สถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศของสวิตเซอร์แลนด์ เดือนกุมภาพันธ์ 2025

  1. ภาพรวมเศรษฐกิจประเทศสวิตเซอร์แลนด์

เศรษฐกิจของสวิตเซอร์แลนด์ในปัจจุบันมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในไตรมาสที่สี่ของปี 2024 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขยายตัวร้อยละ 0.5 ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 0.2 การเติบโตนี้ส่วนใหญ่มาจากภาคอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และเภสัชกรรมที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 ​อย่างไรก็ตาม การเติบโตทางเศรษฐกิจตลอดปี 2024 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ลดลงจากร้อยละ 1.2 ในปี 2023 และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวของสวิตเซอร์แลนด์ที่ร้อยละ 1.8 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการชะลอตัวนี้รวมถึงความต้องการที่ลดลงจากตลาดหลัก เช่น เยอรมนีและจีน ​

เศรษฐกิจสวิตเซอร์แลนด์ยังคงเผชิญกับความท้าทายจากความไม่แน่นอนในเศรษฐกิจโลกและการชะลอตัวของตลาดส่งออกหลัก ในปี 2025 รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ (State Secretariat for Economic Affairs: SECO) ได้ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจลงเหลือร้อยละ 1.4 จากเดิมที่ร้อยละ 1.5 เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนในสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศ นอกจากนี้ การคาดการณ์การเติบโตสำหรับปี 2026 ก็ถูกปรับลดลงเช่นกันเป็นร้อยละ 1.6 จากเดิมที่ร้อยละ 1.7 ​แม้จะมีการเติบโตในภาคเภสัชกรรม แต่ภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในภาวะซบเซา นอกจากนี้ Swissmechanic สมาคมผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกล อิเล็กโทรนิกส์ และโลหะ ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ผลิตขนาดกลางและย่อม รายงานว่าประมาณร้อยละ 60 ของบริษัทประสบปัญหายอดสั่งซื้อใหม่ลดลง ​

 

  1. ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศสวิตเซอร์แลนด์

การส่งออกของสวิตเซอร์แลนด์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2025 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 คิดเป็นมูลค่า 24,370 ล้านฟรังก์สวิสเมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2025 ที่มีการส่งออกลดลงอย่างมีนัยสำคัญในเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ การนำเข้าก็เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2025 ร้อยละ 7.0 คิดเป็นมูลค่า 20,092 ล้านฟรังก์สวิส เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ทำให้สวิตเซอร์แลนด์ยังคงเกินดุลการค้าคิดเป็นมูลค่า 4,227 ล้านฟรังก์สวิส

สถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศของสวิตเซอร์แลนด์ เดือนกุมภาพันธ์ 2025สถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศของสวิตเซอร์แลนด์ เดือนกุมภาพันธ์ 2025

  • ส่งออก

การเพิ่มขึ้นโดยรวมของการส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์ 2025 ได้รับผลส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มการส่งออกในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์และเภสัชกรรม (+1.5 พันล้านฟรังก์สวิส, ร้อยละ12) นอกจากนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรและอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงเครื่องมือวัดความแม่นยำ ก็มียอดส่งออกที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกของกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องประดับแฟชั่นและอัญมณี (–388 ล้านฟรังก์สวิส) และนาฬิกา (–137 ล้านฟรังก์สวิส) ลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2024

 

  • นำเข้า

การเพิ่มขึ้นของมูลค่าการนำเข้าในเดือนกุมภาพันธ์ 2025 ส่วนใหญ่มาจากมูลค่าการนำเข้าในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เคมีและยา (+1.2 พันล้านฟรังก์สวิส) และอุตสาหกรรมเครื่องประดับแฟชั่นและเครื่องประดับอื่นๆ (+194 ล้านฟรังก์สวิส)
นอกจากนี้ การนำเข้าแหล่งพลังงานก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 ขณะเดียวกันการนำเข้าโลหะและยานพาหนะ ตลอดจนเครื่องจักรและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลดลงรวม 125 ล้านฟรังก์สวิส

ทั้งนี้ สวิตเซอร์แลนด์มีการนำเข้าจากอเมริกาเหนือลดลงร้อยละ 5.3  แต่มีการนำเข้าจากยุโรปและเอเชียเพิ่มขึ้น
โดยการนำเข้าจากยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 โดยเฉพาะจากสโลวีเนีย (ผลิตภัณฑ์ยา) และการนำเข้าจากเอเชียเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ซึ่งมูลค่าการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มากจากประเทศเกาหลีใต้ จีน และอินเดีย รวมเป็นมูลค่า 132 ล้านฟรังก์สวิส

3. การค้าระหว่างประเทศของไทยและสวิตเซอร์แลนด์[1]

มูลค่าการค้า ไทย – สวิตเซอร์แลนด์

(ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

มูลค่าการส่งออก

(ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

มูลค่าการนำเข้า

(ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

2567 2568 2567 2568 2567 2568
ม.ค.-ก.พ. +/- (%) ม.ค.-ก.พ. +/- (%) ม.ค.-ก.พ. +/- (%)
10,857.61 1,840.67 -6.26 3,907.54 1,428.88 +108.06 6,950.07 411.80    -75.29
ประเทศไทยเกินดุลการค้า 1,017.08 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (+174.24 %)

 

3.1 สินค้าส่งออก 10 อันดับแรกของไทย
ชื่อสินค้า มูลค่า: ล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราขยายตัว
(%)
2567 2567

(ม.ค.-ก.พ.)

2568

(ม.ค.-ก.พ.)

1. อััญมณีและเครื่องประดับ 3,312.54 194.11 1,334.21 587.33
2. นาฬิกาและส่วนประกอบ 213.44 42.47 32.64 -23.15
3. เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ 0.18 0.07 11.45 16,304.58
4. อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 38.07 6.18 6.07 -1.76
5. เครื่องใช้สำหรับเดินทาง 42.04 9.56 5.08 -46.86
6. แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า 34.21 3.89 4.39 12.96
7. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล 31.70 4.01 3.83 -4.59
8. ข้าว 15.47 2.10 2.62 25.02
9. สินค้าอุตสาหกรรมอื่น ๆ 14.46 1.95 2.31 18.86
10. ผลิตภัณฑ์พลาสติก 16.26 3.23 2.28 -29.47

 

3.2 สินค้านำเข้า 10 อันดับแรกของไทย
ชื่อสินค้า มูลค่า: ล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราขยายตัว

(%)

2567 2567

(ม.ค.-ก.พ.)

2568

(ม.ค.-ก.พ.)

1. เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ 5,499.22 1,432.36 190.92 -86.67
2. นาฬิกาและส่วนประกอบ 590.03 99.60 93.44 -6.18
3. ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม 183.80 35.42 29.02 -18.07
4. เครื่องประดับอัญมณี 64.60 11.23 15.51 38.14
5. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 123.11 22.89 14.86 -35.09
6. เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การแพทย์ 77.74 12.84 12.39 -3.49
7. เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 97.17 7.85 10.11 28.74
8. เคมีภัณฑ์ 42.29 5.06 7.02 38.94
9. แผงวงจรไฟฟ้า 29.32 6.23 5.27 -15.45
10. เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ 14.95 2.42 2.71 11.85

[1] ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค. 2568)
State Secretariat for Economic Affairs: SECO
www.bazg.admin.ch
Photo by Alain ROUILLER on Unsplash

thThai