รัฐบาลเคนยาได้ประกาศใบอนุญาตทำงานประเภทใหม่ ได้แก่ Class R ที่เป็น Work Permit Visa ให้กับแรงงานจากประเทศในกลุ่มประเทศในประชาคมเศรษฐกิจแอฟริกาตะวันออก EAC หรือ East African Community ได้แก่ 8 ประเทศคือ เคนยา แทนซาเนีย ยูกานดา สป.คองโก รวันดา บูรันดี ซูดานใต้ โซมาเลีย
โดยวันที่อาทิตย์ที่ผ่านมา นาย Musalia Mudavadi รมต.ประจำสำนักคณะรัฐมนตรี ได้แถลงว่า เคนยาได้กำหนดการออกใบอนุญาตทำงานให้กับแรงงานที่มาจากประเทศใน EAC โดยไม่มีค่าธรรมเนียมเพื่อให้เกิดการจ้างงานและเคลื่อนย้ายแรงงานในประเทศในกลุ่ม EAC กับเคนยาทำได้โดยสะดวกและรวดเร็ว โดยเรียก Visa ประเภทนี้ว่า Class R โดยจุดประสงค์ดังกล่าว ทำให้แรงงานที่มาจากประเทศเหล่านี้ แสดงเพียงแค่ Passport หรือบัตรประจำตัวประชาขน ก็สามารถรับการอนุญาตให้อยู่ประเทศเคนยาได้ ตามสัญญาจ้างงานที่มีกับนายจ้างในเคนยา โดยไม่มีการเก็บค่าบริการในกรณีดังกล่าว เพียงแค่มาลงทะเบียบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามประเภทการจ้างงาน ทั้งนี้ เคนยา นับเป็นประเทศที่ 2 ใน EAC ทีมีการยกเลิกเงินค่าธรรมเนียมในการออก work permit ดังกล่าว ต่อจาก รวันดา ซึ่งเป็นพันธกรณีที่ประเทศในกลุ่ม EAC ต้องปรับระเบียบการตรวจลงตราและตรวจคนเข้าเมืองของตนเอง โดยเคนยามุ่งหวังที่จะเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจในแอฟริกาตะวันออก ทั้งในด้านการค้าและการบริการ ซึ่งเรื่องนี้ ทำให้เคนยาจะสามารถจ้างงานที่มีคุณภาพจากประเทศเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น ขณะเดียวกันก็จะทำให้การดำเนินธุรกิจของนักธุรกิจทำได้ง่ายขึ้น ซึ่งเป็นเป็นตามหลักการในการเปิดการค้าเสรีที่กลุ่มประเทศ EAC ต้องการจะเป็นในอนาคต แต่เดิมนั้น Visa ในการทำงานในเคนยาจะเรียกว่า Nomad Visa โดยจะออกให้คนในกลุ่มประเทศในแอฟริกา และต่างชาติที่มาทำงานในเคนยา มีค่าบริการอยู่ประมาณ 55 USD โดยค่าธรรมเนียมใหม่จะเรียกในอัตราประมาณ 24 USD หรือ ครึ่งหนึ่งจากค่าบริการเดิมนั่นเอง ซึ่งแรงงานที่อยู่ใน EAC จะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายนี้แต่อย่างใด
ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบอัตราค่าบริการในการออกใบอนุญาตทำงานในแต่ละประเทศใน EAC จะพบว่า หลายประเทศยังมีค่าใช้จ่ายและข้อกำหนดค่อนข้างสูง เช่น แทนชาเนียที่ใบอนุญาตการทำงานของคนต่างชาติสูงถึง 2,500-3,500 USD ต่อายุทุก 2 ปี หรือยูกานดา ที่อยู่ในอัตราประมาณ 2,000-2,500 USD ต่ออายุทุก 2 ปี ทำให้ส่งผลให้การจ้างแรงงานผู้เชียวชาญในด้านต่างๆ มีต้นทุนที่สูงมากในการทำธุรกิจหากเปรียบเทียบกับประเทศอื่น
ความเห็นของ สคต.
จากมาตรการดังกล่าว ทำให้เคนยาถูกมองจากองค์กรระหว่างประเทศและต่างชาติว่า มีความน่าสนใจในการลงทุนมากขึ้น และจะทำให้เคนยาได้รับประโยชน์ในการดึงดูดคนที่มีคุณภาพจากกลุ่มประเทศ EAC เข้ามาทำงานในประเทศเคนยามากขึ้นในอนาคต อันจะทำให้ความเป็นศูนย์ในด้านการเงินและการค้า ตลอดจนผู้นำในเวทีการเมืองระหว่างประเทศของเคนยา จะยิ่งมีมากขึ้นในอนาคตต่อไป
สำหรับประเทศไทยนั้น นักธุรกิจที่จะเข้ามาทำการค้ากับเคนยาหรือใน EAC จะต้องหาข้อมูลในเรื่องดังกล่าว เพราะจะเป็นต้นทุนที่สำคัญด้านบุคคลที่จะนำเข้ามาทำงานในบริษัทหรือธุรกิจที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศเหล่านี้ในอนาคต นอกจากนั้น การที่บทบาทของเคนยาจะยิ่งมีมากขึ้นในเวทีการค้าและการทูตในอนาคตนี้ ประเทศไทยควรต้องหาแนวทางการดำเนินความสัมพันธ์ด้านการค้าและการต่างประเทศให้เหมาะสมกับเคนยาต่อไป และสคต. มองว่า การลงทุนและการค้ากับประเทศในกลุ่ม EAC จะยิ่งขยายตัวมากขึ้นในอัตราที่สูงขึ้นต่อไปในอนาคต ซึงจะส่งผลต่อการขยายตัวด้านเศรษฐกิจของเคนยาให้ยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าประเทศอื่นในแอฟริกาที่ยังไม่มีนโยบายที่เปิดกว้างดังเช่น ที่เคนยาและรวันดา ได้ปรับปรุงระเบียบเรื่องนี้ ดังกล่าวข้างต้น
ผู้ส่งออกที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมด้านการค้าและการลงทุนต่าง ๆ เกี่ยวประเทศเคนยา และประเทศในแอฟริกาตะวันออก ท่านสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ E-mail: ของสำนักงานฯ ที่ info@ocanairobi.co.ke
ที่มา : The EastAfrican