ผลการเลือกตั้งเยอรมนี 2025 และผลกระทบกับไทย

ผลการเลือกตั้งเยอรมนี 2025 และผลกระทบกับไทยหลังจากการเลือกตั้งสิ้นสุดลง พรรคที่น่าจะเป็นผู้นำในการจัดตั้งรัฐบาลได้แก่ กลุ่ม Union หรือกลุ่มสหภาพที่ประกอบด้วยพรรคสหภาพคริสต์เตียนเพื่อประชาธิปไตยประเทศเยอรมนี (CDU – Christlich Demokratische Union Deutschlands) และพรรคสหภาพสังคมนิยมคริสต์เตียนแห่งนครรัฐบาวาเรีย (CSU – Christlich-Soziale Union in Bayern) ในการเลือกตั้งครั้งนี้ Union มีคะแนนเสียงสูงถึง 28% โดยประมาณ

 

โดย Union มีนาย Friedrich Merz เป็นผู้นำ มีแนวโน้มที่จะจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคสังคมนิยมเพื่อประชาธิปไตยเยอรมนี (SPD – Sozialdemokratische Partei Deutschlands) อดีตพรรคร่วมรัฐบาล หรือกับพรรคทางเลือกเพื่อประเทศเยอรมนี (AfD – Alternative für Deutschland) ซึ่งอย่างหลังมีความเป็นไปได้ต่ำ เพราะ Union ได้ออกมาประกาศว่าจะไม่ร่วมงานกับพรรคการเมืองขวาจัด (Far – Right Politics)[1] มีความเป็นไปได้สูงที่ Union จะจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรค SPD มากที่สุด ซึ่งหากทั้ง 2 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลก็จะมีเสียงข้างมาก (328 ที่นั่ง) มากกว่าคะแนนเสียงที่ต้องการเล็กน้อย (316 ที่นั่ง)

 

 

ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะของ สคต. – ปัญหาใหญ่ของเยอรมนีในปัจจุบันจริง ๆ แล้วคือวิกฤตเศรษฐกิจ แม้ว่าจะมีเรื่องปัญหาผู้อพยพเข้ามาเป็นประเด็นหลักในการหาเสียงในครั้งนี้ก็ตาม ซึ่งทั้ง 2 พรรคมีนบายที่คล้ายกันในบางเรื่องอย่าง โดย สคต. เบอร์ลิน ขอนำเรื่องที่น่าจะเกี่ยวข้องกับประเทศไทยมาเขียนสรุปสั้น ๆ ดังนี้

 

นโยบายเศรษฐกิจต่างประเทศ – ทั้ง 2 พรรคให้ความสำคัญกับการแข่งขันอย่างเสรี และน่าจะเป็นแกนหลักของ EU ในการผลักดันให้มีการขยายการเจรจา FTA กับประเทศและกลุ่มประเทศต่าง ๆ ต่อไป ในส่วนปัญหาที่เกิดจากสหรัฐฯนั้นน่าจะทำให้ EU ตัดสินใจง่ายยิ่งขึ้นและหาทางที่จะลดภาวะผูกพันจากสหรัฐอเมริกา และจีนออกไปอีก ซึ่งทำให้ EU ต้องมีคู่ค้าที่เป็นทางเลือกมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยก็เป็นทางเบือกที่ดี

 

นโยบายด้านระบบสาธารณูปโภค – ระบบสาธารณูปโภคของเยอรมนีเก่ามากและไม่ได้รับการปรับปรุงมาช้านานในช่วงที่นาง Angela Merkel เป็นนายกรัฐมนตรีด้วยที่ต้องการรักษากฎหมายschwarze Null (หมายความว่า รายรับรายจ่ายเมื่อบวกลบแล้วไม่มีกำไรหรือขาดทุ่น เหมือนตัวเลขศูนย์สีดำในการทำบัญชีนั่นเอง) ซึ่งเป็นไปได้ที่รัฐบาลชุดใหม่จะปฏิรูปกฎหมายดังกล่าว และทำให้เกิดการลงทุนมหาศาลกับระบบสาธารณูปโภคของประเทศอย่าง ถนน รางรถไฟ เคลือข่ายไฟฟ้า สะพาน ฯลฯ

 

นโยบายธุรกิจยุทโธปกรณ์ – เป็นไปได้ที่เยอรมนีจะขยายอุตสาหกรรมยุทโธปกรณ์ออกไปอีก เพราะในอดีตเยอรมนีเป็นผู้นำด้านดังกล่าวอยู่แล้ว แต่ถูกกีดกันจากฝั่งซ้ายจัดมาเป็นเวลานาน แต่หลักงจากที่สหรัฐอเมริกาเริ่มตีตัวออกหางจาก NATO เป็นไปได้ที่ EU จะมีการจัดตั้งกองทหารขึ้นเอง ซึ่งมีแนวโน้มที่ในช่วง 8 ปีข้างหน้าธุรกิจยุทโธปกรณ์จะ BOOM อย่างหนัก และอาจจะผลักดันนโยบายที่ว่า เงินที่ใช้จ่ายด้านยุทโธปกรณ์ของประเทศจะไม่ถูกนำเข้าไปรวมกับค่าใช้จ่ายของรัฐ ที่ถูกกำหนดโดย EU ว่าประเทศไม่ควรสร้างหนี้เกินกี่เปอร์เซ็นต์ของ GDP ของประเทศ ซึ่งจะทำให้มีเม็ดเงินไหลเวียนในธุรกิจดังกล่าวอย่างมหาศาล ไทยในฐานะประเทศที่มีความเป็นกลางอาจจะสามารถเป็น Tier 4 – 5 ให้กับธุรกิจดังกล่าวได้

 

นโยบายด้านสังคม – ระบบการช่วยเหลือโดยรัฐน่าจะถูกตัดทอนลงบาง แต่ไม่น่าจะมากนักเพราะ SPD คงไม่ยอม แต่ในส่วนปัญหาขาดแคลนที่อยู่อาศัยน่าจะมีการผลักดันให้มีการก่อสร้าง และบูรณะสิ่งปลูกสร้างอย่างหนัก ซึ่งจะทำให้เกิดความต้องการวัสดุชิ้นส่วนเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น

 

 

[1] กลุ่มการเมืองขวาจัด (Far-right politics) คือ กลุ่มการเมืองแบบชาตินิยมแบบสุดโต่ง (Extreme Nationalism) อุดมการณ์ชาติภูมินิยม (Nativist) และแนวโน้มลัทธิอำนาจนิยม (Authoritarian))

thThai