ราคาเมล็ดกาแฟของทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อที่ผ่านมา ราคากาแฟอาราบิก้าที่จดทะเบียนในตลาดหุ้น Intercontinental Exchange (ICE) ในนิวยอร์กพุ่งสูงขึ้นสูงสุดที่ 3.35 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ปอนด์ ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ราคากาแฟอาราบิก้าพุ่งสูงขึ้นร้อยละ 112 หากเทียบกับราคาจากปี พ.ศ. 2520
ในขณะเดียวกัน ราคากาแฟโรบัสต้าเพิ่มสูงสุดถึง 5,327 ดอลลาร์ ตั้งแต่ปี 2513 ราคากาแฟสโรบัสต้าสะท้อนถึงความคาดหวังเกี่ยวกับแนวโน้มของตลาดกาแฟในอนาคต และยังเชื่อมโยงกับราคาตลาดปัจจุบันของเมล็ดกาแฟอีกด้วย นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมกล่าวว่า ในอดีต หลังจากที่ราคากาแฟ “พุ่งสูงขึ้น” มักจะเกิดการพลิกกลับด้านราคาอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการเก็บเพื่อเก็งกำไร แต่เนื่องจากสภาพอากาศเย็นลง ส่งผลให้ราคาลดลงอย่างรวดเร็ว แต่โดยรวมแล้ว ราคาก็ยังอยู่ในระดับที่สูง ในการซื้อขายช่วงดึกที่รัฐนิวยอร์กเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2567 สัญญาซื้อขายกาแฟ (สั่งจอง) ของ ICE Arabica ลดลงถึงร้อยละ 7.46 สัญญาซื้อขายล่วงหน้ากาแฟชนิด “C” ลดลงถึงร้อยละ 7.18 และสัญญาซื้อขายกาแฟโรบัสต้าล่วงหน้าหดตัวลงร้อยละ 10.82
ปัจจุบันเมล็ดกาแฟในโลกส่วนใหญ่แบ่งออกเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ อาราบิก้า โรบัสต้า และลิเบอริก้า กาแฟอาราบิก้าเป็นสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมที่สุดในตลาดกาแฟบดสด เนื่องจากมีรสชาติที่กลมกล่อม ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 70 ของการผลิตกาแฟทั่วโลก ในขณะที่กาแฟโรบัสต้าส่วนใหญ่มักถูกใช้ในการผลิตกาแฟสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์จากกาแฟอื่นๆ ดังนั้นความผันผวนของราคาเมล็ดกาแฟหลักทั้ง 2 สายพันธุ์จึงส่งผลกระทบต่อตลาดกาแฟบดสดและกาแฟสำเร็จรูป
เมื่อเผชิญกับผลกระทบของปัญหาราคาที่ไม่คงที่ ผู้บริโภคมีความอ่อนไหวต่อราคากาแฟที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน เมื่อราคาสูงขึ้น ก็มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การสูญเสียลูกค้า ตั้งแต่ต้นปี 2567 ร้านกาแฟขนาดเล็กมีโอกาสเสี่ยงที่จะอยู่รอดในสภาพแวดล้อมของตลาดที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วได้ยาก ข้อมูลทั่วไปของจีนระบุว่า ณ วันที่ 3 ธันวาคม 2567 จำนวนร้านกาแฟทั่วประเทศจีนอยู่ที่ 204,426 แห่ง และจำนวนสาขาที่เปิดใหม่ในปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 71,682 แห่ง เพิ่มขึ้นสุทธิ 18,233 แห่ง กล่าวอีกนัยหนึ่ง ร้านกาแฟ 53,000 แห่ง “เติบโตและปิดกิจการอย่างรวดเร็ว” ในปีนี้ การเพิ่มขึ้นของราคาเมล็ดกาแฟจะส่งผลต่อร้านกาแฟเล็กๆ เหล่านี้มากขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย
ความคิดเห็นของ สคต. เซี่ยงไฮ้
ด้วยความผันผวนอย่างมากของราคาเมล็ดกาแฟ ร้านค้าขนาดเล็กอาจต้องปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจ หรือแม้แต่เลือกที่จะปิดเนื่องจากแรงกดดันด้านต้นทุน หากพิจารณาจากข่าว สำหรับผู้ประกอบการไทยที่สนใจเปิดร้านกาแฟในตลาดจีนควรติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและศึกษากลยุทธ์ในการอยู่รอดของแบรนด์ใหญ่ๆของจีนให้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการแสวงหาทางการตลาดที่สร้างสรรค์และแตกต่างมากขึ้น อีกทั้งยังต้องคอยเฝ้าติดตามราคาสินค้าเพื่อลดต้นทุนอย่างต่อเนื่อง
จัดทำโดย สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเซี่ยงไฮ้
แหล่งอ้างอิงข้อมูล
https://www.foodaily.com/articles/38496