รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้านิวซีแลนด์ประจำเดือนธันวาคม ปี 2567

(1) สถานการณ์เศรษฐกิจ

– ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (Reserve Bank of New Zealand : RBNZ) ยังคงใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินอย่างต่อเนื่องโดยปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.50 อยู่ที่ร้อยละ 3.75 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อลดลงที่ร้อยละ 2.2 ต่อปีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 5.1 และ RBNZ มีแนวโน้มจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 2 ครั้ง (ช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม) เพื่อกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจนิวซีแลนด์ที่ซบเซา แต่จะเฝ้าระวังความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการอ่อนค่าของสกุลเงินและความเสี่ยงจากการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในตลาดโลกจากนโยบายการค้าของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม การอ่อนค่าของดอลลาร์นิวซีแลนด์เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของสินค้าส่งออกนิวซีแลนด์

– นิวซีแลนด์ได้บรรลุข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับ Gulf Co‑operation Council (GCC) ซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับ 7 ของนิวซีแลนด์และเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูง การบรรลุข้อตกลงนี้ จะเป็นการยกเลิกภาษีการค้าระหว่างกันสูงถึงร้อยละ 99 ในระยะเวลา 10 ปี ข้อตกลงนี้จะเป็นก้าวสำคัญในการทำ FTA กับกลุ่มประเทศเศรษฐกิจในแถบตะวันออกกลางอื่นๆ และสะท้อนให้เห็นว่านิวซีแลนด์พยายามลดการพึ่งพาการค้ากับจีน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกใหญ่ที่สุด (มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 30 ของการส่งออกทั้งหมด)

(2) สถานการณ์การค้าภาพรวมของนิวซีแลนด์ [1]

ปี 2567 เดือนมกราคมธันวาคม สถานการณ์การส่งออกสินค้าของนิวซีแลนด์ มีมูลค่า 42,407 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 2.42) เป็นการส่งออกนมและผลิตภัณฑ์นม เนย ไขมัน (ร้อยละ 29.28) เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค (ร้อยละ 12.26) กีวี (ร้อยละ 6.80) ไม้ที่ยังไม่แปรรูป (ร้อยละ 6.80) อาหารปรุงแต่งสำหรับใช้เลี้ยงทารก (ร้อยละ 3.88) ประเทศส่งออกหลัก คือ จีน สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้  สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 11 (นมและครีมที่ทำให้เข้มข้น แอปเปิ้ล เยื่อไม้เคมีที่เป็นเยื่อไม้โซดาหรือเยื่อไม้ซัลเฟต เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภคและอาหารปรุงแต่งสำหรับใช้เลี้ยงทารก)

ปี 2567 เดือนมกราคมธันวาคม การนำเข้าสินค้าของนิวซีแลนด์ มีมูลค่า 46,863 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 6.21) โดยเป็นการนำเข้าเครื่องกังหันไอพ่น (ร้อยละ 14.00) น้ำมันปิโตรเลียมดิบและน้ำมันดิบที่ได้จากแร่บิทูมินัส (ร้อยละ 13.51) รถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 11.14) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 9.19) อุปกรณ์และเครื่องใช้ในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ร้อยละ 3.57) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้และญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ขาดดุลการค้า 4,456 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 8 มีมูลค่า 1,754 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 4.25) (รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ โพลิเมอร์ของเอทิลีนในลักษณะขั้นปฐม เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ แชมพูและสิ่งปรุงแต่งที่ใช้กับเส้นผม) โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 989.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (33,632 ล้านบาท)

สถานการณ์การส่งออกสินค้าของนิวซีแลนด์ในเดือนธันวาคม 2567 มีมูลค่า 3,902 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 9.42) เป็นการส่งออกนมและผลิตภัณฑ์นม เนย ไขมัน (ร้อยละ 36.50) เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค (ร้อยละ 13.86) ไม้ที่ยังไม่แปรรูป (ร้อยละ 6.55) อาหารปรุงแต่งสำหรับใช้เลี้ยงทารก (ร้อยละ 4.26) และเครื่องยนต์ที่ใช้กับอากาศยาน (ร้อยละ 3.88) โดยประเทศส่งออกหลัก คือ จีน สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และอังกฤษ สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 9 (นมและครีมที่ทำให้เข้มข้น เยื่อไม้เคมีที่เป็นเยื่อไม้โซดาหรือเยื่อไม้ซัลเฟต น้ำมันดิบที่ได้จากแร่บิทูมินัส ไม้ที่ยังไม่แปรรูปและอาหารปรุงแต่งสำหรับใช้เลี้ยงทารก)

การนำเข้าสินค้าของนิวซีแลนด์ในเดือนธันวาคม 2567 มีมูลค่า 3,755 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 1.8) โดยเป็นการนำเข้าเครื่องกังหันไอพ่น (ร้อยละ 15.81) ปิโตรเลียมดิบและน้ำมันดิบที่ได้จากแร่บิทูมินัส (ร้อยละ 12.24) รถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 10.75) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 7.95) เครื่องบิน (ร้อยละ 3.71) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เกาหลีใต้และญี่ปุ่น ซึ่งในเดือนธันวาคม 2567 นิวซีแลนด์ได้ดุลการค้า 147 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทย เป็นคู่ค้าอันดับ 10 (รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ โพลิเมอร์ของเอทิลีนในลักษณะขั้นปฐม และยางรถยนต์ใหม่)  

(3) สรุปสถานการณ์การค้าไทย-นิวซีแลนด์ [2]

เป้าหมายส่งออก มูลค่าการค้ารวม (ล้าน US$) มูลค่าการส่งออก (ล้าน US$) มูลค่าการนำเข้า (ล้าน US$)
ปี 2023

(%)

ปี 2024

(%)

ปี 2023 ปี 2024 ปี 2023 ปี 2024 ปี 2023 ปี 2024
ม.ค.– ธ.ค. ม.ค.-ธ.ค. +/- (%) ม.ค. – ธ.ค. ม.ค.-ธ.ค. +/- (%) ม.ค. – ธ.ค. ม.ค.-ธ.ค. +/- (%)
2.0

(-24.94)

1.0 2,245.09

(-21.10)

2,478.47 10.39 1,406.89

-24.79

1,591.23 13.10 838.21

(-14.00)

887.23 5.85

[1] Source: Global Trade Atlas

[2] Source: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

4) การค้าระหว่างไทยนิวซีแลนด์เดือนธันวาคม ปี 2567

  • การส่งออกสินค้าไทยไปนิวซีแลนด์เดือนธันวาคม ปี 2567 มีมูลค่า 119.65 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (3,948 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.90 เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม อาหารสัตว์เลี้ยงและเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ แต่การส่งออกอาหารทะเลกระป๋องและผลิตภัณฑ์ยาง ลดลง
  • การนำเข้าสินค้าของไทยจากนิวซีแลนด์เดือนธันวาคม ปี 2567 มีมูลค่า 55.33 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (1,825.8 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ 16.47 เป็นการลดลงของสินค้านมและผลิตภัณฑ์นม ผัก ผลไม้ อาหารปรุงแต่งสำหรับใช้เลี้ยงทารกและเนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค แต่การนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ ไม้ซุงและไม้แปรรูป สินแร่โลหะอื่นๆ เครื่องมือเครื่องใช้ทางการแพทย์ เครื่องเพชรพลอย อัญมณีและสัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็งเพิ่มขึ้น

………………………………………………………………………………………………………

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครซิดนีย์

 

thThai