รายงานข้อมูลเชิงลึกตลาดสินค้าและบริการด้านสุขภาพ (Health & Wellness) ในฮ่องกง

 

รายงานข้อมูลเชิงลึกตลาดสินค้าและบริการด้านสุขภาพในฮ่องกง

รายงานข้อมูลเชิงลึกตลาดสินค้าและบริการด้านสุขภาพ (Health & Wellness) ในฮ่องกง

                 1.  ภาพรวมตลาดสินค้าและบริการด้านสุขภาพในฮ่องกง

จากข้อมูลของ Statista ได้กล่าวถึงภาพรวมด้านสุขภาพในฮ่องกงที่เกี่ยวกับสุขภาพ เช่น การออกกำลังกาย การดูแลรักษาด้วยตัวเอง การปรึกษาแพทย์ออนไลน์ ฯลฯ โดยในปี 2567 คิดเป็นมูลค่า 303.80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีอัตราขยายตัว 14.1% สาเหตุชาวฮ่องกงหันมาใส่ใจสุขภาพเพิ่มขึ้น และการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโรคภัยที่เกิดขึ้นอย่างมาก ภายหลังการระบาด Covid-19  ทำให้ประชากรในเมืองเริ่มมีความกระตือรือร้นในการดูแลสุขภาพ ในขณะที่การกลับมาของนักท่องเที่ยวชาวจีนทำให้ความต้องการอาหารและธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพเพิ่มขึ้น  อาทิ ยา วิตามิน อาหารเสริม นม  และผลิตภัณฑ์ดูแลตัวเอง นอกจากนี้ ชาวฮ่องกงใส่ใจการออกกำลังกาย และโภชนาการเพื่อเป็นวิธีในการดูแลสุขภาพ ภูมิคุ้มกัน และความเป็นอยู่โดยรวม

นอกจากนี้การดูแลสุขภาพของผู้บริโภคชาวฮ่องกงกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด อาทิการหันไปใช้สมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์แบบดั้งเดิม เนื่องจากไข้หวัดใหญ่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อประชากรสูงอายุมากขึ้น ผู้บริโภคจึงหันไปพึ่งยาแผนจีน (TCM) หรือวิธีการรักษาตามธรรมชาติ ซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพในการแก้ไขที่ต้นเหตุของโรคมากกว่าจะรักษาเพียงอาการที่มองเห็นได้

 

ในทำนองเดียวกัน ผู้ประกอบการอาหารเสริมหันมาใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่มีส่วนผสมของสมุนไพรเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ความนิยมที่เพิ่มขึ้นของสารสกัดไก่และถั่งเช่า  สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการอาหารเสริมที่เสริมภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ ในขณะที่เห็ดหลินจือซึ่งเป็นเห็ดสมุนไพรถูกมองว่าเป็นทางเลือกที่ราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับอาหารเสริมต่อต้านวัยที่กำลังได้รับความนิยมอย่าง NMN Supplement การเปลี่ยนแปลงไปสู่ผลิตภัณฑ์แบบดั้งเดิมได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ในปีนี้ช่วงฤดูไข้หวัดใหญ่ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในฮ่องกง ผู้บริโภคมองว่าการรักษายาตามธรรมชาติเหล่านี้มีผลข้างเคียงน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับยาแผนปัจจุบันที่จำหน่ายหน้าร้าน

ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมคาดการณ์ว่าความต้องการอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจะตอบสนองต่อกระแสไลฟ์สไตล์ของผู้รักษาสุขภาพเป็นอย่างดี ซึ่งตอบสนองผู้บริโภคที่เปลี่ยนทางเลือกที่เป็นธรรมชาติ และออร์แกนิก

ทั้งนี้ แบรนด์ต่างๆ นำเสนอสินค้าสำหรับที่ผู้ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ โดยผลิตเครื่องดื่มแบบพกพาที่ให้คุณค่าทางโภชนาเพื่อบำรุงกำลังและสามารถเข้ายึดครองตลาดเพื่อสุขภาพในฮ่องกง อาทิ Pocari, Monster, Red Bull รวมถึงผู้บริโภคที่ต้องการลดน้ำหนักได้เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะต่างๆ โดยควบคุมการรับประทานอาหารและหันมาเน้นที่การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งทำให้แนวโน้มอาหารเสริมซูเปอร์ฟู้ด และอาหารทดแทนตอบสนองต่อไลฟ์สไตล์ที่ยุ่งยากอีกด้วย

 

                2.   การบริโภคสินค้าเพื่อสุขภาพ

                      จากพฤติกรรมการบริโภคของชาวฮ่องกงที่ใส่ใจต่อสุขภาพ ผู้ผลิตและผู้ค้าใส่ใจต่อความต้องการสินค้าเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าที่มีความต้องการสูงในตลาดฮ่องกง  ได้แก่

         2.1  ข้าว ผู้บริโภคชาวฮ่องกงนิยมรับประทานข้าวกันมากที่สุด โดยหน่วยงาน Trade and Industry Department, HKSAR รายงานในปี 2567 ผู้บริโภคชาวฮ่องกงบริโภคข้าวไทยถึงร้อยละ 58 (ปริมาณ 136,000 ตัน) เพราะนอกจากข้าวหอมมะลิ ยังมีข้าวเพื่อสุขภาพหลากสี เช่น ข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวกล้อง ข้าวแดง ซึ่งตอบรับกับผู้บริโภคในปัจจุบัน ที่หันมาใส่ใจต่อสุขภาพและโภชนาการเพิ่มขึ้น แม้ว่าคนรุ่นใหม่ วัยทำงานจะมีเวลาน้อยลงในการทำอาหาร และข้าวมักใช้เวลาในการเตรียมนานกว่าเส้นก๋วยเตี๋ยวหรือพาสต้า ส่งผลให้การบริโภคจากร้านขายปลีกเปลี่ยนไปเป็นร้านอาหารมากขึ้น ผู้บริโภคที่ตระหนักถึงผลกระทบต่อสุขภาพจากดัชนีน้ำตาลในเลือดที่สูงจึงลดการบริโภคข้าวขาวลง เนื่องจากข้าวมีน้ำตาลมากกว่าเส้นก๋วยเตี๋ยวและพาสต้า ส่งผลให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคข้าวหลากหลายสีต่างๆ หรือ ข้าวผสมธัญพืช การระมัดระวังเรื่องน้ำหนักตัว การอ่านฉลากโภชนาการของอาหารและเครื่องดื่มอย่างละเอียด การระมัดระวังเรื่องแคลอรีที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วนและน้ำหนักเกิน และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพด้วย

ข้าว 4 ประเภทช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด ค่า GI ไม่สูงเหมาะกับคนเป็นเบาหวาน

 

รายงานข้อมูลเชิงลึกตลาดสินค้าและบริการด้านสุขภาพ (Health & Wellness) ในฮ่องกง

 

รายละเอียดข้าวไทยเพื่อสุขภาพและราคาในฮ่องกง

รายงานข้อมูลเชิงลึกตลาดสินค้าและบริการด้านสุขภาพ (Health & Wellness) ในฮ่องกง

หมายเหตุ:  ข้อมูลจาก HKTV mall ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ได้รับความนิยมในฮ่องกง

 

                     2.2 ธัญพืช (Cereal) หรือ ซีเรียล ตลาดซีเรียลเป็นอาหารเพื่อสุขภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งผู้บริโภคชาวฮ่องกงส่วนใหญ่รับประทานเป็นอาหารมื้อเช้าที่สะดวกและประหยัดเวลา นอกจากนี้ อาหารซีเรียลยังมีคุณสมบัติที่ดีต่อสุขภาพ จากข้อมูล Statista ในปี 2568 คาดการณ์ตลาดซีเรียลในฮ่องกงคิดเป็นมูลค่า 229.10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 4.15%  และคาดว่าปริมาณเฉลี่ยต่อคนจะอยู่ที่ 3.6 กิโลกรัมต่อปี ซึ่งแนวโน้มผลิตภัณฑ์ซีเรียลที่ให้คุณประโยชน์ต่อผู้บริโภคมากขึ้น เช่น

1) ปริมาณไฟเบอร์และโปรตีนสูง ขณะเดียวกันไม่มีปริมาณน้ำตาลสูงและสารเติมแต่งเทียม

2) ซีเรียลมีโภชนาการพิเศษ เช่น ปราศจากกลูเตน มังสวิรัติ และคาร์โบไฮเดรตต่ำ

3) ปัจจุบันการพัฒนาซีเรียลเพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการบริโภคของชาวจีน ผู้ผลิตรายใหญ่ ตัวอย่าง Quaker (PepsiCo Inc) ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีส่วนผสมเมล็ดสมุนไพรจีน เช่น ถั่วดำถั่วแดง jujube และ wolfberry ในซีเรียลเพื่อสร้างความมั่นใจที่ดีต่อสุขภาพ

 

ตัวอย่างซีเรียลและราคาจากไทยในฮ่องกงรายงานข้อมูลเชิงลึกตลาดสินค้าและบริการด้านสุขภาพ (Health & Wellness) ในฮ่องกง

หมายเหตุ: ข้อมูลจาก HKTV mall ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ได้รับความนิยมในฮ่องกง

 

                        2.3. มังสวิรัติ (Vegetarian)

                                จากรายงาน Market Research Future ในปี 2566 ตลาดอาหารมังสวิรัติ
ทั่วโลกมีมูลค่า 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ คาดว่าจะขยายเป็น  7.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2575 ประกอบกับความนิยมที่เพิ่มขึ้นของการรับประทานอาหารมังสวิรัติเป็นแรงผลักดันการเติบโตของตลาด โดยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) มีแนวโน้มเติบโตเร็วที่สุด จากรายได้ที่ใช้จ่ายได้ที่เพิ่มขึ้น พฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนไป และประชากรมังสวิรัติจำนวนมาก เมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคอเมริกาใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (MEA) จะมีส่วนแบ่งตลาดอาหารมังสวิรัติที่เล็กลง

                                             ภาพรวมตลาดอาหารมังสวิรัติตามภูมิภาคปี 2566 และ 2575

 

รายงานข้อมูลเชิงลึกตลาดสินค้าและบริการด้านสุขภาพ (Health & Wellness) ในฮ่องกง

 

                                 แนวโน้มอาหารมังสวิรัติในฮ่องกง พบว่าผู้บริโภคชาวฮ่องกงนิยมการรับประทานอาหารที่เน้นพืชผัก ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ เช่น นม ไข่ น้ำผึ้ง ขึ้นอยู่กับประเภทของมังสวิรัติที่ผู้บริโภคเลือกผู้บริโภคชาวฮ่องกง ปัจจุบันการใช้ชีวิตแบบมังสวิรัติมีจำนวนเพิ่มขึ้น ตัวอย่าง บริษัท Deliveroo ซึ่งเป็นบริษัทบริการจัดส่งอาหารถึงบ้านมียอดคำสั่งซื้ออาหารมังสวิรัติเพิ่มขึ้น 104 % และมีจำนวนร้านอาหารที่ให้บริการอาหารมังสวิรัติประมาณ 300 แห่งในฮ่องกง นอกจากนี้ Green Monday ซึ่งเป็นองค์กรเพื่อสังคมที่มีฐานอยู่ในฮ่องกงสำรวจผู้บริโภคชาวฮ่องกง 70% เต็มใจที่จะลองรับประทานอาหารมังสวิรัติ

 

รายละเอียดอาหารมังสวิรัติและราคาในฮ่องกง

 

รายงานข้อมูลเชิงลึกตลาดสินค้าและบริการด้านสุขภาพ (Health & Wellness) ในฮ่องกง

 

รายงานข้อมูลเชิงลึกตลาดสินค้าและบริการด้านสุขภาพ (Health & Wellness) ในฮ่องกง

 

                       2.4  Plant-based Food  หรือ ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์จากข้อมูล Statista ในปี 2567 ตลาดผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์ในฮ่องกงมีมูลค่า 31.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น 6.3% ในปี 2568 และเมื่อเปรียบเทียบการบริโภคเฉลี่ยต่อคนจะอยู่ที่ 0.2 กิโลกรัมต่อปี

                              1) ปัจจัยหลักสำคัญของการขยายตลาดผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์ ได้แก่   กลุ่มรับประทานอาหารมังสวิรัติ ที่ส่งผลให้ความต้องการผลิตภัณฑ์ทดแทน   เนื้อสัตว์ในตลาดฮ่องกงเพิ่มขึ้น

                             2) กลุ่มคนรุ่นใหม่หันมาบริโภค Plant -based โดยการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ควบคู่กับความตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

                              3) กลุ่มสังคมชาวจีนส่วนใหญ่คุ้นเคยกับอาหารจากพืช ทำให้ผู้ผลิตอาหารสนใจการผลิตอาหารจากพืชเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคชาวจีนที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นๆในฮ่อกง

                              4)กองทุนร่วมทุน หรือสถาบันการศึกษา เช่น HKUST ให้การสนับสนุนด้านเงินทุนแก่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ และ กลุ่ม  Start up  เพื่อสนับสนุนการเติบโตด้านเทคโนโลยีอาหารและเทคโนโลยีทางการเกษตรโดยนำมาผลิตสินค้าใหม่ๆ

 

รายงานข้อมูลเชิงลึกตลาดสินค้าและบริการด้านสุขภาพ (Health & Wellness) ในฮ่องกง

                       2.5 สินค้าออร์แกนิค  ปัจจุบันแนวโน้มผู้บริโภคหันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพ การบริโภคจึงเป็น      สิ่งสำคัญต่อสุขภาพร่างกาย โดยเฉพาะอาหารออร์แกนิกและอาหารที่ผลิตโดยใช้วิธีการเกษตรแบบ “ธรรมชาติ” ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาฆ่าแมลงสังเคราะห์และปุ๋ยเคมี

                                 จากตัวเลข Statista จากแบบสำรวจออนไลน์ ณ เดือนกันยายน 2566 ผลิตภัณฑ์ อาหารประเภทออร์แกนิกที่สำคัญต่อการซื้อ 5 อันดับแรก ได้แก่ ผักและผลไม้ (81%) รองลงมาเป็นไข่และสัตว์ปีก (47%) นมและผลิตภัณฑ์นม (47%)เนื้อสัตว์ ไม่รวมสัตว์ปีก (41%) ซีเรียลต่าง ๆ (33%) ตามลำดับ

รายงานข้อมูลเชิงลึกตลาดสินค้าและบริการด้านสุขภาพ (Health & Wellness) ในฮ่องกง

 

                 สินค้าออร์แกนิคได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น จากเหตุผลหลายประการ อาทิ

                             1) การใส่ใจในสุขภาพ ความใส่ใจในสิ่งแวดล้อมและเชื่อว่าการทานอาหารออร์แกนิคเป็นวิธีหนึ่งในการลดปริมาณสารเคมีเนื่องจากปัจจุบันมีะสารเคมีและสารเติมแต่งในอาหารจำนวนมาก ทำให้ผู้คนเริ่มให้ความสนใจและเลือกที่จะบริโภคสินค้าออร์แกนิคมากขึ้น

                             2) ผู้บริโภคเชื่อว่าอาหารออร์แกนิกผ่านการแปรรูปน้อยกว่า  โดยเฉพาะจะมีสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (GMO) น้อยกว่า และอาหารออร์แกนิกปลูกโดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมีหรือสารเติมแต่งอื่นๆ จึงถือเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

                                  อย่างไรก็ตาม แนวโน้มสินค้าออร์แกนิคจะได้รับความนิยมสูงจากผู้บริโภคที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพ แต่ผู้บริโภคบางรายมองว่าอาหารออร์แกนิคมีราคาสูง และไม่เต็มใจที่จะจ่ายเงินเพิ่มเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีข้อความอ้างว่าเป็นออร์แกนิค ซึ่งอาจทำให้ผู้ผลิตหันมาควรทำราคาที่จับต้องได้

รายงานข้อมูลเชิงลึกตลาดสินค้าและบริการด้านสุขภาพ (Health & Wellness) ในฮ่องกง

 

           2.6 อาหารเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

                                    1) ผลิตภัณฑ์ทดแทนโยเกิร์ตที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์จากนมได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นที่เหมาะสำหรับผู้ที่รับประทานอาหารเจ ผู้ที่แพ้แลคโตส ผู้ที่แพ้ผลิตภัณฑ์จากนม และ/หรือผู้ที่ต้องการลดการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์ทดแทนโยเกิร์ตมักมีโปรไบโอติกเพื่อส่งเสริมสุขภาพลำไส้  จากข้อมูล Statista คาดการณ์ตลาดผลิตภัณฑ์ทดแทนโยเกิร์ตในฮ่องกงมีมูลค่า 12.07 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2569 และเติบโตอยู่ที่ 3.67% โดยคิดปริมาณเฉลี่ยต่อคนอยู่ที่ 0.2 กิโลกรัมต่อปี

รายงานข้อมูลเชิงลึกตลาดสินค้าและบริการด้านสุขภาพ (Health & Wellness) ในฮ่องกง

                                   2) วิตามินและแร่ธาตุ แนวโน้มผู้บริโภคในฮ่องกงได้เปลี่ยนมาเน้นที่สุขภาพและความแข็งแรงของร่างกาย ทำให้ผลิตภัณฑ์วิตามินและแร่ธาตุเพื่อเสริมอาหารขยายตัวอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แนวโน้มนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในฮ่องกงเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งวิตามินและแร่ธาตุที่สามารถช่วยป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับอายุและรักษาสุขภาพโดยรวม จากข้อมูล Statista ตลาดผลิตภัณฑ์วิตามิน และแร่ธาตุในฮ่องกงมีมูลค่า 216 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2567 และขยายตัวอยู่ที่ 75%

 

รายงานข้อมูลเชิงลึกตลาดสินค้าและบริการด้านสุขภาพ (Health & Wellness) ในฮ่องกง

 

                                    นอกจากนี้ ผู้บริโภคใส่ใจในคุณภาพในอาหารเพิ่มมากขึ้น การติดฉลากโภชนาการบนบรรจุภัณฑ์ช่วยให้ผู้บริโภคเข้าใจและเลือกประเภท ปริมาณ ในอาหารที่มีผลดีต่อสุขภาพของตนเองได้

 

รายงานข้อมูลเชิงลึกตลาดสินค้าและบริการด้านสุขภาพ (Health & Wellness) ในฮ่องกง

 

                     3.  ธุรกิจบริการด้านสุขภาพ

                            ผู้บริโภคในฮ่องกงมีความต้องการบริการด้านสุขภาพ เนื่องจากไลฟ์สไตล์ที่ยุ่งวุ่นวายและความเครียด จึงหันมาดูแลสุขภาพ อาทิ  การออกกำลังกาย  หรือบริการนวดเพื่อผ่อนคลาย เพื่อช่วยรักษาวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดี

                             3.1 สถานออกกำลังกาย (Gym/Fitness)  ภายหลังจากโรคระบาด COVID-19 สุขภาพและการออกกำลังกายจึงมีความสำคัญมากขึ้นและกำลังได้รับความนิยมในฮ่องกง ถึงแม้ว่าในปี 2563-2565 เป็นช่วงที่
อุตสาหกรรมฟิตเนสของฮ่องกงต้องเผชิญความปั่นป่วน เนื่องจากต้องปิดฟิตเนสเป็นเวลานานจนทำให้ฟิตเนส 150 แห่ง ต้องปิดตัวลง Fitness First เป็นหนึ่งในผู้ได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากต้องปิดฟิตเนสทั้ง 8 แห่งในฮ่องกง  แต่ธุรกิจนี้ก็เริ่มแสดงสัญญาณการฟื้นตัวโดยมีศูนย์ออกกำลังกาย (ยิม สตูดิโอโยคะ การฝึกสอนมวย) เปิดให้บริการมากกว่า 365 แห่งในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

                             แนวโน้มสถานออกกำลังกายในฮ่องกงเริ่มนำศิลปะมวยไทยเข้ามาร่วมกับการสอนแบบ Private ได้รับความนิยมจากกลุ่มวัยเรียน วัยรุ่น และวัยทำงาน  ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการออกกำลังกายที่ใช้กำลังการเพิ่มกล้ามเนื้อให้แข็งแรง และป้องกันตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้สถานออกกำลังกายมุ่งเป้าไปที่โปรแกรมเพื่อสุขภาพ โดยสถานที่ตั้งของสถานออกกำลังกายได้ย้ายจากย่านธุรกิจหลักไปยังเขตที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ ในเขตเกาลูนและ
นิวเทอร์ริทอรีส์

 

รายงานข้อมูลเชิงลึกตลาดสินค้าและบริการด้านสุขภาพ (Health & Wellness) ในฮ่องกง

 

รายงานข้อมูลเชิงลึกตลาดสินค้าและบริการด้านสุขภาพ (Health & Wellness) ในฮ่องกง

                                 นอกจากการออกกำลังกายเพื่อดูแลสุขภาพและร่างกายในสถานที่ Gym และ Fitness ยังรวมถึงการออกกำลังโดยการควบคุมทางการแพทย์ภายในโรงพยาบาล ตัวอย่าง เช่น โรงพยาบาล CUHK Medical Centre (CUHKMC) ฮ่องกง เป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรและเป็นของมหาวิทยาลัยจีนแห่งฮ่องกง    ดยมุ่งมั่นที่จะนำเสนอบริการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพด้วยค่าบริการแบบแพ็คเกจราคาไม่แพง ตามหลักการไม่แสวงหากำไร  รายได้ส่วนเกินทั้งหมดจากโรงพยาบาลนำกลับไปใช้ในการพัฒนา                  โรงพยาบาลและคณะแพทยศาสตร์ของ CUHK เพื่อการวิจัยและการสอน โปรแกรมออกกำลังกายและสุขภาพ โดยเฉพาะโรคอ้วนและน้ำหนักเกินเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังบางขนิด เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ เบาหวาน โรคข้อเสื่อม โรคหยุดหายใจขณะหลับ และมะเร็งบางชนิด

 

รายงานข้อมูลเชิงลึกตลาดสินค้าและบริการด้านสุขภาพ (Health & Wellness) ในฮ่องกง

 

                      3.2 Spa & Massage  จากข้อมูล Census and Statistics Department ในปี 2567 ฮ่องกงมีสถาบันความงามและดูแลร่างกาย (Beauty and body prettifying treatment) ได้แก่ สถานเสริมความงาม นวด สปา จำนวน 12,227แห่ง แรงงาน จำนวน 37,742 ราย โดยจำนวนสถานประกอบการนวด (Massage) ที่ได้รับใบอนุญาต มีจำนวน 103  แห่ง (ข้อมูลล่าสุดเดือนมีนาคม 2567)

                             บริการสปาและนวดในฮ่องกง ส่วนใหญ่จะเน้นการบำบัดแก้ปวด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ดูแลร่างกายเพื่อสุขภาพที่ดี โดยการนวดที่นิยมหลายรูปแบบ เช่น การนวดแบบตะวันตก แผนจีน แผนไทย  ซึ่งการนวดแผนไทยจะเป็นการสัมผัสจากร่างกายส่วนล่างเท้าถึงส่วนบนทำให้รักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ คอ บ่า ไหล่ ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบและได้รับความนิยมเป็นอย่างดีในฮ่องกง ประกอบกับการตกแต่ง บรรยากาศ การบริการแบบไทยดั้งเดิม และราคาค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก

รายงานข้อมูลเชิงลึกตลาดสินค้าและบริการด้านสุขภาพ (Health & Wellness) ในฮ่องกง

 

แนวโน้มสปาและผลิตภัณฑ์

 1) ธุรกิจสปาและผลิตภัณฑ์การดูแลสุขภาพของฮ่องกงนั้นส่วนใหญ่เป็นการผสมผสานทั้ง จากยาสมุนไพรไทยและจีนเข้าด้วยกัน ปัจจุบัน ชาวฮ่องกงมีความเครียดจากหน้าที่การงาน ชั่วโมงการทำงานที่เร่งรัด ทำให้คนฮ่องกงประสบกับภาวะความเครียดสูง การนอนไม่หลับ แนวโน้มการบำบัดการนวดแผนไทยและ สปาไทยจะช่วยการผ่อนคลาย รวมถึงผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยที่มีประโยชน์หลายชนิดเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ได้รับความนิยมในการดูแลสุขภาพ

 2) สปาไทยได้รับการตอบรับจากผู้ใช้บริการด้านสุขภาพ  เนื่องจากความมีเอกลักษณ์ การแสดงถึงความเอาใจใส่และความเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มวัย รวมถึงผลิตภัณฑ์สปาและเครื่องประทินผิวไทยมีวัตถุดิบที่ได้จากธรรมชาติ สมุนไพร ที่สามารถแก้อาการปวด ช่วยผ่อนคลาย รวมถึงสถานที่ที่มีความเป็นไทย
ที่บ่งชี้ถึงความเป็นประเทศไทย ซึ่งตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บริการได้ตรงจุดมากขึ้น

3) ราคาที่เข้าถึงได้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจว่าสินค้าหรือบริการด้านสุขภาพนั้นจะมีราคาที่ค่อนข้างสูงกว่าปกติ ซึ่งการสร้างความเข้าใจใหม่ควบคู่ไปกับการตั้งราคาที่เข้าถึงได้มากขึ้นถือเป็นการสร้างกลยุทธ์ในการแข่งขัน ซึ่งร้านนวดแผนจีนและผลิตภัณฑ์สมุนไพรจีน

4) การผลิตแบบ OEM ไทยสามารถผลิตสินค้าผ่านความต้องการของผู้ผลิตในฮ่องกง ด้วย ศักยภาพด้านแรงงานที่มีคุณภาพ วัตถุดิบและสมุนไพรที่หาได้ง่ายและต้นทุนต่ำ ซึ่งการผลิตแบบ OEM สามารถป้อนตลาดระดับกลางถึงล่าง และสามารถแข่งขันกับแบรนด์ต่างประเทศที่มีราคาสูงกว่า

5) สินค้าไทยแบรนด์ที่มีชื่อเสียงระดับ High end ในฮ่องกง เป็นการจำหน่ายผ่านผู้นำเข้า เช่น Zaza, Lung Fung, Big C,  Watson, Manning ที่มีร้านค้าสาขาอยู่ทั่วเกาะฮ่องกง ทำให้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและเครื่องประทินผิวไทยเป็นที่รู้จักอย่างดี

6) สถานบริการนวดแผนไทยในฮ่องกง ส่วนใหญ่จะมีขนาดพื้นที่ประมาณ 1-2 ห้อง เจ้าของเป็นคนไทยและเป็นหมอนวดคนไทย และตั้งอยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยว ชุมชนไทย ได้แก่ Thai Town (Kowloon City), Wanchai  Causeway Bay และ Central  นอกจากร้านนวดไทย ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสปา และเครื่องประทินผิวไทยยังเป็นที่นิยมในฮ่องกงอีกด้วย เช่น

  6.1) THANN ฮ่องกง เป็นแฟรนไชส์สปาและผลิตภัณฑ์ประทินผิวไทย  จากการเปิดร้านค้าในย่าน  Tsim Sha Tsui ฝั่งเกาลูน จำนวน 1 ร้าน และเปิดธุรกิจสปา จำนวน 1 ร้าน เมื่อปี 2555  ปัจจุบันบริษัท THANN เปิดร้านค้าจำหน่ายผลิตภัณฑ์รวมทั้งสิ้น 4 แห่ง และสถานบริการสปา 4 แห่ง

ผลิตภัณฑ์ THANN  เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับธรรมชาติและมีส่วนผสมสมุนไพรไทยกำลังเป็นที่นิยมในตลาดฮ่องกงโดยเน้น Organic และ Green Products คุณสมบัติมีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ทำให้เป็นที่ชื่นชอบในตลาดฮ่องกง สินค้า THANN   มีลูกค้าระดับ High end และปานกลาง สำหรับกลุ่มวัยที่นิยมใช้ THANNเป็นกลุ่มวัยทำงานเป็นส่วนใหญ่  เมื่อเปรียบกับกลุ่มวัยรุ่นในฮ่องกงที่นิยมเทรดผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและเครื่องสำอางค์เกาหลีที่มาแรง ทำให้กลุ่มวัยรุ่นนี้ THANN อาจต้องประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมีเดีย หรือการขยายเคาเตอร์สินค้าในห้างใจกลางเมือง และเพิ่มการขยายตลาดผ่านออนไลน์มากขึ้น นอกจากนี้  THANN Sanctuary ที่ให้บริการสปา นวดแผนไทย ได้รับความนิยมจากชาวฮ่องกงและชาวต่างประเทศในฮ่องกง  เนื่องจาก THANN นำบรรยากาศธรรมชาติ การบริการนวดแผนไทยและพนักงานไทยมาบริการ จึงทำให้ซึมซับความเป็นไทยได้จาก THANN

 

รายงานข้อมูลเชิงลึกตลาดสินค้าและบริการด้านสุขภาพ (Health & Wellness) ในฮ่องกง

 

6.2) HARNN เป็นแฟรนไชส์สปาไทย ที่นำรูปแบบสปาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ในฮ่องกงเปิดดำเนินการธุรกิจตั้งแต่ปี 2562 ปัจจุบัน HARNN ตั้งอยู่ในโรงแรม Hong Kong Ocean Park Marriott ในรูปแบบ Spa  มีการบริหารแบบที่เป็นสากล แต่สถานที่ภายในยังคงรูปแบบสไตล์สปาไทย สำหรับด้านบริการมีทั้งการนวด แบบไทย สปา อโรมา ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าชาวฮ่องกง ส่วนใหญ่ลูกค้า HARNN คุ้นเคยการบริการแบบไทยที่มีเอกลักษณ์ รวมถึงฐานลูกค้าต่างประเทศที่อาศัยในฮ่องกงอีกด้วย  โดยเฉพาะตลาดในประเทศจีนซึ่งเป็นตลาดสำคัญ ทั้งนี้ สถานที่ตั้งในโรงแรมยังเป็นโอกาสทางการค้าที่เพิ่มช่องทางการบริการสำหรับนักธุรกิจที่เดินทางมาทำการค้าเข้ามาใช้บริการสปาในโรงแรมด้วย

 

รายงานข้อมูลเชิงลึกตลาดสินค้าและบริการด้านสุขภาพ (Health & Wellness) ในฮ่องกง

 

6.3)  PANPURI (ปัญญ์ปุริ) เป็นแบรนด์ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์และสุขภาพของไทย เริ่มดำเนินธุรกิจเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2567 ตั้งอยู่ที่ในห้างสรรพสินค้า K11 Musea ย่านTsim Sha Tsui ฝั่งเกาลูน ซึ่งเป็นแหล่งช๊อปปิ้งและท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง PANPURI มีผลิตภัณฑ์ประทินผิวและเครื่องหอมสมุนไพรไทยที่ผสมผสานและมีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ เข้ากับพลังอันมีชีวิตชีวาของฮ่องกง ผู้บริโภคชาวฮ่องกงขึ้นชื่อในเรื่องรสนิยมอันหรูหราและต้องการสินค้าคุณภาพพรีเมียม ซึ่งทำให้ปัญญ์ปุริมีโอกาสเชิงกลยุทธ์ในการขยายฐานลูกค้า  ชาวฮ่องกงเป็นหนึ่งในลูกค้าหลักของแบรนด์ รวมถึงยังเป็นโอกาสที่แบรนด์สามารถเปิดประตูขยายสาขาไปสู่ตลาดจีนแผ่นดินใหญ่ในอนาคต ซึ่งสาขาในฮ่องกงจะมีบทบาทสำคัญในการดูแลและดำเนินการกิจการต่างๆ ของแบรนด์ทั่วทั้งจีน ฮ่องกงและมาเก๊า ซึ่งได้แก่การผลักดันยอดขาย กิจกรรมสร้างสรรค์ทางการตลาด และการวางแผนส่งเสริมศักยภาพในการค้าปลีกในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ปัญญ์ปุริมีเป้าหมายขยายสาขาในฮ่องกงให้ได้ 3-4 ร้าน และจับตาดูการจัดตั้งสำนักงานใหญ่เพื่อเป็นประตู่สู่ตลาดในภูมิภาคและเอเชีย

รายงานข้อมูลเชิงลึกตลาดสินค้าและบริการด้านสุขภาพ (Health & Wellness) ในฮ่องกง

6.4) Divana  แบรนด์ไทยที่รู้จักเป็นอย่างดีในฮ่องกง จากการริเริ่มประชาสัมพันธ์และเข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติ (ร่วมกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และสคต. ณ เมืองฮ่องกง) ในฮ่องกงและมาเก๊าอย่างต่อเนื่อง อาทิ งาน Cosmoprof Asia (ฮ่องกง) และ Macao-Guangzhou Products (มาเก๊า)

Divana เป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมสูงจากชาวฮ่องกงและลูกค้าต่างประเทศที่ชอบความเป็นวัฒนธรรมไทย สมุนไพรและสัมผัสกลิ่นจากธรรมชาติ  ตอบรับกับแนวโน้มในปัจจุบันและการเปลี่ยนแปลงพลเมืองโลกที่ใส่ใจตัวเอง สังคม และโลกเพิ่มขึ้น ทั้งนี้  ผลิตภัณฑ์ Divana มีจำหน่ายมากกว่า 40 รายการ บนแพลตฟอร์มออนไลน์ Carousell ในฮ่องกง

รายงานข้อมูลเชิงลึกตลาดสินค้าและบริการด้านสุขภาพ (Health & Wellness) ในฮ่องกง
                      4.  การทำตลาดสินค้าเพื่อสุขภาพในฮ่องกง

                             4.1 การจัดจำหน่ายสินค้า (Distribution Channels)  การมีความสัมพันธ์อันดีกับช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการทำตลาดของฮ่องกง เนื่องจากการมีสายสัมพันธ์ที่ยาวนานของกลุ่มเก่าถือเป็นข้อจำกัดหนึ่งของผู้ที่เข้ามาทำตลาดใหม่

                            4.2 การสร้างแบรนด์ (Branding)   ความรู้สึกที่ดีต่อแบรนด์สินค้าของผู้บริโภคนั้นคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำตลาดสินค้าเพื่อสุขภาพนั้น ผู้บริโภคจะค่อนข้างมีความระมัดระวังกับการยอมรับสิ่งใหม่ หรือให้มาเปลี่ยนใช้สินค้าใหม่ที่ไม่ได้มีความแตกต่างกับสินค้าเดิมที่ผู้บริโภคเคยใช้นี้จึงเป็นบทที่ค่อนข้างท้าทายสำหรับสินค้าใหม่ ทั้งนี้การทำตลาดในระยะเวลาที่ยาวนานอย่างเพียงพอ การค่อย ๆ สร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้บริโภคและการพัฒนาสินค้าที่ดีให้ผู้บริโภคในระยะเวลาที่ยาวนานจึงจะทำให้ผู้บริโภคเปิดใจยอมรับเชื่อมั่นในสินค้านั้น จึงเป็นบททดสอบสำหรับสินค้าใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาในตลาด

                           4.3 การส่งเสริมการขาย (Product Promotion)    สิ่งสำคัญของการทำตลาดสินค้าเพื่อสุขภาพนั้น คือ “ความเชื่อมั่น” หลาย ๆ แบรนด์จึงใช้บุคคลที่เป็นที่ยอมรับทั้งจากวงการทางการแพทย์ หรือ บุคคลที่มีชื่อเสียง หรือ ได้รับการรับรองจากสถาบัน องค์กรที่น่าเชื่อถือทั้งหมดนี้เพื่อเป็นหลักประกัน ความมั่นใจ
ให้กับผู้บริโภคเพื่อให้กล้าที่จะทดลองใช้

ทั้งนี้บุคคลต่างๆ เหล่านี้มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างแพงในการจ้าง จึงเป็นอุปสรรคที่ทำให้สินค้าใหม่ ๆ ประสบความสำเร็จได้ยาก การจัดรายการส่งเสริมการขายผ่านบุคคลที่มีชื่อเสียงรองลงมา หรือ บุคคลที่มีชื่อเสียงในโซเชียลแพลตฟอร์มต่าง ๆ จึงได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า และเข้าถึงผู้บริโภคในวงกว้าง

                          4.4 กลยุทธ์ทางด้านราคา (Pricing) สินค้าใหม่ที่เข้าตลาดจะประสบปัญหาเรื่องต้นทุนที่มีราคาสูง เพราะปริมาณการขายยังมีไม่มาก ดังนั้นจึงเสียเปรียบแบรนด์สินค้ารายเดิมที่มีวางจำหน่ายอยู่แล้วในตลาด ดังนั้นการใช้กลยุทธ์การตั้งราคาที่ดีทั้ง Push and Pull Strategy จึงมีส่วนสำคัญในการแข่งขัน

                         4.5 การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ ถือเป็นโอกาสสำคัญสำหรับธุรกิจในการขยายตลาดและเพิ่มโอกาสทางการค้า งานแสดงสินค้าต่างประเทศสามารถเปิดประตูให้ธุรกิจเข้าสู่ตลาดใหม่ ๆ สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าและคู่ค้าใหม่อีกทั้งยังเป็นโอกาสในการเรียนรู้และปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการให้ตรงตามความต้องการของตลาดระดับสากล โดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพและชีวิตที่ดีในฮ่องกง เช่น Cosmoprof Asia ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี โดยในปี 2567 ผู้เข้าร่วมงานจากทั่วโลกจำนวน 2,500 ราย และผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมงานนี้จำนวน 25 ราย   สำหรับงานแสดงสินค้า Cosmoprof Asia 2025 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-14 พฤศจิกายน 2568 ที่  Hong Kong Convention & Exhibition Centre ณ เมืองฮ่องกง

 

                      5.  ช่องทางการจำหน่าย

                              5.1) ออฟไลน์ ได้แก่ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าเฉพาะทาง ร้านขายของชำ  และตลาดสด เช่น ผลไม้และผัก เนื้อสัตว์ หรืออาหารทะเล แต่ปัจจุบันคนรุ่นใหม่จะนิยมซื้อสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ต เนื่องจากอยู่บนห้างช็อปปิ้งที่สะดวกสบายและใกล้บ้านและสถานที่ทำงาน จึงทำให้ซูเปอร์มาเก็ตครองยอดขายอาหารปลีกในฮ่องกง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายซูเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ๆ ได้หันมาจัดโปรโมทชั่น ลดราคา ในทุกๆ สัปดาห์  อาทิ  AEON  ในขณะที่ซูเปอร์มาร์เก็ตของไทย ได้แก่ BIG C มีจำนวน 14 สาขาในฮ่องกง เป็นร้านค้าปลีกที่ขายสินค้าอุปโภคและบริโภคจากไทยในราคาไม่สูง

                           5.2) ออนไลน์หรือแอปพลิเคชันมือถือ ผู้บริโภคเป็นกลุ่มวัยรุ่นสั่งซื้อทางสินค้าผ่าน Social Media Platforms ได้แก่  Facebook, Instagram นอกจากนี้ การสั่งซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มซูเปอร์มาร์เก็ต Park N Shop, City’Super, TASTE, Fusionบางร้านค้าปลีกที่ขยายกิจการกลายเป็นจำหน่ายสินค้าแบบครบวงจร ได้แก่ HKTV Mall เป็นต้น ซึ่งกลุ่มลูกค้าเข้าถึงได้ง่ายเพียงจ่ายเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ eWallet, บัตรเครดิต
หรือเดบิต และสินค้าก็จะจัดส่งผ่านตู้เก็บสินค้าของบริษัทขนส่งหรือจัดส่งถึงบ้าน กลุ่มวัยมิลเลนเนียล เป็นกลุ่มคนที่มีความรู้ทางเทคโนโลยีสูง มีฐานะร่ำรวย และเป็นผู้บริโภคที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมากที่สุดในโลก จึงทำให้อีคอมเมิร์ซกลายเป็นช่องทางการขายที่เฟื่องฟู การโฆษณาทางอินเทอร์เน็ตบนโซเชียลมีเดียหรือแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งวิดีโอ ที่นิยมในฮ่องกงได้แก่ Tmall, Taobao, EBay, Amazon

รายงานข้อมูลเชิงลึกตลาดสินค้าและบริการด้านสุขภาพ (Health & Wellness) ในฮ่องกง

thThai