การติดตามสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างเตหะรานและวอชิงตัน

หลังที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 เกี่ยวกับการฟื้นนโยบาย ‘คว่ำบาตรสูงสุด’ ต่ออิหร่าน โดยหวังบรรลุข้อตกลงนิวเคลียร์ โดยการห้ามอิหร่านในการเข้าถึงอาวุธินิวเคลียร์ และมุ่งกดดันห้ามการขายน้ำมันอิหร่านกับชาติอื่นให้เหลือเพียง 0 นั้น อย่างไรก็ดี อิหร่านได้ปฏิเสธในเรื่องของแสวงหาอาวุธนิวเคลียร์ โดยสำนักข่าว Iran diplomacy ได้รายงานว่า เตหะรานและวอชิงตันกำลังจับตาดูซึ่งกันและกัน ซึ่ง ณ เวลานี้ยังไม่มีสัญญาณใดๆ บ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ของการเจรจาครั้งใหม่ ทั้งสองดูท่าทีซึ่งกันและกัน รวมถึงถ้อยแถลงของทางการทั้งสองฝ่ายก็เต็มไปด้วยข้อขัดแย้ง บางครั้งเหมือนจะยอมรับ บางครั้งเหมือนปฎิเสธ ซึ่งถ้าหากทั้งสองฝ่ายต้องการจะหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าที่รุนแรง ท้ายที่สุดการเจรจาจะกลายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และทั้งสองเห็นพ้องต้องกันว่าต้องเจรจา

ถือได้ว่าเตหะรานและวอชิงตันกำลังเล่นเกมจิตวิทยาในการเฝ้าติดตามกันและกัน ซึ่งทั้งสองฝ่ายมีท่าทีที่จะอ่อนข้อ แต่ในท้ายสุดทั้งสองต้องประเมินปฏิกิริยาเพื่อชั่งน้ำหนักความสามารถที่เกิดจากเกมนี้ในการเจรจา ในขณะเดียวกัน วอชิงตันก็เงียบไปอย่างมีนัยยะ ทั้งประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์รวมถึงสมาชิกฝ่ายหัวรุนแรงในคณะรัฐมนตรีเลี่ยงที่จะพูดซ้ำเกี่ยวกับเตหะรานและนโยบายของเตหะรานแบบที่เคยพูดเมื่อสมัยแรก แต่ในเวลาเดียวกันสหรัฐกำลังแสดงให้เห็นถึง “ความมุ่งมั่นต่ออำนาจ” โดยการแสดงการส่งระเบิดทำลายล้างบังเกอร์ไปยังอิสราเอล ไปจนถึงการเชิญนายเบนจามิน เนทันยาฮูเยือนวอชิงตัน ในทางตรงกันข้าม เตหะรานแสดงความพร้อมสำหรับการเจรจาบนพื้นฐานของความเท่าเทียมและการแก้ไขที่นุ่มนวล แต่ในเวลเดียวกันเตหะรานพร้อมที่จะตอบโต้การแสดงออกอำนาจนิยมของวอชิงตันทันทีต่อการคุกคามและการก้าวร้าวทุกประเภท

คำถามหลักคือ ทั้งสองต้องการอยู่ในสภาวะแบบนี้ถึงเมื่อใด เมื่อเตหะรานเชื่อว่าวอชิงตันต้องการสร้าง “ความสมดุลที่ไม่เท่าเทียม” บนโต๊ะเจรจา และวอชิงตันต้องการนำการเจรจาในรูปแบบ “อิงอำนาจ” มาใช้ ซึ่งหมายถึง “ยิ่งมีอำนาจมากเท่าใด ยิ่งได้ประโยชน์มากขึ้นเท่านั้น” ในขณะที่เตหะรานต้องการข้อตกลงบนพื้นฐานทางกฎหมาย การเมือง ความมั่นคง และความหน้าเชื่อถือ ดังนั้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเจรจาหรือข้อตกลงใดๆ เตหะรานจึงมีแนวทางเชิงบวกต่อรูปแบบการเจรจาที่มีผลลัพธ์แบบ “ประนีประนอม-ชัยชนะ” แทนที่จะยอมรับหรือบังคับใช้รูปแบบ “ชัยชนะ-ความพ่ายแพ้” ดังนั้นทางออกคือทั้งสองต้องมองบนพื้นฐานที่สร้างสรรค์และเลี่ยงที่จะยึดบนความแตกแยก อย่างไรก็ตาม วอชิงตันควรเปลี่ยนแนวคิดยุทธศาสตร์ไม่เพียงแต่ต่อเตหะรานเท่านั้น แต่รวมถึงภูมิภาคตะวันออกกลางเช่นกัน เนื่องจากการเลือกใช้วิธีการเจรจาบนพื้นของการสนับสนุนอิสราเอลเพียงอย่างเดียวนั้น เท่ากับเป็นการขัดขวางความสำเร็จในการเจรจาที่สร้างสันติภาพและเสถียรภาพในตะวันออกกลาง

thThai