กลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ Gulf Cooperation Council หรือกลุ่มประเทศ GCC เป็นสหภาพที่ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศในตะวันออกกลาง ซึ่งได้แก่ บาห์เรน คูเวต โอมาน กาตาร์ ซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่ตั้งอยู่ติดกันในอ่าวอาหรับ(หรืออ่าวเปอร์เซีย) ซึ่งเศรษฐกิจของกลุ่ม  GCC เป็นหนึ่งในเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก เนื่องจากมีการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติประมาณ 30% ของโลกปัจจุบัน กลุ่มประเทศ GCC ร่วมมือกันหาทางออก สร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจให้มากขึ้น โดยการพัฒนาด้านอื่นๆ เพื่อลดการพึ่งพิงรายได้จากน้ำมัน

สถานการณ์เศรษฐกิจในภาพรวม

จากรายงาน Gulf Economic Update โดย World Bank เกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ GCC ล่าสุด พอสรุปได้ดังนี้

  • การเติบโตทางเศรษฐกิจ
    • คาดว่าเศรษฐกิจภูมิภาค GCC ในปี 2567 จะเติบโตเพียง 6% แต่จะเร่งตัวขึ้นเป็น 4.2% ในปี 2568-2569
    • การเติบโตส่วนใหญ่ขับเคลื่อนโดยภาคที่ไม่ใช่น้ำมัน (non-oil sector) ซึ่งมีการขยายตัวที่แข็งแกร่งถึง 7% สะท้อนถึงความพยายามในการกระจายความหลากหลายทางเศรษฐกิจ และการปฏิรูปเศรษฐกิจ
  • อัตราเงินเฟ้อ
    • อัตราเงินเฟ้อในปี 2567 อยู่ในระดับต่ำและมีเสถียรภาพที่ 1% โดยได้รับการสนับสนุนจากนโยบายเงินอุดหนุน (subsidies) มาตรการตั้งเพดานราคาน้ำมัน (Price Cap) และการผูกค่าเงิน

อย่างไรก็ตาม แรงกดดันเงินเฟ้อในภาคที่อยู่อาศัย ยังคงมีอยู่ในบางประเทศ

  • ภาคการคลัง
    • ส่วนภาคการคลังได้รับผลกระทบจากการใช้จ่ายภาครัฐที่เพิ่มขึ้นและรายได้น้ำมันที่ลดลง ทั้งภูมิภาคมีความแตกต่างกันมาก

แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจประเทศในกลุ่ม GCC

1) บาห์เรน (Bahrain)

  • คาดว่าจะเติบโต 5% ในปี 2567 เพิ่มขึ้นจาก 3.0% ในปี 2566
  • การเติบโตมาจากกิจกรรมภาคที่ไม่ใช่น้ำมัน (Non-Oil) ที่หลากหลาย เช่น ภาคการท่องเที่ยว และการฟื้นตัวบางส่วนในภาคน้ำมันจากการผลิตที่สูงขึ้นในแหล่งน้ำมัน Abu Safah
  • ในปี 2568-2569 การเติบโตคาดว่าจะอยู่ที่ 3% สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของการผลิตน้ำมัน

2) คูเวต (Kuwait)

  • คาดว่าเศรษฐกิจปี 2567 จะหดตัว 1% ซึ่งน้อยกว่าปี 2566 การหดตัวส่วนใหญ่เกิดจาก การลดปริมาณการผลิตน้ำมันตามข้อตกลง OPEC+ ที่ขยายเวลาออกไปจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2568 เศรษฐกิจของคูเวตยังคงพึ่งพาน้ำมันอย่างต่อเนื่อง น้ำมันคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 50% ของ GDP เป็นสินค้า 90% ของการส่งออกทั้งหมด และ 90% ของรายได้ของรัฐบาลมาจากน้ำมัน
  • อย่างไรก็ตาม ในปี 2568-2569 เศรษฐกิจจะจะฟื้นตัวในระยะกลาง คาดว่า GDP เติบโต 6% โดยได้รับแรงหนุนจากการเพิ่มการผลิตน้ำมันและโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่เร่งตัวขึ้น

3) โอมาน (Oman)      

  • GDP คาดว่าจะเติบโตช้าลงในปี 2567 เนื่องจากผลกระทบจากการลดกำลังการผลิตน้ำมันตาม OPEC+
  • ในปี 2568-2569 การเติบโตคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 0% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการผลิตน้ำมันที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการปฏิรูปและการลงทุนในภาคที่ไม่ใช่น้ำมัน
  • วางเป้าหมาย Oman Vision 2040 ผลักดันการยกระดับนวัตกรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อทำให้การผลิตของโอมานมีความหลากหลายในด้านเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์พิเศษที่เน้นการปรับปรุงสุขภาพและสวัสดิการของประชาชน และ เพื่อขยายอุตสาหกรรมของโอมานไปสู่ตลาดระดับภูมิภาคและตลาดใหม่ๆ
  • ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ สร้างงาน รายได้ และอาชีพให้ท้องถิ่น

4) กาตาร์ (Qatar)

  • คาดว่าจะเติบโตเฉลี่ย 4% ในปี 2567-2568 และเร่งขึ้นเป็น 4.1% ในปี 2568-2569
  • การเติบโตส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มกำลังการผลิตก๊าซธรรมชาติ
  • GDP นอกภาคที่ไม่ใช่น้ำมัน (non-oil) คาดว่า ในปี 2567 จะเติบโต 3% และเพิ่มเป็น 3.4% ในปี 2568-2569 โดยได้รับแรงหนุนจากโครงการโครงสร้างพื้นฐานใหม่ การขยายภาคการผลิต และการเติบโตของการท่องเที่ยว
  • กาตาร์ประกาศใช้ Third National Development Strategy 2024-2030 (NDS3)            เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ โดยมีเป้าหมาย 7 ด้าน รวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและการส่งเสริมแรงงานเพื่อรองรับอนาคต

5) ซาอุดีอาระเบีย (Saudi Arabia)

  • หลังจาก GDP หดตัว 8% ในปี 2566 คาดว่าจะเติบโต 1.1% ในปี 2567
  • การเติบโตได้รับแรงหนุนจาก การขยายตัวของกิจกรรมภาคที่ไม่ใช่น้ำมัน (non-oil) ที่ 6% ซึ่งจะช่วยชดเชยการหดตัวของ GDP น้ำมันที่คาดว่าจะลดลง 6.1% การอนุมัติงบประมาณของรัฐที่คาดว่าจะมีรายได้ราว 312.48 พันล้านเหรียญสหรัฐ
  • ในปี 2025-2026 คาดว่าการเติบโตจะเร่งตัวขึ้นเฉลี่ย 7% โดยการผลิตน้ำมันจะเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ขณะที่ภาคที่ไม่ใช่น้ำมัน คาดว่าจะเติบโตอย่างมั่นคงที่ 4.5% การเพิ่มการใช้จ่ายและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรมในท้องถิ่น และบริการ

6) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (United Arab Emirates)

  • คาดว่า GDP จะเติบโต 3% ในปี 2567 โดยได้รับแรงหนุนจากการเติบโตของภาคที่ไม่ใช่น้ำมัน ที่ 4.1%
  • การเติบโตในระยะกลาง (2568-2569) คาดว่าจะเร่งขึ้นเป็น 1% โดยการผลิตน้ำมันจะฟื้นตัว
  • ภาคส่วนที่โดดเด่น ได้แก่ การท่องเที่ยว อสังหาริมทรัพย์ การก่อสร้าง การขนส่ง และการผลิต

สรุปภาพรวม

เศรษฐกิจของประเทศใน GCC ยังคงฟื้นตัว โดยได้รับแรงหนุนจากการเติบโตในภาคที่ไม่ใช่น้ำมัน เช่นการท่องเที่ยวและบริการ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน มีการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ ปรับปรุงกฎหมายการค้า การออก    วีซ่าให้กับนักลงทุน แม้ว่าจะมีผลกระทบจากการลดการผลิตน้ำมันตามข้อตกลง OPEC+ การสร้างความหลากหลายของเศรษฐกิจยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการเติบโตในระยะยาว

ความเห็นของ สคต.ดูไบ

การเติบโตของภาคที่ไม่ใช่น้ำมัน (non-oil) ใน GCC จะส่งผลดีต่อการค้าระหว่างไทยและ GCC ในหลายด้าน

  1. การลงทุนในภาคเศรษฐกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับน้ำมันของ GCC จะช่วยเพิ่มความต้องการสินค้าและบริการจากต่างประเทศ รวมถึงไทย
  2. สินค้าที่มีศักยภาพสูงของไทยจะมีโอกาสเติบโตในตลาด GCC มากขึ้น เช่น รถยนต์และส่วนประกอบ วัสดุก่อสร้าง (ปาติเกิลบอร์ด ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม ) อัญมณีและเครื่องประดับ และคอมเพรสเซอร์ทำความเย็น
  3. การขยายตัวของภาคบริการใน GCC จะเปิดโอกาสสำหรับธุรกิจบริการของไทย อาทิ ร้านอาหารไทย สปาและร้านวดไทย
  4. สร้างความมั่นคงทางการค้า เพราะการเติบโตของภาคที่ไม่ใช่น้ำมัน จะช่วยเพิ่มกำลังซื้อและรายได้ของประชากรใน GCC ซึ่งจะส่งผลดีต่อการค้าระยะยาวกับไทย
  5. นอกจากนี้ การฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างไทยและประเทศใน GCC จะยิ่งเอื้อต่อการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกันมากขึ้น

 

thThai