- สำนักงานสถิติมณฑลซานตงได้เปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจของมณฑลซานตง ในปี 2567 โดยพบว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของมณฑลซานตง มีมูลค่า 9.8566 ล้านล้านหยวน (~ 46.33 ล้านล้านบาท) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เป็นอันดับ 3 ของจีน สามารถรักษาสถานะมณฑลใหญ่อันดับ 3 ของจีน มีทิศทางผลิตและบริโภคในกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ ทั้งพลังงานใหม่ เทคโนโลยีขั้นสูงและนวัตกรรม เมืองชิงต่าวยังคงเป็นเมืองท่าการค้าระหว่างประเทศอันดับ 1 ขณะที่เมืองรองหลายเมืองมีอัตราการค้าระหว่างประเทศขยายตัวอย่างก้าวกระโดด
- ภาคการเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร ป่าไม้ ปศุสัตว์ และประมง 1.28323 ล้านล้านหยวน (~6.04 ล้านล้านบาท) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ผลผลิตธัญพืชรวมปริมาณ 57,100 ล้านกิโลกรัม เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 (โดยมีปริมาณผลผลิตเกิน 55,000 ล้านกิโลกรัม ต่อเนื่อง 4 ปีซ้อน) ส่วนด้านปศุสัตว์ มีผลผลิตสัตว์ปีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 ผลผลิตเนื้อหมูวัวและแพะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5
- ภาคอุตสาหกรรม มูลค่าอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 โดยเฉพาะในเดือนธันวาคมขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 โดยอุตสาหกรรมการผลิต ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 (โดยอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 ในที่นี้ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในเดือนธันวาคมขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.5 และร้อยละ 3.0 ตามลำดับ) เหมืองแร่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 และการผลิตพลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน ก๊าซ และน้ำ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6
- ภาคบริการ ในเดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2567 ผลประกอบการของธุรกิจบริการขนาดใหญ่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยมีธุรกิจบริการ 26 สาขา (จาก 32 สาขา) ที่มีผลประกอบการเพิ่มขึ้นร้อยละ 81.3 ในที่นี้ธุรกิจการขนส่งต่อเนื่องและตัวแทนการขนส่งหลายรูปแบบขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.7 บริการทางธุรกิจ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 และบริการด้านเทคโนโลยี ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4
- ภาคการบริโภค ยอดค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคมูลค่า 3.79604 ล้านล้านหยวน (~17.85 ล้านล้านบาท) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 แบ่งเป็น การค้าปลีกตลาดในเมืองเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 และการค้าปลีกตลาดในชนบทเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8
- สินค้าที่เกี่ยวกับนโยบายเก่าแลกใหม่พบว่ามีทิศทางบริโภคที่เติบโตดี โดยมียอดค้าปลีกเพิ่มขึ้นจากปีก่อนในสินค้ากลุ่มเฟอร์นิเจอร์ ร้อยละ 9.9 เครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องเสียง ร้อยละ 4.2 และยานยนต์ ร้อยละ 2.7 ในการนี้ ยอดค้าปลีกรถยนต์พลังงานใหม่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.0 และยอดค้าปลีกสินค้าสมาร์ทโฮมและเครื่องเสียงขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.9 จากกระแสการบริโภคยุคใหม่ที่ต้องการความสะดวกสบายและการประหยัดพลังงาน
- ขณะที่การค้าออนไลน์ โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคเติบโตอย่างมีนัยยะสำคัญ และช่วยกระตุ้นยอดค้าปลีก โดยกลุ่มร้านสะดวกซื้อขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้อยละ 5.4 ห้างสรรพสินค้า ร้อยละ 4.7 ศูนย์การค้า ร้อยละ 5.1 และร้าน Specialty Store ร้อยละ 12.0 ด้านรูปแบบการค้าอีคอมเมิร์ซรูปแบบใหม่อย่าง live streaming และ Instant Retail (สั่งซื้อทางออนไลน์และจัดส่งภายใน 30 นาที) ช่วยกระตุ้นการบริโภคทางออนไลน์ได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะยอดค้าปลีกสินค้าอุปโภคทางออนไลน์ในกลุ่มสินค้า เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ของใช้ในชีวิตประจำวัน เครื่องใช้ไฟฟ้าดิจิทัล และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 22.0
- ภาคการลงทุน การลงทุนในกิจการพลังงานใหม่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.3 การลงทุนในบริการเทคโนโลยีสมัยใหม่และนวัตกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 การลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 การลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 การลงทุนในอุตสาหกรรมเกษตร ป่าไม้ ปศุสัตว์และประมงสมัยใหม่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 และการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 อย่างไรก็ดี การลงทุนในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ลดลงร้อยละ -11.7
- การค้าระหว่างประเทศ มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยมีมูลค่า 3.38062 ล้านล้านหยวน (~15.89 ล้านล้านบาท) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 แบ่งเป็น การส่งออก มูลค่า 2.08116 ล้านล้านหยวน (~9.79 ล้านล้านบาท) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 และการนำเข้า มูลค่า 1.29946 ล้านล้านหยวน (~6.11 ล้านล้านบาท) หดตัวลงร้อยละ -1.8 ทั้งนี้ มูลค่าการค้ากับประเทศแถบเส้นทาง BRI ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 61.9
การค้าระหว่างประเทศของเมืองในมณฑลซานตง
6 อันดับแรก |
||||
เมือง | มูลค่า
(ล้านหยวน) |
มูลค่า
(ล้านล้านบาท) |
เติบโต (%) | สัดส่วน (%) |
ชิงต่าว | 907,670 | ~ 4.27 | 3.6 | 26.8 |
เยียนไถ | 472,340 | ~ 2.21 | 3.4 | 14.0 |
เหวยฟาง | 358,270 | ~ 1.38 | 5.2 | 10.6 |
ตงหยิง | 267,050 | ~ 1.22 | 6.7 | 7.9 |
จี่หนาน | 232,430 | ~ 1.09 | 7.5 | 6.9 |
เวยไห่ | 204,020 | ~ 0.96 | 1.6 | 6.0 |
คู่ค้าที่สำคัญของมณฑลซานตง
5 อันดับแรก |
||||
ภูมิภาค | มูลค่า
(ล้านหยวน) |
มูลค่า
(ล้านล้านบาท) |
เติบโต (%) | สัดส่วน (%) |
BRI | 2,092,600 | ~ 9.84 | 5.6 | 61.9 |
อาเซียน | 689,060 | ~ 3.23 | 5.9 | 20.4 |
ละตินอเมริกา | 352,980 | ~ 1.65 | 7.4 | 10.4 |
สหรัฐอเมริกา | 330,880 | ~ 1.55 | 1.2 | 9.8 |
สหภาพยุโรป | 308,040 | ~ 1.44 | 3.5 | 9.1 |
เกาหลีใต้ | 299,230 | ~ 1.40 | 14.1 | 8.9 |
-
- ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่าเมืองรองที่มีอัตราเติบโตสูงในเลขสองหลัก ได้แก่ เมืองจ่าวจวง เติบโตร้อยละ 31.5 เมืองจี่หนิง เติบโตร้อยละ 22.1 และเมืองไท่อาน เติบโตร้อยละ 18.2 และการค้ากับประเทศคู่ค้าสำคัญเดิมอย่างรัสเซีย ลดลงร้อยละ -10.5 (สัดส่วนร้อยละ 6.9) และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ -9.5 (สัดส่วนร้อยละ 5.0)
- สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เครื่องกลและไฟฟ้า ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 (สัดส่วนร้อยละ 46.9 ของมูลค่าการส่งออกของมณฑลซานตง โดยมีสินค้าสำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในครัวเรือน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.3 และส่วนประกอบรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7) ผลิตภัณฑ์การเกษตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 เคมีภัณฑ์อินทรีย์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แรงงานเข้มข้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 และผลิตภัณฑ์เหล็ก เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4
- สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได่แก่ น้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 แร่โลหะ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 ผลิตภัณฑ์เครื่องกลและไฟฟ้า ลดลงร้อยละ -8.4 และผลิตภัณฑ์การเกษตร ลดลงร้อยละ -10.4
- ดัชนีราคาผู้บริโภค ภาพรวมปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 0.2 โดยแบ่งหมวดสินค้าตามการปรับตัวดังนี้ (1) ดัชนีราคาปรับตัวสูงขึ้น 5 หมวด ได้แก่ สินค้าและบริการอื่นๆ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 5 การศึกษา วัฒนธรรม และสันทนาการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ของใช้และบริการในชีวิตประจำวัน การแพทย์และการดูแลสุขภาพ และเครื่องนุ่งห่มปรับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 (2) ดัชนีราคาทรงตัว ได้แก่ หมวดอาหาร/ยาสูบ/แอลกอฮอล์ และ (3) ดัชนีราคาปรับลดลง ได้แก่ การขนส่งและการสื่อสาร ลดลงร้อยละ -1.8 ที่อยู่อาศัย ลดลงร้อยละ -0.1 อาหาร ลดลงร้อยละ -0.5 (ในที่นี้ แบ่งอัตราการปรับตัวตามประเภทอาหารที่ลดลง ได้แก่ ธัญพืช -0.7 น้ำมันเพื่อการบริโภค -4.3 ผลไม้ -2.7 ไข่ -6.2 และที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เนื้อหมู +9.4 และผักสด +7.5)
- ดัชนีราคาผู้ผลิต ภาพรวมปรับตัวลดลง แบ่งเป็น ดัชนีราคาผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ -2.1 และดัชนีราคาจัดซื้อของผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ -1.3
- การจ้างงาน รายได้ และรายจ่ายต่อหัวของประชากร มีการจ้างงานใหม่ในเขตเมืองจำนวน 1.245 ล้านคน รายได้เฉลี่ยต่อหัวเท่ากับ 42,044 หยวน (~197,606 บาท) และรายจ่ายเฉลี่ยต่อหัวเท่ากับ 25,645 หยวน (~120,531.50 บาท) เพิ่มขึ้น 5.6 โดยพบว่ามีการใช้จ่ายในหมวดอาหาร/ยาสูบ/แอลกอฮอล์ มากที่สุด เป็นสัดส่วนร้อยละ 28.4 ทั้งนี้ การใช้จ่ายในหมวดการศึกษา วัฒนธรรม และสันทนาการ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 10.1
ความเห็นของสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองชิงต่าว
- ในปี 2567 ที่ผ่านมา มณฑลซานตงมุ่งดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจไปสู่การพัฒนาคุณภาพสูง พร้อมกับการสร้างเสถียรภาพทางการค้า โดยภาพรวมพบว่าผลผลิตพืชผลทางการเกษตรมีปริมาณสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับอุปทานอย่างเพียงพอ มีทิศทางการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและการลงทุนเพื่อรองรับความต้องการของโลกสมัยใหม่ ตลาดการบริโภคสินค้าและบริการมีการฟื้นตัว รวมถึงการเติบโตของการค้าออนไลน์มีทิศทางที่สดใส ทั้งนี้ ปีนี้ (2568) เป็นปีสุดท้ายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติจีน ฉบับที่ 14 ซึ่งเป็นปีสำคัญในการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายของรัฐบาลจีน ซึ่งมณฑลซานตงจะต้องเผชิญกับความท้าทายในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศที่เน้นการสร้างคลัสเตอร์คุณภาพสูง และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงความร่วมมือ RCEP
- มณฑลซานตงมีข้อได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้งที่เป็นยุทธศาสตร์การค้าสำคัญของจีนตอนเหนือ ซึ่งอยู่ใกล้ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ มีท่าเรือที่สำคัญหลายแห่ง ได้แก่ ท่าเรือชิงต่าว ท่าเรือรื้อจ้าว ท่าเรือเยียนไถ ซึ่งมีปริมาณการขนส่งสินค้ามากเป็นอันดับ 4 อันดับที่ 6 และอันดับที่ 9 ของประเทศจีน เป็นมณฑลที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 และจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศจีน มีรากฐานอุตสาหกรรมหลักที่มั่นคงเป็นข้อได้เปรียบ อาทิ ปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์ทั่วไป และยานยนต์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของมณฑล อีกทั้งยังมีตลาดการบริโภคที่มีโอกาสเติบโต มณฑลซานตงจึงเป็นอีกมณฑลทางตอนเหนือที่มีโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยในการขยายตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการของไทย รวมถึงแสวงหาคู่ค้า/พันธมิตรท้องถิ่นในเมืองหลัก เช่น เมืองชิงต่าว (เมืองท่าการค้า) เมืองจี่หนาน (เมืองเอก) รวมถึงเมืองรองที่มีศักยภาพ อาทิ เมืองเยียนไถ เมืองเหวยฟาง และเมืองหลินอี๋ เป็นต้น
- ทั้งนี้ ในปี 2567 การค้าระหว่างประเทศของมณฑลซานตงกับประเทศไทยมีมูลค่า 10,483.90 ล้านเหรียญสหรัฐ (~356,452.60 ล้านบาท) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 แบ่งเป็น การส่งออกมูลค่า 6,981.77 ล้านเหรียญสหรัฐ (~237,380.18 ล้านบาท) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.87 และการนำเข้ามูลค่า 3,502.13 ล้านเหรียญสหรัญ (~119,072.42 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ 11.26 โดยมีสินค้าส่งออกที่สำคัญไปยังไทย ได้แก่ 1) เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ บอยเลอร์ เครื่องจักร และส่วนประกอบฯ 2) เครื่องจักรไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า และส่วนประกอบฯ 3) พลาสติก 4) ผลิตภัณฑ์เหล็ก 5) เฟอร์นิเจอร์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 42.48 ของมูลค่าการส่งออกไปยังไทย และสินค้านำเข้าที่สำคัญจากไทย ได้แก่ 1) ยางพารา 2) เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ บอยเลอร์ เครื่องจักร และส่วนประกอบฯ 3) ผัก 4) เครื่องจักรไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า และส่วนประกอบฯ 5) ผลไม้ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 74.09 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดจากไทย
แหล่งที่มา :
http://tjj.shandong.gov.cn/art/2025/1/20/art_6227_10316046.html
https://www.toutiao.com/article/7466672747855282697/?upstream_biz=doubao&source=m_redirect
https://news.iqilu.com/shandong/shandonggedi/20250202/5773876.shtml
http://xining.customs.gov.cn/jinan_customs/zfxxgk93/3014222/3014291/500345/6332326/index.html
http://tjj.shandong.gov.cn/art/2025/1/22/art_6109_10316095.html
https://baijiahao.baidu.com/s?id=1820558236397431098&wfr=spider&for=pc
https://www.163.com/dy/article/JO6QE4LT0556AL3H.html
******************************