- ภาพรวมเศรษฐกิจ/ สถานการณ์สำคัญ
สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศของโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025 (ณ เดือนมกราคม 2568) มีมูลค่าทั้งสิ้น 75,167.373 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่ยังคงลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ฮ่องกง 4) สหราชอาณาจักร และ 5) ไทย ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 5 มูลค่า 4,496.294 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 6.16 โดยมีโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จำนวน 106 โครงการ
1.1 เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) รายงานล่าสุด (ข้อมูล ต.ค. 67) ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของเมียนมา (GDP) ปี 67 ขยายตัวร้อยละ 1 อัตราเงินเฟ้อ ปี 67 อยู่ที่ร้อยละ 22 และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (GDP per Capita) ปี 67 อยู่ที่ระดับ 1,179 เหรียญสหรัฐฯ รวมทั้งคาดการณ์ ปี 68 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของเมียนมา (GDP) ปี 68 คาดว่าขยายตัวร้อยละ 1.08 อัตราเงินเฟ้อ ปี 68 คาดว่าร้อยละ 14.20 และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (GDP per Capita) ปี 68 คาดว่า 1,187 เหรียญสหรัฐฯ ดังตาราง
ตารางที่ 1 – เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจเมียนมา
ตัวชี้วัดทาง
เศรษฐกิจที่สำคัญ |
ปี 2561
|
ปี 2562
|
ปี 2563
|
ปี 2564
|
ปี 2565 | ปี 2566 | ปี 2567
|
ปี 2568
(คาดการณ์) |
GDP Growth (%) | 6.4 | 6.8 | 3.2 | -10.49 | -3.96% | 2.54% | 1.02% | 1.08% |
GDP (billions of US$) | 66.7 | 68.8 | 81.26 | 68.05 | 61.77 | 64.51 | 64.28 | 65.01 |
GDP per Capita (US$) | 1,270 | 1,300 | 1,530 | 1,271 | 1,146 | 1,190 | 1,179 | 1,187 |
Inflation (%) | 5.94 | 8.63 | 5.73 | 3.64 | 18.39 | 27.10 | 22.00 | 14.20 |
ที่มา: IMF https://www.imf.org/en/Publications/WEO/weo-database/2024/October
1.2 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบอัตราแลกเปลี่ยนเงินจ๊าตต่อสกุลเงินสำคัญ มี.ค. 67 และ มี.ค. 68
ประเทศ/สหภาพ | สกุลเงิน | อัตราทางการ
สิ้นเดือน มี.ค. 67 |
อัตราทางการ
สิ้นเดือน มี.ค. 68 |
อัตราตลาดออนไลน์
สิ้นเดือน มี.ค. 68 |
อัตราตลาด
สิ้นเดือน มี.ค. 68 |
USA | 1 USD | 2,100.0 MMK | 2,100.0 MMK | 3,598.00 MMK | 4,400.0 MMK |
Euro | 1 EUR | 2,278.50MMK | 2,267.27 MMK | 3,884.58 MMK | 4,690.0 MMK |
Singapore | 1 SGD | 1,562.30 MMK | 1,568.98 MMK | 2,688.18 MMK | 3,280.0 MMK |
Thailand | 1 THB | 57.80 MMK | 61.88 MMK | 106.03 MMK | 128.2 MMK |
ข้อมูลจากธนาคารกลางเมียนมา : https://forex.cbm.gov.mm/index.php/fxrate, Myanmar Market Price Application
1.3 ภาวะการลงทุน
1.3.1 มูลค่าการลงทุนตามรายประเทศนักลงทุนสำคัญ
ภาพรวมด้านการลงทุนทางตรงของต่างประเทศในเมียนมา (FDI) ในเดือนเมษายน – มกราคม 2568 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเมียนมา (Myanmar Investment Commission : MIC) อนุมัติโครงการไปแล้ว คิดเป็นมูลค่า 656.151 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ดังตาราง
ตารางที่ 3 – ประเทศที่มีการลงทุนทางตรง FDI ในเมียนมา เดือนเมษายน – มกราคม 2568
อันดับ | ประเทศ | มูลค่าการลงทุน
(ล้านเหรียญสหรัฐ) เม.ย. – ม.ค. 68 |
สัดส่วน (%) |
1 | สิงคโปร์ | 446.658 | 68% |
2 | ไทย | 46.155 | 7.03% |
3 | จีน | 83.192 | 12.67% |
4 | อินโดนีเซีย | 20.892 | 3.18% |
5 | ฮ่องกง | 21.683 | 3.30% |
6 | อินเดีย | 7.088 | 1.08% |
7 | ไต้หวัน | 8.059 | 1.22% |
8 | อังกฤษ | 2.519 | 0.38% |
9 | เกาหลีใต้ | 10.582 | 1.61% |
10 | ญี่ปุ่น | 1.673 | 0.25% |
รวม | 656.151 | 100% |
https://www.dica.gov.mm (ข้อมูลอัปเดตล่าสุด ถึง ม.ค. 68)
ตารางที่ 4 – มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่เคยได้รับอนุญาตสะสม จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025
https://www.dica.gov.mm (ข้อมูลอัปเดตล่าสุด ถึง ม.ค. 68)
สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่เคยได้รับอนุญาตสะสม จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025 (ณ เดือนมกราคม 2568) มีมูลค่าทั้งสิ้น 96,013.316 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่เข้ามาลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ไทย 4) ฮ่องกง และ 5) สหราชอาณาจักร ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 3 มูลค่า 11,680.828 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 12.46 โดยมีโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้ว จำนวน 157 โครงการ
ตารางที่ 5 – มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025
https://www.dica.gov.mm (ข้อมูลอัปเดตล่าสุด ถึง ม.ค. 68)
สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศของโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025 (ณ เดือนมกราคม 2568) มีมูลค่าทั้งสิ้น 75,167.373 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่ยังคงลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ฮ่องกง 4) สหราชอาณาจักร และ 5) ไทย ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 5 มูลค่า 4,496.294 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 6.16 โดยมีโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จำนวน 106 โครงการ
1.3.2 มูลค่าการลงทุนตามประเภทสาขาการลงทุนที่สำคัญ
ในส่วนของอุตสาหกรรมที่ต่างชาติลงทุนในเมียนมาของปีงบประมาณ 2024 – 2025 ในเดือนเมษายน – มกราคม 2568 รายละเอียดดังตาราง
ตารางที่ 6 – อุตสาหกรรมที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในเมียนมา
ปีงบประมาณ 2024-2025 (เม.ย. – ม.ค. 68)
อันดับ | ประเภทธุรกิจ | มูลค่า
(ล้านเหรียญสหรัฐ) เม.ย.– ม.ค. 68 |
สัดส่วน (%) |
1 | Transport& Communication | 87.715 | 29.32% |
2 | Manufacturing | 148.645 | 49.69% |
3 | Services | 51.068 | 17.07% |
4 | Power | 8.501 | 2.84% |
5 | Livestock&Fisheries | 2.657 | 0.88% |
6 | Agriculture | 0.525 | 0.17% |
รวม | 299.111 | 100% |
https://www.dica.gov.mm (ข้อมูลอัปเดตล่าสุด ถึง ม.ค. 68)
ตารางที่ 7 สาขาการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2024-2025
https://www.dica.gov.mm (ข้อมูลอัปเดตล่าสุด ถึง ม.ค. 68)
2. สถานการณ์การค้า (การนำเข้า-ส่งออก) ของเมียนมา
1) สถิติการค้าระหว่างประเทศของเมียนมา (ข้อมูล GTA: ม.ค. 68)
ตารางที่ 8 – มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของเมียนมา (มกราคม 2568)
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
Export | Import | Trade Volume | ||||||
2025 | 2024 | % | 2025 | 2024 | % | 2025 | 2024 | % |
Jan | Jan | change | Jan | Jan | change | Jan | Jan | change |
1,424 | 1,678 | -15% | 1,826 | 2,054 | -11% | 3,250 | 3,732 | -12% |
GTA: Global Trade Atalas
ในเดือนมกราคม 2568 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศโดยรวมของเมียนมามีมูลค่า 3,250 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยในส่วนของการส่งออกมีมูลค่า 1,424 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 15% การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศของเมียนมามีมูลค่า 1,826 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 11 ทั้งนี้ ในเดือนมกราคม 2568 เมียนมาได้ดุลการค้าเป็นมูลค่า 402 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าที่เมียนมาส่งออก ที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องแต่งกาย ก๊าซธรรมชาติ พืชพันธุ์ ผักต่างๆ สินแร่ รองเท้า ยางพารา ปลา สัตว์น้ำ ไม้ เมล็ดน้ำมัน อัญมณี เป็นต้น
สินค้าที่เมียนมานำเข้า ที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องจักรกล ผ้าทอ เส้นด้าย ยานพาหนะ พลาสติก เหล็ก ปุ๋ย เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ยา เป็นต้น
2) ข้อมูลล่าสุดของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา (เม.ย. – มิ.ย. 67)
* กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เปิดเผยข้อมูลล่าสุดเดือน มิ.ย. 67 โดยข้อมูลหลังจากนั้นไม่มีการเผยแพร่เพิ่มเติม*
สินค้าส่งออกสำคัญของเมียนมา
ตารางที่ 9 – มูลค่าการส่งออกสินค้าที่สำคัญของเมียนมา (เมษายน – มิถุนายน 2567) ที่มา : กระทรวงพาณิชย์เมียนมา
ลำดับ | สินค้า | มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) | สัดส่วน (%) |
1 | MANUFACTURING GOODS | 1,896.82 | 53.06% |
2 | AGRICULTURAL PRODUCTS | 1,405.20 | 39.31% |
3 | MARINE PRODUCTS | 144.973 | 4.05% |
4 | MINERALS | 46.838 | 1.31% |
5 | FOREST PRODUCTS | 15.521 | 0.43% |
6 | ANIMAL PRODUCTS | 1.851 | 0.05% |
7 | OTHER PRODUCTS | 63.302 | 1.77% |
รวม | 3,574.520 | 100.0%
|
สินค้านำเข้าสำคัญของเมียนมา
ตารางที่ 10 – มูลค่าการนำเข้าสินค้าที่สำคัญของเมียนมา (เมษายน – มิถุนายน 2567) ที่มา : กระทรวงพาณิชย์เมียนมา
ลำดับ | สินค้า | มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) | สัดส่วน (%) |
1 | สินค้า Commercial Raw material | 1,985.968 | 59.60% |
2 | สินค้า Investment Goods | 519.433 | 15.58% |
3 | สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods) | 826.467 | 24.80% |
รวม | 3,331.868 | 100% |
ในช่วงเดือนเมษายน – มิถุนายน 2567 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศโดยรวมของเมียนมามีมูลค่า 6,906.388ล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลค่าการส่งออกของเมียนมามี 3,574.520 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าของเมียนมามี 3,331.868 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้เมียนมาได้ดุลการค้าเป็นมูลค่า 242.652 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าที่เมียนมาส่งออก ที่สำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม การเกษตร ประมง สินแร่ ผลิตภัณฑ์ป่าไม้ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เป็นต้น
สินค้าที่เมียนมานำเข้า ที่สำคัญ ได้แก่ วัตถุดิบ สินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภค เป็นต้น
3) สถานการณ์การค้าระหว่างไทย – เมียนมา (ข้อมูลกรมศุลกากรไทย: ม.ค. – ก.พ. 68)
ตารางที่ 11 สรุปมูลค่าการค้าระหว่างไทย – เมียนมา
รายการ | มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ | อัตราขยายตัว (%) | สัดส่วน (%) / โลก | |||
2567
ม.ค. – ก.พ. |
2568
ม.ค. – ก.พ. |
2567
ม.ค. – ก.พ. |
2568
ม.ค. – ก.พ. |
2567
ม.ค. – ก.พ. |
2568
ม.ค. – ก.พ. |
|
มูลค่าการค้า | 1,188.24 | 1,303.03 | 11.88 | 8.80 | 1.21 | 1.22 |
การส่งออกของไทย | 714.39 | 789.98 | -7.21 | 9.56 | 1.65 | 1.66 |
การนำเข้าของไทย | 473.85 | 513.05 | 18.09 | 7.64 | 0.82 | 0.78 |
ดุลการค้าของไทย | 240.54 | 276.93 |
ที่มา : Thailand’s Trade Statistic (moc.go.th)
ปี 2568 มูลค่าการค้ารวมระหว่างไทยและเมียนมาระหว่างเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 1,303.03 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.80 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยไทยมีการส่งออกไปยังเมียนมาเป็นมูลค่า 789.98 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.56 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากการขอใบอนุญาตนำเข้าสินค้าของประเทศเมียนมาใช้เวลานาน สำหรับการนำเข้าสินค้าจากเมียนมามายังประเทศไทยมีมูลค่า 513.05 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.64 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ไทยได้ดุลการค้าเป็นมูลค่า 276.93 ล้านเหรียญสหรัฐ
สินค้าที่ไทยส่งออกไปเมียนมา ที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรอื่นๆ เม็ดพลาสติก ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เป็นต้น
สินค้าที่ไทยนำเข้าจากเมียนมา ที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบกาแฟ ชา เครื่องเทศ ผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก ลวดและสายเคเบิล ไม้ซูง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ เครื่องประดับอัญมณี เป็นต้น
- สถานการณ์สำคัญ
3.1 เมียนมาส่งเสริมการพัฒนาสินค้า MSME
พลเอกอาวุโส มิน ออง หล่าย ผู้นำเมียนมา ได้พบกับนักธุรกิจ MSME (Micro-, Small- and Medium-sized Enterprise) เยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ของธุรกิจและหารือเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาสินค้า MSME โดยสนับสนุนให้พัฒนาธุรกิจ ยกระดับศักยภาพ พัฒนาสินค้า พัฒนาคุณภาพมาตรฐาน ปรับปรุงกระบวนการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม มีราคาที่เหมาะสม รวมทั้ง ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบในประเทศ ทดแทนสินค้านำเข้า ส่งเสริมการส่งออกของเมียนมา ทั้งนี้ เมียนมาได้จัดงาน MSME Product Exhibition and Competition วันที่ 10-14 ก.พ. 68 ณ กรุงเนปยีดอเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ MSME รวมทั้งมีการมอบรางวัลผลิตภัณฑ์ MSME และสร้างเครือข่ายธุรกิจ MSME ในเมียนมา
ผลกระทบ/โอกาส เป็น “โอกาสอันดี” ที่เมียนมามีนโยบายสนับสนุน และการดำเนินการต่างๆ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาสินค้า MSME ของเมียนมา ทั้งการจัดงานแสดงสินค้า การมอบรางวัล รวมทั้ง มีกลไกภาครัฐสนับสนุน คือ กรม MSME กระทรวงอุตสาหกรรมเมียนมา มีแหล่งข้อมูล https://msmewebportal.gov.mm/ โดยเว็บไซต์ มีภาษาอังกฤษให้เลือก แม้บางข้อมูลเป็นภาษาเมียนมา และมีข้อมูลให้เลือก เช่น การได้รับรางวัล ขนาดธุรกิจ ที่ตั้ง โดยสินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตรแปรรูป เช่น อาหาร เครื่องดื่ม สินค้าสมุนไพร แชมพู สบู่ กาแฟ ชา ไม้ ผ้า เป็นต้น
ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ขอให้ธุรกิจไทยพิจารณาใช้ประโยชน์จากนโยบายส่งเสริมพัฒนาสินค้า MSME ของเมียนมา ได้แก่ การเป็นคู่ค้ากัน การเป็นพันธมิตรธุรกิจกัน เช่น การพัฒนาศักยภาพ พัฒนาสินค้าหรือกระบวนการผลิต รองรับสอดคล้องกับความต้องการตลาดเป้าหมาย หรือการจับคู่กับ Export Earning ของผู้ส่งออกสินค้า MSME กับผู้นำเข้าสินค้าไทย เพื่อประกอบการขอ Import License เป็นต้น
ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)
3.2 รมว.ต่างประเทศของไทย เยือนเมียนมา เห็นพ้องร่วมมือแก้ปัญหาปราบอาชญากรรมข้ามชาติ แก๊ง CallCenter
เมื่อวันที่ 21-22 ก.พ.68 ท่านมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ได้เดินทางเยือนเมียนมา ตามคำเชิญของท่าน อู ตาน ส่วย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของเมียนมา โดยเป็นการเยือนเมียนมาครั้งแรกในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยมีผู้บัญชาการทหารสูงสุดและเสนาธิการทหารบกเข้าร่วมคณะ รวมทั้งได้เข้าเยี่ยมคารวะพลเอกอาวุโส มิน ออง ไลง์ ผู้นำเมียนมาด้วย โดยทั้งสองฝ่ายให้ความสำคัญกับมิตรภาพและความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างประเทศเพื่อนบ้านที่มีความผูกพันกันมานาน และเห็นพ้องที่จะเพิ่มความร่วมมือมากยิ่งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันในหลายด้าน เช่น การปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ การหลอกลวงออนไลน์ การค้ามนุษย์ ยาเสพติด โดยเฉพาะการผลักดันให้เกิดความสงบสุขบริเวณชายแดนไทย–เมียนมา และความร่วมมือเพื่อการพัฒนา โดยเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเมียนมา
ผลกระทบ/โอกาส เป็น “โอกาสอันดี” ที่ทางการไทย โดยผู้บริหารระดับสูง ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เสนาธิการทหารบก มาเยือนเมียนมา โดยได้พบเยี่ยมคารวะและหารือกับผู้บริหารระดับสูงเมียนมา ได้แก่ ผู้นำเมียนมา รวมทั้งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของของเมียนมา ประการสำคัญ ได้เห็นพ้องความร่วมมือต่างๆ ร่วมกัน โดยเฉพาะ การปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ การหลอกลวงออนไลน์ การค้ามนุษย์ ยาเสพติด รวมทั้งเรื่องอื่นๆ เช่น ปัญหาหมอกควันข้ามแดน การบริหารจัดการแม่น้ำสายป้องกันน้ำท่วม ความร่วมมือเรื่องความมั่นคงและเศรษฐกิจ โดยการเยี่ยมเยือนและร่วมมือกันของไทยและเมียนมาดังกล่าว สะท้อนความสัมพันธ์อันดีและส่งผลดีต่อความร่วมมือกันในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป
ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ขอให้ภาคเอกชนติดตามสถานการณ์และการดำเนินการร่วมกันของไทยและเมียนมาต่อไป โดยเฉพาะ การปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ แก๊ง Call Center ขบวนการค้ามนุษย์ ที่จะมีกลไกไตรภาคี “เมียนมา-ไทย-จีน” เพื่อช่วยกันปราบปรามและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกันต่อไป
ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)
3.3 เมียนมาเริ่มใช้ QR Standard (Myanmar Pay) ยกระดับการชำระเงินและการเงินเมียนมา
พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้นำเมียนมาได้เข้าร่วม National QR Standard MMQR (Myanmar Pay) เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2568 ณ กรุงเนปยีดอ ซึ่งระบบ QR มาตรฐานดังกล่าว สอดคล้องกับระบบการเงินมาตรฐานสากล จึงช่วยยกระดับการชำระเงินและการเงินของเมียนมา อำนวยความสะดวกผู้ใช้งาน ลดการใช้เงินสด ส่งเสริมการชำระเงินออนไลน์ สนับสนุนภาคธุรกิจ การค้า การลงทุน ทั้งการชำระเงินในเมียนมาและการชำระเงินหรือโอนเงินระหว่างประเทศ
ผลกระทบ/โอกาส เป็น “โอกาสอันดี” เนื่องจากเป็นการพัฒนาที่ดีมาก ช่วยยกระดับการชำระเงินและการเงินเมียนมา อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าผู้ใช้งาน จากเดิมชำระด้วยเงินสด หรือชำระเงินออนไลน์ผ่านหลาย App ธนาคาร (แต่ละธนาคาร มี QR Code แตกต่างกัน) พัฒนาเป็นทุก App ธนาคาร สามารถใช้ QR Code เดียว ในการชำระเงิน รวมทั้งอำนวยความสะดวกร้านค้า จากเดิมที่มีหลาย QR Code ของแต่ละธนาคาร พัฒนาเป็น QR เดียว ใช้ได้ทุก App ธนาคาร ตลอดจน ช่วยส่งเสริมให้เมียนมาลดการใช้เงินสด เป็นสังคมดิจิทัลมากขึ้น ช่วยให้เงินเข้าระบบ สามารถตรวจสอบทางการเงินได้โปร่งใสและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยยกระดับการเงินทั้งในเมียนมาและการเงินระหว่างประเทศ
ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ขอให้ภาคเอกชนพิจารณาใช้ประโยชน์ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้สอดคล้องกับระบบการเงินเมียนมา และรองรับโอกาสทางธุรกิจ ซึ่งพฤติกรรมผู้บริโภค ร้านค้าและช่องทางจัดจำหน่ายต่างๆ ในเมียนมา นิยมการชำระเงินออนไลน์มากขึ้น ด้วยการสแกน QR Code ที่มีความรวดเร็ว สะดวก และปลอดภัย (Quick, Easy & Secure)
ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)
3.4 ผู้นำเมียนมาเยือนรัสเซีย ร่วมมือพัฒนาหลายด้าน เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็ก เป็นต้น
ช่วงวันที่ 3-9 มีนาคม 2568 พลเอกอาวุโส มิน ออง ไลง์ ประธานสภาบริหารแห่งรัฐและนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ได้เยือนสหพันธรัฐรัสเซีย ในโอกาสครบ 77 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างรัสเซียและเมียนมา และได้พบหารือกับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ยกระดับความร่วมมือระหว่างกันหลายด้าน เช่น การค้า เศรษฐกิจ สุขภาพ พลังงาน ความมั่นคง วัฒนธรรม รวมทั้ง มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ ความร่วมมือเรื่องรัสเซียจะสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็กในเมียนมา (SMR : Small Modular Reactor)
ผลกระทบ/โอกาส เห็นว่าเป็น “สัญญาณที่ดีมาก” ในการพัฒนาของเมียนมา ทั้งความร่วมมือกับรัสเซีย สะท้อนความสัมพันธ์ที่ดีและความเป็นมิตรจากรัสเซีย หนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลก สะท้อนว่าเมียนมาเป็นหนึ่งในจุดยุทธศาสตร์สำคัญ (Strategic Geopolitics Location) ของประเทศสำคัญในภูมิภาคนี้ ทั้งรัสเซีย จีน อินเดีย ไทย อาเซียน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เป็นต้น ซึ่งความร่วมมือดังกล่าว จะส่งผลดีต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเมียนมาในอนาคต เช่น โรงไฟฟ้า โรงกลั่นน้ำมัน ท่าเรือน้ำลึก เป็นต้น ช่วยพัฒนาเมียนมาในทุกมิติ ทั้งความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม ช่วยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ประชาชน ลดต้นทุนประชาชนและภาคธุรกิจ รวมทั้งช่วยพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของเมียนมา
ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ขอให้ภาคเอกชนติดตามข้อมูลและปรับใช้กับธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ประโยชน์จากโอกาสการพัฒนาดังกล่าว ทั้งนี้ เห็นว่าในอนาคตเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จะเป็นประเด็นสำคัญระดับภูมิภาค ที่ต้องหารือร่วมกัน เพราะเป็นประเด็นข้ามพรมแดน โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัย ซึ่งควรต้องมีวิธีดูแลป้องกัน การบริหารจัดการหรือแก้ไข หากมีความเสี่ยงหรือผลกระทบต่อประเทศข้างเคียง เพิ่มเติมจากเรื่องข้ามแดนอื่นๆ ที่หารือร่วมกันทั้งระหว่างประเทศและระดับภูมิภาคในปัจจุบัน เช่น เรื่อง PM 2.5 ฝุ่นควันข้ามแดน น้ำท่วมพื้นที่พรมแดนและข้ามแดน รวมทั้ง การค้ามนุษย์ ยาเสพติด อาญชากรรมข้ามแดน แก๊ง Call Center, Scammers
ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)
3.5 เมียนมาตั้งเป้าการส่งออกสินค้าประมง 700 ล้านเหรียญฯ ในปีงบประมาณ 2567-2568
สมาพันธ์ประมงเมียนมา (MFF : Myanmar Fisheries Federation) และสมาคมผู้ส่งออกและผู้แปรรูปสินค้าประมงเมียนมา (MFPPEA : Myanmar Fisheries Products Processers and Exporters Association) เปิดเผยว่าเมียนมาตั้งเป้าหมายการส่งออกสินค้าประมงมูลค่า 700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2567-2568 (เมษายน 2567 ถึง มีนาคม 2568) ส่งออกไปหลายประเทศ เช่น ไทย จีน ญี่ปุ่น ยุโรป เป็นต้น
ผลกระทบ/โอกาส สินค้าประมงเมียนมาเป็นสินค้าที่มีศักยภาพและเป็นโอกาสทางธุรกิจของไทย ทั้งโอกาสในการนำเข้าสินค้าประมงจากเมียนมาเพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบการผลิตอาหารหรือร้านอาหารของไทย รวมทั้งการลงทุนหรือร่วมลงทุนในธุรกิจประมงหรือสินค้าประมงเมียนมา ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายเมียนมาที่ส่งเสริมการผลิตในเมียนมาและการส่งออกจากเมียนมา
ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ขอให้ภาคเอกชนไทยพิจารณาและวิเคราะห์โอกาสธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น การนำเข้าสินค้าประมงจากเมียนมา การร่วมลงทุนในธุรกิจประมงหรือส่งออกสินค้าประมงเมียนมา เป็นต้น ทั้งนี้ การส่งออกจากเมียนมา จะมีรายได้การส่งออก (Export Earning) สามารถนำมาจับคู่กับการขอ Import License ช่วยสนับสนุนการนำเข้าสินค้าไทยสู่ตลาดเมียนมาได้อีกด้วย
ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)
3.6 ภาคการผลิตในเมียนมา มีสัดส่วน 22% ครองสัดส่วนมากที่สุด ของการลงทุนในเมียนมา
เมียนมามีการลงทุนภายในประเทศ (Domestic Investment) ณ 31 มกราคม 2568 จำนวน 1,702 โครงการ มูลค่ารวม 25,081 พันล้านจ๊าต (ประมาณ 2 แสนล้านบาท) ครอบคลุม 12 กลุ่มธุรกิจ มีการลงทุนภาคการผลิตสูงสุด ครองสัดส่วน 22% ตามด้วยอสังหาริมทรัพย์ 20% ธุรกิจบริการ 15% ขนส่งและโทรคมนาคม 12% โรงแรมและการท่องเที่ยว 8.6% โดยเมียนมาส่งเสริมการลงทุน อำนวยความสะดวกการทำธุรกิจ การค้า และการลงทุน
ผลกระทบ/โอกาส การลงทุนภาคการผลิตในเมียนมา เป็น “โอกาสที่ดี” ของธุรกิจไทย ที่อาจพิจารณาใช้ประโยชน์จากภาคการผลิตในเมียนมา เช่น การจ้างผลิต (OEM) สินค้าในเมียนมา หรือการเป็นพันธมิตรธุรกิจกับเมียนมาที่ผลิตสินค้าในเมียนมา ซึ่งจะช่วยทดแทนการนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปจากไทย ที่มีข้อจำกัดเรื่องการขอ Import License นอกจากนี้ ไทยสามารถใช้ศักยภาพที่มี เช่น เทคโนโลยี ทักษะฝีมือแรงงาน การบริหารจัดการ เติมเต็มธุรกิจเมียนมาดังกล่าวได้ เพื่อประโยชน์ร่วมกันของไทยและเมียนมาต่อไป
ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ การเปิดโอกาสจับคู่ธุรกิจระหว่างกัน ทั้งการเป็นคู่ค้าหรือเป็นพันธมิตรธุรกิจระหว่างกัน สิ่งสำคัญ คือ ความน่าเชื่อถือไว้วางใจได้ ศักยภาพของธุรกิจ และการสื่อสารเข้าใจกัน โดยมีเป้าหมายและแนวทางธุรกิจที่สอดคล้องกัน มีศักยภาพและความสามารถในการแข่งขัน สำหรับความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ อาจต้องใช้ระยะเวลาในการพิสูจน์ซึ่งกันและกัน โดยระยะแรกอาจเริ่มจากปริมาณหรือมูลค่าธุรกิจไม่มากก่อน หากสำเร็จแล้วค่อยขยายเพิ่มขึ้นในอนาคต เริ่มและขยายความร่วมมือ Step by Step เพื่อประโยชน์ร่วมกันต่อไป
ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)
3.7 เมียนมากำหนดเลือกตั้งเดือน ธ.ค. 68 หรือ ม.ค. 69
พล.อ.รองอาวุโส โซวิน รองประธานสภาบริหารแห่งรัฐ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบกเมียนมา ได้กล่าวในที่ประชุมสมาชิกและครอบครัวของกองทัพเมียนมาว่า เมียนมากำหนดเลือกตั้งเดือน ธ.ค. 68 หรือ ม.ค. 69 ซึ่งดำเนินการด้วยแนวคิดเสรีและเป็นธรรม (Free & Fair Election) นำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
ผลกระทบ/โอกาส การกำหนดการเลือกตั้งของเมียนมา เป็น “สัญญาณที่ดี” ต่อประเทศเมียนมา ส่งผลดีต่อการพัฒนาหรือช่วยคลี่คลายเรื่องต่างๆ ในเมียนมาให้มีทิศทางหรือแนวโน้มที่ดีขึ้น ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน สังคม และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนเมียนมา อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือความโปร่งใส ความน่าเชื่อถือ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ที่จะทำให้การเลือกตั้งเป็นที่ยอมรับของประชาชน โดยเมียนมา ใช้แนวคิดการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม (Free & Fair Election) ซึ่งต้องติดตามต่อไปว่าการเลือกตั้งของเมียนมาจะเป็นไปตามแนวทางและช่วงเวลาที่กำหนดอย่างไร รวมทั้งจะมีสถานการณ์ใดเกิดขึ้น ทั้งช่วงก่อนการเลือกตั้ง ระหว่างการเลือกตั้ง และหลังการเลือกตั้ง
ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ขอให้ภาคธุรกิจติดตามข้อมูลและสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และนำมาวิเคราะห์ปรับใช้เพื่อวางแผนหรือดำเนินการทางธุรกิจต่อไป ทั้งแผนรองรับโอกาสหากมีสถานการณ์ที่ดีขึ้น และแผนสำรองหรือแผนบริหารความเสี่ยงหากมีสถานการณ์ที่ท้าทายเกิดขึ้น สิ่งสำคัญไม่ว่าสถานการณ์ใดจะเกิดขึ้น ตลาดเมียนมามีโอกาสและมีศักยภาพ เพราะมีความต้องการสินค้าและนิยมสินค้าไทย ขอให้ผู้ประกอบการปรับแผนธุรกิจรองรับความท้าทายต่างๆ เพื่อปักหมุดคว้าโอกาสในตลาดเมียนมาต่อไป
ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)
3.8 ประเทศไทยและภาคธุรกิจไทยรวมน้ำใจช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในเมียนมา
จากเหตุแผ่นดินไหวเมียนมา เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 68 จุดศูนย์กลางบริเวณพื้นที่เมืองมัณฑะเลย์ (ห่างจากกรุงย่างกุ้งประมาณ 600 กิโลเมตร) โดยแผ่นดินไหวขนาด 7.7 นับว่าเป็นแผ่นดินไหวที่รุนแรงกว่าทุกครั้ง ความเสียหายส่วนใหญ่ในพื้นที่ใกล้เคียงจุดเกิดแผ่นดินไหว เช่น เมืองมัณฑะเลย์ เมืองสะกาย เป็นต้น โดยมีสิ่งปลูกสร้าง อาคาร บ้านเรือน กำแพง ถนน บางส่วนได้รับความเสียหาย หลังจากนั้นเกิดแผ่นดินไหว Aftershock ตามมาอีกหลายครั้ง แต่ไม่มีความรุนแรงเหมือนครั้งแรก จนถึงปัจจุบันยังไม่มีแผ่นดินไหวครั้งใหม่ที่มีความรุนแรงเหมือนครั้งแรก
ผลกระทบ/โอกาส ภาคธุรกิจและประชาชนในพื้นที่เมืองมัณฑะเลย์ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว มีอาคารบ้านเรือนหรือทรัพย์สินบางส่วนได้รับความเสียหาย อยู่ระหว่างการประเมินความเสียหาย เคลมประกัน (ถ้ามีประกันภัย) และฟื้นฟูความเสียหายต่อไป สำหรับธุรกิจที่ไม่ได้รับความเสียหายหรือมีความเสียหายไม่มาก ได้เปิดดำเนินการตามปกติ สำหรับการขนส่งสินค้าไปเมืองมัณฑะเลย์ ได้ข้อมูลจากสมาคมโลจิสติกส์เมียนมาแจ้งว่าสามารถขนส่งได้ แม้มีถนนหรือเส้นทางบางส่วนได้รับผลกระทบ แต่สามารถใช้ถนนท้องถิ่นเป็นเส้นทางเลี่ยงใช้ทดแทนขนส่งสินค้าได้
ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ประเทศไทยและภาคธุรกิจไทยรวมน้ำใจ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวเมียนมา โดยมีชุดเฉพาะกิจจากไทยมาเมียนมา รวมทั้ง เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงย่างกุ้ง เป็นผู้แทนรับมอบสิ่งของพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผ่านกระทรวงสวัสดิการสังคม การบรรเทาทุกข์ และการตั้งถิ่นฐานของเมียนมา รวมถึงได้รับของบริจาคจากสมาคมนักธุรกิจไทยในเมียนมา (TBAM : Thai Business Association in Myanmar) และธุรกิจไทยในเมียนมา เช่น Makro เมียนมา ปตท.สผ. เมียนมา เป็นต้น นอกจากนี้ สคต.ย่างกุ้ง ได้ประสานเครือข่ายธุรกิจไทยในเมียนมา ได้แก่ ร้านมหาชัย ร้านอาหาร Thai Select และบริษัท ดัชมิลล์ เมียนมา โดยร้านมหาชัยยินดีสนับสนุนร่วมเป็นจุดรับของบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวเมืองมัณฑะเลย์ ตลอดจนทราบจากสภาธุรกิจไทย-เมียนมา (TMBC : Thai-Myanmar Business Council) ที่จะร่วมกับเครือข่ายในไทย ประสงค์บริจาควัคซีน เช่น บาดทะยัก อหิวาห์ ตับอักเสบ ไทฟอยด์ ซึ่งเป็นโรคระบาดหลังเกิดภัยพิบัติ โดยสภาธุรกิจไทย-เมียนมาจะร่วมกับเครือข่ายในเมียนมา ลงพื้นที่เพื่อช่วยเหลือผู้ประภัยแผ่นดินไหวในเมียนมาต่อไป สะท้อนพลังน้ำใจของคนไทยและภาคธุรกิจไทยร่วมกันช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในเมียนมา
ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง
เมษายน 2568