รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าออสเตรเลียเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2568

(1) สถานการณ์เศรษฐกิจ

–  ปลายเดือนมีนาคม 2568 สหรัฐฯประกาศเรียกเก็บภาษีสินค้ารถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯในอัตราตั้งแต่ร้อยละ 2.5-  25 เพิ่มเติมจากภาษีศุลกากรเดิมจากทุกประเทศ มีผลตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2568 (โดยเลื่อนภาษีชิ้นส่วนยานยนต์ 1 เดือนและจะมีผลไม่เกิน 3 พฤษภาคม 2568)

–  เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2568 สหรัฐอเมริกาเรียกเก็บภาษีศุลกากรร้อยละ 10 กับสินค้าทุกประเภทที่ออสเตรเลียส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาเริ่ม 5 เมษายน 2568 ซึ่งจะกระทบต่อสินค้าส่งออกเนื้อวัวออสเตรเลียโดยตรง เพื่อขจัดอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกเนื้อสัตว์ของสหรัฐฯเนื่องจากกฎหมายความปลอดภัยทางชีวภาพออสเตรเลียที่เข้มงวด รวมถึงคืนความเท่าเทียมและสมดุลทางการค้าของสหรัฐฯกับประเทศคู่ค้า

–  แนวทางการรับมือของรัฐบาลออสเตรเลียจะไม่ใช้มาตรการตอบโต้ด้านภาษีแต่จะเน้นการเจรจาต่อรองในทุกช่องทาง ซึ่งรวมถึงการใช้กลไกระงับข้อพิพาท (Dispute resolution) เกี่ยวกับการละเมิดต่อข้อตกลงการค้าเสรีบนเวทีองค์การการค้าโลก และไม่ผ่อนปรนระเบียบความเข้มงวดของกฎหมายความปลอดภัยทางชีวภาพออสเตรเลีย (Biosecurity laws) อีกทั้ง ประกาศเงินทุนสนับสนุนฉุกเฉินมูลค่า 50 ล้านเหรียญเตรเลียช่วยเหลืออุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ และเพิ่มความเข้มงวดในมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้าเหล็ก รวมถึงเสนอเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยมูลค่า 1 พันล้านเหรียญออสเตรเลียเพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจในการแสวงหาตลาดใหม่ๆ

–  มาตรการภาษีของสหรัฐฯในครั้งนี้ มีผลกระทบทางตรงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจออสเตรเลียเพียงเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 1 ของ GDP และผลกระทบทางอ้อมที่เกิดจากสงครามการค้าทั่วโลกที่จะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานในภาคการผลิตออสเตรเลียในระยะยาว

(2) สถานการณ์การค้าภาพรวมของออสเตรเลีย [1]  

ปี 2568 เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ สถานการณ์การส่งออกสินค้าของออสเตรเลีย มีมูลค่า 50,756 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 10.52) เป็นการส่งออกถ่านหินบิทูมินัส (ร้อยละ 29.33) สินแร่และหัวแร่เหล็ก (ร้อยละ 25.77) ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป (ร้อยละ 12.22) เนื้อสัตว์สำหรับบริโภค (ร้อยละ 4.28) และคอรันดัมประดิษฐ์ (ร้อยละ 3.26) ประเทศส่งออกหลัก คือ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้และอินเดีย สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 12 (ข้าวสาลีและเมสลิน น้ำมันปิโตรเลียมดิบ ทองแดงบริสุทธิ์  อะลูมิเนียมที่ยังไม่ได้ขึ้นรูปและเนื้อสัตว์สำหรับบริโภค)

ปี 2568 เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ การนำเข้าสินค้าของออสเตรเลีย มีมูลค่า 44,760 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 2.45) โดยเป็นการนำเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา (ร้อยละ 13.69) รถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 13.05) น้ำมันปิโตรเลียมดิบและน้ำมันดิบที่ได้จากแร่บิทูมินัส (ร้อยละ 12.56) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 11.09) ยารักษาหรือป้องกันโรค (ร้อยละ 3.99) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และมาเลเซีย ปี 2568 เดือนมกราคมกุมภาพันธ์ ออสเตรเลียได้ดุลการค้า 5,996 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 7 มีมูลค่า 1,620 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 30.50)  (สินค้านำเข้าหลักจากไทย 5 อันดับแรกได้แก่ รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ ยางรถยนต์ใหม่ และทูน่ากระป๋อง) และ ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 817 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (27,778 ล้านบาท)  

(3) สถานการณ์การค้าออสเตรเลียเดือนกุมภาพันธ์ 2568 [1]  

สถานการณ์การส่งออกสินค้าของออสเตรเลียในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีมูลค่า 24,665 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 10.65) โดยเป็นผลมาจากการส่งออกถ่านหินบิทูมินัส (ร้อยละ 28.49) สินแร่และหัวแร่เหล็ก (ร้อยละ 24.56) ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป (ร้อยละ 11.20) เนื้อสัตว์สำหรับบริโภค (ร้อยละ 5.37) ข้าวสาลีและเมสลิน (ร้อยละ 3.44) และ ประเทศส่งออกหลัก คือ จีน ญี่ปุ่นสหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้  และอินเดีย สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 10 (ข้าวสาลีและเมสลิน น้ำมันปิโตรเลียมดิบ ทองแดงบริสุทธิ์ อะลูมิเนียมที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป และเนื้อสัตว์สำหรับบริโภค)

สำหรับการนำเข้าสินค้าของออสเตรเลียในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีมูลค่า 21,522 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 6.58)  โดยเป็นการนำเข้ารถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 13.70) เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา (ร้อยละ 13.47) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือสำหรับเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 11.13) น้ำมันปิโตรเลียมที่ได้จากแร่ บิทูมินัส (ดีเซล)  (ร้อยละ 11.11) ยารักษาหรือป้องกันโรค (ร้อยละ 4.28) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไทย ซึ่งในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ออสเตรเลียได้ดุลการค้าที่ 3,143 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 5 (รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องจักรสำหรับการรับการเปลี่ยนและการส่ง หรือการสร้างเสียง ภาพหรือข้อมูลอื่นๆ ยางรถยนต์ใหม่และทูน่ากระป๋อง)

(4) สรุปสถานการณ์การค้าไทย-ออสเตรเลีย [2]

เป้าหมายส่งออก มูลค่าการค้ารวม (ล้าน US$) มูลค่าการส่งออก (ล้าน US$) มูลค่าการนำเข้า (ล้าน US$)
ปี 2024

(%)

ปี 2025

(%)

ปี 2024 ปี 2025 ปี 2024 ปี 2025 ปี 2024 ปี 2025
  ม.ค-ก.พ +/- (%)   ม.ค-ก.พ +/- (%)   ม.ค-ก.พ +/- (%)
1.0

(0.94)

1.0 17,842.64

(-6.36)

2,685.99 -16.38 12,329.49 (0.94) 1,821.03 -17.30 5,513.15

(-19.40)

864.96 -14.37

[1] Source: Global Trade Atlas

[2] Source: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

(5) สถานการณ์การค้าไทย-ออสเตรเลียเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2568

  • การส่งออกสินค้าไทยไปออสเตรเลียเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2568 มีมูลค่า 1,018.72 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (34,636 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ 7.66 เป็นการลดลงของสินค้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เม็ดพลาสติก อาหารทะเลกระป๋อง เหล็กและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักร แต่การส่งออกเครื่องปรับอากาศ ผลิตภัณฑ์ยาง และตู้เย็น ตู้แช่เพิ่มขึ้น

การนำเข้าสินค้าของไทยจากออสเตรเลียเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2568 มีมูลค่า 435.88 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (14,819.9 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ 7.40 เป็นการลดลงของการนำเข้าสินค้าก๊าซธรรมชาติ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี ถ่านหิน  และเคมีภัณฑ์ แต่การนำเข้าน้ำมันดิบ สินแร่โลหะอื่นๆ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค นมและผลิตภัณฑ์นม เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น

…………………………………………………………………………………..

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครซิดนีย์

 

thThai