ทุเรียนไทยได้รับการยอมรับในฐานะ “ราชาแห่งผลไม้” ที่ครองใจผู้บริโภคชาวจีนมายาวนาน ด้วยรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์และคุณภาพระดับพรีเมียม ทำให้ทุเรียนกลายเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทย โดยเฉพาะในปี 2568 ที่กระแสความนิยมยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

กระแสทุเรียนไทยในตลาดจีน ปี 2568

แหล่งที่มาของรูป https://thestatestimes.com/storage/post_display/20240417135151MCGLm

 หากอ้างอิงจากตัวเลขสถิติของไทย มูลค่าการส่งออกทุเรียนเข้าไปในประเทศจีนในปี 2566 มีมูลค่า 31,999 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.58 เมื่อเทียบกับปี 2565 โดยปัจจุบันมีการแข่งขันจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศเวียดนามซึ่งได้รับอนุญาตให้ส่งออกทุเรียนสดไปยังจีนตั้งแต่ปี 2565 และประเทศฟิลิปปินส์ได้รับอนุญาติในปี 2566 ทำให้การแข่งขันทุเรียนในตลาดจีนเข้มข้นขึ้น

จากแหล่งข่าวจีน การปลูกทุเรียนในประเทศจีนเริ่มปลูกทุเรียนในมณฑลไห่หนานและกวางตุ้งตั้งแต่ปี 2562 ซึ่งอาจส่งผลต่อความต้องการนำเข้าทุเรียนจากต่างประเทศในอนาคต ทุเรียนไทยมีมาตรฐานการผลิตที่ได้รับการรับรอง เช่น GAP (Good Agricultural Practices) และมาตรฐานส่งออกผลไม้สดไปยังจีน อีกทั้งยังมีช่องทางการตลาดที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ เช่น JD Fresh, Tmall Fresh, Douyin, Hema, Ole หรือ Sam’s Club ทำให้ทุเรียนเข้าถึงผู้บริโภคจีนในทุกภูมิภาค นอกจากนี้ การจัดเทศกาลผลไม้ไทยในจีนช่วยกระตุ้นความสนใจต่อทุเรียนไทยและในหมู่ชาวจีนยังมีการแชร์ว่าทุเรียนถูกนำเสนอว่าเป็นแหล่งพลังงานธรรมชาติและอุดมไปด้วยวิตามิน ทำให้สามารถดึงดูดกลุ่มผู้บริโภคที่มองหาอาหารที่มีประโยชน์ ซึ่งชาวจีนได้มีการนำส่วนต่างๆของทุเรียนมาปรุงอาหาร ไม่ว่าจะเป็นเนื้อทุเรียน เปลือกทุกเรียน หรือแม้กระทั่งเม็ดทุเรียน

ทุเรียนจากประเทศอื่น ๆ เช่น เวียดนามและมาเลเซีย เริ่มมีบทบาทในตลาดจีน แม้ว่าคุณภาพยังไม่เทียบเท่าทุเรียนไทย ชาวจีนส่วนใหญ่ยังคงนิยมรับประทานทุเรียนนำเข้าจากไทยเนื่องจากเชื่อมั่นในคุณภาพและกระบวนการผลิต ปัจจุบันรัฐบาลจีนมีข้อกำหนดด้านสุขอนามัยที่เข้มงวดขึ้น เช่น การตรวจสารเคมีตกค้าง ซึ่งผู้ส่งออกไทยต้องปฏิบัติตามและควบคุมสารเคมีที่ชุบผลไม้ไม่ให้เกินเกณฑ์มาตรฐาน

กระแสทุเรียนไทยในตลาดจีน ปี 2568

ที่มาของรูปจากแอบพลิเคชั่น Xiaohongshu

หากติดตามจากกระแสโซเชียลจีนผู้บริโภครุ่นใหม่ในจีนเริ่มสนใจอาหารท้องถิ่นที่ทำมาจากเนื้อทุเรียนมากขึ้น หากดูจากเมนู  แปรรูป อาทิ พิซซ่าทุเรียน ขนมปังไส้ทุเรียน น้ำทุเรียนปั่น โมจิไส้ทุเรียน เค้กรสทุเรียน ไอศครีมทุเรียน น้ำแกงที่ต้มจากเปลือกทุเรียน หรือหม้อไฟซุปทุเรียน เป็นต้น ทั้งนี้มีร้านอาหารในจีนหลากหลายแบรนด์ได้ยกทุเรียนมาเป็นหนึ่งเมนูสำคัญ และโฆษณาว่าใช้ทุเรียนที่นำเข้าจากไทย จึงทำให้เป็นจุดสนใจของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก แพลตฟอร์ม เสี่ยวหงส์ซวู (Little Red Book) ก็ได้มีการแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกทุเรียน เมนูที่สามารถทำจากทุเรียน หากดูจากรูปภาพอ้างอิง ต่อโพสต์บัญชีธรรมดามีผู้กดชอบใจจำนวนหนึ่งพันถึงหนึ่งหมื่นคนโดยประมาณ นั้นแสดงให้เห็นศักยภาพของทุเรียนไทยว่าเป็นที่นิยมในชาวจีนเป็นอย่างมาก

ความคิดเห็นของ สคต. เซี่ยงไฮ้

แม้ว่าทุเรียนไทยจะเผชิญกับความท้าทายจากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นในตลาดจีน แต่ด้วยคุณภาพและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ทุเรียนไทยยังคงมีศักยภาพในการรักษาตำแหน่งในตลาดนี้ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการควรปรับตัวและพัฒนากลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายในอนาคต

แหล่งอ้างอิงข้อมูล

http://www.enet.com.cn/article/2019/0718/A20190718949926.html

https://www.ssxjd.com/news/20240126/170625892217626.html

https://www.shidiannet.com/2024/0730/172233279819979.html

https://www.163.com/dy/article/JKMIUGUD0534FW6D.html

 สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเซี่ยงไฮ้

                                                   มกราคม 2568

thThai