(1) สถานการณ์เศรษฐกิจ
– การเติบโตทางเศรษฐกิจนิวซีแลนด์เข้าสู่ภาวะถดถอยเป็นครั้งที่ 3 ตั้งแต่วิกฤต COVID-19 แต่จะเป็นภาวะถดถอยชั่วคราวเนื่องจากนโยบายการคลังที่มุ่งเน้นการลดหนี้ภาครัฐเป็นหลัก ทำให้การใช้จ่ายภาครัฐลดลงร้อยละ 1.8 การลงทุนหดตัวลงร้อยละ 3 การส่งออกลดลงร้อยละ 2.1 การนำเข้าสินค้าลดลงร้อยละ 0.4 และการใช้จ่ายภาคครัวเรือนลดลงร้อยละ 0.4 (3 ไตรมาสติดต่อกัน) ในปี 2568 การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางนิวซีแลนด์จะทำให้การใช้จ่ายภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้น อีกทั้ง ค่าเงินเหรียญนิวซีแลนด์ที่อ่อนลงจะกระตุ้นการส่งออกและคาดว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจนิวซีแลนด์จะขยายตัวร้อยละ 1.7 ต่อปี ค่าเงินเหรียญนิวซีแลนด์อ่อนค่าลงที่ 0.5550 เซ็นต์สหรัฐฯ คาดว่า อัตราเงินเฟ้อปี 2568 จะเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี (ปัจจุบันดัชนีราคาสินค้าไตรมาสเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.5 และร้อยละ 2 ต่อปี)
-นาย Christopher Luxon เดินทางเยือนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เพื่อเป็นพยานในการลงนามข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ Comprehensive Economic Partnership Agreement (CEPA) ซึ่งจะทำให้สินค้าส่งออกของนิวซีแลนด์ไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (คู่ค้าสำคัญ 10 อันดับแรก) เช่น ผลิตภัณฑ์เนยนม เนื้อสัตว์ สินค้าอุตสาหกรรม พืชไร่/สวนรวมกว่าร้อยละ 98 ของสินค้าส่งออกทั้งหมดมีภาษีเป็นศูนย์ทันที เพื่อกระตุ้นการค้าและการลงทุนด้านต่างๆ (โดยเฉพาะ Sustainable technology) ของทั้งสองประเทศ ปัจจุบันมีมูลค่าการค้าสองฝ่ายรวมกว่า 1.3 พันล้านเหรียญนิวซีแลนด์ต่อปี
(2) สถานการณ์การค้าภาพรวมของนิวซีแลนด์ [1]
ปี 2567 เดือนมกราคม–พฤศจิกายน สถานการณ์การส่งออกสินค้าของนิวซีแลนด์ มีมูลค่า 38,549 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 1.87) เป็นการส่งออกนมและผลิตภัณฑ์นม เนย ไขมัน (ร้อยละ 28.59) เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค (ร้อยละ 12.11) กีวี (ร้อยละ 7.41) ไม้ที่ยังไม่แปรรูป (ร้อยละ 6.84) อาหารปรุงแต่งสำหรับใช้เลี้ยงทารก (ร้อยละ 3.84) ประเทศส่งออกหลัก คือ จีน สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 11 (นมและครีมที่ทำให้เข้มข้น แอปเปิ้ล เยื่อไม้เคมีที่เป็นเยื่อไม้โซดาหรือเยื่อไม้ซัลเฟต เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภคและเคซิอิน)
ปี 2567 เดือนมกราคม–พฤศจิกายน การนำเข้าสินค้าของนิวซีแลนด์ มีมูลค่า 43,144 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 6.49) โดยเป็นการนำเข้าเครื่องกังหันไอพ่น (ร้อยละ 13.91) น้ำมันปิโตรเลียมดิบและน้ำมันดิบที่ได้จากแร่บิทูมินัส (ร้อยละ 13.61) รถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 11.16) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 9.29) อุปกรณ์และเครื่องใช้ในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ร้อยละ 3.58) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้และญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ขาดดุลการค้า 4,595 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 8 มีมูลค่า 1,645 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 2.69) (รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ โพลิเมอร์ของเอทิลีนในลักษณะขั้นปฐม เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ แชมพูและสิ่งปรุงแต่งที่ใช้กับเส้นผม) โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 958 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (32,572 ล้านบาท)
สถานการณ์การส่งออกสินค้าของนิวซีแลนด์ในเดือนพฤศจิกายน 2567 มีมูลค่า 3,783 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 7.08) เป็นการส่งออกนมและผลิตภัณฑ์นม เนย ไขมัน (ร้อยละ 33.41) เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค (ร้อยละ 9.76) ไม้ที่ยังไม่แปรรูป (ร้อยละ 6.99) อาหารปรุงแต่งสำหรับใช้เลี้ยงทารก (ร้อยละ 4.65) และไวน์ (ร้อยละ 3.76) โดยประเทศส่งออกหลัก คือ จีน ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 13 (นมและครีมที่ทำให้เข้มข้น เยื่อไม้เคมีที่เป็นเยื่อไม้โซดาหรือเยื่อไม้ซัลเฟต ไม้ที่ยังไม่แปรรูป อาหารปรุงแต่งสำหรับใช้เลี้ยงทารก และเนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค)
การนำเข้าสินค้าของนิวซีแลนด์ในเดือนพฤศจิกายน 2567 มีมูลค่า 4,009 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 5.81) โดยเป็นการนำเข้าเครื่องกังหันไอพ่น (ร้อยละ 14.53) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 11.78) ปิโตรเลียมดิบและน้ำมันดิบที่ได้จากแร่บิทูมินัส (ร้อยละ 11.04) รถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 10.06) กระสอบและถุง (รวมถึงกรวย) (ร้อยละ 3.61) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้และสิงคโปร์ ซึ่งในเดือนพฤศจิกายน 2567 นิวซีแลนด์ได้ขาดดุลการค้า 226 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทย เป็นคู่ค้าอันดับ 7 (รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ โพลิเมอร์ของเอทิลีนในลักษณะขั้นปฐม เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆและผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม)
(3) สรุปสถานการณ์การค้าไทย-นิวซีแลนด์ [2]
เป้าหมายส่งออก | มูลค่าการค้ารวม (ล้าน US$) | มูลค่าการส่งออก (ล้าน US$) | มูลค่าการนำเข้า (ล้าน US$) | |||||||
ปี 2023
(%) |
ปี 2024
(%) |
ปี 2023 | ปี 2024 | ปี 2023 | ปี 2024 | ปี 2023 | ปี 2024 | |||
ม.ค.– ธ.ค. | ม.ค.-พ.ย. | +/- (%) | ม.ค. – ธ.ค. | ม.ค.-พ.ย. | +/- (%) | ม.ค. – ธ.ค. | ม.ค.-พ.ย. | +/- (%) | ||
2.0
(-24.94) |
1.0 | 2,245.09
(-21.10) |
2,098.11 | 9.39 | 1,406.89
-24.79 |
1,348.87 | 10.48 | 838.21
(-14.00) |
749.25 | 7.47 |
[1] Source: Global Trade Atlas
[2] Source: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
(4) สถานการณ์การค้าไทย-นิวซีแลนด์เดือนพฤศจิกายน ปี 2567
- การส่งออกสินค้าไทยไปนิวซีแลนด์เดือนพฤศจิกายน ปี 2567 มีมูลค่า 122.05 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (4,149.7 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.09 เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก เครื่องเพชรพลอย อัญมณีและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และแต่การส่งออกเครื่องปรับอากาศ อาหารทะเลกระป๋อง ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม อาหารสัตว์เลี้ยงและเครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิวลดลง
- การนำเข้าสินค้าของไทยจากนิวซีแลนด์เดือนพฤศจิกายน ปี 2567 มีมูลค่า 82.76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (2,813.8 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.68 เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าน้ำมันดิบ เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ ไม้ซุงและไม้แปรรูป สัตว์สำหรับทำพันธุ์ สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แต่การนำเข้านมและผลิตภัณฑ์นม ผัก ผลไม้ เคมีภัณฑ์อาหารปรุงแต่งสำหรับใช้เลี้ยงทารกและเนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค ลดลง
………………………………………………………………………………………………