล่าวเป็นที่ต้องการทั่วโลก” ในระหว่างที่ นาย Fuest ประธาน Ifo ไม่เห็นด้วย เขากล่าวว่า การมุ่งเน้นไปที่การกำหนดราคา Emissions Trading นั้น มีประสิทธิภาพมากกว่า เนื่องจากรัฐไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะตัดสินใจว่า บริษัทใดควรได้รับเงินอุดหนุนจำนวนเท่าใด รัฐทำได้เพียงแค่เดาว่า บริษัทใดที่การให้เงินสนับสนุนเพื่อสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) นั้นคุ้ม หรือไม่คุ้มค่า ในทางกลับกันการกำหนดราคา CO2 จะเท่าเทียมกันสำหรับทุกคน บริษัทที่การเปลี่ยนแปลงสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน คุ้มค่าจะยังสามารถยื่นอยู่ในตลาดต่อไปได้ บริษัทอื่น ๆ ที่ไม่เปลี่ยนแปลงก็จะหายไปจากตลาดเมื่อไม่มีการซื้อขายใบรับรอง CO2 อีกต่อไป อย่างไรก็ตามมีข้อแม้อยู่ นาย Jäger นักเศรษฐศาสตร์ของ MIT จำได้ว่า “ประสบการณ์ที่ผ่านมาเกี่ยวกับนโยบายคืนเงินค่าน้ำมัน (Tankrabatt) สอนเราว่า เป็นเรื่องยากของการเมืองที่จะสามารถรักษากฎระเบียบด้านราคา และภาษีที่เคย ๆ โฆษณากันไว้”

 

จาก Handelsblatt 29 พฤศจิกายน 2567

thThai