รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนธันวาคม 2567

  1. ภาพรวมเศรษฐกิจ/ สถานการณ์สำคัญ

สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศของโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025 (ณ เดือนพฤศัจิกายน 2567) มีมูลค่าทั้งสิ้น 74,776.668 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่ยังคงลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ฮ่องกง 4) สหราชอาณาจักร และ 5) ไทย ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 5 มูลค่า 4,494.139 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 6.19 โดยมีโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จำนวน 105 โครงการ

1.1 เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญ

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) รายงานล่าสุด (ข้อมูล ต.ค. 67) ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของเมียนมา (GDP) ปี 67 ขยายตัวร้อยละ 1 อัตราเงินเฟ้อ ปี 67 อยู่ที่ร้อยละ 22 และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (GDP per Capita) ปี 67 อยู่ที่ระดับ 1,179 เหรียญสหรัฐฯ รวมทั้งคาดการณ์ ปี 68 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของเมียนมา (GDP) ปี 68 คาดว่าขยายตัวร้อยละ 1.08 อัตราเงินเฟ้อ ปี 68 คาดว่าร้อยละ 14.20 และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (GDP per Capita) ปี 68 คาดว่า 1,187 เหรียญสหรัฐฯ ดังตาราง

ตารางที่ 1 – เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจเมียนมา

ตัวชี้วัดทาง

เศรษฐกิจที่สำคัญ

ปี 2561

 

ปี 2562

 

ปี 2563

 

ปี 2564

 

ปี 2565 ปี 2566 ปี 2567

 

ปี 2568

(คาดการณ์)

GDP Growth (%) 6.4 6.8 3.2 -10.49 -3.96% 2.54% 1.02% 1.08%
GDP (billions of US$) 66.7 68.8 81.26 68.05 61.77 64.51 64.28 65.01
GDP per Capita (US$) 1,270 1,300 1,530 1,271 1,146 1,190 1,179 1,187
Inflation (%) 5.94 8.63 5.73 3.64 18.39 27.10 22.00 14.20

ที่มา: IMF  https://www.imf.org/en/Publications/WEO/weo-database/2024/October

1.2 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ตารางที่ 2 เปรียบเทียบอัตราแลกเปลี่ยนเงินจ๊าตต่อสกุลเงินสำคัญ ธ.ค. 66 และ ธ.ค. 67

ประเทศ/สหภาพ สกุลเงิน อัตราทางการ

สิ้นเดือน ธ.ค. 66

อัตราทางการ

สิ้นเดือน ธ.ค. 67

อัตราตลาดออนไลน์

สิ้นเดือน ธ.ค. 67

อัตราตลาด

สิ้นเดือน ธ.ค. 67

USA 1 USD 2,100.0 MMK 2,100.0 MMK 3,588.00 MMK 4,380.0 MMK
Euro 1 EUR 2,335.40 MMK 2,187.36 MMK 3,737.26 MMK 4,535.0 MMK
Singapore 1 SGD 1,595.00 MMK 1,543.66 MMK 2,637.46 MMK 3,270.0 MMK
Thailand 1 THB 61.48 MMK 61.39 MMK 105.41 MMK 128.2 MMK

ข้อมูลจากธนาคารกลางเมียนมา : https://forex.cbm.gov.mm/index.php/fxrate,

Myanmar Market Price Application

1.3 ภาวะการลงทุน

1.3.1 มูลค่าการลงทุนตามรายประเทศนักลงทุนสำคัญ

ภาพรวมด้านการลงทุนทางตรงของต่างประเทศในเมียนมา (FDI) ในเดือนเมษายน – พฤศจิกายน 2567 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเมียนมา (Myanmar Investment Commission : MIC) อนุมัติโครงการไปแล้ว คิดเป็นมูลค่า 235.709 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ดังตาราง

 

ตารางที่ 3 – ประเทศที่มีการลงทุนทางตรง FDI ในเมียนมา เดือนเมษายน – พฤศจิกายน 2567

อันดับ ประเทศ มูลค่าการลงทุน (ล้านเหรียญสหรัฐ)

เม.ย. – พ.ย. 67

สัดส่วน (%)
1 สิงคโปร์ 89.168 38.80%
2 ไทย 44.00 19.46%
3 จีน 50.917 19.13%
4 อินโดนีเซีย 20.892 9.24%
5 ฮ่องกง 15.542 6.45%
6 อินเดีย 7.088 3.14%
7 ไต้หวัน 2.628 1.16%
8 อังกฤษ 2.519 1.11%
9 เกาหลีใต้ 1.931 1.04%
10 ญี่ปุ่น 0.436 0.19%
รวม 235.709 100%

 https://www.dica.gov.mm

ตารางที่ 4 – มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่เคยได้รับอนุญาตสะสม จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนธันวาคม 2567

https://www.dica.gov.mm

สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่เคยได้รับอนุญาตสะสม จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025 (ณ เดือนพฤศจิกายน 2567) มีมูลค่าทั้งสิ้น 95,621.380 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่เข้ามาลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ไทย 4) ฮ่องกง และ 5) สหราชอาณาจักร ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 3 มูลค่า 11,678.673 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 12.51 โดยมีโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้ว จำนวน 156 โครงการ

ตารางที่ 5 – มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนธันวาคม 2567

https://www.dica.gov.mm

สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศของโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025 (ณ เดือนพฤศจิกายน 2567) มีมูลค่าทั้งสิ้น 74,776.668 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่ยังคงลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ฮ่องกง 4) สหราชอาณาจักร และ 5) ไทย ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 5 มูลค่า 4,494.139 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 6.19 โดยมีโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จำนวน 105 โครงการ

 1.3.2 มูลค่าการลงทุนตามประเภทสาขาการลงทุนที่สำคัญ

ในส่วนของอุตสาหกรรมที่ต่างชาติลงทุนในเมียนมาของปีงบประมาณ 2024 – 2025 ในเดือนเมษายน – พฤศัจิกายน 2567 รายละเอียดดังตาราง

ตารางที่ 6 – อุตสาหกรรมที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในเมียนมา

ปีงบประมาณ 2024-2025 (เม.ย. – พ.ย. 67)

อันดับ ประเภทธุรกิจ มูลค่า

(ล้านเหรียญสหรัฐ)

เม.ย.– พ.ย. 67

สัดส่วน (%)
1 Transport& Communication 87.715 39.32%
2 Manufacturing 92.980 36.38%
3 Services 44.90 19.72%
4 Power 8.501 3.81%
5 Livestock & Fisheries 1.088 048%
6 Agriculture 0.525 0.24%
  รวม 235.709 100%

https://www.dica.gov.mm

ตารางที่ 7 สาขาการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนธันวาคม 2567

https://www.dica.gov.mm

สำหรับสาขาการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025 สามอันดับแรกได้แก่ พลังงาน ร้อยละ 28.04 น้ำมันและแก๊ส ร้อยละ 20.08 และอุตสาหกรรมการผลิต ร้อยละ 15.47

  1. สถานการณ์การค้า (การนำเข้า-ส่งออก) ของเมียนมา

1) สถิติการค้าระหว่างประเทศของเมียนมา (ข้อมูล GTA: ม.ค. – ต.ค. 67)

ตารางที่ 8 – มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของเมียนมา (มกราคม – ตุลาคม 2567)

หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ

Export Import Trade Volume
2024 2023 % 2024 2023 % 2024 2023 %
Jan to Oct Jan to Oct change Jan to Oct Jan to Oct change Jan to Oct Jan to Oct change
13,767.19 20,677.92 -33.42% 16,964.59 21,874.39 -22.44% 30,731.78 42,552.31 -27.78%

GTA: Global Trade Atalas

ในเดือนมกราคม – ตุลาคม 2567 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศโดยรวมของเมียนมามีมูลค่า 30,731.78 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 27.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยในส่วนของการส่งออกมีมูลค่า 13,767.19 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 33.42 การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศของเมียนมามีมูลค่า 16,964.59 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 22.44 ทั้งนี้ ในเดือนมกราคม – ตุลาคม 2567 เมียนมาได้ดุลการค้าเป็นมูลค่า 3,197.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าที่เมียนมาส่งออก ที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องแต่งกาย ก๊าซธรรมชาติ พืชพันธุ์ ผักต่างๆ  สินแร่ รองเท้า ยางพารา  ปลา สัตว์น้ำ ไม้ เมล็ดน้ำมัน อัญมณี เป็นต้น

สินค้าที่เมียนมานำเข้า ที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องจักรกล ผ้าทอ เส้นด้าย ยานพาหนะ พลาสติก เหล็ก ปุ๋ย เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ยา เป็นต้น

2) ข้อมูลล่าสุดของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา (เม.ย. – มิ.ย. 67)

                สินค้าส่งออกสำคัญของเมียนมา

ตารางที่ 9 – มูลค่าการส่งออกสินค้าที่สำคัญของเมียนมา (เมษายน – มิถุนายน 2567) ที่มา : กระทรวงพาณิชย์เมียนมา

ลำดับ สินค้า มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สัดส่วน (%)
1 MANUFACTURING GOODS 1,896.82 53.06%
2 AGRICULTURAL PRODUCTS 1,405.20 39.31%
3 MARINE PRODUCTS 144.973 4.05%
4 MINERALS 46.838 1.31%
5 FOREST PRODUCTS 15.521 0.43%
6 ANIMAL PRODUCTS 1.851 0.05%
7 OTHER PRODUCTS 63.302 1.77%
รวม 3,574.520 100.0%

สินค้านำเข้าสำคัญของเมียนมา

      ตารางที่ 10 – มูลค่าการนำเข้าสินค้าที่สำคัญของเมียนมา (เมษายน – มิถุนายน 2567) ที่มา : กระทรวงพาณิชย์เมียนมา

ลำดับ สินค้า มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สัดส่วน (%)
1 สินค้า Commercial Raw material 1,985.968 59.60%
2 สินค้า Investment Goods 519.433 15.58%
3 สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods) 826.467 24.80%
รวม 3,331.868     100%

ในช่วงเดือนเมษายน – มิถุนายน 2567 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศโดยรวมของเมียนมามีมูลค่า 6,906.388ล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลค่าการส่งออกของเมียนมามี 3,574.520 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าของเมียนมามี 3,331.868 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้เมียนมาได้ดุลการค้าเป็นมูลค่า 242.652 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าที่เมียนมาส่งออก ที่สำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม การเกษตร ประมง สินแร่ ผลิตภัณฑ์ป่าไม้ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เป็นต้น

สินค้าที่เมียนมานำเข้า ที่สำคัญ ได้แก่ วัตถุดิบ สินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภค เป็นต้น

3) สถานการณ์การค้าระหว่างไทย – เมียนมา (ข้อมูลกรมศุลกากรไทย: ม.ค. – พ.ย. 67)

ตารางที่ 11 สรุปมูลค่าการค้าระหว่างไทย – เมียนมา

รายการ มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราขยายตัว (%) สัดส่วน (%) / โลก
2566 2566

(ม.ค.-พ.ย.)

2567

(ม.ค.-พ.ย.)

2566 2566

(ม.ค.-พ.ย.)

2567

(ม.ค.-พ.ย.)

2566 2566

(ม.ค.-พ.ย.)

2567

(ม.ค.-พ.ย.)

มูลค่าการค้า 7,434.41 6,937 6,555 -9.68 8.75 -5.50 1.29 1.30 1.17
การส่งออกของไทย 4,410.49 4,118 3,750 -6.17 6.02 -8.9 1.55 1.55 1.36
การนำเข้าของไทย 3,023.92    2,819 2,805 -14.36 12.48 -0.49 1.05 1.05 0.99
ดุลการค้าของไทย 1,386.57 1,299 945 18.56 10.62 -27.25

ที่มา : Thailand’s Trade Statistic (moc.go.th)

ปี 2567 มูลค่าการค้ารวมระหว่างไทยและเมียนมาระหว่างเดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2567 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น  6,555 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 5.50 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยไทยมีการส่งออกไปยังเมียนมาเป็นมูลค่า 3,750 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 8.9 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากการขอใบอนุญาตนำเข้าสินค้าของประเทศเมียนมาใช้เวลานาน สำหรับการนำเข้าสินค้าจากเมียนมามายังประเทศไทยมีมูลค่า 2,805 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.49 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ไทยได้ดุลการค้าเป็นมูลค่า 945 ล้านเหรียญสหรัฐ

สินค้าที่ไทยส่งออกไปเมียนมา ที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องดื่ม เคมีภัณฑ์ เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์  เม็ดพลาสติก เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ เป็นต้น

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนธันวาคม 2567

สินค้าที่ไทยนำเข้าจากเมียนมา ที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช  สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ กาแฟ ชา เครื่องเทศ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ลวดและสายเคเบิล เป็นต้น

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนธันวาคม 2567

  1. สถานการณ์สำคัญ

3.1 ทิศทางนโยบายและปัจจัยเศรษฐกิจของเมียนมา

ผู้นำเมียนมา (พลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย) ขึ้นกล่าวเรื่องทิศทางนโยบายและปัจจัยเศรษฐกิจของเมียนมา ในหลายโอกาสงานสัมมนาและการประชุมระดับนโยบาย เช่น การประชุมคณะกรรมการการเงินของเมียนมา การปาฐกถาในงานครบรอบ 100 ปี การศึกษาเศรษฐศาสตร์ในเมียนมา เป็นต้น โดยให้แนวทางว่านักเศรษฐศาสตร์ควรวิเคราะห์และพัฒนาเศรษฐกิจของเมียนมาบนพื้นฐานของข้อมูล นำไปสู่การปฏิบัติทั้งระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจควรสอดคล้องกับศักยภาพและบริบทของแต่ละพื้นที่ด้วย ซึ่งมีทิศทางนโยบายเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ 1. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุกธุรกิจและการจ้างงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของเมียนมา 2. สนับสนุนการผลิตในเมียนมาและส่งเสริมการส่งออกจากเมียนมา ซึ่งจะช่วยเพิ่มเงินไหลเข้าเมียนมา โดยส่งเสริมและยกระดับธุรกิจขนาดเล็ก พัฒนาและส่งเสริมธุรกิจเกษตร (Agro-based Industry) ยกระดับการผลิต เพิ่มมูลค่าและคุณภาพสินค้า ส่งเสริมเรื่องความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ในขณะที่ ลดและควบคุมการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยลดเงินไหลออกจากเมียนมาด้วย และ 3. ก้าวข้ามความท้าทายต่างๆ เช่น ภูมิรัฐศาสตร์โลก โรคระบาด ภัยธรรมชาติ เทคโนโลยี พลังงาน เศรษฐกิจโลก การค้าและการเงิน เป็นต้น

ผลกระทบ/โอกาส ทิศทางนโยบายและปัจจัยเศรษฐกิจของเมียนมาดังกล่าว เป็นทั้งโอกาสและผลกระทบของแต่ละธุรกิจ เช่น เป็นโอกาสของธุรกิจเกษตร ธุรกิจการผลิตในเมียนมา ธุรกิจส่งออกจากเมียนมา ในขณะที่เป็นผลกระทบกับธุรกิจนำเข้าเมียนมา เป็นต้น โดยเมียนมาต้องการเพิ่มปริมาณเงินไหลเข้าประเทศ ในขณะที่ต้องการลดปริมาณเงินไหลออกจากประเทศ เนื่องจากประสบปัญหาขาดแคลนเงินต่างประเทศในเมียนมา

ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ทิศทางนโยบายและเศรษฐกิจของเมียนมา เช่น ส่งเสริมการยกระดับธุรกิจและพัฒนาความสามารถของเมียนมา มุ่งเน้นการผลิตในเมียนมาและส่งออกจากเมียนมา ในขณะที่ลดและควบคุมการนำเข้า ดังนั้น ขอให้ภาคธุรกิจนำทิศทางนโยบายดังกล่าว ประกอบการวิเคราะห์และวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจที่เกี่ยวข้องต่อไป สำหรับธุรกิจไทยที่ส่งออกจากไทยและเมียนมานำเข้า จำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับแนวทางของเมียนมา เช่น การจับคู่กับรายได้ส่งออก (Export Earning) จากเมียนมา เพื่อใช้ประกอบการขอใบอนุญาตนำเข้า (Import License) เมียนมา หรืออาจพิจารณาการผลิตในเมียนมา เป็นต้น

ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm

 3.2 ทิศทางการพัฒนาของเมียนมา งบประมาณปี 2567-2568

ในการประชุมงบประมาณเมียนมาปี 2567-2568 (ปีงบประมาณเมียนมา เม.ย.-มี.ค.ของปีถัดไป) พลเอก รองอาวุโส โซวิน (Vice-Senior General Soe Win) รองนายกรัฐมนตรีเมียนมา กล่าวว่า ช่วงเดือนที่เหลือของปีงบประมาณนี้ (ม.ค.-มี.ค. 68) เมียนมาจำเป็นต้องเพิ่มงบประมาณและค่าใช้จ่ายด้านต่างๆ เช่น การป้องกันประเทศและความมั่นคง การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน การเกษตรและปศุสัตว์ การขนส่ง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ไฟฟ้าและพลังงาน การศึกษาและสุขภาพ การผลิตสินค้าในเมียนมา อุตสาหกรรมอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภค การส่งเสริมการจ้างงาน การพัฒนาฝีมือแรงงาน การส่งเสริมธุรกิจรายย่อย เป็นต้น

โอกาส/ผลกระทบ งบประมาณหรือค่าใช้จ่ายด้านต่างๆที่เพิ่มขึ้นของเมียนมาดังกล่าวสะท้อนทิศทางและการให้ความสำคัญของเมียนมาในการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ จึงเป็นโอกาสของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว เช่น การเกษตรและปศุสัตว์ การขนส่ง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ไฟฟ้าและพลังงาน การศึกษาและสุขภาพ การผลิตสินค้าในเมียนมา อุตสาหกรรมอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นต้น

ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะขอให้ผู้ประกอบการนำข้อมูลทิศทางการพัฒนาของเมียนมาดังกล่าวพิจารณาเพื่อปรับแผนธุรกิจให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของเมียนมา เช่น ธุรกิจเกษตรและอาหาร การผลิตในเมียนมาหรือส่งออกจากเมียนมา

ซึ่งเมียนมามีศักยภาพและมีนโยบายสนับสนุน ดังนั้น หากธุรกิจมีทิศทางที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาของเมียนมาแล้ว ก็จะคว้าโอกาสในตลาดเมียนมาได้มากขึ้นต่อไป

ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)

 3.3 การลงทุนของต่างชาติในภาคการผลิตของเมียนมาเพิ่มขึ้น

การลงทุนของต่างชาติในภาคการผลิตของเมียนมาเพิ่มขึ้น โดยในปีงบประมาณ 2024/2025 (เม.ย.-พ.ย. 67) ภาคการผลิตของเมียนมาได้รับเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI : Foreign Direct Investment) รวมมูลค่า 92.98 ล้านเหรียญฯ โดยมี FDI จากจีนเป็นอันดับหนึ่งในการลงทุนภาคการผลิตในเมียนมา ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนธุรกิจผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม (CMP : Cutting, Making, Packing) สำหรับ FDI ในเมียนมาภาพรวม ปีงบประมาณ 2024/2025 (เม.ย.-พ.ย. 67) รวม 41 โครงการ มูลค่ารวม 235.7 ล้านเหรียญฯ จากประเทศต่างๆ เช่น จีน อินเดีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และไทย เป็นต้น

ผลกระทบ/โอกาส การลงทุนดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าหลายประเทศ ยังคงมีความเชื่อมั่นและตัดสินใจลงทุนในเมียนมา แม้จะมีความท้าทายหลายประการในเมียนมา เนื่องจากเมียนมามีศักยภาพการผลิตและโอกาสทางธุรกิจ ทั้งนี้ นอกจากธุรกิจผลิตเสื้อผ้าดังกล่าวแล้ว มีธุรกิจการผลิตอื่นๆ ในเมียนมาที่น่าสนใจ เช่น การแปรรูปสินค้าเกษตร การผลิตอาหารหรือเครื่องดื่ม การผลิตเครื่องสำอาง การผลิตสินค้าที่ใช้ภายในบ้าน เป็นต้น ซึ่งไทยมีศักยภาพในการผลิตดังกล่าว สามารถพิจารณาเป็นโอกาสทางธุรกิจ ทั้งการค้าหรือการลงทุนที่เกี่ยวข้อง

ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ขอให้ภาคเอกชนไทยพิจารณาปรับแผนธุรกิจเป็นผลิตในเมียนมามากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายและการส่งเสริมของเมียนมา และช่วยลดข้อจำกัดเรื่องการขอ Import License นำเข้าสินค้าสำเร็จรูป โดยการปรับเป็นการผลิตในเมียนมามากขึ้นมีหลายรูปแบบ ทั้งการจ้างผลิตในเมียนมา (OEM) การเป็นหุ้นส่วนร่วมกับธุรกิจกับเมียนมา (Joint Venture) หรือการลงทุนเองในเมียนมา สิ่งสำคัญคือประโยชน์ร่วมกัน (Mutual Benefit) ทั้งไทยและเมียนมา เพื่อคว้าโอกาสทางธุรกิจและได้รับประโยชน์ร่วมกันในตลาดเมียนมาต่อไป

ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)

3.4 5 สินค้านำเข้าเมียนมา สามารถเก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บน (แม้ยังไม่ได้รับหรือระหว่างรอ Import License)

กรมการค้าเมียนมา ประกาศ “สินค้านำเข้า 5 ประเภท” สามารถเก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บน (Custom Warehouse, Bonded Warehouse) ก่อนได้ (แม้ยังไม่ได้รับ Import License หรือระหว่างรอ Import License) เริ่ม 1 ม.ค. 68 โดย 5 สินค้านำเข้า 685 รายการ และวัตถุดิบอุปกรณ์ผลิตสินค้าเครื่องนุ่งห่ม (CMP : Cutting, Making, Packaging) ได้แก่ 1) ยา 110 รายการ 2) รถยนต์ไฟฟ้า 12 รายการ 3) วัตถุดิบผลิตอุตสาหกรรมและเคมีภัณฑ์ 539 รายการ 4) วัตถุดิบผลิตอาหาร 24 รายการ และ 5. วัตถุดิบและอุปกรณ์เพื่อการผลิตสินค้าเครื่องนุ่งห่ม (CMP)

ผลกระทบ/โอกาส เป็นโอกาสของ 5 สินค้านำเข้าข้างต้น ที่สามารถพิจารณาใช้สิทธิเก็บสินค้านำเข้าดังกล่าวในคลังสินค้าทัณฑ์บนของเมียนมา ระหว่างรอ Import License ในขณะที่ สินค้านำเข้าประเภทอื่นๆ ต้องได้รับ Import License ก่อน จึงจะนำเข้าเมียนมาได้

ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ขอให้ภาคเอกชนไทยที่เกี่ยวข้องกับสินค้านำเข้าเมียนมาข้างต้น พิจารณาใช้ประโยชน์ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจวางแผนและบริหารการขนส่งสินค้าได้คล่องตัวขึ้น หากสามารถเก็บ สินค้านำเข้าได้ที่คลังสินค้าทัณฑ์บนในเมียนมา ระหว่างรอให้ได้รับ Import License อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญ  คือการขอ Import License ที่หากสามารถจับคู่กับ Export Earning ตามแนวทางข้อกำหนดของเมียนมาได้ก็จะมีโอกาสได้รับ Import License มากขึ้น

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง

มกราคม 2568

thThai