- ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจสำคัญ
1.1 ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer price index: CPI) ในเดือนพฤศจิกายน 2567 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.13 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2567 และขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.77 เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2566 ทั้งนี้ CPI เฉลี่ยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม – พฤศจิกายน) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.69 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566
1.2 ดัชนีภาวะเงินเฟ้อ ในเดือนพฤศจิกายน 2567 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.24 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2567 และขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.77 เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2566 ทั้งนี้ ดัชนีภาวะเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม – พฤศจิกายน) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566
1.3 ดัชนีราคาทองคำ ในเดือนพฤศจิกายน 2567 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.26 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2567 และขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.2 เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2566 ทั้งนี้ ดัชนีราคาทองคำเฉลี่ยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม – พฤศจิกายน) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.42 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566
1.4 ดัชนีมูลค่าเงินเหรียญสหรัฐ ในเดือนพฤศจิกายน 2567 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.76 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2567 และขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.63 เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2566 ทั้งนี้ ดัชนีมูลค่าเงินเหรียญสหรัฐเฉลี่ยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม – พฤศจิกายน) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.97 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566
- ภาคการเกษตร การป่าไม้ และประมง
ในเดือนพฤศจิกายน 2567 ผลผลิตทางการเกษตรมุ่งเน้นไปที่การเก็บเกี่ยวข้าวทั่วประเทศ การปลูกพืชไร่ฤดูหนาวในพื้นที่ภาคเหนือ และการเก็บเกี่ยวข้าวในช่วงฤดูใบไม้ร่วง – ฤดูหนาว ในภูมิภาคสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ภาคปศุสัตว์มีการควบคุมโรคระบาดได้ดี และมีการมุ่งเน้นพัฒนา และเพิ่มจำนวนสุกรและสัตว์ปีกเพื่อให้เพียงพอสำหรับช่วงเทศกาลปลายปี ภาคการป่าไม้มีความต้องการวัตถุดิบจากไม้เพิ่มขึ้น ภาคการประมงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
เพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก
2.1 ภาคการเกษตร
1.ข้าว ทั้งประเทศเก็บเกี่ยวข้าวในช่วงฤดูหนาว 2567 แล้วจำนวน 4 ล้านเฮกตาร์ คิดเป็นร้อยละ 90.7 ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด และคิดเป็นร้อยละ 95.7 เมื่อเทียบกับเวลาเดียวกันในปี 2566 ในจำนวนนี้ พื้นที่ภาคเหนือเก็บเกี่ยวได้ 0.93 ล้านเฮกตาร์ และพื้นที่ภาคใต้เก็บเกี่ยวได้ 0.47 ล้านเฮกตาร์
พื้นที่เพาะปลูกข้าวในภูมิภาคสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงในฤดูใบไม้ร่วง – ฤดูหนาว ปี 2567 คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 7.2 ล้านเฮกตาร์ เพิ่มขึ้น 0.02 ล้านเฮกตาร์เมื่อเทียบกับเวลาเดียวกันของปี 2566 โดยทั้งภูมิภาคเก็บเกี่ยวข้าวแล้วประมาณ 0.41 ล้านเฮกตาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับเวลาเดียวกันของปี 2566
2. พืชผลประจำปี ในเดือนพฤศจิกายน 2567 มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดจำนวน 83,200 เฮกตาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 พื้นที่เพาะปลูกมันเทศจำนวน 15,000 เฮกตาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 พื้นที่เพาะปลูกถั่วเหลืองจำนวน 2,100 เฮกตาร์ ลดลงร้อยละ 8.5 พื้นที่เพาะปลูกถั่วลิสงจำนวน 4,700
เฮกตาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 และพื้นที่เพาะปลูกผักและถั่วต่าง ๆ จำนวน 146,200 เฮกตาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7
3. ปศุสัตว์ ในเดือนพฤศจิกายน 2567 การเลี้ยงกระบือและโคมีแนวโน้มลดลงและมีการควบคุมโรคระบาดได้ดี จํานวนกระบือลดลงร้อยละ 3.1 จํานวนโคลดลงร้อยละ 0.4 จํานวนสุกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 และจํานวนสัตว์ปีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 ทั้งนี้ เกษตรกรมุ่งเน้นการขยายจํานวนสุกรและสัตว์ปีก เพื่อให้มีปริมาณเพียงพอและพร้อมจำหน่ายในตลาดช่วงปลายปี และเทศกาลต่าง ๆ ที่กำลังจะมาถึง
2.2 ภาคการป่าไม้
ในเดือนพฤศจิกายน 2567 คาดว่าจะมีพื้นที่ป่าที่เพิ่งปลูกใหม่ทั้งประเทศประมาณ 31,400 เฮกตาร์ ลดลงร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 ผลผลิตไม้ที่ถูกใช้ประโยชน์ได้มีจํานวน 2.37ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 และมีพื้นที่ป่าที่เสียหายประมาณ 78.2 เฮกตาร์ เพิ่มขึ้นเกือบ 2.6 เท่า ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม – พฤศจิกายน) คาดว่าจะมีพื้นที่ป่าที่เพิ่งปลูกใหม่ประมาณ 263,900 เฮกตาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 ผลผลิตไม้ที่ถูกใช้ประโยชน์ได้มีจํานวน 20.86 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 และมีพื้นที่ป่าที่เสียหายประมาณ 1,600 เฮกตาร์ ลดลงร้อยละ 7.8
2.3 ภาคการประมง
ในเดือนพฤศจิกายน 2567 คาดว่าผลผลิตสินค้าประมง จะสูงถึง 864,800 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม – พฤศจิกายน) ผลผลิตสินค้าประมงคาดว่าจะอยู่ที่ 8.75 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566
- ภาคอุตสาหกรรม
ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2567 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2567 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม – พฤศจิกายน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 โดยอุตสาหกรรมการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 อุตสาหกรรมการจัดการน้ำ การจัดการบำบัดขยะและน้ำเสียเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 อุตสาหกรรมแปรรูปและการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 และอุตสาหกรรมเหมืองแร่ลดลงร้อยละ 7.3
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเวียดนามในช่วงเดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2567
หน่วย: %
ต.ค. 2567 เทียบกับ ต.ค. 2566 |
พ.ย. 2567 เทียบกับ พ.ย. 2566 |
พ.ย. 2567 เทียบกับ ต.ค. 2567 |
ม.ค. – พ.ย. 2567 เทียบกับ ม.ค. – พ.ย. 2566 |
|
รวม | 107.1 | 108.9 | 102.3 | 108.4 |
การทำเหมืองแร่และเหมือง | 91.3 | 90.2 | 101.7 | 92.7 |
ถ่านหินและลิกไนต์ | 97.9 | 95.2 | 107.0 | 94.7 |
น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ | 85.7 | 84.1 | 98.0 | 87.8 |
แร่โลหะ | 116.2 | 109.4 | 121.4 | 116.3 |
การทำเหมืองแร่อื่นๆ | 107.1 | 103.8 | 100.9 | 103.0 |
กิจกรรมบริการที่สนับสนุนการทำเหมืองแร่ | 85.2 | 93.5 | 106.9 | 107.5 |
การผลิตสินค้า | 108.6 | 111.2 | 103.2 | 109.7 |
สินค้าอาหาร | 107.8 | 110.9 | 103.1 | 107.7 |
เครื่องดื่ม | 98.9 | 104.5 | 102.7 | 100.8 |
ยาสูบ | 109.7 | 104.5 | 96.8 | 106.6 |
สิ่งทอ | 109.6 | 110.7 | 101.3 | 112.1 |
เสื้อผ้า | 115.8 | 118.1 | 102.3 | 110.8 |
หนังและสินค้าที่เกี่ยวข้อง | 116.9 | 118.5 | 103.9 | 112.6 |
การแปรรูปไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ ยกเว้นเฟอร์นิเจอร์ และการผลิตผลิตภัณฑ์หัตถกรรม | 117.1 | 113.3 | 101.8 | 109.7 |
กระดาษและผลิตภัณฑ์จากกระดาษ | 110.0 | 111.5 | 101.4 | 109.7 |
การพิมพ์และการทำสำเนาสื่อบันทึก | 110.1 | 111.3 | 101.1 | 109.9 |
ผลิตภัณฑ์ถ่านโค้กและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม | 126.3 | 95.6 | 100.6 | 114.5 |
เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี | 107.2 | 102.5 | 97.6 | 113.4 |
ยาและผลิตภัณฑ์ทางพฤกษศาสตร์ | 99.1 | 99.2 | 104.4 | 108.2 |
ผลิตภัณฑ์จากยางพาราและพลาสติก | 119.0 | 114.0 | 101.2 | 125.6 |
ผลิตภัณฑ์แร่โลหะอื่นๆ | 107.6 | 107.4 | 103.5 | 100.6 |
โลหะพื้นฐาน | 105.9 | 106.2 | 101.6 | 110.0 |
ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์ (ยกเว้นเครื่องจักรและอุปกรณ์) | 110.6 | 111.2 | 98.5 | 111.9 |
คอมพิวเตอร์และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ | 100.2 | 112.0 | 106.3 | 108.7 |
อุปกรณ์ไฟฟ้า | 117.0 | 113.2 | 99.0 | 111.3 |
เครื่องจักรและอุปกรณ์อื่นๆ | 112.4 | 113.1 | 104.0 | 104.7 |
ยานยนต์ | 144.0 | 136.2 | 102.5 | 118.3 |
ยานพาหนะการขนส่ง ชิ้นส่วน อุปกรณ์และส่วนประกอบ | 98.1 | 100.5 | 104.6 | 102.7 |
เฟอร์นิเจอร์ | 126.8 | 124.3 | 111.4 | 124.7 |
การผลิตสินค้าอื่นๆ | 111.2 | 110.5 | 102.3 | 105.6 |
ซ่อม บำรุง รักษา และติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ | 119.7 | 79.2 | 82.2 | 96.3 |
การผลิตและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า | 105.7 | 105.5 | 96.8 | 110.2 |
การผลิตน้ำประปาและการกำจัดของเสีย | 111.8 | 106.7 | 97.2 | 109.6 |
ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (General Statistics Office of Vietnam: GSO)
- การดำเนินธุรกิจ
ในเดือนพฤศจิกายน 2567 มีการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ จำนวน 11,159 แห่ง ลดลงร้อยละ 21.3 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2567 และลดลงร้อยละ 22.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 โดยมีทุนจดทะเบียนมูลค่า 0.14 ล้านล้านเวียดนามด่ง หรือประมาณ 5,542 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 9.8 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2567 และลดลงร้อยละ 27.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 ทั้งนี้ มีธุรกิจที่กลับมาดำเนินการใหม่ จำนวน 7,704 แห่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 ธุรกิจที่จดทะเบียนขอหยุดดำเนินการชั่วคราว จำนวน 4,243 แห่ง ลดลงร้อยละ 5.9 ธุรกิจที่หยุดดำเนินการรอการชำระบัญชี จำนวน 7,550 แห่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 และธุรกิจที่ปิดกิจการ จำนวน 1,910 แห่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2
ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม – พฤศจิกายน) มีการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ จำนวน 147,244 แห่ง ลดลงร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 โดยมีทุนจดทะเบียนมูลค่า 1.5 ล้านล้านเวียดนามด่ง หรือประมาณ 58,025 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 ทั้งนี้ มีธุรกิจที่กลับมาดำเนินการใหม่ จำนวน 71,278 แห่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.5 ธุรกิจที่จดทะเบียนขอหยุดดำเนินการชั่วคราว จำนวน 96,220 แห่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 ธุรกิจที่หยุดดำเนินการรอการชำระบัญชี จำนวน 57,696 แห่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 และธุรกิจที่ปิดกิจการ จำนวน 19,263 แห่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8
- ภาคการลงทุน
5.1 การลงทุนของภาครัฐ ในเดือนพฤศจิกายน 2567 มีการลงทุนจากภาครัฐ มูลค่า 75.9 ล้านล้านเวียดนามด่ง หรือประมาณ 3,035 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566
ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม – พฤศจิกายน) เวียดนามมีการลงทุนจากภาครัฐมูลค่าประมาณ 572 ล้านล้านเวียดนามด่ง หรือประมาณ 22,881 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566
5.2 ต่างประเทศเข้ามาลงทุนในเวียดนาม
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่ดำเนินการในเวียดนามใน 11 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม – พฤศจิกายน) มีมูลค่า 21,680 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 ในจำนวนนี้ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการผลิตมีมูลค่าการลงทุน 17,570 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 81 ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีมูลค่า 1,660 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 7.6 การผลิตและการจำหน่ายไฟฟ้า, ก๊าซ, น้ำร้อน, ไอน้ำ และเครื่องปรับอากาศมีมูลค่า 887.4 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 4.1
FDI ในเวียดนามจนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 มีมูลค่า 31,380 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 โดย FDI ที่ลงทะเบียนใหม่จำนวน 3,035 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 มีมูลค่าการลงทุนรวม 17,390 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 แง่ของประเทศผู้ลงทุน สิงคโปร์เป็นนักลงทุนที่ใหญ่ที่สุดด้วยมูลค่าการลงทุน 5,780 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 33.3 ของมูลค่า FDI ที่ลงทะเบียนใหม่ รองลงมาคือ เกาหลีใต้ 2,320 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 13.4 จีน 2,210 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 12.7 และฮ่องกง 1,960 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 11.3 นอกจากนี้ FDI ที่ปรับเพิ่มมูลค่าการลงทุน มีจำนวน 1,350 โครงการเพิ่มทุนการลงทุนรวม 9,930 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.7 และ FDI ที่ซื้อหุ้นและเพิ่มทุนในบริษัทของเวียดนาม มีจำนวน 3,029 โครงการ มีมูลค่าการลงทุนรวม 4,060 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 39.7
FDI โครงการใหม่ที่ได้รับอนุญาตในเวียดนามตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 20 พฤศจิกายน 2567
โครงการใหม่
(จำนวน) |
มูลค่าของโครงการใหม่
(ล้านเหรียญสหรัฐ) |
มูลค่าของโครงการที่ปรับขึ้นมูลค่าลงทุน
(ล้านเหรียญสหรัฐ) |
|
รวม | 3,035 | 17,387.2 | 9,931.8 |
จังหวัดที่ได้รับการลงทุน | |||
Quang Ninh | 33 | 1,963.8 | 327.3 |
Bac Ninh | 343 | 1,851.1 | 2,927.6 |
Ba Ria – Vung Tau | 35 | 1,681.2 | -9.6 |
Ha Noi | 253 | 1,144.3 | 348.7 |
Thai Binh | 38 | 1,076.3 | 24.7 |
Ninh Thuan | 5 | 916.8 | 25.3 |
Dong Nai | 93 | 901.5 | 377.8 |
Hai Phong | 111 | 775.9 | 956.5 |
Binh Duong | 184 | 767.8 | 821.3 |
Nghe An | 15 | 691.5 | 877.2 |
Hung Yen | 57 | 675.2 | 38.8 |
Thai Nguyen | 26 | 522.4 | 123.1 |
Long An | 110 | 520.7 | 234.6 |
Ho Chi Minh City | 1,285 | 475.2 | 535.9 |
Bac Giang | 65 | 466.4 | 664.4 |
Thanh Hoa | 19 | 422.4 | 27.7 |
Hai Duong | 63 | 376.3 | 338.8 |
Ha Nam | 32 | 277.9 | 342.5 |
Nam Dinh | 22 | 260.1 | 43.6 |
Tay Ninh | 33 | 245.3 | 313.6 |
จังหวัดอื่นๆ | 213 | 1,375.1 | 592.0 |
ประเทศที่เข้าลงทุน | |||
Singapore | 408 | 5,784.7 | 2,494.4 |
South Korea | 368 | 2,328.5 | 1,332.7 |
China | 859 | 2,206.8 | 983.3 |
Special Administration Hong Kong | 335 | 1,956.7 | 1,569.8 |
Japan | 245 | 1,691.6 | 854.1 |
Taiwan | 173 | 1,071.8 | 537.7 |
Turkey | 7 | 731.3 | 31.6 |
Samoa | 40 | 442.9 | 279.0 |
The United Kingdom | 16 | 217.3 | 217.5 |
The United States | 101 | 178.1 | -44.4 |
Virgin Islands (UK) | 42 | 173.1 | 33.9 |
Seychelles | 24 | 146.9 | 56.5 |
Malaysia | 41 | 80.2 | 64.5 |
Thailand | 26 | 61.4 | 87.0 |
Netherlands | 20 | 60.5 | 103.1 |
Germany | 21 | 56.2 | 28.6 |
Canada | 20 | 49.3 | 4.9 |
Italy | 12 | 40.9 | -38.9 |
Cayman Islands | 3 | 28.5 | 1,002.3 |
ประเทศอื่นๆ | 274 | 80.6 | 334.2 |
ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม
5.3 เวียดนามลงทุนในต่างประเทศ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม – พฤศจิกายน) เวียดนามลงทุนในต่างประเทศรวมมูลค่า 7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 โดยมีโครงการใหม่ที่ได้รับใบรับรองการลงทุนจำนวน 151 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม 555.2 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีโครงการที่ปรับเพิ่มทุนจำนวน 22 โครงการ มีมูลค่าการลงทุนเพิ่ม 43.5 ล้านเหรียญสหรัฐ
- การค้า และการนำเข้า-ส่งออก
6.1 การขายปลีกสินค้าและบริการ
ในเดือนพฤศจิกายน 2567 การขายปลีกของสินค้าและบริการมีมูลค่า 562 ล้านล้านเวียดนามด่ง หรือประมาณ 22,480 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566
ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม – พฤศจิกายน) การขายปลีกของสินค้าและบริการมีมูลค่า 5.82 ล้านล้านเวียดนามด่งหรือประมาณ 232,891 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 โดยการขายปลีกของสินค้ามีมูลค่า 4.49 ล้านล้านเวียดนามด่งหรือประมาณ 179,490 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 ธุรกิจบริการที่พักและร้านอาหารมีมูลค่า 0.67 ล้านล้านเวียดนามด่งหรือประมาณ 26,762 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 การท่องเที่ยวมีมูลค่า 0.06 ล้านล้านเวียดนามด่งหรือประมาณ 2,298 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3 และการบริการอื่น ๆ มีมูลค่า 0.61 ล้านล้านเวียดนามด่งหรือประมาณ 24,339 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1
ยอดขายปลีกสินค้าและบริการเวียดนามในช่วงเดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2567
หน่วย: พันล้านเวียดนามด่ง
พ.ย. 2567 | ม.ค. – พ.ย. 2567 | พ.ย. 2567 เทียบกับ พ.ย. 2566 (%) | ม.ค. – พ.ย. 2567 เทียบกับ ม.ค. – พ.ย. 2566 (%) | ||
มูลค่ารวม | โครงสร้าง (%) | ||||
รวม | 562,003 | 5,822,278 | 100.0 | 108.8 | 108.8 |
ยอดขายปลีกสินค้า | 430,351 | 4,487,259 | 77.1 | 108.3 | 108.1 |
ธุรกิจบริการที่พักและอาหาร | 63,726 | 669,052 | 11.5 | 112.9 | 113.0 |
การท่องเที่ยว | 5,607 | 57,474 | 1.0 | 112.5 | 117.3 |
บริการอื่นๆ | 62,319 | 608,493 | 10.4 | 107.7 | 109.1 |
ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม
6.2 การนำเข้าสินค้าและบริการ
ในเดือนพฤศจิกายน 2567 เวียดนามนำเข้าสินค้ามูลค่า 32,670 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2567 แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566
ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม – พฤศจิกายน) เวียดนามนำเข้าสินค้ามูลค่า 345,620 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 โดยการนำเข้าของบริษัทเวียดนาม มีมูลค่า 126,050 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 และเป็นการนำเข้าของบริษัทต่างชาติในเวียดนาม มีมูลค่า 219,570 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 ทั้งนี้ จีนเป็นแหล่งนำเข้าสินค้าที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มูลค่า 130,200 ล้านเหรียญสหรัฐ
กลุ่มสินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ กลุ่มวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตสินค้า มูลค่า 323,720 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 93.7 และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค มูลค่า 21,900 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.3
6.3 การส่งออกสินค้าและบริการ
ในเดือนพฤศจิกายน 2567 เวียดนามส่งออกสินค้ามูลค่า 33,730 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2567 แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566
ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม – พฤศจิกายน) เวียดนามส่งออกสินค้า มูลค่า 369,930 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 โดยเป็นการส่งออกจากภาคการผลิตเพื่อส่งออกของเวียดนามมูลค่า 103,880 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.0 ภาคการผลิตเพื่อส่งออกของบริษัทต่างชาติในเวียดนาม มูลค่า 266,050 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มูลค่า 108,900 ล้านเหรียญสหรัฐ
กลุ่มสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมแปรรูป มูลค่า 325,520 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 88.0 กลุ่มสินค้าเกษตรและป่าไม้ มูลค่า 31,350 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.4 กลุ่มผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ มูลค่า 9,170 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.5 และกลุ่มสินค้าเชื้อเพลิงและแร่ธาตุ มูลค่า 3,890 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.1
- ดุลการค้า
ในเดือนพฤศจิกายน 2567 เวียดนามเกินดุลการค้า มูลค่า 1,060 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม – พฤศจิกายน) เวียดนามเกินดุลการค้า มูลค่า 24,310 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเกินดุลการค้ากับสหรัฐอเมริกามูลค่า 95,400 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.7 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 เกินดุลการค้ากับสหภาพยุโรปมูลค่า 32,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.1 เกินดุลการค้ากับญี่ปุ่นมูลค่า 2,600 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.9 ในขณะเดียวกัน เวียดนามขาดดุลการค้ากับจีนมูลค่า 75,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 67.7 ขาดดุลการค้ากับเกาหลีใต้มูลค่า 27,700 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 และขาดดุลการค้ากับประเทศในภูมิภาคอาเซียนมูลค่า 8,600 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3