รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและภาวะการค้าสหรัฐฯ ประจำเดือนธันวาคม 2567

  1. อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจ (GDP Growth)

สำนักงานวิเคราะห์เศรษฐกิจสหรัฐฯ (U.S. Bureau of Economic Analysis) กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ (U.S. Department of Commerce) รายงานมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติแท้จริง (Real GDP) สหรัฐฯ ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 และมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติไตรมาสที่ 3 ปี 2567ประมาณการครั้งที่ 3 (Third Estimate) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1

 

แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2567 เป็นผลมาจากการขยายตัวของ การใช้จ่ายภาคประชาชน การส่งออก การลงทุนระยะยาวที่ไม่ใช่สำหรับที่อยู่อาศัย และการใช้จ่ายภาครัฐ รวมถึงภาคการนำเข้าที่ชะลอตัวลงในช่วงดังกล่าวซึ่งล้วนส่งผลดีต่อการขยายตัวของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติสหรัฐฯ

 

สถิติอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจสหรัฐฯ* ปี 2563 – 2567

หน่วย: ร้อยละ

ปี ไตรมาส 1 (ม.ค. – มี.ค.) ไตรมาส 2 (เม.ย. – มิ.ย.) ไตรมาส 3 (ก.ค. – ก.ย.) ไตรมาส 4 (ต.ค. – ธ.ค.)
2563 -5.5 -28.1 35.2 4.4
2564 5.6 6.4 3.5 7.4
2565 -1.0 0.3 2.7 3.4
2566 2.8 2.4 4.4 3.2
2567 1.6 3.0 3.1

*ปรับฤดูกาลรายปี หรือ Seasonally adjusted at annual rates

ที่มา: Bureau of Economic Analysis, U.S. Department of Commerce

 

 

  1. อัตราการว่างงาน

สำนักงานสถิติแรงงาน (Bureau of Labor Statistics) กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ (U.S. Department of Labor) รายงานอัตราการว่างงานสหรัฐฯ ประจำเดือนพฤศจิกายน 2567 (ข้อมูลล่าสุด) ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนที่ผ่านมามากนัก อยู่ที่อัตราร้อยละ 4.2 มีผู้ว่างงานในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนทั้งสิ้น 7.1 ล้านคน การจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Nonfarm Payroll Employment) เพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 227,000 ตำแหน่ง

 

  • กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมบริการด้านสุขภาพ 54,000 ตำแหน่ง อุตสาหกรรมการโรงแรมและการท่องเที่ยว 53,000 ตำแหน่ง อุตสาหกรรมการจ้างงานภาครัฐ 33,000 ตำแหน่ง อุตสาหกรรมการผลิต 32,000 ตำแหน่ง อุตสาหกรรมสังคมสงเคราะห์ 19,000 ตำแหน่ง
  • กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานลดลง คือ อุตสาหกรรมค้าปลีก 28,000 ตำแหน่ง
  • ส่วนการจ้างงานในอุตสาหกรรมเหมืองแร่และขุดเจาะพลังงาน อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมค้าส่ง อุตสาหกรรมการขนส่งและคงคลังสินค้า อุตสาหกรรมสารสนเทศ อุตสาหกรรมการเงิน อุตสาหกรรมบริการทางธุรกิจ และอุตสาหกรรมการบริการอื่นๆ ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก

 

 

สถิติอัตราการว่างงานสหรัฐฯ ย้อนหลัง 12 เดือน

เดือน ร้อยละ เดือน ร้อยละ
ธ.ค. 66 3.7 มิ.ย. 67 4.1
ม.ค. 67 3.7 ก.ค. 67 4.6
ก.พ. 67 3.9 ส.ค. 67 4.2
มี.ค. 67 3.8 ก.ย. 67 4.1
เม.ย. 67 3.9 ต.ค. 67 4.1
พ.ค. 67 4.0 พ.ย. 67 4.2

ที่มา: Bureau of Labor Statistics, U.S. Department of Labor

 

 

  1. ภาวะเงินเฟ้อ (Consumer Price Index: CPI)

สำนักงานสถิติแรงงาน (Bureau of Labor Statistics) กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ (U.S. Department of Labor) รายงานภาวะเงินเฟ้อสหรัฐฯ ประจำเดือนพฤศจิกายน 2567 (ข้อมูลล่าสุด) ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนที่ผ่านมาเป็นร้อยละ 2.7 (ไม่ปรับฤดูกาล หรือ Not Seasonally Adjusted)

 

โดยในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาราคาสินค้าไม่ปรับฤดูกาล (Not Seasonally Adjusted) กลุ่มสินค้าอื่นๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 กลุ่มสินค้าอาหารปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 และกลุ่มสินค้าพลังงานปรับตัวลดลงร้อยละ  3.2 รายละเอียด ดังนี้

 

3.1 กลุ่มสินค้าอาหาร ได้แก่ เนื้อสัตว์และไข่ (+ร้อยละ 3.8) เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (+ร้อยละ 2.8) ผลิตภัณฑ์จากนม (+ร้อยละ 1.2) ผักและผลไม้สด (+ร้อยละ 1.1) และซีเรียลและเบเกอรี (-ร้อยละ 0.5)

 

3.2 กลุ่มสินค้าพลังงาน ได้แก่ ไฟฟ้า (+ร้อยละ 3.1) ก๊าซธรรมชาติ (+ร้อยละ 1.8) และน้ำมันเชื้อเพลิง (-ร้อยละ 8.1)

 

3.3 กลุ่มสินค้าและบริการอื่น ได้แก่ บริการขนส่ง (+ร้อยละ 7.1) บุหรี่และยาสูบ (+ร้อยละ 6.6) ที่พักอาศัย (+ร้อยละ 4.7) บัตรโดยสารเครื่องบิน (+ร้อยละ 4.7) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (+ร้อยละ 1.8) เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม (+ร้อยละ 1.1) วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ (+ร้อยละ 0.4) รถยนต์ใหม่ (-ร้อยละ 0.7) และรถยนต์มือสอง (Used Cars) (-ร้อยละ 3.4)

 

สถิติอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ย้อนหลัง 12 เดือน

เดือน ร้อยละ เดือน ร้อยละ
ธ.ค. 66 3.4 มิ.ย. 67 3.0
ม.ค. 67 3.1 ก.ค. 67 2.9
ก.พ. 67 3.2 ส.ค. 67 2.5
มี.ค. 67 3.5 ก.ย. 67 2.4
เม.ย. 67 3.4 ต.ค. 67 2.6
พ.ค. 67 3.3 พ.ย. 67 2.7

ที่มา: Bureau of Labor Statistics, U.S. Department of Labor

 

 

  1. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Index: CCI)

The Conference Board (CB) รายงานผู้บริโภคชาวอเมริกันมีความเชื่อมั่นต่อสภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ   ปรับตัวดีขึ้นในเดือนธันวาคม 2567 โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Index) ปรับตัวลดลงจากเดิม 112.8 ในเดือนพฤศจิกายน 2567 (ปีฐาน: ปี 2528 = 100) เป็น 104.7 ในเดือนธันวาคม 2567
ดัชนีความเชื่อมั่นในภาวะปัจจุบัน (Present Situation Index) ที่วัดแนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจและตลาดแรงงานในปัจจุบันปรับตัวลดลงจากเดิม 141.4 ในเดือนพฤศจิกายน 2567 เป็น 140.2 ในเดือนธันวาคม 2567 และดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภค (Expectations Index) ซึ่งวัดจากมุมมองของผู้บริโภคต่อสถานการณ์ทางด้านรายได้ การดำเนินกิจการ และการจ้างงานในตลาดแรงงานในระยะสั้นปรับตัวลดลงจากเดิม 93.7 ในเดือนพฤศจิกายน 2567 เป็น 81.1 ในเดือนธันวาคม 2567 (สูงกว่าระดับ 80.0 ซึ่งเป็นสัญญาณแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ในอนาคต)

 

โดยรวมความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวอเมริกันในตลาดในเดือนธันวาคม 2567 ปรับตัวลดลง แม้ว่าสถานการณ์ด้านการจ้างงานในตลาดแรงงานจะยังคงมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยผู้บริโภคในตลาดรู้สึกว่าสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจและแนวโน้มรายได้ในอนาคตเริ่มมีแนวโน้มชะลอตัวลง อีกทั้ง ยังมีความกังวลต่อแนวโน้มตลาดการจ้างงานในอนาคตเพิ่มขึ้นด้วยหลังจากที่มีแนวโน้มดีในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา

ที่มา: The Conference Board

 

 

  1. ภาวะการค้าปลีกของสหรัฐฯ

สำนักงานสถิติสหรัฐฯ (U.S. Census Bureau) กระทรวงพาณิชย์ สหรัฐฯ รายงานภาวะการค้าปลีกและ การบริการด้านอาหารประจำเดือนล่วงหน้า (Advance Monthly Sales for Retail and Food Services) สหรัฐฯ ประจำเดือนพฤศจิกายน 2567 (ข้อมูลล่าสุด) สามารถสรุปได้ ดังนี้

 

  • มูลค่าการค้าปลีกสินค้าและการบริการด้านอาหาร (Retail & Food Services) ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.7 เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 742,609 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • มูลค่าการค้าปลีก (Retail Trade Sales) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 627,915 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • มูลค่าการค้าปลีกไม่ผ่านร้านค้า (Nonstore Retailers) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 127,095 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

กลุ่มสินค้าและบริการที่มียอดค้าปลีกขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สินค้ารถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ (+ร้อยละ 2.6) สินค้าอุปกรณ์กีฬา (+ร้อยละ 0.9) สินค้าวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง (+ร้อยละ 0.4) สินค้าเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน (+ร้อยละ 0.3) สินค้าครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ (+ร้อยละ 0.3) และสินค้าน้ำมันเชื้อเพลิง (+ร้อยละ 0.1) ตามลำดับ

 

กลุ่มสินค้าและบริการที่มียอดค้าปลีกหดตัวลง ได้แก่ สินค้าปลีกผ่านช่องทางร้านค้าอื่นๆ (-ร้อยละ 3.5) การบริการร้านอาหารและเครื่องดื่ม (-ร้อยละ 0.4) สินค้าอาหารและเครื่องดื่ม (-ร้อยละ 0.2) สินค้าเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม (-ร้อยละ 0.2) และสินค้าปลีกทั่วไป (-ร้อยละ 0.1) ตามลำดับ

 

ส่วนสินค้าเพื่อสุขภาพและสุขอนามัยส่วนบุคคล ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก

ที่มา: U.S. Census Bureau, U.S. Department of Commerce

 

  1. ภาวะการค้าระหว่างประเทศ

สำนักงานสถิติสหรัฐฯ (U.S. Census Bureau) กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานสถิติดุลการค้า (ส่งออก – นำเข้า) สหรัฐฯ ประจำเดืนตุลาคม 2567 (ข้อมูลล่าสุด) สรุปได้ ดังนี้

 

สหรัฐฯ ขาดดุลการค้า ในเดือนตุลาคม 2567 สุทธิทั้งสิ้น 73,836 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 9,959 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือลดลงร้อยละ 11.88 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา

 

สหรัฐฯ มีมูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการในเดือนตุลาคม 2567 เป็นมูลค่า 265,720 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 4,295 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือลดลงร้อยละ 1.59 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา แบ่งเป็น

 

  • การส่งออกสินค้าเป็นมูลค่า 170,652 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 5,318 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือลดลงร้อยละ 02 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา
  • การส่งออกบริการเป็นมูลค่า 95,068 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 1,024 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 09 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา

 

โดยกลุ่มบริการที่สหรัฐฯ มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ การบริการท่องเที่ยว การบริการทางธุรกิจ การบริการซ่อมบำรุง ทรัพย์สินทางปัญญา และการบริการด้านข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นต้น

 

สหรัฐฯ มีมูลค่าการนำเข้าสินค้าและบริการในเดือนตุลาคม 2567 เป็นมูลค่า 339,556 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 14,254 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือลดลงร้อยละ 4.03 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา แบ่งเป็น

 

  • การนำเข้าสินค้าเป็นมูลค่า 269,319 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 15,681 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือลดลงร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา
  • การนำเข้าบริการเป็นมูลค่า 70,237 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 1,427 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.07 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา

 

โดยกลุ่มบริการที่สหรัฐฯ มีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ การบริการท่องเที่ยว ทรัพย์สินทางปัญญา การบริการขนส่ง การบริการประกัน และการบริการทางธุรกิจอื่นๆ เป็นต้น

ที่มา: U.S. Census Bureau, U.S. Department of Commerce

 

  1. ภาวะการค้าระหว่าง สหรัฐฯ – ไทย

ในเดือนตุลาคม 2567 (ข้อมูลล่าสุด) สหรัฐฯ และไทยมีมูลค่าการค้าสุทธิทั้งสิ้น 7,554.03 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 17) เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา โดยสหรัฐฯ มีดุลการค้า ขาดดุล ไทยเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 4,806.33 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา

 

  • สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 6,180.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 12) เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา โดยสินค้าหลักนำเข้าจากไทย ได้แก่ อุปกรณ์โทรศัพท์ (HS Code 8517) เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 เครื่องประมวลผลข้อมูล (HS Code 8471) เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.87 ยางรถยนต์ (HS Code 4011) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.82 เครื่องจักรไฟฟ้าและเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า (HS Code 8543) เพิ่มขึ้นร้อยละ 119.66 และหม้อแปลงไฟฟ้า (HS Code 8504) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.70

 

ตารางแสดง: เปรียบเทียบมูลค่าสหรัฐฯ นำเข้าสินค้าจากไทย 10 อันดับแรกเดือนตุลาคม 2567  

มูลค่า: ดอลลาร์สหรัฐ

HS Code สินค้า ตุลาคม

2566

ตุลาคม

2567

เปลี่ยนแปลง %
8517 Telephone Sets Incl Smartphones 638,875,452 1,010,424,334 58.16
8471 Automatic Data Processing 490,182,594 680,704,862 38.87
4011 New Pneumatic Tires, or Rubber 321,573,640 324,208,902 0.82
8543 Electrical Machines 108,501,001 238,338,501 119.66
8504 Electrical Transformers 218,921,648 220,453,593 0.70
8541 Semiconductor Devices 444,256,839 209,263,196 -52.90
8443 Printing Machinery 102,019,293 141,363,479 38.57
8525 Transmission Apparatus for Radiotelephony 129,863,982 136,478,607 5.09
8708 Parts and Accessories for Tractors 79,369,556 124,748,413 57.17
7113 Articles of Jewelry and Parts 128,841,137 120,475,324 -6.49
Others 2,482,113,794 2,973,723,510 19.81
รวม   5,144,518,936 6,180,182,721 20.13

 

  • สหรัฐฯ ส่งออกไปไทย เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 1,85 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 24) เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.53 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา โดยสินค้าหลักส่งออกไปไทย ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียม (HS Code 2709) เพิ่มขึ้นร้อยละ 181.59 แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (HS Code 8542) เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.40 ก๊าซปิโตรเลียม (HS Code 2711) เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.74 เศษอะลูมิเนียม (HS Code 7602) เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.93 และชิ้นส่วนเครื่องพิมพ์ (HS Code 8473) เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.56

 

ตารางแสดง: เปรียบเทียบมูลค่าสหรัฐฯ ส่งออกสินค้าไปไทย 10 อันดับแรกเดือนตุลาคม 2567

มูลค่า: ดอลลาร์สหรัฐ

HS Code สินค้า ตุลาคม

2566

ตุลาคม

2567

เปลี่ยนแปลง %
2709 Petroleum Oils 70,852,785 199,512,653 181.59
8542 Electronic Integrated Circuits 82,298,815 109,783,331 33.40
2711 Petroleum Gases And Other 50,933,260 71,682,624 40.74
7602 Aluminum Waste 42,697,379 61,455,607 43.93
8473 Part and Accessories for Typewriters 38,916,571 51,588,706 32.56
1201 Soybeans, Whether Or Not Broken 6,919,954 47,993,128 593.55
7204 Ferrous Waste And Scrap 31,109,531 47,685,224 53.28
8517 Telephone Sets Incl Smartphones 52,242,332 46,989,007 -10.06
8800 Civilian Aircraft, Engines, and Parts 48,030,228 30,399,795 -36.71
9018 Instruments And Appliance Used 21,263,834 30,239,236 42.21
Others 797,695,152 676,520,588 -15.19
รวม   1,242,959,841 1,373,849,899 10.53

ที่มา: Global Trade Atlas

 

 

มูลค่าการค้าระหว่างสหรัฐฯ – ไทย (เฉพาะรัฐในเขตพื้นที่อาณาดูแลของ สคต. ชิคาโก)

 

ในเดือนตุลาคม 2567 สหรัฐฯ และไทย มีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศเฉพาะในเขตพื้นที่อาณาดูแลของ สคต. ชิคาโก เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 1,739.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.07 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา โดยรัฐในเขตพื้นที่ดูแลมีมูลค่าการนำเข้าจากไทยทั้งสิ้น 1,410.65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.88 และรัฐในเขตพื้นที่อาณาดูแลมีมูลค่าการส่งออกไปไทยทั้งสิ้น 328.64 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 15.99 โดยรวมรัฐในเขตพื้นที่อาณาดูแลมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ ขาดดุล ไทยทั้งสิ้น 1,082.01 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.84 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา

 

  • รัฐที่นำเข้าจากไทยเป็นสัดส่วนสูง ได้แก่ รัฐอิลลินอยส์ (ร้อยละ 39.23) รัฐเคนทักกี (ร้อยละ 18.69) รัฐโอไฮโอ (ร้อยละ 13.23) รัฐมิชิแกน (ร้อยละ 8.04) และรัฐอินดีแอนา (ร้อยละ 7.34) ตามลำดับสินค้าส่งออกสำคัญของไทยในรัฐเขตพื้นที่อาณาดูแล ได้แก่ โทรศัพท์ (HS Code 8517) ร้อยละ 26.60 เครื่องประมวลผล (HS Code 8471) ร้อยละ 14.59 ชิ้นส่วนรถยนต์ (HS Code 8708) ร้อยละ 5.05 เครื่องส่งสัญญาณวิทยุ (HS Code 8525) ร้อยละ 26 ยางรถยนต์ (HS Code 4011) ร้อยละ 3.78 หม้อแปลงไฟฟ้า (HS Code 8504) ร้อยละ 2.48 เครื่องสูบลม (HS Code 8414) ร้อยละ 2.07 อาหารสัตว์เลี้ยง (HS Code 2309) ร้อยละ 2.05 อุปกรณ์ไฟฟ้า (HS Code 8543) ร้อยละ 1.92 และเครื่องรับสัญญาณวิทยุ (HS Code 8527) ร้อยละ 1.65 ตามลำดับ

 

  • รัฐที่ส่งออกไปไทยเป็นสัดส่วนสูง ได้แก่ รัฐลุยเซียนา (ร้อยละ24) รัฐ มิชิแกน (ร้อยละ 18.032) รัฐมินนิโซตา (ร้อยละ 12.87) รัฐอิลลินอยส์ (ร้อยละ 12.41) และรัฐโอไฮโอ (ร้อยละ 12.30) ตามลำดับสินค้านำเข้าสำคัญของไทยจากรัฐในเขตพื้นที่อาณาดูแล ได้แก่ ก๊าซปิโตรเลียม (HS Code 2711) ร้อยละ 14.28 ชิ้นส่วนรถยนต์ (HS Code 8708) ร้อยละ 7.24 ถั่วเหลือง (HS Code 1201) ร้อยละ 5.89 เศษโลหะ (HS Code 7204)   ร้อยละ 4.83 เศษอะลูมิเนียม (HS Code 7602) ร้อยละ 3.58 อาหารแปรรูป (HS Code 2106) ร้อยละ 3.51 แผงวงจรไฟฟ้า (HS Code 8542) ร้อยละ 3.19 อากาศยาน (HS Code 8802) ร้อยละ 2.44 ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ (HS Code 8714) ร้อยละ 2.21 และวัคซีน (HS Code 3002) ร้อยละ 2.17 ตามลำดับ

 

สถิติการค้าสหรัฐฯ – ไทย (เฉพาะรัฐในเขตพื้นที่ดูแลของ สคต. ชิคาโก)

มูลค่า: ดอลลาร์สหรัฐ

ไทยนำเข้า ไทยส่งออก
รัฐ ต.ค. 66 ต.ค. 67 ปป % รัฐ ต.ค. 66 ต.ค. 67 ปป %
1. ลุยเซียนา 98,660,522 69,793,960 -29.26 1. อิลลินอยส์ 438,426,099 553,390,570 26.22
2. มิชิแกน 89,460,238 59,246,837 -33.77 2. เคนทักกี 131,478,553 263,713,684 100.58
3. มินนิโซตา 33,070,742 42,302,866 27.92 3. โอไฮโอ 151,090,332 186,695,020 23.57
4. อิลลินอยส์ 38,130,358 40,798,863 7.00 4. มิชิแกน 100,677,215 113,444,572 12.68
5. โอไฮโอ 42,127,725 40,438,688 -4.01 5. อินดีแอนา 90,939,194 103,579,898 13.90
6. วิสคอนซิน 24,618,274 23,099,634 -6.17 6. มิสซูรี 22,329,009 50,149,332 124.59
7. อินดีแอนา 21,646,012 13,131,095 -39.34 7. วิสคอนซิน 32,122,122 30,508,781 -5.02
8. เคนทักกี 11,724,921 9,735,556 -16.97 8. มินนิโซตา 39,062,826 28,932,471 -25.93
9. มิสซูรี 6,558,881 9,540,812 45.46 9. โอคลาโฮมา 19,286,956 21,616,740 12.08
10. แคนซัส 9,559,090 6,754,904 -29.34 10. ลุยเซียนา 12,123,958 15,705,868 29.54
11. ไอโอวา 6,150,746 4,473,759 -27.26 11. ไอโอวา 15,674,999 12,379,398 -21.02
12. เนบราสกา 2,289,453 3,924,235 71.40 12. แคนซัส 5,480,741 12,214,553 122.86
13. อาร์คันซอ 2,310,831 2,318,544 0.33 13. เนบราสกา 23,773,102 10,095,746 -57.53
14. โอคลาโฮมา 3,884,778 1,830,057 -52.89 14. อาร์คันซอ 3,194,490 5,934,973 85.79
15. นอร์ทดาโกตา 251,504 1,130,448 349.48 15. นอร์ทดาโกตา 7,786,081 1,755,079 -77.46
16. เซาท์ดาโกตา 749,984 122,513 -83.66 16. เซาท์ดาโกตา 1,075,833 532,577 -50.50
รวม 391,194,059 328,642,771 -15.99 รวม 1,094,521,510 1,410,649,262 28.88

ที่มา: U.S. Census Bureau, U.S. Department of Commerce

 

 

******************************

 

 

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครชิคาโก

 

 

 

thThai