ภาพรวมเศรษฐกิจสำคัญ/ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
1.1 การเติบโตทางเศรษฐกิจ
ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของฟิลิปปินส์
ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.2 ลดลงจากร้อยละ 5.5 ในไตรมาสเดียวของปี 2566 สำหรับ GDP เฉลี่ยทั้งปีในปี 2567 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.6 โดยภาคส่วนหลักที่มีส่วนร่วมในการเติบโตของ GDP ได้แก่ ภาคค้าส่งและค้าปลีก การซ่อมแซมยานยนต์และจักรยานยนต์ขยายตัวร้อยละ 5.5 ภาคการเงินและการประกันภัยขยายตัวร้อยละ 8.5 ภาคการก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 7.8 สำหรับภาคเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 4.4 และภาคการบริการขยายตัวร้อยละ 6.7 ภาคเกษตรกรรมป่าไม้และประมงหดตัวร้อยละ 1.8 ในขณะที่ ในส่วนของด้านอุปสงค์พบว่าการใช้จ่ายภาคครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 4.7 ขณะที่การใช้จ่ายของภาครัฐขยายตัวร้อยละ 9.7 สำหรับรายจ่ายเพื่อการสะสมทุนรวมเบื้องต้น (Gross Capital Formation) ขยายตัวร้อยละ 4.1 ในส่วนการส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 3.2 และการนำเข้าสินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 3.2 โดยรายได้รวมประชาชาติ (Gross National Income) ขยายตัวร้อยละ 6.2 และรายได้ปฐมภูมิ (Net Primary Income) ขยายตัวร้อยละ 14.1
1.2 ภาวะการลงทุน
ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 ฟิลิปปินส์มีการลงทุนจากต่างประเทศ (Foreign Investment: FI) มูลค่ารวม 5.77 หมื่นล้านเปโซ ลดลงร้อยละ 85.4 จากช่วงเดียวกันของปี 2566 ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนอยู่ที่ 3.94 แสนล้านเปโซ โดยเป็นการลงทุนผ่านหน่วยงานส่งเสริมการลงทุน 5 หน่วยงาน ได้แก่
– Board of Investments (BOI)
– BOI-Bangsamoro Autonomous Region in Muslim Mindanao (BOI-BARMM)
– Clark Development Corporation (CDC)
– Philippine Economic Zone Authority (PEZA)
– Subic Bay Metropolitan Authority (SBMA)
ทั้งนี้ การลงทุนจากต่างประเทศในไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 พบว่าเป็นการลงทุนจากประเทศเกาหลีใต้มากที่สุดคิดเป็นมูลค่าการลงทุน 2.62 หมื่นล้านเปโซ หรือคิดเป็นร้อยละ 45.3 ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด รองลงมาได้แก่ เนเธอร์แลนด์ มีมูลค่าการลงทุน 9.19 พันล้านเปโซ คิดเป็นร้อยละ 15.9 และญี่ปุ่นมีมูลค่าการลงทุน 4.11 พันล้านเปโซ คิดเป็นร้อยละ 7.1 สำหรับอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนจากต่างประเทศมากที่สุดคือ อุตสาหกรรมการผลิต คิดเป็นร้อยละ 52.9 รองลงมาได้แก่ การขนส่งและการเก็บสินค้า (ร้อยละ 20.6) และอุตสาหกรรมไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติ ไอน้ำ และการปรับอากาศ (ร้อยละ 13.3) ตามลำดับ โดยคาดผลจากการลงทุนในไตรมาสที่ 4 ปี 2567 ทั้งในประเทศและต่างประเทศก่อให้เกิดการจ้างงาน ทั้งหมด 55,717 งาน ซึ่งเป็นการจ้างงานจากการลงทุนจากต่างประเทศ 39,284 งาน หรือคิดเป็นร้อยละ 70.50
1.3 การบริโภคภายในประเทศ
จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติฟิลิปปินส์ระบุว่า ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 การใช้จ่ายภาคครัวเรือนของฟิลิปปินส์ขยายตัวร้อยละ 4.70 แต่ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2566 ที่ร้อยละ 5.30 และลดลงจากไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.20 โดยการใช้จ่ายด้านอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์มีมูลค่ามากที่สุด อยู่ที่ 1.64 ล้านล้านเปโซ ขยายตัวร้อยละ 1.30 รองลงมาได้แก่ ด้านสินค้าเบ็ดเตล็ดบริการอื่นๆ มีมูลค่า 759,774 ล้านเปโซ ขยายตัวตัวร้อยละ 7.7 และค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าเชื้อเพลิง มีมูลค่า 501,654 ล้านเปโซ ขยายตัวร้อยละ 3.8 ตามลำดับ
มูลค่า 501,654 ล้านเปโซ Growth 3.8 % |
|
|
1.4 อัตราเงินเฟ้อ
อัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 อยู่ที่ร้อยละ 2.1 ลดลงจากเดือนมกราคม 2568 ที่มีอัตราอยู่ที่ร้อยละ 2.9 และอยู่ในระดับต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.4 ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อที่ลดลงในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีสาเหตุหลักมาจากการชะลอตัวของค่าอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ การใช้จ่ายในครัวเรือน ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าเชื้อเพลิง รวมทั้งการลดลงของค่าขนส่ง
แผนภูมิ 1 – อัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์ตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2568
ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติฟิลิปปินส์ (เข้าถึงข้อมูลวันที่ 13 มีนาคม 2568)
1.5 อัตราการจ้างงานและอัตราการว่างงาน
อัตราการจ้างงานในเดือนมกราคม 2568 อยู่ที่ร้อยละ 95.7 ลดลงจากเดือนธันวาคม 2567 ที่มีอัตราอยู่ที่ร้อยละ 96.9 และลดลงจากเดือนมกราคม 2567 ที่มีอัตราจ้างงานอยู่ที่ร้อยละ 95.5 สำหรับอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 4.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2567 ที่มีอัตราอยู่ที่ร้อยละ 3.1 แต่ลดลงจากเดือนมกราคม 2567 ที่มีอัตราอยู่ที่ร้อยละ 4.5
ตารางที่ 1 – สถิติด้านแรงงานของฟิลิปปินส์ในเดือนมกราคม 2568
สถิติ | ม.ค. 2568 | ธ.ค. 2567 | ม.ค. 2567 |
อัตราการมีส่วนร่วมของแรงงาน | ร้อยละ 63.9 | ร้อยละ 65.1 | ร้อยละ 61.1 |
อัตราการจ้างงาน (Employment Rate) | ร้อยละ 95.7 | ร้อยละ 96.9 | ร้อยละ 95.5 |
อัตราการว่างงาน (Unemployment rate) | ร้อยละ 4.3 | ร้อยละ 3.1 | ร้อยละ 4.5 |
อัตราการทำงานต่ำกว่าระดับความรู้ความสามารถ/ วุฒิการศึกษา (Underemployment rate) |
ร้อยละ 13.3 | ร้อยละ 10.9 | ร้อยละ 13.7 |
ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติฟิลิปปินส์ (เข้าถึงข้อมูลวันที่ 13 มีนาคม 2568)
- 2. สถานการณ์การค้า (การส่งออก-นำเข้า)
2.1 การส่งออก
การส่งออกของฟิลิปปินส์ในเดือนมกราคม 2568 มีมูลค่ารวม 6,363.89 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2567 ที่มีมูลค่าส่งออก 5,984.70 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 ตารางที่ 2 แสดงถึงมูลค่าและอัตราการขยายตัวของสินค้าส่งออกหลักของฟิลิปปินส์ โดยจำแนกตามประเภทของสินค้า และตารางที่ 3 แสดงถึงมูลค่าและอัตราการขยายตัวของสินค้าส่งออกหลักของประเทศฟิลิปปินส์จำแนกตามตลาด
ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติฟิลิปปินส์ (เข้าถึงข้อมูลวันที่ 13 มีนาคม 2568) |
ตารางที่ 2 – มูลค่าและอัตราการขยายตัวของสินค้าส่งออกหลักของฟิลิปปินส์ แยกตามประเภทของสินค้า ในเดือนมกราคม 2567/2568
ลำดับ | สินค้า | มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ | ขยายตัว
(ร้อยละ) |
|
ม.ค. 2567 | ม.ค. 2568 | |||
1 | สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ | 3,460.14 | 3,371.69 | -2.6 |
2 | สินค้าสำเร็จรูป (Other Manufacturer Goods) | 282.70 | 471.07 | 66.6 |
3 | น้ำมันมะพร้าว | 138.17 | 249.05 | 80.3 |
4 | ผลิตภัณฑ์แร่อื่นๆ | 185.58 | 247.09 | 33.1 |
5 | เครื่องจักรและส่วนประกอบยานยนต์ | 237.55 | 227.68 | -4.2 |
6 | ชุดสายไฟจุดระเบิดและชุดสายไฟอื่นๆ
ที่ใช้ในยานพาหนะ เครื่องบิน และเรือสินค้า |
213.91 | 200.24 | -6.4 |
7 | สารเคมี | 127.07 | 159.12 | 25.2 |
8 | ทองคำ | 115.33 | 134.66 | 16.8 |
9 | กล้วย (สด) | 99.23 | 122.39 | 23.3 |
10 | สารสกัดทองแดง | 107.33 | 115.41 | 7.5 |
การส่งออกรวม | 5,984.70 | 6,363.89 | 6.3 |
ตารางที่ 3 – มูลค่าและอัตราการขยายตัวของสินค้าส่งออกหลักของประเทศฟิลิปปินส์ แยกตามตลาดใน
เดือนมกราคม 2566/2567
ลำดับ | ประเทศ | มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ | สัดส่วน
(ร้อยละ) |
ขยายตัว
(ร้อยละ) |
|
ม.ค. 2567 | ม.ค. 2568 | ||||
1 | สหรัฐอเมริกา | 912.80 | 1,127.53 | 17.7 | 23.5 |
2 | ญี่ปุ่น | 880.70 | 945.80 | 14.9 | 7.4 |
3 | ฮ่องกง | 762.38 | 722.81 | 11.4 | -5.2 |
4 | จีน | 628.37 | 645.57 | 10.1 | 2.7 |
5 | สิงคโปร์ | 201.82 | 266.48 | 4.2 | 32.0 |
6 | เกาหลีใต้ | 356.76 | 262.34 | 4.1 | -26.5 |
7 | เนเธอร์แลนด์ | 277.49 | 261.49 | 4.1 | -5.8 |
8 | มาเลเซีย | 201.80 | 248.18 | 3.9 | 23.0 |
9 | ไทย | 256.97 | 243.70 | 3.8 | -5.2 |
10 | เยอรมัน | 212.12 | 240.80 | 3.8 | 13.5 |
การนำเข้ารวม | 5,984.70 | 6,363.89 | 100.0 | 6.3 |
ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติฟิลิปปินส์ (เข้าถึงข้อมูลวันที่ 13 มีนาคม 2568)
2.2 การนำเข้า
การนำเข้าของฟิลิปปินส์ในเดือนมกราคม 2568 มีมูลค่า 11,452.88 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2567 ที่มีมูลค่า 10,339.82 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 ตารางที่ 4 แสดงถึงมูลค่าและอัตราการขยายตัวของสินค้านำเข้าหลักของฟิลิปปินส์ โดยจำแนกตามประเภทของสินค้า และตารางที่ 5 แสดงถึงมูลค่าและอัตราการขยายตัวของสินค้านำเข้าหลักของฟิลิปปินส์จำแนกตามแหล่งนำเข้า
ตารางที่ 4 – มูลค่าและอัตราการขยายตัวของสินค้านำเข้าหลักของฟิลิปปินส์ แยกตามประเภทของสินค้าในเดือนมกราคม 2566/2567
ลำดับ | สินค้า | มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ | ขยายตัว
(ร้อยละ) |
|
ม.ค. 2567 | ม.ค. 2568 | |||
1 | สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ | 2,198.49 | 2,511.10 | 14.2 |
2 | แร่ธาตุเพื่อพลังงานเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น | 1,510.85 | 1,618.41 | 7.1 |
3 | ส่วนประกอบยานยนต์ | 834.85 | 906.22 | 8.5 |
4 | เครื่องจักรอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ | 494.27 | 592.90 | 20.0 |
5 | เหล็กและเหล็กกล้า | 422.06 | 497.35 | 17.8 |
6 | อาหารและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ | 396.97 | 469.79 | 18.3 |
7 | สินค้าเบ็ดเตล็ด | 419.92 | 446.68 | 6.4 |
8 | ชิ้นส่วนโทรคมนาคมและเครื่องจักรไฟฟ้า | 312.80 | 439.18 | 40.4 |
9 | ธัญพืช | 463.74 | 377.55 | -18.6 |
10 | พลาสติกในรูปแบบปฐมภูมิและไม่ใช่ปฐมภูมิ | 231.32 | 288.57 | 24.7 |
การนำเข้ารวม | 10,339.82 | 11,452.88 | 10.8 |
ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติฟิลิปปินส์ (เข้าถึงข้อมูลวันที่ 13 มีนาคม 2568)
ตารางที่ 5 – มูลค่าและอัตราการขยายตัวของสินค้านำเข้าหลักของฟิลิปปินส์ แยกตามแหล่งนำเข้าในเดือนมกราคม 2566/2567
ลำดับ | ประเทศ | มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ | สัดส่วน
(ร้อยละ) |
ขยายตัว
(ร้อยละ) |
|
ม.ค. 2567 | ม.ค. 2568 | ||||
1 | จีน | 2,653.72 | 3,305.65 | 28.9 | 24.6 |
2 | ญี่ปุ่น | 791.07 | 912.71 | 8.0 | 15.4 |
3 | อินโดนีเซีย | 790.88 | 892.95 | 7.8 | 12.9 |
4 | เกาหลีใต้ | 682.06 | 862.27 | 7.5 | 26.4 |
5 | สหรัฐอเมริกา | 673.06 | 690.81 | 6.0 | 2.6 |
6 | ไทย | 593.03 | 597.42 | 5.1 | -0.9 |
7 | สิงคโปร์ | 472.52 | 520.86 | 4.5 | 10.2 |
8 | มาเลเซีย | 589.54 | 520.64 | 4.5 | -11.7 |
9 | เวียดนาม | 490.70 | 477.24 | 4.2 | -2.7 |
10 | ไต้หวัน | 384.66 | 370.74 | 3.2 | -3.6 |
การนำเข้ารวม | 10,339.82 | 11,452.88 | 100.0 | 10.8 |
ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติฟิลิปปินส์ (เข้าถึงข้อมูลวันที่ 13 มีนาคม 2568)
2.3 มูลค่าการค้าระหว่างไทย – ฟิลิปปินส์
มูลค่าการค้ารวมของไทยกับฟิลิปปินส์ในเดือนมกราคม 2568 อยู่ที่ 911.36 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.38 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2567 ที่มีมูลค่า 933.57 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.74 ของการค้าไทยไปทั่วโลก สำหรับการส่งออกจากไทยไปยังฟิลิปปินส์ในเดือนมกราคม 2568 มีมูลค่า 626.08 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.28 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2567 ที่มีมูลค่า 668.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.48 ของการส่งออกไปทั่วโลก ในขณะเดียวกันไทยมีการนำเข้าจากฟิลิปปินส์ในเดือนมกราคม 2568 มีมูลค่า 285.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.44 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2567 ที่มีมูลค่านำเข้า 265.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.05 ของการนำเข้าจากทั่วโลก สรุปการค้าระหว่างไทย – ฟิลิปปินส์ในเดือนมกราคม 2568 ปรากฏว่าไทยได้เปรียบดุลการค้าฟิลิปปินส์เป็นมูลค่า 340.80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ตารางที่ 6 – สรุปการค้าระหว่างประเทศของไทยกับฟิลิปปินส์ในเดือนมกราคม 2567/ 2568
การค้าระหว่าง
ไทย – ฟิลิปปินส์ |
มูลค่า
(ล้านเหรียญสหรัฐฯ) |
อัตราขยายตัว
(ร้อยละ) |
สัดส่วนต่อการค้าโลก
(ร้อยละ) |
|||
ม.ค. 2567 | ม.ค. 2568 | ม.ค. 2567 | ม.ค. 2568 | ม.ค. 2567 | ม.ค. 2568 | |
มูลค่าการค้า | 933.57 | 911.36 | 13.78 | -2.38 | 1.97 | 1.74 |
ไทยส่งออกไปฟิลิปปินส์ | 668.03 | 626.08 | 17.53 | -6.28 | 3.00 | 2.48 |
ไทยนำเข้าจากฟิลิปปินส์ | 265.54 | 285.28 | 5.33 | 7.44 | 1.05 | 1.05 |
ดุลการค้า | 402.49 | 340.8 | 27.25 | -15.33 | -13.81 | -18.13 |
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ (เข้าถึงข้อมูลวันที่ 13 มีนาคม 2568)
2.4 การส่งออกสินค้าของไทยไปยังฟิลิปปินส์
เมื่อพิจารณาสินค้า 5 อันดับที่ไทยส่งออกไปยังฟิลิปปินส์ในเดือนมกราคม 2568 พบว่า สินค้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 207.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.34 จากเดือนมกราคม2567 รองลงมา ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เม็ดพลาสติก เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ตามลำดับ
ตารางที่ 7 – การส่งออกสินค้า 5 อันดับของไทยไปยังฟิลิปปินส์ในเดือนมกราคม 2567/ 2568
อันดับ |
รายการสินค้า |
มูลค่า
(ล้านเหรียญสหรัฐฯ) |
อัตราขยายตัว
(ร้อยละ) |
สัดส่วน
(ร้อยละ) |
|||
ม.ค. 2567 | ม.ค. 2568 | ม.ค. 2567 | ม.ค. 2568 | ม.ค. 2567 | ม.ค. 2568 | ||
1. | รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ | 228.67 | 207.31 | 24.59 | -9.34 | 34.23 | 33.11 |
2. | แผงวงจรไฟฟ้า | 38.87 | 39.42 | -14.86 | 1.43 | 5.82 | 6.30 |
3. | เม็ดพลาสติก | 17.99 | 26.32 | -18.18 | 46.34 | 2.69 | 4.20 |
4. | เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล | 18.59 | 24.92 | -26.81 | 34.01 | 2.78 | 3.98 |
5. | เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ | 12.16 | 22.99 | -0.29 | 89.11 | 1.82 | 3.67 |
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ (เข้าถึงข้อมูลวันที่ 13 มีนาคม 2568)
2.5 การนำเข้าของไทยจากฟิลิปปินส์
เมื่อพิจารณาการนำเข้าสินค้า 5 อันดับของไทยจากฟิลิปปินส์ในเดือนมกราคม 2568 พบว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มีมูลค่าสูงสุด 80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 8.07 จากเดือนมกราคม 2567 รองลงมาได้แก่ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ ตามลำดับ
ตารางที่ 8 – การนำเข้าสินค้า 5 อันดับของไทยจากฟิลิปปินส์ในเดือนมกราคม 2567/ 2568
อันดับ |
รายการสินค้า |
มูลค่า
(ล้านเหรียญสหรัฐฯ) |
อัตราขยายตัว
(ร้อยละ) |
สัดส่วน
(ร้อยละ) |
|||
ม.ค. 2567 | ม.ค. 2568 | ม.ค. 2567 | ม.ค. 2568 | ม.ค. 2567 | ม.ค. 2568 | ||
1. | เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ | 74.03 | 80.00 | 80.02 | 8.07 | 27.88 | 28.04 |
2. | สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ | 33.05 | 59.85 | -35.12 | 81.09 | 12.45 | 20.98 |
3. | แผงวงจรไฟฟ้า | 54.47 | 51.62 | 4.18 | -5.24 | 20.52 | 18.10 |
4. | เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ | 24.02 | 22.90 | -0.22 | -4.63 | 9.04 | 8.03 |
5. | ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ | 21.70 | 17.29 | 2.01 | -20.30 | 8.17 | 6.06 |
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ (เข้าถึงข้อมูลวันที่ 13 มีนาคม 2568)
- สถานการณ์และภาวะสินค้าเป้าหมายของไทยในตลาดฟิลิปปินส์
แนวโน้มการส่งออกสินค้าไทยมายังฟิลิปปินส์ในเดือนมกราคม 2568 ประเภทสินค้าหลักของไทยที่มีการขยายตัวในการส่งออกมายังตลาดฟิลิปปินส์ ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เม็ดพลาสติก เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ โดยสรุปข้อมูลสถานการณ์ และภาวะสินค้าโดยสังเขป ดังนี้
3.1 แผงวงจรไฟฟ้า ความต้องการแผงวงจรไฟฟ้าในฟิลิปปินส์มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น ทำให้การส่งออกสินค้าดังกล่าวของไทยมายังฟิลิปปินส์ฟื้นตัวตามไปด้วย โดยเป็นกลุ่มสินค้าที่ไทยส่งออกมาฟิลิปปินส์มากเป็นอันดับที่ 2 โดยมีมูลค่าการส่งออกในเดือนมกราคม 2568 อยู่ที่ 39.42 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.43 จากช่วงเดียวกันของปี 2567 ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์และไทยถือว่ามีห่วงโซ่อุปทานภูมิภาค (Regional Supply Chain) ร่วมกันในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในฐานะเป็นฐานการผลิตเช่นเดียวกัน โดยมีการส่งออก-นำเข้าสินค้าดังกล่าว เพื่อผลิตและเป็นส่วนประกอบก่อนส่งออกไปยังตลาดโลก โดยไทยถือเป็นผู้ส่งออกแผงวงจรไฟฟ้าและชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำคัญ และฟิลิปปินส์มีการนำเข้าแผงวงจรไฟฟ้าจากประเทศไทยเพื่อมาใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และอิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูป
3.2 เม็ดพลาสติก ความต้องการสินค้าเม็ดพลาสติกในช่วงเดือนมกราคม 2568 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.34 มีมูลค่าอยู่ที่ 26.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2567 ทั้งนี้ เม็ดพลาสติกถูกนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้สนับสนุนอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ การก่อสร้างและอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์พลาสติก และความต้องการผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกในตลาดอื่นๆ เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์ใส่อาหาร และเครื่องมือทางการแพทย์ ซึ่งต้องใช้เม็ดพลาสติกมาเป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้าดังกล่าว
3.3 เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล ตลาดเครื่องจักรกลในฟิลิปปินส์มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง จากความต้องการของภาคการผลิตโดยเฉพาะภาคอาหารที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับกับการเติบโตของเศรษฐกิจและจำนวนประชากรขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าเครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องกล นับเป็นหนึ่งในสินค้าที่มีศักยภาพของไทยในตลาดฟิลิปปินส์ และมีแนวโน้มขยายตัวที่ดี โดยเฉพาะเครื่องจักรกลการเกษตร เนื่องจากมีความทันสมัยและมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ โดยในเดือนมกราคม 2568 ไทยส่งออกเครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกลมายังฟิลิปปินส์ มูลค่า 24.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.01 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่าส่งออก 18.59 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3.4 เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สินค้าเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์เป็นกลุ่มสินค้าที่มีศักยภาพในตลาดฟิลิปปินส์ เนื่องจากฟิลิปปินส์อยู่ในช่วงเร่งพัฒนาประเทศมีโครงการก่อสร้างและปรับปรุงสาธารณูปโภคพื้นฐานจำนวนมาก ทำให้รัฐบาลมีการเร่งการใช้จ่ายโครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้มีความต้องการสินค้าดังกล่าวสูงขึ้น โดยในเดือนมกราคม 2568 การส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ของไทยมายังฟิลิปปินส์ขยายตัวมากถึงร้อยละ 89.11 มีมูลค่า 22.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่าส่งออก 12.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ข้อสังเกตเพิ่มเติม
เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ในปี 2567 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.6 แม้ว่าจะต่ำกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 6.0 – 6.5 แต่การเติบโตดังกล่าวของฟิลิปปินส์นั้นยังคงทำให้ฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นในกลุ่มภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นถึงความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ แม้จะเผชิญกับความท้าทายหลายประการ โดยเฉพาะผลกระทบจากฤดูพายุไต้ฝุ่นที่รุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นถึง 6 ลูกภายในระยะเวลาอันสั้นในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรและเศรษฐกิจโดยรวมก็ตาม สำหรับแนวโน้มในปี 2568 รัฐบาลฟิลิปปินส์ยังคงมุ่งมั่นดำเนินนโยบายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม 8 ประการ (8-Point Socioeconomic Agenda) และแผนพัฒนาประเทศฟิลิปปินส์ปี 2566-2571 (Philippine Development Plan 2023-2028) เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เอื้อต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะกลาง โดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและการส่งเสริมโครงการที่มีผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจ
สำหรับแนวโน้มสถานการณ์ การส่งออกสินค้าไทยมายังฟิลิปปินส์ยังคงชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ในเดือนมกราคม 2568 พบว่าการส่งออกสินค้าบางรายการของไทยมาฟิลิปปินส์ยังคงสามารถขยายตัวได้ดี ยังมีสินค้าที่มีศักยภาพ และสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้น เช่น เม็ดพลาสติก (+ร้อยละ 46.34) เครื่องจักรกล และส่วนประกอบของเครื่องจักรกล (+ร้อยละ 34.01) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (+ร้อยละ 89.11) ผลิตภัณฑ์พลาสติก (+ร้อยละ4.84) เคมีภัณฑ์ (+ร้อยละ 8.38) เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ (+ร้อยละ 22.80) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ (+ร้อยละ 46.03) มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (+ร้อยละ 73.42) และ นมและผลิตภัณฑ์นม
(+ร้อยละ 23.45) เป็นต้น
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
มีนาคม 2568