“การผลิตพลังงานชีวมวล: ธนาคารยักษ์ใหญ่เข้มงวดเงื่อนไขการปล่อยสินเชื่อ”

ธนาคารยักษ์ใหญ่ 3 แห่งของญี่ปุ่น ได้แก่ Mizuho, Sumitomo Mitsui และ Mitsubishi UFJ ได้ประกาศเพิ่มความเข้มงวดในเงื่อนไขการปล่อยสินเชื่อเกี่ยวกับการผลิตพลังงานชีวมวล เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2567 โดยเพิ่มข้อกำหนดเกี่ยวกับการป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างการขนส่ง รวมถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมในการจัดหาเชื้อเพลิง นอกจากนี้ ยังตรวจสอบระบบการกำกับดูแลของผู้ประกอบการด้านการผลิตพลังงานผู้ขอสินเชื่ออย่างละเอียดเพื่อให้สามารถจัดการความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม
การเพิ่มความเข้มงวดนี้เกิดขึ้นนี้สืบเนื่องจากกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI) ได้กำหนดไว้เมื่อเดือนเมษายน 2566 ว่าด้วยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตลอดวงจรชีวิตด้านพลังงาน (Energy Lifecycle) ของโรงไฟฟ้าชีวมวลลง 70% ภายในปี 2573 เมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนเฉลี่ย (Mean Thermal Energy) เป็นเงื่อนไขของระบบการรับซื้อไฟฟ้าส่วนคงที่ (FIT) ระบบนี้เป็นระบบที่รัฐบาลญี่ปุ่นซื้อไฟฟ้าซึ่งผลิตจากพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล น้ำ และความร้อนใต้พิภพจากผู้ประกอบการในราคาคงที่ การผลิตไฟฟ้าชีวมวลในประเทศที่อยู่ภายใต้ระบบ FIT มีการคาดการณ์ผลตอบแทนจากการลงทุนในระยะยาวได้ง่าย จึงมักจะเริ่มโดยการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน ทำให้บริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าสามารถแสดงให้เห็นถึงการใช้เชื้อเพลิงไม้ที่ยั่งยืนได้ โดยการขอใบรับรองจากองค์กรระดับสากล เช่น Forest Stewardship Council (FSC) เป็นต้น
ตามข้อมูลของ METI ปริมาณการนำพลังงานชีวมวลมาใช้ในประเทศ ณ สิ้นปี 2566 คิดเป็น 4.1% ของโครงสร้างการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด วัสดุที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง เช่น ไม้ สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระหว่างการเจริญเติบโต และชดเชยการปล่อยก๊าซในขณะเผา จึงถือเป็นพลังงานหมุนเวียน อย่างไรก็ตาม ความกังวลเกี่ยวกับการตัดไม้ทำลายป่าทำให้ในช่วงปลายทศวรรษ 2010 และมีการวิพากษ์วิจารณ์เชิงลบจากกลุ่มองค์กรสิ่งแวดล้อมในสหภาพยุโรป และในญี่ปุ่น
“การผลิตพลังงานชีวมวล: ธนาคารยักษ์ใหญ่เข้มงวดเงื่อนไขการปล่อยสินเชื่อ”
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
ญี่ปุ่นนำเข้าเชื้อเพลิงชีวมวล เช่น ไม้สับ (woodchips) ชีวมวลอัดแท่ง (wood pellets) กะลาปาล์ม (PKS / palm kernel shells) ลำต้นปาล์ม และน้ำมันปาล์ม จากหลายประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทยด้วย โดยประเทศไทยส่งออกไม้สับ ชีวมวลอัดแท่ง และกะลาปาล์มไปยังญี่ปุ่น ทุกประเทศผู้ส่งออกรวมถึงไทยจะต้องสามารถพิสูจน์ได้ว่าเชื้อเพลิงของตนมีความยั่งยืนรวมทั้งเป็นมิตรสิ่งแวดล้อมและสังคม มิฉะนั้นอาจมีผลต่อการส่งออกในอนาคต
โอกาสใหม่สำหรับผู้ส่งออกไทย
ตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2567 METI ได้เพิ่มทะลายปาล์มเปล่า (Empty Fruit Bunches: EFB) เปลือกมะพร้าว เปลือกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ เปลือกวอลนัท เปลือกอัลมอนด์ เปลือกถั่วลิสง น้ำมันจากเปลือกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ เปลือกถั่วพิสตาชิโอ เปลือกเมล็ดทานตะวัน เม็ดฟางข้าวโพด และก้านกับใบอ้อย ให้เป็นเชื้อเพลิงที่เข้าข่ายระบบ FIT ผู้ส่งออกที่สามารถผลิตผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้อาจมองว่าเป็นโอกาสใหม่ และจากนี้ไป METI ยังคงเน้นเรื่องความยั่งยืนในกระบวนการจัดหาเชื้อเพลิงเช่นเดียวกับเชื้อเพลิงไม้
ข้อคิดเห็น/เสนอแนะของ สคต.
ถึงแม้ว่าโรงไฟฟ้าชีวมวลในญี่ปุ่นจะยังมีขนาดเล็กและประสบปัญหาหลายด้าน เช่น ประสิทธิภาพของเชื้อเพลิง ในปีงบประมาณ 2565 ญี่ปุ่นตั้งเป้าที่จะเพิ่มสัดส่วนพลังงานชีวมวลจาก 3.7% หรือ 37,100 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เป็น 5% หรือ 47,000 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงภายในปี 2573 ซึ่งหมายความว่าความต้องการยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
วิธีหนึ่งในการทำตลาดเชื้อเพลิงชีวมวลในญี่ปุ่นคือการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า เช่น
o BIOMASS EXPO (19-21 กุมภาพันธ์ 2025 @ Tokyo Big Sight, Japan)
https://www.wsew.jp/hub/en-gb/about/bm.html

ข่าวเด่นประจำสัปดาห์ฉบับที่ 11 วันที่  7 – 13 ธันวาคม  ๒๕๖7  จากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
แปลและเรียบเรียงจาก
หนังสือพิมพ์ Nikkei Shimbun ฉบับวันที่ 14 ธันวาคม 2567
thThai