1. ข้อมูลพื้นฐานของมณฑลซานตง

1.1 เศรษฐกิจของมณฑลซานตง มณฑลซานตงตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลตะวันออกของจีน ทางทิศเหนือด้านตะวันออกของจีน ถือเป็นอีกหนึ่งมณฑลที่มีศักยภาพของจีน มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เป็นอันดับ 3 ของจีน และจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของจีน โดยมีนครจี่หนานเป็นเมืองเอก และเมืองชิงต่าวเป็นเมืองท่าการค้าสำคัญ และติดอันดับเมือง Tier 1 ใหม่ของจีน

ข้อมูลทั่วไปทางเศรษฐกิจของมณฑลซานตง

GDP : 9.8566 ล้านล้านหยวน  เพิ่มขึ้น +5.7%

  • ปฐมภูมิ 661,700 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น +3.7%
  • ทุติยภูมิ 3.96 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้น +6.6%
  • ตติยภูมิ 5.23 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้น +5.4%

ประชากร : 101.22 ล้านคน

รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชาชน : 42,077 หยวน เพิ่มขึ้น +5.5%

  • เขตเมือง 54,062 หยวน เพิ่มขึ้น+4.8%
  • เขตชนบท 25,257 หยวน เพิ่มขึ้น+6.2%

รายจ่ายเฉลี่ยต่อหัวของประชาชน : 25,645 หยวน เพิ่มขึ้น +5.6%

  • เขตเมือง 31,625 หยวน เพิ่มขึ้น +4.5%
  • เขตชนบท 17,253 หยวน เพิ่มขึ้น+7.3%

การลงทุนในทรัพย์สินถาวร : เพิ่มขึ้น +3.3 %

การค้าปลีก : 3.79 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้น +5 %

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) : เพิ่มขึ้น +0.2 %

*หมายเหตุ: %อัตราการเพิ่มขึ้น/ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ลักษณะเด่น:

  • แหล่งแร่ทองคำที่ใหญ่ที่สุดของจีน
  • แหล่งน้ำมันดิบขนาดใหญ่อันดับ 2 ของจีนอยู่ที่เมืองตงหยิง
  • มีพื้นที่ติดทะเลคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15 ของพื้นที่ติดทะเลทั้งประเทศ เป็นแหล่งผลิตสัตว์น้ำกว่า 40 ชนิดที่สำคัญ เช่น กุ้ง ปู ปลา เป๋าฮื้อ เป็นต้น

อุตสาหกรรมหลัก: เครื่องจักรกล อิเล็กทรอนิกส์ เหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์โลหะ ถ่านหิน ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์ยางพารา สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อาหารแปรรูป และอาหารทะเล เป็นต้น ด้านธุรกิจบริการ ได้แก่ โลจิสติกส์ และการท่องเที่ยว เป็นต้น

การท่องเที่ยว : มีนักท่องเที่ยวจีนมาเยือน 900 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น +10% และมีรายได้ด้านการท่องเที่ยวกว่า 1 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้น +12%

โลจิสติกส์: ท่าเรือชิงต่าว เป็นท่าเรืออัจริยะ และเป็น 1 ใน 10 ท่าเรือที่พลุกพล่านที่สุดในโลก รองรับการขนส่งสินค้าทั่วไป ตู้คอนเทนเนอร์ สินค้าเทกอง สินค้าเฉพาะ และธัญพืช ท่าเรือรื่อจ้าว รองรับการขนส่งถ่านหิน แร่เหล็ก ภาชนะบรรจุ ธัญพืช สารเคมีเหลว และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเป็นหลัก และท่าเรือเยียนไถ ส่งออกรถยนต์

 

1.2 สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของมณฑลซานตงในปี 2567

1.2.1 การนำเข้าของมณฑลซานตง ในปี 2567 คิดเป็นมูลค่า 181,960.97 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ -2.51 สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ (1) เชื้อเพลิง (2) แร่ กากแร่ (3) เครื่องจักรไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า และส่วนประกอบฯ (4) เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ และ (5) เมล็ดพืชน้ำมัน โดยมีแหล่งนำเข้าสำคัญจากประเทศ มาเลเซียมากเป็นอันดับ 1 หรือคิดเป็นร้อยละ 18.66 รองลงมาได้แก่ รัสเซีย (12.27%) เกาหลีใต้ (8.77%) บราซิล (8.64%) ออสเตรเลีย (6.29%) และไทยเป็นอันดับที่ 12 (1.92%)

รายงานตลาดเชิงลึก: สำรวจศักยภาพตลาดและพฤติกรรมการบริโภคของชาวซานตงกับโอกาสของสินค้าอาหารไทย

 

1.2.2 การส่งออกของมณฑลซานตง ในปี 2567 คิดเป็นมูลค่า 292,380.63 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.86 สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ (1) เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (2) เครื่องจักรไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน (3) ยานยนต์และส่วนประกอบ (4) ยางและของทำด้วยยาง และ (5) ของเล่น เกม และอุปกรณ์กีฬา โดยมีตลาดส่งออกสำคัญไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา (12.60%) เกาหลีใต้ (8.91%) ญี่ปุ่น (6.59%) ฮ่องกง (4.04%) มาเลเซีย (3.70%) และไทยเป็นอันดับที่ 12 (2.39%)

รายงานตลาดเชิงลึก: สำรวจศักยภาพตลาดและพฤติกรรมการบริโภคของชาวซานตงกับโอกาสของสินค้าอาหารไทย

 

1.3 ขนาดตลาดการบริโภคอาหารของชาวซานตง

ขนาดอุตสาหกรรมอาหารของมณฑลซานตงเป็นอันดับ 1 ของประเทศ ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 37 ปี มูลค่าผลประกอบการรวมกว่าล้านล้านหยวน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10 ของอุตสาหกรรมทั้งหมดของมณฑลซานตง และครองสัดส่วนร้อยละ 10 ของอุตสาหกรรมอาหารของประเทศจีน

ขนาดตลาดการบริโภคอาหารของมณฑลซานตง ค่อยๆ ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีเสถียรภาพ จากข้อมูลปริมาณการบริโภคต่อหัวต่อปี พบว่าชาวซานตงมีการบริโภคผลไม้ในอัตราค่อนข้างสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั้งประเทศจีนมาก รองลงมาคือ ไข่ และนม และส่วนสินค้าอื่นมีการบริโภคอยู่ในระดับกลาง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการบริโภคอาหารของชาวซานตงโดยรวมแล้วมีพื้นฐานที่ดี แต่หากเมื่อเทียบกับมณฑลที่มีการบริโภคขนาดใหญ่แล้วยังถือว่ายังมีช่องว่างในการบริโภคได้อีกมาก

 

ตารางที่ 1 : ปริมาณการบริโภคอาหารเฉลี่ยต่อหัวของชาวซานตง ปี 2566

ลำดับ ประเภท ปริมาณการบริโภคอาหารเฉลี่ย

ต่อหัวต่อปี (กิโลกรัม)

เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการบริโภคของชาวซานตงกับชาวจีน

(มากกว่า/น้อยกว่า)

ชาวซานตง ชาวจีน
1   ธัญพืช 127.7 134.4 -6.7
2 ผักและเห็ด 107.2 113.6 -6.4
3 ผลไม้และแตงสด 83.5 60.8 22.7
4 เนื้อสัตว์ 35.8 39.8 -4.0
5 ไข่ 25.1 15.0 10.1
6 นม 15.8 13.2 2.6
7 สัตว์น้ำ 15.1 15.2 -0.1
8 สัตว์ปีก 9.5 12.4 -2.9
9 น้ำมันสำหรับบริโภค 7.9 10.0 -2.1
10 น้ำตาล 0.8 1.2 -0.4

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน

 

มณฑลซานตงมียอดการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศ มูลค่า 3.7960 ล้านล้านหยวน (~17.85 ล้านล้านบาท) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ตลาดการบริโภคโดยรวมของมณฑลซานตงถือว่ามีทิศทางที่ดี อีกทั้งขนาดตลาดมีฐานการบริโภคที่มั่นคงรองรับจากขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 และประชากรจำนวนมาก และได้อานิสงค์จากการเป็นเมืองท่องเที่ยวตากอากาศของจีน จึงมีนักท่องเที่ยวมาเยือนจำนวนมาก

 

ตารางที่ 2 : ยอดค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคของ 18 มณฑล/เมืองสำคัญของจีน ปี 2567

ลำดับ มณฑล/เมือง ยอดค้าปลีก

(ล้านล้านหยวน)

ลำดับ มณฑล/เมือง ยอดค้าปลีก

(ล้านล้านหยวน)

1 กวางตุ้ง 4.7873 10 หูหนาน 2.1300
2 เจียงซู 4.7662 11 เซี่ยงไฮ้ 1.7940
3 ซานตง 3.7960 12 เหอเป่ย 1.5869
4 เจ้อเจียง 3.3900 13 ฉงชิ่ง 1.5677
5 เหอหนาน 2.7597 14 เจียงซี 1.4333
6 เสฉวน 2.7415 15 ปักกิ่ง 1.4074
7 หูเป่ย 2.5277 16 ยูนนาน 1.1896
8 อันฮุย 2.4088 17 ส่านซี 1.1274
9 ฝูเจี้ยน 2.3084 18 เหลียวหนิง 1.0778

ที่มา: https://baijiahao.baidu.com/s?id=1824235732207880456&wfr=spider&for=pc

 

1.4 พฤติกรรมการบริโภค

1.4.1 การบริโภคอาหารในแต่ละมื้อของชาวซานตง

ชาวซานตงไม่เพียงให้ความสำคัญกับความสมดุลทางโภชนาการ แต่ยังให้ความสำคัญกับความสดและฤดูกาลของอาหารเป็นพิเศษ หรือบางครั้งเมืองที่ติดชายฝั่งทะเลก็จะรับประทานอาหารทะเล เช่น กุ้ง หอย หอยนางรม เป็นต้น

อาหารเช้า ชาวซานตงนิยมรับประทานปิ่ง (饼 แป้งกรอบ/โรตี) หมั่นโถกับไข่เค็ม นมถั่วเหลือง โจ๊กข้าวฟ่าง นอกจากนี้ยังมีปาท่องโก๋ ซาลาเปา เกี๊ยวน้ำ และก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น

อาหารกลางวัน เป็นอาหารมื้อหลักของวัน ส่วนใหญ่เป็นหมั่นโถวหรือก๋วยเตี๋ยว กับข้าวค่อนข้างมีความหลากหลาย อาทิ หมูสามชั้นน้ำแดง ไก่ตุ๋น ปลานึ่ง  ผักตามฤดูกาล เช่น กะหล่ำปลี มะเขือยาว มันฝรั่ง ถั่ว ฯลฯ นำมาปรุงอาหารในรูปแบบต่างๆ ด้วยสีและรสชาติที่หลากหลายแตกต่างกัน

อาหารมื้อเย็น จะค่อนข้างเบา เน้นเป็นซุป (ซุปไก่ ซุปเต้าหู้ปลา) ผักตามฤดูกาล เนื้อสัตว์เล็กน้อย

1.4.2 รสชาติ

มณฑลซานตงตั้งอยู่ทางตอนเหนือของจีน และมีอากาศที่หนาวเย็น ทำให้ชอบรับประทานอาหารที่มีความมัน และรสจัด ทั้งเผ็ด เค็ม เปรี้ยว โดยบริโภคหวานน้อย

1.4.3 เทร็นด์การบริโภคของชาวซานตง

ตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นมา พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคในมณฑลซานตงจึงเริ่มเปลี่ยนแปลง ภายใต้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่รัดเข็มขัด การซื้อของดีและคุ้มค่าจึงกลายเป็นแนวคิดของผู้บริโภค โดยรายงานการสำรวจแนวโน้มการบริโภคของชาวซานตงประจำปี 2567 ได้ทำการสุ่มสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภค ซึ่งมีเพศชายสัดส่วนร้อยละ 50.66 และเพศหญิงสัดส่วนร้อยละ 49.34 ในที่นี้ร้อยละ 80 เป็น Gen Y, Gen Z และ Gen A เปิดเผยว่าแรงจูงใจหลักในการบริโภคของชาวซานตงในปี 2567 คือ คุณสมบัติ คิดเป็นร้อยละ 76.67 ความพึงพอใจ คิดเป็นร้อยละ 51.75 ราคาถูก คิดเป็นร้อยละ 48.69 การแนะนำจากเพื่อนหรือสื่อโซเชียล คิดเป็นร้อยละ 20.52 โฆษณาจูงใจ (การแนะนำจากแพลตฟอร์มขาย/คลิปวิดีโอสั้น/ไลฟ์สด) คิดเป็นร้อยละ 20.09 และต้องการลองของใหม่/ตามแฟชั่น คิดเป็นร้อยละ 9.61

แรงจูงใจในการบริโภคของชาวซานตงในปี 2567

  • คุณสมบัติและ การบริโภคอย่างมีเหตุผลจากการสำรวจพบว่า ผู้บริโภคร้อยละ 76.67 ให้ความสำคัญต่อคุณค่าและประโยชน์การใช้งานจริงของผลิตภัณฑ์ ซึ่งไม่ได้เป็นแนวโน้มที่เพิ่งเกิดใหม่ หลายปีที่ผ่านมาแนวคิดการบริโภค Long-termism (การตัดสินใจซื้อเพื่อประโยชน์หรือผลลัพธ์ระยะยาว) รวมถึงชีวิตแบบมินิมอล และ Capsule Wardrobe เป็นคำที่ถูกแท็กและมีการโพสต์มากกว่า 2.18 ล้านบทความ บนแพลตฟอร์มเสี่ยวหงชู แนวคิดนี้ทำให้แนวทางการซื้อสินค้า เช่น เสื้อผ้า ของผู้บริโภคจะยินดีจ่ายในราคาสูงกว่าโดยให้ความสำคัญต่อคุณภาพวัสดุ ใส่สบาย ใช้ได้ยาวนาน โดยที่ไม่ได้เน้นการตามแฟชั่นเหมือนสมัยก่อน

แนวคิด ‘การบริโภคอย่างมีเหตุผล’ ยังแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนในผลิตภัณฑ์ความงาม ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับส่วนผสมและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์มากกว่าบรรจุภัณฑ์หรือกลไกทางการตลาด โดยแบรนด์เครื่องสำอางจีน อาทิ แบรนด์ Proya (珀莱雅) Winona (薇诺娜) และ Comfy (可复美 ) ประสบความสำเร็จในการสร้างความน่าเชื่อถือ ด้วยกลยุทธ์ของส่วนผสมที่ปลอดภัยและประสิทธิภาพที่ชัดเจน และกลายเป็นแบรนด์มาตรฐานในยุคของการบริโภคอย่างมีเหตุผล

  • ความพึงพอใจ โดยผู้บริโภคร้อยละ 51.75 มีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าและบริการเพื่อเติมเต็มความสุข อาทิ ซื้อกล่องสุ่ม Art toy ตุ๊กตา Jellycat และการชมคอนเสิร์ต ฯลฯ ในปี 2567 ขนาดตลาด ‘สินค้า ACG’ (Animation, Comics, Games) (ชื่อจีนว่า 谷子经济) มีมูลค่าถึง 168,900 ล้านหยวน (798,060 ล้านบาท) สินค้าผลพวงจากกระแส ACG ได้แก่ ฟิกเกอร์ เข็มกลัด สแตนดี้ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากจากผู้บริโภค Gen Z และ Gen A นอกจากนี้ ยังมีการร่วมมือ (collabs) ระหว่างแบรนด์สินค้าและบริการต่าง ๆ เช่น ร้านกาแฟ Luckin Coffee X Butterbear ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคอย่างดี
  • ราคา ผู้บริโภคร้อยละ 48.69 เลือกราคาเป็นปัจจัยในการตัดสินใจบริโภค จากผลสำรวจพบว่าในปี 2567 ผู้บริโภคเลือกที่จะลดการซื้อของหรูหราราคาแพงลงถึงร้อยละ 36.34 และเลือกแบรนด์ที่คุณภาพดีและราคาคุ้มค่าแทน โดยเฉพาะในด้านความงามและออกกำลังกาย

 

รายงานตลาดเชิงลึก: สำรวจศักยภาพตลาดและพฤติกรรมการบริโภคของชาวซานตงกับโอกาสของสินค้าอาหารไทย

 

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาข้อมูลการบริโภคช่วงเทศกาลลดราคา 618 ของแพลตฟอร์ม JD.COM จะพบว่านักช็อปของมณฑลซานตงมีมากติดเป็นอันดับ 3 ของประเทศ และมียอดขายขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นอันดับที่ 6 ของประเทศ เมื่อพิจารณารายเมืองในมณฑลซานตงจะพบว่า เมืองจี่หนานเป็นเมืองที่มีกำลังซื้อมากที่สุด และเมืองจ่าวจวงเป็นเมืองที่มีกำลังซื้อขยายตัวเร็วที่สุด สำหรับสินค้าจะพบว่าชาวซานตง นิยมชอปตามฤดูกาล ช่วง 618 เป็นช่วงเทศกาลตวนอู บะจ่างจึงกลายเป็นสินค้าที่มียอดขายขยายตัวเพิ่มขึ้นเร็วที่สุด รองลงมาได้แก่ จักรยานเสือหมอบ (Road Bike) จักรยานเสือภูเขา (Mountain Bike) และโซฟามัลติฟังก์ชั่น สำหรับของใช้ในชีวิตประจำวันและอาหารที่ชาวซานตงซื้อมากที่สุด ได้แก่ สวิตซ์ไฟ แป้งประกอบอาหาร ไอศกรีม นมพลาสเจอร์ไรส์ ขนมสำหรับเด็ก โดยเฉลี่ยต่อหัวอยู่ที่ 9.7 ชิ้น 6.2 ชิ้น 6.1 ชิ้น 5.8 ชิ้น 4.4 ชิ้น ตามลำดับ ส่วนความนิยมซื้อสินค้าของแต่ละช่วงวัย พบว่าผู้บริโภคอายุ 16-25 ปี นิยมซื้อสินค้าเกี่ยวกับดิจิทัล อาทิ หูฟัง คีย์บอร์ด แท็บเล็ต เม้าส์ สมาร์ตวอตช์ ผู้บริโภคอายุ 36-45 ปี นิยมซื้อสินค้าสำหรับเด็กและสินค้าอุปโภคในครัวเรือน เช่น ขวดนมจุกนม ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ขนมสำหรับเด็ก กางเกงผ้าอ้อมเด็ก น้ำยาซักผ้า/สบู่ซักผ้า ส่วนผู้สูงอายุชาวซานตงจะให้ความสำคัญกับการบริโภคอาหารและสุขภาพ โดยไม่ได้สนใจรูปลักษณ์ภายนอก นิยมซื้อเครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด ครีมปิดผมขาว แป้ง และพลาสเตอร์แปะแก้ปวด

1.5  โอกาสของสินค้าอาหารไทยในมณฑลซานตง

มณฑลที่มีอุตสาหกรรมอาหารขนาดใหญ่ คาดการณ์ว่าในปี 2570 ขนาดอุตสาหกรรมอาหารของมณฑลซานตงจะมีมูลค่ารวมประมาณ 1.5 ล้านล้านหยวน และคาดว่าในปี 2570 จำนวนผู้ประกอบการอาหารสำเร็จรูป/อาหารพร้อมทานในตลาดซานตงจะมีมากถึง 8,000 ราย และมูลค่าห่วงโซ่อุตสาหกรรมทั้งหมดกว่า 660,000 ล้านหยวน (3.102 ล้านล้านบาท) จึงคาดว่าตลาดมณฑลซานตงเป็นมณฑลศักยภาพด้านอาหารซึ่งเป็นโอกาสการส่งออกสินค้าอาหารของไทย

1.5.1 ผลไม้

จากสถิติพบว่ามณฑลซานตงมีการบริโภคผลไม้เฉลี่ยต่อหัวสูงสุดในจีน เฉลี่ย 83.5 กิโลกรัมต่อคน ด้วยมณฑลซานตงเป็นมณฑลที่มีการเกษตรขนาดใหญ่ ทรัพยากรที่สมบูรณ์ มีการปลูกผลไม้หลากหลายชนิดในเมืองเยียนไถ เหวยฟาง เฝยเฉิง และจานฮว้า เป็นต้น ทำให้ชาวซานตงมีตัวเลือกรับประทานผลไม้ที่หลากหลาย ส่งผลมีให้การบริโภคผลไม้ต่อหัวสูงเป็นอันดับหนึ่งของจีน ขณะที่ผลไม้นำเข้าก็ได้รับการตอบรับที่ดีอย่างมากจากชาวซานตง โดยเฉพาะในช่วงตรุษจีน โดยผลไม้นำเข้าที่ได้รับความนิยมสูงสุด ได้แก่ เชอรี่ แก้วมังกร บลูเบอรี่ ทุเรียน และมังคุด เป็นต้น

ผลไม้เป็นกลุ่มสินค้าสำคัญอันดับ 5 ที่มณฑลซานตงนำเข้าจากไทย โดยในปี 2567 มณฑลซานตงมีการนำเข้าผลไม้จากไทย ปริมาณ 45,158.07 ตัน ลดลงร้อยละ –28.56 คิดเป็นมูลค่า 148,903,027 เหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ -40.95

 

ตารางที่ 3 : สถิติการนำเข้าผลไม้ (Hs Code: 08) ของมณฑลซานตงจากไทย

HS สินค้า ปริมาณการนำเข้าจากไทย (ตัน) มูลค่าการนำเข้าจากไทย (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ปี 65 ปี 66 ปี 67 %r

ปี 67/66

%

สัดส่วน

ปี 65 ปี 66 ปี 67 %r

ปี 67/66

%

สัดส่วน

รวมพิกัด 08 51,119.48 63,211.67 45,158.07 -28.56 100 221.11 252.15 148.90 -40.95 100
0811 ผลไม้และถั่ว 8,954.76 11,771.11 11,059.58 -6.04 24.49 59.37 76.89 68.85 10.46 46.24
0810

081060

ผลไม้สด

ทุเรียนสด

34,022.01

25,169.69

31,948.31

24,037.84

17,986.71

10,220.10

-43.70

-57.48

39.83

56.82

139.69

127.50

129.86

119.41

58.44

50.51

-54.99

-57.70

39.25

86.43

0813 ผลไม้แห้ง 218.23 64.96 3,888.71 5,886.67 8.61 0.30 0.23 8.17 3,398.77 5.49
080112 มะพร้าวสดหรือแห้ง 1,552.29 4,048.49 9,292.90 129.54 20.58 1.19 2.85 7.51 163.02 5.05
0804 อินทผลัมสดหรือแห้ง มะเดื่อ สับปะรด อะโวคาโด ฝรั่ง มะม่วง และมังคุด 6,095.18 14738.78 2,016.85 -86.32 4.47 20.00 41.15 4.59 -88.85 3.08
080390 กล้วยสดหรือแห้ง 3.24 3.50 584.76 >9,999 1.29 0.04 0.08 0.75 825.18 0.51
080540 ส้มโอสดหรือแห้ง 273.79 636.53 328.58 -48.38 0.73 0.48 1.06 0.55 -47.70 0.38

ที่มาข้อมูล : GLOBAL TRADE ATLAS ณ มีนาคม 2568 เรียงลำดับตามมูลค่าปีล่าสุด

 

ทุเรียนและมังคุดถือว่าเป็นผลไม้ที่ยังได้รับความนิยม โดยในช่วงฤดูกาลทุเรียนของปีที่ผ่านมามีทุเรียนนำเข้าเข้าสู่ตลาดเมืองชิงต่าวเฉลี่ยประมาณ 2,000 ตันต่อวัน โดยส่วนใหญ่นำเข้ามาทางรถและทางเรือ แม้ว่าทางเรือจะสามารถขนส่งได้ในปริมาณมากแต่เนื่องจากใช้เวลาค่อนข้างนาน จึงนิยมใช้วิธีขนส่งทางรถเป็นหลัก โดยจากไทยและเวียดนามใช้เวลาลำเลียงทุเรียนผ่านภาคใต้ของจีนมายังตลาดชิงต่าวเพียง 8 วัน นอกจากนี้ จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่ายังมีโอกาสใหม่สำหรับผลไม้ไทย อาทิ ผลไม้แห้ง มะพร้าว กล้วย และสับปะรดที่มีแนวโน้มการนำเข้าขยายตัว

1.5.2 ขนมขบเคี้ยว/อาหารทานเล่น

มณฑลซานตงมีผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับขนมขบเคี้ยว/อาหารทานเล่นเกือบ 747,000 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 9.50 ของผู้ประกอบธุรกิจอาหารทานเล่นทั่วประเทศ มากเป็นอันดับ 1 ของประเทศ โดยประมาณการมูลค่าตลาดอาหารทานเล่นของมณฑลซานตงอาจสูงถึง 140,000 ล้านหยวน หรือประมาณ 658,000 ล้านบาท       (*คำนวณจากขนาดตลาดอาหารทานเล่นของจีน ปี 2565 มูลค่า 1.5 ล้านล้านหยวน x 9.5%) ซึ่งถือว่าเป็นอีกโอกาสสำหรับผู้ประกอบการขนมขบเคี้ยว/อาหารทานเล่นของไทย โดยปัจจุบันเน้นช่องทางออฟไลน์เป็นหลัก วางจำหน่ายทางซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายขนมขบเคี้ยว ร้านสะดวกซื้อ และร้าน Variety Shop เป็นต้น หากสำรวจซูเปอร์มาร์เก็ตในมณฑลซานตงจะพบว่ามีสินค้าอาหารนำเข้าที่หลากหลายประเทศ อาทิ เกาหลี ญี่ปุ่น ไทย และเยอรมนี เป็นต้น

ปัจจุบันจำนวนแบรนด์สินค้าขนมขบเคี้ยวของไทยมีเข้าสู่ตลาดมากขึ้น แต่ความหลากหลายของประเภทสินค้ายังมีน้อย และเมื่อพิจารณาจากสถิติการนำเข้าขนมขบเคี้ยวของไทยยังถือว่ายังไม่มากเท่าที่ควร ซึ่งส่วนใหญ่ซูเปอร์มาร์เก็ตจะสั่งซื้อจากผู้นำเข้าหรือตัวแทนจำหน่ายทางภาคใต้ของจีน จึงยังเป็นโอกาสอีกมากสำหรับขนมขบเคี้ยวของไทยในตลาดมณฑลซานตง

 

ตารางที่ 4 : สถิติการนำเข้าขนมขบเคี้ยวของไทยในมณฑลซานตง

Hs สินค้า มูลค่าการนำเข้าจากไทย (เหรียญสหรัฐ)
ปี 65 ปี 66 ปี 67 %r

ปี 67/66

190590 ขนมปังอื่นๆ ขนมบิสกิต ขนมอบ 48,195 247,580 292,727 18.24
190410 อาหารปรุงแต่งที่ทำจากธัญพืชหรือผลิตภัณฑ์ธัญพืชที่ทำให้พองฟู 11,857 136,553 166,764 22.12
170490 ขนมที่ทำจากน้ำตาล 158,853
190510 ขนมปังกรอบ 24,239 128,108 18,148 -85.83
190531 คุ้กกี้หวาน 12,811 1,038 -91.90
190532 แวฟเฟิลและเวเฟอร์ 1,566

ที่มา : GLOBAL TRADE ATLAS ณ มีนาคม 2568

 

ภาพที่ 6 อาหารทานเล่นของไทยที่วางจำหน่ายในร้านซูเปอร์มาเก็ต ร้านสะดวกซื้อ และ Variety Shop ในมณฑลซานตง

รายงานตลาดเชิงลึก: สำรวจศักยภาพตลาดและพฤติกรรมการบริโภคของชาวซานตงกับโอกาสของสินค้าอาหารไทย

1.5.3 เครื่องดื่ม

การบริโภคเครื่องดื่มในมณฑลซานตงมีแนวโน้มเชิงบวก กิจกรรมทางตลาดและความต้องการของผู้บริโภคสำหรับผลิตภัณฑ์เครืองดื่มยังมีอย่างต่อเนื่อง โดยผลประกอบการของบริษัทเครื่องดื่มขนาดใหญ่จำนวน 521 ราย ในปี 2566 มีรายได้สูงถึง 181,390 ล้านหยวน (852,345 ล้านบาท) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 และในปี 2567 ยอดค้าปลีกสินค้าประเภทเครื่องดื่มของบริษัทขนาดใหญ่ในมณฑลซานตงขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 (YoY) โดยเมืองชิงต่าวได้มีการจัดงานอาหารและเครื่องดื่ม 2024 Shandong (Qingdao) RCEP INTERNATIONAL FOOD AND BEVERAGE DIGITAL EXPO ยังมียอดการซื้อขายภายในงาน 1.51 ล้านล้านหยวน (7.10 ล้านล้านบาท)

ปัจจุบันแบรนด์และประเภทเครื่องดื่มของไทยที่มีวางจำหน่ายในตลาดซานตงค่อนข้างมีความหลากหลาย และเมื่อพิจารณาจากสถิติการนำเข้าเครื่องดื่มของไทยถือว่ามีทิศทางที่ดี อีกทั้งยังพบการนำเข้าสินค้าประเภทใหม่ จึงยังเป็นโอกาสอีกมากสำหรับเครื่องดื่มแบรนด์ไทยในตลาดมณฑลซานตง

 

ตารางที่ 5 : สถิติการนำเข้าเครื่องดื่มของไทยในมณฑลซานตง

Hs สินค้า มูลค่าการนำเข้าจากไทย (เหรียญสหรัฐ)
ปี 65 ปี 66 ปี 67 %r

ปี 67/66

200912 น้ำส้มไม่แช่แข็งที่มีค่า Brix ไม่เกิน 20 221,913 298,941 430,820 44.12
200990 น้ำผักผลไม้ผสมที่ไม่มีแอลกอฮอล์หรือน้ำตาล 208,089 288,503 357,567 23.94
200989 น้ำผลไม้ ถั่ว ผัก อื่นๆ ที่ไม่มีแอลกอฮอล์หรือไม่เติมน้ำตาลหรือสารให้ความหวานอื่นๆ 83,065 451,831 172,503 -61.82
200941 น้ำสับปะรดมีค่า Brix ไม่เกิน 20 24,023 13,728 90,736 560.96
200949 น้ำสับปะรด 31,613
200950 น้ำมะเขือเทศ 1,888
220299 เครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ 35,774 17,153 53,944 214.49

ที่มา : GLOBAL TRADE ATLAS ณ มีนาคม 2568

 

ภาพที่ 7 เครื่องดื่มของไทยที่วางจำหน่ายในร้านซูเปอร์มาเก็ต ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายสินค้าหลากหลายประเภท(Variety Shop) ในมณฑลซานตง

 

รายงานตลาดเชิงลึก: สำรวจศักยภาพตลาดและพฤติกรรมการบริโภคของชาวซานตงกับโอกาสของสินค้าอาหารไทย

 

1.5.4 เครื่องปรุงรส

จากรายงานสำรวจตลาดเครื่องปรุงรสและผลิตภัณฑ์หมักของมณฑลซานตง พบว่าขนาดตลาดเครื่องปรุงรสและผลิตภัณฑ์หมักของมณฑลซานตงมีมูลค่าตลาดราวแสนล้านหยวน มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 5 ต่อปี นอกจากนี้ พบว่าชาวซานตงอายุระหว่างปี 18-69 ปี มีการบริโภคเกลือและเครื่องปรุงรสเฉลี่ย 12.5 กรัมต่อวัน ซึ่งเป็นปริมาณมากกว่า 2 เท่าของปริมาณที่แนะนำของประเทศที่ 6 กรัม

ปัจจุบันเครื่องปรุงรสของไทยวางมีจำหน่ายในมณฑลซานตงหลายประเภท แต่แบรนด์ยังถือว่ามีจำกัด ทั้งนี้ สถิติการนำเข้าเครื่องปรุงของไทยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาหารไทยเป็นที่รู้จักและนิยมมากขึ้นในตลาดมณฑลซานตง จึงทำให้ความต้องการซอสและเครื่องปรุงรสไทยมาประกอบอาหาร นอกจากนี้ ในมณฑลซานตงยังพบร้านอาหารไทยเปิดใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีร้านอาหารไทยในมณฑลซานตงจำนวนกว่า 50 ร้านโดยร้านที่ได้รับตรา Thai SELECT แล้วทั้งสิ้น 6 ร้าน ตั้งอยู่ที่เมืองชิงต่าว 3 ร้าน เมืองเหวยฟาง 1 ร้าน เมืองจี่หนาน 1 ร้าน และเมืองชวีฟู่ 1 ร้าน เครื่องปรุงรสจึงเป็นอีกสินค้าที่ถือว่ามีโอกาสในตลาดมณฑลซานตง

 

ตารางที่ 6 : สถิติการนำเข้าเครื่องปรุงรสของไทยในมณฑลซานตง

Hs สินค้า มูลค่าการนำเข้าจากไทย (เหรียญสหรัฐ)
ปี 65 ปี 66 ปี 67 %r

ปี 67/66

21039090 ซอสอื่นๆ เครื่องปรุงรสผสม 918,115 1,100,295 1,580,660 43.66

ที่มา : GLOBAL TRADE ATLAS ณ มีนาคม 2568

 

ภาพที่ 8 เครื่องปรุงรสของไทยที่วางจำหน่ายในร้านซูเปอร์มาเก็ต ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายสินค้าหลากหลายประเภท(Variety Shop) ในมณฑลซานตง

รายงานตลาดเชิงลึก: สำรวจศักยภาพตลาดและพฤติกรรมการบริโภคของชาวซานตงกับโอกาสของสินค้าอาหารไทย

 

1.5.5 อาหารทะเล

จากสถิติในปี 2566 ชาวมณฑลซานตงบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารทะเลเฉลี่ยต่อหัวอยู่ที่ 53.64 กิโลกรัมต่อคน เป็นอันดับ 6 ของประเทศ ด้วยมณฑลซานตงเป็นแหล่งอาหารทะเล มีเมืองชายฝั่งทะเลหลายเมือง เช่น เมืองเวยไห่มีปริมาณการบริโภคอาหารทะเลสูงที่สุด มีการคาดการณ์ว่าความต้องการอาหารทะเลของชาวซานตงจะขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการยกระดับคุณภาพชีวิต และแนวคิดด้านการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพของคนยุคใหม่

 

ตารางที่ 7 : สถิติการนำเข้าอาหารทะเลของไทยในมณฑลซานตง

Hs สินค้า มูลค่าการนำเข้าจากไทย (เหรียญสหรัฐ)
ปี 65 ปี 66 ปี 67 %r

ปี 67/66

030617 กุ้งแช่แข็ง 27,030,218 13,213,134 7,006,430 -46.97
200950 แมงกะพรุน 387,104 2,772,101 4,053,078 46.21
030614 ปู หอยปรุงสุก โดยการนึ่ง/แช่แข็ง 439,769
030389 ปลาแช่แข็ง 221,913 298,941 430,820 44.12
030636 กุ้งสดหรือแช่แข็ง     118,537 355,610 412,902 16.11
030499 เนื้อปลาแช่แข็ง 208,089 288,503 357,567 23.94

ที่มา : GLOBAL TRADE ATLAS ณ มีนาคม 2568

 

  1. กฎระเบียบ/ มาตรการนำเข้า

สำนักงานศุลกากรจีน (GACC) ได้มีการออกประกาศระเบียบว่าด้วยการขึ้นทะเบียนผู้ผลิตอาหารนำเข้าจากต่างประเทศ (Decree 248) โดยกำหนดให้ ผู้ผลิต ผู้แปรรูป และสถานที่เก็บสินค้าที่ผลิตอาหาร ส่งออกมายังจีน จะต้องมีการขึ้นทะเบียนผู้ผลิตก่อน จึงจะสามารถส่งออกไปจีนได้ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นมา

ระเบียบ 248 มีข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง หลักๆ ได้แก่

  • ผู้ผลิตสินค้าอาหารจากต่างประเทศที่จะส่งไปจีน ต้องมีการขึ้นทะเบียนกับ GACC และดำเนินการตามกฎระเบียบข้อบังคับด้านความปลอดภัยอาหารของจีน ก่อนที่จะมีการส่งออก
  • สินค้าที่ส่งไปจีน ต้องมีการติดหมายเลขการขึ้นทะเบียนลงบนบรรจุภัณฑ์ทั้งภายใน (บนตัวสินค้าที่มีการจำหน่าย) และภายนอกให้ชัดเจน
  • GACC หรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายอาจเข้ามาตรวจสอบโรงงานที่ขึ้นทะเบียน (ทั้งผ่านทางออนไลน์หรือส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจ) หากพบว่าการดำเนินการไม่เป็นไปตามข้อกำหนดจะสามารถระงับการส่งออกไปจีนได้
  • ทะเบียนจะมีอายุ 5 ปี และต้องมีการต่ออายุล่วงหน้า 3 – 6 เดือน

 

ภาพที่ 9 ตัวอย่างการติดหมายเลขการขึ้นทะเบียนฯ

รายงานตลาดเชิงลึก: สำรวจศักยภาพตลาดและพฤติกรรมการบริโภคของชาวซานตงกับโอกาสของสินค้าอาหารไทยรายงานตลาดเชิงลึก: สำรวจศักยภาพตลาดและพฤติกรรมการบริโภคของชาวซานตงกับโอกาสของสินค้าอาหารไทย

ที่มา: คู่มือการขึ้นทะเบียนผู้ผลิตอาหารเพื่อส่งออกไปจีน ตามระเบียบ 248 โดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

 

ระเบียบ 248 กำหนดรายละเอียดการขึ้นทะเบียนผู้ผลิตสินค้าแยกออกเป็น 2 กรณี ได้แก่

1) สินค้าอาหาร 18 ประเภท ต้องขึ้นทะเบียนผ่านหน่วยงานกำกับดูแล (CA) ของประเทศผู้ส่งออก

2) สินค้านอกเหนือจาก 18 ประเภทที่จีนกำหนด ขึ้นทะเบียนด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ (ไม่ผ่าน CA)  https://cifer.singlewindow.cn

 

ตารางที่ 8 : รายการสินค้าประเภทต่างๆ ที่ศุลกากรจีน (GACC) กำหนด

รายการสินค้า หน่วยงานรับผิดชอบ
สินค้าอาหาร 18 ประเภท ที่ต้องขึ้นทะเบียนผ่านหน่วยงานกำกับดูแล (CA) ของประเทศผู้ส่งออก
เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์

(meat and meat products)

กรมปศุสัตว์

 

ผลิตภัณฑ์ไส้บรรจุไส้กรอก

(sausage casing)

กรมปศุสัตว์

 

ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ (aquatic products)

ไม่ครอบคลุมถึงสัตว์น้ำมีชีวิต (living aquatic animals)

กรมประมง

 

ผลิตภัณฑ์นม

(dairy products)

กรมปศุสัตว์
รังนกและผลิตภัณฑ์จากรังนก

(bird nests and bird nest products)

กรมปศุสัตว์

 

ผลิตภัณฑ์จากผึ้ง

(bee products)

กรมปศุสัตว์

 

ไข่และผลิตภัณฑ์จากไข่

(eggs and egg products)

กรมปศุสัตว์

 

น้ำมันและไขมันสำหรับการบริโภค

(edible oils and fats)

กรมวิชาการเกษตร
ผลิตภัณฑ์จากข้าวสาลีสำเร็จรูป

(stuff pastry products)

ประสานงานกับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง โดยพิจารณาจากองค์ประกอบหลักของสินค้า

– กรมปศุสัตว์ (หากมีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบ)

– กรมประมง (หากมีสัตว์น้ำเป็นส่วนประกอบ)

เมล็ดธัญพืชสำหรับการบริโภค

(edible grains)

กรมวิชาการเกษตร
ผลิตภัณฑ์เมล็ดธัญพืชบดและมอลต์เพื่อการอุตสาหกรรม

(milled grain industry products and malt)

กรมวิชาการเกษตร
ผักสดและผักอบแห้ง

(fresh and dehydrated vegetables)

และถั่วอบแห้ง (dried beans)

กรมวิชาการเกษตร
เครื่องปรุงรส

(condiments/seasoning)

กรมวิชาการเกษตร
ถั่วเปลือกแข็งและเมล็ดพืช

(nuts and seeds)

กรมวิชาการเกษตร

 

ผลไม้แห้ง

(dried fruits)

กรมวิชาการเกษตร
กาแฟและเมล็ดโกโก้ที่ยังไม่ผ่านการคั่ว

(unroasted coffee beans and cocoa beans)

กรมวิชาการเกษตร
อาหารสำหรับวัตถุประสงค์พิเศษ

(food for special dietary purposes)

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
อาหารเพื่อสุขภาพ

(Health foods)

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
สินค้าที่สามารถ ขึ้นทะเบียนด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ (ไม่ผ่าน CA) 
สินค้านอกเหนือจาก 18 รายการข้างต้น สถานประกอบการ (หรือผู้แทน) สามารถขึ้นทะเบียนได้เองโดยตรงกับ GACC ผ่านทาง https://cifer.singlewindow.cn/

ที่มา: รายงานกฎระเบียบการนำเข้าสินค้าอาหารสู่ตลาดจีนของ สคต.7 แห่งในจีน และคู่มือการขึ้นทะเบียนผู้ผลิตอาหารเพื่อส่งออกไปจีน ตามระเบียบ 248 โดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

*** หมายเหตุ: รายการสินค้าอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ผู้ประกอบการต้องมีการตรวจสอบในระบบ CIFER เพื่อยืนยันข้อมูล

 

ผู้ประกอบการสามารถดาวโหลดคู่มือการขึ้นทะเบียนผู้ผลิตอาหารเพื่อการส่งออกไปจีน ตามระเบียบ 248 ที่จัดทำโดยสำนักมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ได้ที่ https://e-book.acfs.go.th/Book_view/340

 

  1. ช่องทางในการกระจายสินค้าที่มีศักยภาพ

ช่องทางกระจายสินค้าอาหารหลักของมณฑลซานตง ได้แก่ ตลาดค้าส่ง ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าแบบดั้งเดิม (ร้านชำ ร้านสะดวกซื้อที่ไม่ใช่แฟรนไชน์) และอีคอมเมิร์ซ เป็นต้น

  • ตลาดค้าส่ง อาทิ ตลาดค้าส่งสินค้าเกษตรนานาชาติตงฟางติ่งซิ่น ตลาดค้าส่งสินค้าผักและผลไม้เฉิงหยาง เมืองชิงต่าว ตลาดค้าส่งสินค้าเกษตรป๋อฟา ซานตง เป็นต้น
  • ซูเปอร์มาร์เก็ต/ไฮเปอร์มาร์เก็ต

 

ตารางที่ 9 : รายชื่อซูเปอร์มาร์เก็ตในมณฑลซานตง

ลำดับ ลำดับจาก

Top 100

ชื่อบริษัท แบรนด์
1 8 家家悦集团股份有限公司

Jiajiayue Group Co., Ltd

家家悦/世伴 JIAJIAYUE/SPAR
2 12 利群集团股份有限公司

Liqun Group

利群 LIQUN
3 21 山东潍坊百货集团股份有限公司

Weibai Group

佳乐家/中百

JIA LE JIA /ZHONGBAI

4 22 银座集团股份有限公司

Inzone Group Co.,ltd.

银座 INZONE
5 38 烟台市振华百货集团股份有限公司

Zhenhua Group

振华超市 ZHENHUA MART
6 42 青岛利客来集团股份有限公司

บริษัท ชิงต่าวลี่เค้อหลายจี๋ถวนกู่เฟิ้น จำกัด

利客来 LIKELAI
7 46 山东全福元商业集团有限责任公司

SHANDONG QUAN FU YUAN COMMERCIAL GROUP

全福元 QUANFUYUAN
8 47 济南华联超市有限公司

บริษัท จี่หนานหัวเหรียนเชาซื่อ จำกัด

济南华联 HUALIAN
9 48 山东新星集团有限公司

Shandong Xingxing Group

新星 XINXING
10 75 山东胜利油田胜大超市有限公司

บริษัท ซานตง เซิ้งลี่โหยวเถียนเซิ้งต้าเชาซื่อ จำกัด

胜大 SHENGDA
11 88 山东德百集团超市有限公司

Debai Group

德百超市 DEBAI MARKET
12 93 山东龙贵超市有限公司

บริษัท ซานตงหลงกุ้ยเชาซื่อ จำกัด

济宁龙贵 LONGGUI

*หมายเหตุ: รายชื่อจากอันดับ Top 100 ปี 2023 โดยสมาคม China Chain-Store & Franchise Association

 

 

ตารางที่ 10 : รายชื่อห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ตอื่นๆ ในมณฑลซานตง

ลำดับ เมือง ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ
1 ชิงต่าว Granvida生活超市

แกรนวิด้า เซิงหัวเชาซื่อ

Granvida สาขา Hisense Plaza
2 ชิงต่าว 永旺东部购物中心

หย่งว่างตงปู้โก้วอู้จงซิน

Aeon
3 ชิงต่าว 大润发

ต้าหรุนฟา

ไฮเปอร์มาร์เก็ต RT-Mart
4 ชิงต่าว 华润万象

หัวรุ่นว่านเซี้ยง

ซูเปอร์มาร์เก็ต Ole
5 ชิงต่าว 永旺购物广场合肥路店

หย่งว่างโก้วอู้กว่างฉ่างเหอเฟยลู่เตี้ยน

Aeon สาขา HEFEI ROAD
6 ชิงต่าว 麦德龙(四方)

ม้ายเต๋อหลง (ซื่อฟาง)

ห้าง Metro
7 ชิงต่าว 丽达超市

ลี่ต๋าเชาซื่อ

Leader life super
8 ชิงต่าว 家乐福

เจียเล้อฝู

ห้าง Carrefour
9 ชิงต่าว 盒马鲜生

เหอม่าเซียนเซิง

Fresh Hippo
10 จี่หนาน 恒隆广场

เหิงหลงกว่างฉ่าง

Parc 66
11 จี่หนาน/ชิงต่าว 万象城

ว่านเซี้ยงเฉิง

MIX C
12 จี่หนาน 和谐广场

เหอเสียกว่างฉ่าง

Harmony Plaza
13 เหวยฟาง 银座商城

อิ้นจั้วซางเฉิง

INZONE (Yinzuo Shangcheng)
14 เหวยฟาง 泰华城

ไท่หัวเฉิง

Sino Mall (Taihua Cheng)

 

  1. กลยุทธ์การเจาะตลาด

เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้าไทยร่วมกับพันธมิตรในเขตอาณา/กิจกรรมประชาสัมพันธ์ตรา Thai SELECT งาน Top Thai Brand ของสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศในภูมิภาคจีน ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี และงานแสดงสินค้าในมณฑลซานตง

 

ตารางที่ 11 : รายชื่องานแสดงสินค้าอาหารในมณฑลซานตง

ชื่องาน ช่วงเวลาจัดงาน สถานที่
全国食品博览会

China National Food Expo

23-25 พฤษภาคม

ของทุกปี

เมืองจี่หนาน
中国(山东)国际糖酒食品交易会

Shandong China International Food And Drinks Fair

28-29 เมษายน

ของทุกปี

เมืองจี่หนาน
青岛渔博会

China Fisheries & Seafood Expo

29-31 ตุลาคม

ของทุกปี

เมืองชิงต่าว

หมายเหตุ: วันที่จัดงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี

 

  1. ผลกระทบด้านเศรษฐกิจต่อประเทศไทย และแนวทางการปรับตัวของภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการไทย

มณฑลซานตงมีขนาดเศรษฐกิจอันดับ 3 ของจีน จำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศจีน มีข้อได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้งเป็นเมืองท่าการค้าสำคัญของจีนตอนเหนือ ซึ่งอยู่ใกล้ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ มีท่าเรือที่สำคัญหลายแห่ง ได้แก่ ท่าเรือชิงต่าว ท่าเรือรื้อจ้าว และท่าเรือเยียนไถ ซึ่งมีปริมาณการขนส่งสินค้ามากเป็นอันดับ 4 อันดับที่ 6 และอันดับที่ 9 ของประเทศจีน มีรากฐานอุตสาหกรรมหลักที่มั่นคงเป็นข้อได้เปรียบ อาทิ ปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์ทั่วไป และยานยนต์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของมณฑล และปัจจุบันรัฐบาลจีนยังส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงความร่วมมือ RCEP กับประเทศสมาชิกอย่างต่อเนื่อง มณฑลซานตงจึงเป็นอีกมณฑลทางตอนเหนือที่มีโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยในการขยายตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการของไทย โดยเฉพาะสินค้าอาหารไทย ซึ่งสามารถพิจารณาปัจจัยในการเข้ามาขยายตลาดการบริโภคของมณฑลซานตง ดังต่อไปนี้

1) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของชาวมณฑลซานตงเชิงลึก ศึกษากลุ่มผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มที่ต้องการขยาย เพื่อให้สามารถวางแผนตลาดและกลุ่มผู้บริโภคได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น

2) แสวงหาคู่ค้า/พันธมิตรท้องถิ่นในเมืองหลัก เช่น เมืองชิงต่าว (เมืองท่าการค้า) เมืองจี่หนาน (เมืองเอก) รวมถึงเมืองรองที่มีศักยภาพ อาทิ เมืองเยียนไถ เมืองเหวยฟาง และเมืองหลินอี๋ เป็นต้น

3) ลงทุนในด้านการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ร่วมมือกับผู้มีชื่อเสียงในท้องถิ่น สร้างการรับรู้ ผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียชื่อดังของจีน ในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย

4) ร่วมมือกับแบรนด์ท้องถิ่น หรือ IP ชื่อดัง เพื่อดึงดูดผู้บริโภคกลุ่มคนหนุ่มสาวที่เป็นกำลังซื้อหลัก

5) จับกระแสการบริโภคเพื่อสุขภาพ ซึ่งเป็นแนวคิดการรับประทานอาหารในปัจจุบันของผู้บริโภค

6) ราคา ตั้งราคาให้มีความเหมาะสม เนื่องจากราคายังเป็นปัจจัยลำดับต้นๆ ในการตัดสินใจซื้อสินค้าในยุคเศรษฐกิจชะลอตัว

7) คุณภาพและความปลอดภัย โดยที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันกำกับดูแลและรักษามาตรฐานอย่างเคร่งครัด เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของสินค้าอาหารไทย รักษาความเชื่อมั่นความไว้วางใจต่อสินค้าอาหารที่ไทยมีศักยภาพ เพื่อขยายโอกาสการเติบโตในตลาดมณฑลซานตง

 

แหล่งที่มา :

http://tjj.shandong.gov.cn/art/2025/1/20/art_6227_10316046.html

https://baijiahao.baidu.com/s?id=1824235732207880456&wfr=spider&for=pc

https://baijiahao.baidu.com/s?id=1804904040874874457&wfr=spider&for=pc

https://news.qingdaonews.com/wap/2024-05/09/content_23568158.htm

https://finance.sina.cn/2022-08-18/detail-imizmscv6714998.d.html

http://tjj.shandong.gov.cn/art/2024/9/27/art_6109_10314468.html

https://m.163.com/dy/article/JCH1PT4905148U2B.html

http://www.people.com.cn/24hour/n/2012/1210/c25408-19840330.html

https://www.renrendoc.com/paper/378706061.html

https://www.jiuzhan.com/9622.html

https://e-book.acfs.go.th/Book_view/340

https://finance.sina.cn/sa/2007-01-12/detail-ikknscsi4072621.d.html

https://baijiahao.baidu.com/s?id=1823624530196118356&wfr=spider&for=pc

https://baijiahao.baidu.com/s?id=1804904040874874457&wfr=spider&for=pc

https://baijiahao.baidu.com/s?id=1668545517359203707&wfr=spider&for=pc

https://baijiahao.baidu.com/s?id=1809788804372666293&wfr=spider&for=pc

https://baijiahao.baidu.com/s?id=1769848432022494595&wfr=spider&for=pc

https://www.toutiao.com/article/7391478121683321378/?upstream_biz=doubao&source=m_redirect

 

******************************

 

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองชิงต่าว

 

 

 

 

thThai