แอร์เอเชียวางแผนสร้างฮับราคาประหยัดคล้ายดูไบในกรุงเทพฯ และกัวลาลัมเปอร์

ที่มา : สำนักข่าว Bernama

สายการบิน Air Asia หวังที่จะเลียนแบบความสำเร็จของดูไบในการเชื่อมโยงโลก แต่ในรูปแบบของสายการบินต้นทุนต่ำจากสถานที่ต่างๆ เช่น กรุงเทพฯ และกัวลาลัมเปอร์ โดยผู้ก่อตั้ง โทนี่ เฟอร์นันเดซ คาดการณ์ว่าการขนส่งผู้โดยสารผ่านสนามบินกรุงเทพฯ และกัวลาลัมเปอร์ไปยังจุดหมายปลายทางต่างๆ ที่แอร์เอเชียและแอร์เอเชีย เอ็กซ์ ซึ่งเป็นสายการบินระยะไกลในเครือให้บริการ โดยเที่ยวบินที่ใช้เวลาระหว่าง 1 ชั่วโมงครึ่งถึง 6 ชั่วโมง

นาย โทนี่ เฟอร์นันเดสไม่เพียงแต่จะเชื่อมโยงการจราจรผ่านศูนย์กลางที่วางแผนไว้ในกรุงเทพฯ และกัวลาลัมเปอร์เท่านั้น แต่ยังคาดว่าจะเติบโตโดยเพิ่มการจราจรไปยังเมืองรองต่างๆ เช่น เที่ยวบินจากเชียงใหม่ไปยังจีน โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว AirAsia X ได้เริ่มบุกเบิกตลาดทวีปแอฟริกาเป็นครั้งแรก โดยมุ่งหวังที่จะเติบโตนอกเหนือจากทวีปเอเชีย ถึงแม้ว่าปัญหาห่วงโซ่อุปทานและการขาดแคลนเครื่องบินจะเป็นอุปสรรคต่อผู้ให้บริการขนส่งต่างๆ ทั่วโลก แต่เขารู้สึกว่าแอร์เอเชียมีเครื่องบินเพียงพอสำหรับการเติบโตในขณะนี้ และยังกล่าวเสริมว่าตลาดเครื่องบินมือสองก็มีกำลังการผลิตเพียงพอเช่นกัน

 

บทวิเคราะห์ผลกระทบ

ผลกระทบในแง่บวก

  1. การเชื่อมต่อที่มากขึ้น : การขยายเครือข่ายเที่ยวบินของแอร์เอเชียจะทำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทั่วโลกมากขึ้น ส่งผลให้การเดินทางท่องเที่ยวและการค้ามีความสะดวกสบายและมีต้นทุนที่ต่ำลง
  2. การเติบโตทางเศรษฐกิจ : การขยายตัวของอุตสาหกรรมการบินจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศไทยและมาเลเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการท่องเที่ยว การบริการ และการขนส่ง สร้างงานและรายได้ให้กับประชาชน
  3. การแข่งขัน : การเข้ามาของแอร์เอเชียจะสร้างแรงกดดันให้สายการบินอื่นๆ ต้องปรับปรุงคุณภาพบริการและลดราคา เพื่อแข่งขันกับแอร์เอเชีย ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้บริโภคที่ได้รับตัวเลือกและราคาที่หลากหลายมากขึ้น
  4. การยกระดับภาพลักษณ์ของประเทศ : การที่กรุงเทพฯ และกัวลาลัมเปอร์กลายเป็นศูนย์กลางการบินต้นทุนต่ำ จะช่วยยกระดับภาพลักษณ์ของประเทศในสายตาชาวต่างชาติ ทำให้มีนักท่องเที่ยวและนักลงทุนเดินทางมาเยี่ยมชมมากขึ้น

ผลกระทบในแง่ลบ

  1. ความแออัดของสนามบิน : การเพิ่มขึ้นของจำนวนเที่ยวบินอาจทำให้สนามบินกรุงเทพฯ และกัวลาลัมเปอร์มีความแออัดมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการให้บริการและความสะดวกสบายของผู้โดยสาร
  2. ปัญหาสิ่งแวดล้อม : การเพิ่มขึ้นของเที่ยวบินจะก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศและเสียงดัง ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงสนามบิน
  3. การแข่งขันที่รุนแรง : การแข่งขันที่รุนแรงในอุตสาหกรรมการบินอาจนำไปสู่การลดคุณภาพของบริการ หรือการเกิดปัญหาความปลอดภัยในการบิน
  4. ความไม่มั่นคงของธุรกิจ : อุตสาหกรรมการบินมีความผันผวนสูง เช่น ราคาเชื้อเพลิงที่ผันผวน และการแข่งขันที่รุนแรง อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของธุรกิจของแอร์เอเชีย

 

ความคิดเห็น สคต.

          การที่แอร์เอเชียหวังจะเลียนแบบความสำเร็จของดูไบในฐานะศูนย์กลางการบิน และสร้างฮับการบินต้นทุนต่ำที่กรุงเทพฯ และกัวลาลัมเปอร์ ถือเป็นการเชื่อมโยงที่มีความน่าสนใจในภาคธุรกิจ เช่นการเพิ่มความสะดวกในการขนส่งอย่างรวดเร็วซึ่งจะส่งผลดีในการส่งออกสินค้าที่ต้องการความรวดเร็วในการขนส่ง ซึ่งจะเพิ่มโอกาสให้ภาคธุรกิจของทั้งไทยและมาเลเซีย รวมไปถึงประเทศที่สายการบิน Air Asia และ Air Asia X จะให้บริการในอนาคต

สำนักงานฯ มองว่าหากเกิดการสร้างศูนย์กลางการบินขึ้นในกรุงเทพฯ และกัวลาลัมเปอร์ขึ้นจริงจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในการมีระบบคมนาคมขนส่งที่สะดวกและมีประสิทธิภาพ จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลกและการเชื่อมโยงกับประเทศต่างๆ จะช่วยส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ทำให้สินค้าไทยสามารถเข้าถึงตลาดต่างประเทศได้ง่ายขึ้น

 

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์

thThai