“แคนาดา – อินโดนีเซีย” ร่วมลงนามข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ

แคนาดาและอินโดนีเซียร่วมลงนามข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (Comprehensive Economic Partnership Agreement: CEPA) ไปเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2567 โดยมีสาระสาคัญเพื่อการลดและยกเว้นภาษีสินค้าระหว่างกัน อานวยสะดวกทางการค้าและการลงทุน ท่ามกลางความคาดหวังว่า ข้อตกลงนี้จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจการลงทุนทั้งสองฝ่ายในฐานะที่เป็นสมาชิกของกลุ่ม G20 พร้อมการขยายตัวอย่างยั่งยืน ซึ่งข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจดังกล่าวจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในปี 2569 เป็นต้นไป

“แคนาดา – อินโดนีเซีย” ร่วมลงนามข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ
(cr. Sean Kilpatrick/The Canadian Press)

ในการนี้ นาย Budi Santoso รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าอินโดนีเซีย และนาง Mary Ng รัฐมนตรีว่าการกระทรวงส่งเสริมการส่งออก การค้าระหว่างประเทศ และการพัฒนาเศรษฐกิจของแคนาดา ได้สรุปการเจรจาอย่างเป็นทางการที่กรุงจาการ์ตาเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา หลังจากเริ่มการเจรจามานานกว่า 3 ปี ทั้งนี้ ข้อตกลงดังกล่าวทาให้ผู้ส่งออกของอินโดนีเซียสามารถเข้าถึงตลาดแคนาดาได้มากขึ้น โดยจะได้ยกเว้นรายการภาษีศุลกากรถึงร้อยละ 90.5 ของภาษีนำเข้าทั้งหมด ซึ่งคิดเป็นมูลค่าการค้าราว 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

ปัจจุบัน อินโดนีเซียเป็นคู่ค้าอันดับที่ 23 ของแคนาดาในตลาดโลก และเป็นตลาดส่งออกอันดับ 4 ของแคนาดาจากตลาดอาเซียน การค้าระหว่างอินโดนีเซียกับแคนาดาปี 2566 มีมูลค่า 5,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสินค้านาเข้าสาคัญจากอินโดนีเซีย ได้แก่ เครื่องจักรกล อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และรองเท้า ขณะที่ สินค้าส่งออกแคนาดาไปอินโดนีเซีย ได้แก่ สินค้าทางการเกษตร ปุ๋ย

 

นอกเหนือจากด้านการค้าแล้ว สาหรับประโยชน์ที่จะได้รับจากข้อตกลง CEPA ยังครอบคลุมไปถึงประเด็นเรื่องการค้าทางดิจิทัล (Digital Trade) พลังงานทดแทนและเทคโนโลยี โดยทางการแคนาดาระบุว่า จะร่วมส่งเสริมการลงทุนธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับพลังงานสะอาด โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมเหมืองแร่ เพราะอินโดนีเซียถือเป็นผู้ผลิตนิกเกิลรายใหญ่ที่สุดของโลก และยังมีปริมาณแร่สารองดีบุก ทองแดง และบ็อกไซต์อีกมหาศาล ในการนี้ อินโดนีเซียได้ตั้งเป้าที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2060 เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่ทั่วโลกให้ความสาคัญ และให้ไปพร้อมๆ กับการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ

 

นอกจากนั้น แคนาดายังมีแผนที่จะมองหาคู่ค้าด้านพลังงานนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อเดินหน้าการเปลี่ยนผ่านพลังงานไปสู่พลังงานสะอาดมากขึ้น เพราะขณะนี้โลกกาลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ digital transformation ซึ่งจะมีการเพิ่มการใช้ไฟฟ้าสาหรับศูนย์ข้อมูล ระบบ AI และหุ่นยนต์ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างมากมายมหาศาล โดยพลังงานหมุนเวียนจากสายลมและแสงอาทิตย์ไม่อาจผลิตไฟฟ้าได้อย่างมีเสถียรภาพ และทันกับความต้องการของการใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนไปได้

 

ข้อคิดเห็นสคต. การลงนามข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจแคนาดา-อินโดนีเซีย ถือเป็นก้าวสาคัญในการส่งเสริมการค้าและความร่วมมือทวิภาคี พร้อมสร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุนใหม่ๆ ให้กับทั้งสองประเทศ และแน่นอนว่าในแง่การค้าย่อมเปิดโอกาสให้การส่งออกสินค้าจากอินโดนีเซียเข้ามาสู่แคนาดาได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ ปัจจุบัน หากพิจารณาในแง่สินค้าส่งออกรายศักยภาพจากอินโดนีเซียและจากไทยไปยังแคนาดา พบว่า แคนาดามีการนาเข้าสินค้าในกลุ่มชิ้นส่วนและอุปกรณ์สื่อสาร (HS code 8517) จากทั้งสองเป็นปริมาณจานวนมาก ซึ่งเมื่อข้อตกลงหุ้นส่วนมีผลบังคับใช้ อาจส่งผลให้ไทยสูญเสียโอกาสการส่งออกสินค้ากลุ่มนี้อย่างมีนัยสาคัญ ซึ่งทางสคต.ฯ จะได้ติดตามจับตาดูสถานกาณ์และสถิติการนำเข้าต่อไป

โดย… สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา

thThai