ตามรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติฟิลิปปินส์ (PSA) เผยอัตราว่างงานของฟิลิปปินส์ลดลงเหลือร้อยละ 3.1 ในเดือนธันวาคม 2567 ท่ามกลางการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นในภาคการขนส่งและคลังสินค้าทำให้ค่าเฉลี่ยตลอดทั้งปีอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 3.8
จำนวนผู้ว่างงานในฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้นเป็น 1.63 ล้านคน ในเดือนธันวาคม 2567 จาก 1.60 ล้านคน ในช่วงเดียวกันของปี 2566 แต่ลดลงจาก 1.66 ล้านคน ในเดือนพฤศจิกายน 2567 อย่างไรก็ตาม เดือนธันวาคม 2567 ถือเป็นอัตราว่างงานระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เมษายน 2548 (ซึ่งเป็นช่วงที่ PSA ปรับเกณฑ์การวัดอัตราว่างงานให้ครอบคลุมประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปที่ไม่มีงานทำ พร้อมสำหรับการทำงาน
และกำลังมองหางาน)
นาย Claire Dennis S. Mapa นักสถิติจากสำนักงานสถิติแห่งชาติกล่าวว่า อัตราว่างงานเฉลี่ยในปี 2567 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 หรือคิดเป็นผู้ว่างงานชาวฟิลิปปินส์ จำนวน 1.94 ล้านคน ซึ่งลดลงจากอัตราว่างงานในปี 2566 ร้อยละ 4.4 (2.19 ล้านคน) อัตราว่างงานเฉลี่ยในปี 2567 ยังคงเป็นระดับต่ำที่สุดตั้งแต่ปี 2548 โดยอัตราการว่างงานในเดือนธันวาคม 2567 ที่ลดลงเป็นผลมาจากการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นในภาคขนส่งและคลังสินค้าในช่วงเทศกาลวันหยุด นักสถิติจากสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุเพิ่มเติมว่า การจ้างงานในภาคขนส่งและคลังสินค้าเพิ่มขึ้น 184,000 คนจากเดือนพฤศจิกายน 2567 และเพิ่มขึ้น 555,000 คน เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2566 โดยการเติบโตส่วนใหญ่มาจากภาคขนส่งผู้โดยสารทางบก ทั้งบริการรับส่งสนามบิน บริการแท็กซี่ และระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งสะท้อนถึงการขยายตัวของการใช้รถโดยสารสาธารณะและแนวโน้มเชิงบวกในภาคส่วนนี้ อย่างไรก็ตาม คุณภาพของการจ้างงานลดลงเมื่อเทียบกับปี 2566 โดยอัตราการทำงานต่ำกว่าระดับความสามารถ (Underemployment) ในเดือนธันวาคม 2567 ลดลงเหลือร้อยละ 10.9 (5.48 ล้านคน) จากร้อยละ 11.9 (6.01 ล้านคน) ในเดือนธันวาคม 2566 และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 10.8 ในเดือนพฤศจิกายน 2567 ทั้งนี้ อัตราการทำงานต่ำกว่าระดับความสามารถดังกล่าว ถือเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2548 (เมื่อ PSA ปรับคำนิยามให้ครอบคลุมผู้มีงานทำที่ยังต้องการงานเพิ่มเติมหรือชั่วโมงทำงานที่มากขึ้น) สำหรับทั้งปี 2567 อัตราการทำงานต่ำกว่าระดับความสามารถเฉลี่ยลดลงเหลือร้อยละ 11.9 จากร้อยละ 12.3 ในปี 2566 หรือคิดเป็นจำนวนผู้มีงานที่ยังต้องการงานหรือชั่วโมงทำงาน 5.83 ล้านคน ลดลงจาก 5.94 ล้านคนในปี 2566
นาย Bienvenido E. Laguesma รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จากผลสำรวจภาวะ การทำงาน (Labor Force Survey) ของชาวฟิลิปปินส์ในเดือนธันวาคม 2567 สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของรัฐบาลในการทำงานร่วมกับภาคเอกชนที่กำลังแสดงผลลัพธ์ออกมา โดยได้เสริมว่ารัฐบาลจะเดินหน้าทำงานร่วมกับภาคเอกชนเพื่อส่งเสริมการสร้างงานให้แก่ประชาชน เพื่อให้มีรายได้ที่มั่นคงและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงแรงงานในภาคนอกระบบ
นาย Arsenio M. Balisacan เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งชาติฟิลิปปินส์ (NEDA) ระบุว่า มาตรการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับตลาดแรงงานมีความสำคัญต่อการรักษาแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจและเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ที่สูงขึ้นให้กับประชาชน นอกจากนี้ รัฐบาลยังคงมุ่งมั่นผลักดันมาตรการทั้งด้านอุปสงค์และอุปทานเพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการจ้างงานที่มีพลวัตมากขึ้น และบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ พ.ศ. 2566 – 2571
นาย Ralph G. Recto รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (DOF) กล่าวว่ารัฐบาลจะเดินหน้าผลักดันโครงการที่ช่วยสร้างงานที่มีคุณภาพให้กับแรงงานฟิลิปปินส์ โดยเสริมว่ากำลังให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านการศึกษา ภาคโครงสร้างพื้นฐาน และส่งเสริมศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้แรงงานมีทักษะในการแข่งขันในเวทีระดับโลก
อัตราการจ้างงาน
สำนักงานสถิติแห่งชาติของฟิลิปปินส์ (PSA) รายงานว่า อัตราการจ้างงานในเดือนธันวาคม 2567 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ร้อยละ 96.9 (50.19 ล้านคน) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 96.8 (49.54 ล้านคน) ในเดือนพฤศจิกายน 2567 และเมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2566 อัตราการจ้างงานไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก (50.52 ล้านคน) สำหรับทั้งปี 2567 อัตราการจ้างงานเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 96.2 (48.85 ล้านคน) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 95.6 (48.18 ล้านคน) ในปี 2566 ขณะเดียวกัน อัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงาน (Labor Force Participation Rate: LFPR) ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 65.1 (51.81 ล้านคน) ในเดือนธันวาคม 2567 จากร้อยละ 66.6 (52.13 ล้านคน) ในเดือนธันวาคม 2566รองศาสตราจารย์ Benjamin B. Velasco จากคณะแรงงานและความสัมพันธ์ทางอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ (University of the Philippines School of Labor and Industrial Relations) กล่าวว่า การลดลงของอัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานสะท้อนถึงความท้าทายที่ยังคงอยู่ในตลาดแรงงาน เนื่องจากประชากรจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจะเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ขับเคลื่อนการบริโภคและการผลิตอย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของประชากรในระดับสูงอาจทำให้การกำหนดนโยบายด้านตลาดแรงงานให้มีความท้าทายมากขึ้น และปัญหาการสร้างงานสะท้อนให้เห็นได้จากการลดลงอย่างมีนัยสำคัญของอัตราการมีส่วนร่วมของแรงงานวัยหนุ่มสาวในตลาดแรงงาน โดยอัตราดังกล่าวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 31.9ในเดือนธันวาคม 2567 จากร้อยละ 34.5 ในเดือนธันวาคม 2566 ขณะที่ อัตราการจ้างงานของแรงงานวัยหนุ่มสาวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 90.9 จากร้อยละ 91.8 ในปีที่ผ่านมา
รองศาสตราจารย์ Benjamin B. Velasco จากคณะแรงงานและความสัมพันธ์ทางอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ (University of the Philippines School of Labor and Industrial Relations) กล่าวว่า การลดลงของอัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานสะท้อนถึงความท้าทายที่ยังคงอยู่ในตลาดแรงงาน เนื่องจากประชากรจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจะเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ขับเคลื่อนการบริโภคและการผลิต
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของประชากรในระดับสูงอาจทำให้การกำหนดนโยบายด้านตลาดแรงงานให้มีความท้าทายมากขึ้น และปัญหาการสร้างงานสะท้อนให้เห็นได้จากการลดลงอย่างมีนัยสำคัญของอัตราการมีส่วนร่วมของแรงงานวัยหนุ่มสาวในตลาดแรงงาน โดยอัตราดังกล่าวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 31.9 ในเดือนธันวาคม 2567 จากร้อยละ 34.5 ในเดือนธันวาคม 2566 ขณะที่ อัตราการจ้างงานของแรงงานวัยหนุ่มสาวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 90.9 จากร้อยละ 91.8 ในปีที่ผ่านมา
ภาคส่วนที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นและลดลง
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติของฟิลิปปินส์ (PSA) ระบุว่า ในเดือนธันวาคม 2567 จำนวนแรงงานในภาคเกษตรกรรมและป่าไม้ลดลง 1.56 ล้านคนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยนาย Claire Dennis S. Mapa นักสถิติจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่าสาเหตุหลักมาจากพายุไต้ฝุ่นหลายลูกที่พัดถล่มประเทศในช่วงไตรมาสที่ 4 ซึ่งส่งผลกระทบต่อชาวนา ประมาณ 557,000 คน แรงงานที่ประกอบอาชีพเพาะปลูกการย้ายกล้า และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องลดลง 424,000 คน ขณะที่แรงงานในภาคการเลี้ยงสุกรลดลง 236,000 คน เนื่องจากการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ซึ่งยังคงส่งผลกระทบต่อการผลิต อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบแบบเดือนต่อเดือน ภาคเกษตรกรรมและป่าไม้กลับมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยมีแรงงานเพิ่มขึ้น 735,000 คน ขณะเดียวกัน ภาคการขายส่งและขายปลีก รวมถึงการซ่อมแซมยานยนต์และรถจักรยานยนต์ เป็นภาคส่วนที่มีการจ้างงานลดลงมากที่สุด โดยจำนวนแรงงานลดลง 391,000 คน ภายในเดือนเดียว โดยในจำนวนนี้ 294,000 คน เป็นแรงงานจากภาคการค้าปลีก ซึ่งรวมถึงร้านค้า ตลาด อาหาร เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์ยาสูบ นอกจากนี้ ภาคที่พักและบริการด้านอาหารก็มีจำนวนแรงงานลดลง 219,000 คน แม้ว่าจะเป็นช่วงเทศกาลที่มีกิจกรรมเพิ่มขึ้นก็ตาม ภาคบริการยังคงเป็นภาคที่มีจำนวนแรงงานมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 60.5 ของแรงงานทั้งหมด รองลงมาคือภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมซึ่งคิดเป็นร้อยละ 21.3 และร้อยละ 18.3 ตามลำดับ
ค่าจ้างและค่าตอบแทน
ในเดือนธันวาคม 2567 แรงงานที่ได้รับค่าตอบแทนในแบบรูปเงินเดือนยังคงเป็นกลุ่มหลักของผู้ทำงานในฟิลิปปินส์ คิดเป็นร้อยละ 63.1 รองลงมาคือผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ไม่มีลูกจ้าง (ร้อยละ 28.5) แรงงานในครอบครัวที่ไม่ได้รับค่าจ้าง (ร้อยละ 6.8) และนายจ้างในกิจการของครอบครัว (ร้อยละ 1.6) โดยกลุ่มแรงงานได้รับค่าจ้างและเงินเดือนในภาคเอกชนมีสัดส่วนสูงสุดที่ ร้อยละ 78.9 ขณะที่ แรงงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจอยู่ที่ ร้อยละ 14.4 สินค้าและบริการในประเทศ โดยเสริมว่าการปรับขึ้นค่าจ้างจะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร ชาวประมงและแรงงานในภาคเศรษฐกิจไม่เป็นทางการ เพราะเมื่อแรงงานมีกำลังซื้อมากขึ้น ก็จะเลือกซื้อสินค้า
จากกลุ่มเหล่านี้ ซึ่งแม้อัตราการว่างงานในเดือนธันวาคม 2567 จะอยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์และถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ประธานสหพันธ์แรงงานเสรี กล่าวว่า ไม่น่าแปลกใจอัตราการว่างงานต่ำเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากการจ้างงานจะเพิ่มขึ้นเมื่อกำลังซื้อของแรงงานที่เป็นผู้บริโภคเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่ได้รับโบนัสเดือนที่ 13 และโบนัสช่วงคริสต์มาสหรือสิ้นปี ซึ่งช่วยให้แรงงานมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นสองถึงสามเท่า อย่างไรก็ตาม คุณภาพของงานดังกล่าวยังต้องพัฒนา และงานที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นงานชั่วคราว นอกจากนี้ สภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) ได้ให้ความเห็นชอบในวาระที่สองต่อร่างกฎหมายที่เสนอให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 200 เปโซ ขณะที่วุฒิสภาได้อนุมัติร่างกฎหมายฉบับคู่ขนานที่กำหนดการปรับขึ้น
100 เปโซ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปี 2567
ที่มา: หนังสือพิมพ์ BusinessWorld
บทวิเคราะห์และข้อคิดเห็น
อัตราการว่างงานของฟิลิปปินส์ลดลงเหลือร้อยละ 1 ในเดือนธันวาคม 2567 ทำให้ค่าเฉลี่ยตลอดทั้งปีอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 3.8 นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2548 ซึ่งแนวโน้มอัตราการว่างงานที่ลดลงดังกล่าวนั้นนับเป็นสัญญาณที่ดีต่อเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ ซึ่งอาจส่งผลในเชิงบวกต่อผู้ประกอบการไทยต่อเนื่องจากอัตราการว่างงานของฟิลิปปินส์เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความต้องการและกำลังซื้อของผู้บริโภคชาวฟิลิปปินส์ และจะส่งผลต่อเนื่องต่อความต้องการนำเข้าสินค้าต่างๆ โดยผู้ประกอบการไทยควรติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ ในปี 2567 การส่งออกสินค้าไทยมายังตลาดฟิลิปปินส์ มีมูลค่า 7,768.81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.67 จากปี 2566 ที่มีมูลค่าส่งออก 7,982.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี ในปี 2567 กลุ่มสินค้าส่งออกไทยที่มีศักยภาพและสามารถขยายตัวได้ดี ได้แก่ ข้าว มีมูลค่า 339.97 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+ร้อยละ 58.69) เม็ดพลาสติก มีมูลค่า 263.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+ร้อยละ 11.60) ผลิตภัณฑ์พลาสติก มีมูลค่า 213.74 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+ร้อยละ 13.61) ผลิตภัณฑ์ยาง มีมูลค่า 170.46 ล้านเหรียญสหรัฐฯ(+ร้อยละ 14.59) อาหารสัตว์เลี้ยง มีมูลค่า 128.62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+ร้อยละ 13.97) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ มีมูลค่า 126.94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+ร้อยละ 42.84) และนมและผลิตภัณฑ์นม มีมูลค่า 91.42 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+ร้อยละ 19.49)
—————————————
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา
กุมภาพันธ์ 2568