รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้านิวซีแลนด์ ประจำเดือนตุลาคม 2567

(1) สถานการณ์เศรษฐกิจนิวซีแลนด์

– การเติบโตทางเศรษฐกิจนิวซีแลนด์เข้าสู่ภาวะถดถอยในไตรมาสเดือนเดือนกันยายนลดลงร้อยละ 0.1 และมีการขยายตัวตลอดทั้งปีลดลงร้อยละ 0.1 ต่อปี จากการหดตัวของอุตสาหกรรมผลิตลดลงร้อยละ 2.6 (การผลิตเหล็ก ไม้ อาหารและเครื่องดื่ม) ธุรกิจบริการลดลงร้อยละ 1.5 ธุรกิจค้าปลีกลดลงร้อยละ1.1 และอุตสาหกรรมก่อสร้างลดลงร้อยละ 2.8  แต่ภาคอุตสาหรรมพื้นฐานฟื้นตัวร้อยละ 1.4 โดยเฉพาะอุตสาหกรรมผลิตนมและผลิตภัณฑ์ ภาคธุรกิจบริการให้เช่ารถยนต์/ที่พักอาศัยและ IT ขยายตัวร้อยละ 1 การใช้จ่ายภาคครัวเรือนลดลงร้อยละ 0.3 แต่การซื้อสินค้าคงทน เช่น รถยนต์และอุปกรณ์สื่อสารต่างๆเพิ่มขึ้น การส่งออกสินค้าลดลงร้อยละ 1.2 จากการส่งออกเนื้อและผลิตภัณฑ์ อาหารและเครื่องดื่มที่ลดลง และการนำเข้าสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 0.4 การเติบโตของ GDP ต่อหัวต่อปีลดลงร้อยละ 1.2 (ลดลง 8 ไตรมาสติดต่อกัน) รายได้ประชาชาติต่อหัวตลอดปีจนถึงไตรมาสเดือนกันยายนลดลงร้อยละ 2.7

-อัตราเงินเฟ้อทั้งปีจนถึงไตรมาสเดือนมิถุนายนอยู่ที่ร้อยละ 2.2 อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 4.8 ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายนิวซีแลนด์ลงที่ร้อยละ 4.25 อัตราค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นที่ 23.15 เหรียญนิวซีแลนด์ต่อชั่วโมง (926 เหรียญนิวซีแลนด์ต่อสัปดาห์)  ภาวะความกดดันด้านค่าครองชีพจากภาวะเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลง จะส่งผลดีต่อการบริโภคในประเทศปี 2568

(2) สถานการณ์การค้าภาพรวมของนิวซีแลนด์ [1]

ปี 2567 เดือนมกราคมตุลาคม สถานการณ์การส่งออกสินค้าของนิวซีแลนด์ มีมูลค่า 34,857 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 1.60) เป็นการส่งออกนมและผลิตภัณฑ์นม เนย ไขมัน (ร้อยละ 27.85) เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค (ร้อยละ 12.15) กีวี (ร้อยละ 8.12) ไม้ที่ยังไม่แปรรูป (ร้อยละ 6.77) อาหารปรุงแต่งสำหรับใช้เลี้ยงทารก (ร้อยละ 3.82) ประเทศส่งออกหลัก คือ จีน สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้  สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 11 (นมและครีมที่ทำให้เข้มข้น แอปเปิ้ล เยื่อไม้เคมีที่เป็นเยื่อไม้โซดาหรือเยื่อไม้ซัลเฟต เคซิอิน และเนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค)

ปี 2567 เดือนมกราคมตุลาคม การนำเข้าสินค้าของนิวซีแลนด์ มีมูลค่า 39,158 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 6.51) โดยเป็นการนำเข้าเครื่องกังหันไอพ่น (ร้อยละ 13.90) น้ำมันปิโตรเลียมดิบและน้ำมันดิบที่ได้จากแร่บิทูมินัส (ร้อยละ 13.87) รถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 11.27) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 9.03) อุปกรณ์และเครื่องใช้ในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ร้อยละ 3.59) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้และญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ขาดดุลการค้า 4,301 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 8 มีมูลค่า 1,505 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 5.05) (รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ โพลิเมอร์ของเอทิลีนในลักษณะขั้นปฐม เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ แชมพูและสิ่งปรุงแต่งที่ใช้กับเส้นผม) โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 882 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (30,517 ล้านบาท)

สถานการณ์การส่งออกสินค้าของนิวซีแลนด์ในเดือนตุลาคม 2567 มีมูลค่า 3,490 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 13.59) เป็นการส่งออกนมและผลิตภัณฑ์นม เนย ไขมัน (ร้อยละ 33.41) เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค (ร้อยละ 9.76) ไม้ที่ยังไม่แปรรูป (ร้อยละ 6.99) อาหารปรุงแต่งสำหรับใช้เลี้ยงทารก (ร้อยละ 4.65) และไวน์ (ร้อยละ 3.76) โดยประเทศส่งออกหลัก คือ จีน ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 12  (นมและครีมที่ทำให้เข้มข้น เยื่อไม้เคมีที่เป็นเยื่อไม้โซดาหรือเยื่อไม้ซัลเฟต น้ำมันปิโตรเลียม แอปเปิ้ล และเคซิอิน)

การนำเข้าสินค้าของนิวซีแลนด์ในเดือนตุลาคม 2567 มีมูลค่า 4,371 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 5.98)  โดยเป็นการนำเข้าเครื่องกังหันไอพ่น (ร้อยละ 14.47) รถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 10.36) ปิโตรเลียมดิบและน้ำมันดิบที่ได้จากแร่บิทูมินัส (ร้อยละ 9.89) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 9.11) เครื่องบิน (ร้อยละ 5.03) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เกาหลีใต้และญี่ปุ่น ซึ่งในเดือนตุลาคม 2567 นิวซีแลนด์ได้ขาดดุลการค้า 881 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทย เป็นคู่ค้าอันดับ 7 (รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ อาหารสัตว์ โพลิเมอร์ของเอทิลีนในลักษณะขั้นปฐม และเครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ)

(3) สรุปสถานการณ์การค้าไทย-นิวซีแลนด์ [2]

เป้าหมายส่งออก มูลค่าการค้ารวม (ล้าน US$) มูลค่าการส่งออก (ล้าน US$) มูลค่าการนำเข้า (ล้าน US$)
ปี 2023

(%)

ปี 2024

(%)

ปี 2023 ปี 2024 ปี 2023 ปี 2024 ปี 2023 ปี 2024
ม.ค.– ธ.ค. ม.ค.-ต.ค. +/- (%) ม.ค. – ธ.ค. ม.ค.-ต.ค. +/- (%) ม.ค. – ธ.ค. ม.ค.-ต.ค. +/- (%)
2.0

(-24.94)

1.0 2,245.09

(-21.10)

2,098.11 9.39 1,406.89

-24.79

1,348.87 10.48 838.21

(-14.00)

749.25  7.47

[1] Source: Global Trade Atlas

[2] Source: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

(4) สถานการณ์การค้าไทยกับนิวซีแลนด์

  • การส่งออกสินค้าไทยไปนิวซีแลนด์เดือนตุลาคม ปี 2567 มีมูลค่า 1117 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (3,915.7 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ 14.18 เป็นการลดลงของสินค้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศ เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องเพชรพลอย อัญมณีและผลิตภัณฑ์ยาง แต่การส่งออกอาหารทะเลกระป๋อง เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์พลาสติกเพิ่มขึ้น
  • การนำเข้าสินค้าของไทยจากนิวซีแลนด์เดือนตุลาคม ปี 2567 มีมูลค่า 63.25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (2,150.5 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.43 เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้านมและผลิตภัณฑ์นม ผัก ผลไม้ เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ ไม้ซุงและไม้แปรรูป เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ สัตว์น้ำสด แช่เย็นแช่แข็ง และเครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ แต่การนำเข้าเคมีภัณฑ์และอาหารปรุงแต่งสำหรับใช้เลี้ยงทารกลดลง

(5) สถิติการส่งออกหลักของไทยไปตลาดนิวซีแลนด์ (รายเดือน)

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้านิวซีแลนด์ ประจำเดือนตุลาคม 2567

 (6)  สถิติการนำเข้าหลักของไทยจากตลาดนิวซีแลนด์ (รายเดือน)[1]

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้านิวซีแลนด์ ประจำเดือนตุลาคม 2567

 

[1] Source: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

thThai