อ้างอิงจากรายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม แจ้งถึงความคืบหน้าของโครงการก่อสร้างทางรถไฟมิตรภาพไทย-ลาว (หนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์) แห่งที่ 2 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคกรุงเทพ-หนองคาย ขณะที่รถไฟแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างการศึกษาการออกแบบและทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการรถไฟมิตรภาพไทย-ลาว (หนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์) แห่งที่ 2 ซึ่งมีวงเงินการก่อสร้างตกอยู่ที่ 119.94 ล้านบาท
โครงการนี้มีระยะเวลาในการศึกษากระบวนการ 12 เดือน โดยออกแบบจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2025 หลังจากนั้นช่วงปลายปีจะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและลงนามข้อตกลงการร่วมมือในการก่อสร้างและคาดว่าจะเริ่มการก่อสร้างในไตรมาสที่ 3 ของปี 2026 และใช้เวลาการก่อสร้างประมาณ 36 เดือน โดยจะเปิดให้บริการในปี 2029
ในด้านการออกแบบจะมีการทำงานร่วมกันระหว่างรถไฟไทยและลาว เนื่องจากจะเป็นส่วนเชื่อมต่อของรถไฟความเร็วสูงจากสถานีหนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์ โดยเฉพาะทางรถไฟใหม่นี้จะอยู่ห่างจากทางรถไฟมิตรภาพเก่า 30 เมตร ซึ่งเป็นรถไฟขนาดมาตรฐานกว้าง 1,435 เมตร จำนวน 1 คู่ รองรับรถไฟความเร็วสูงและทางขนาด 1 เมตร อีก 1 คู่ เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าและการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
รูปแบบของสะพานเชื่อมจะเน้นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในการเชื่อมโยงลาว-ไทย ส่วนโครงสร้างของสะพานจะเป็นแบบคานยื่นสมดุล (Balanced Cantilever Bridge) และสะพานจะนำเอาศิลปะความงามที่มีความหมายประสมประสานเพื่อสะท้อนถึงความเชื่อมโยงระหว่างประเทศ แสดงถึงความเข้าใจและสืบทอดมรดกอันทรงคุณค่าของล้านช้างทั้งลาวและไทย เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งการต้อนรับด้วยไมตรีจิตแห่งการพัฒนาและการเชื่อมโยงระหว่างประเทศในอาเซียนผ่านเส้นทางรถไฟมิตรภาพ สำหรับการเชื่อมต่อทางรถไฟหนองคาย-เวียงจันทน์มี 5 แผนงาน ได้แก่ 1) โครงการรถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนการประกวดราคา คาดว่าจะเริ่มให้บริการในปี 2027 2) การปรับปรุงรถไฟมิตรภาพเพื่อรองรับการขนส่งสินค้าด้วยน้ำหนัก 20 ตัน กำลังศึกษาและรายงานงบประมาณเพื่อให้โครงการสามารถรองรับน้ำหนักเพิ่มเติมได้ 3) การก่อสร้างรถไฟข้ามแม่น้ำของใหม่ ไทย-ลาว ตกลงร่วมลงทุนนำเข้าค่าใช้จ่ายร่วมกันในพื้นที่ของแต่ละฝ่าย ปัจจุบันอยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียด 4) การพัฒนาเขตขนส่งสินค้า ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาแบ่งพื้นที่เพื่อประกาศเชิญชวน ซึ่งจะกำหนดค่าขนส่งตามระเบียบต่อไป และคณะกรรมการกำลังพิจารณานำส่งคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจเพื่อดำเนินการตามระเบียบการร่วมลงทุนนระหว่างภาครัฐและเอกชน และ 5) การเชื่อมต่อการเดินทางข้ามชายแดนในเส้นทาง ท่านาแล้ง-เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ปัจจุบันสำเร็จและเปิดให้บริการแล้ว
*************************
ที่มา MGR Online
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เวียงจันทน์ สปป.ลาว