ในวันที่ 2 เมษายน 2568 ประธานาธิบดี Donald Trump ลงนามใน executive order “Regulating Imports With a Reciprocal Tariff to Rectify Trade Practices that Contribute to Large and Persistent Annual United States Goods Trade Deficits” ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศคู่ค้าทุกรายในอัตราร้อยละ 10 และหลังจากนั้นอัตราภาษีสำหรับแต่ละประเทศคู่ค้าจะเพิ่มขึ้นแตกต่างกันไปตามที่มีระบุไว้ใน Annex I ของคำสั่ง โดบอัตราภาษีสินค้านำเข้าจากไทยถูกกำหนดที่ร้อยละ 36

 

Executive Order ระบุว่า สินค้านำเข้าทุกรายการที่ถูกนำเข้าสู่ตลาดการบริโภค หรือถูกดึงออกจากคลังสินค้าเพื่อนำเข้าสู่การบริโภค ในเวลาเวลาเที่ยงคืนของวันที่ 5 เมษายน 2568 เวลา U.S. eastern standard time เป็นต้นไป จะถูกเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มร้อยละ 10 และตั้งแต่เที่ยงคืนของวันที่ 9 เมษายน 2568 เวลา U.S. eastern standard time เป็นต้นไป สินค้านำเข้าจะถูกเก็บภาษีตามอัตราที่ระบุไว้สำหรับแต่ละประเทศใน Annex I ของคำสั่ง แต่ในวันที่ 9 เมษายน 2568 ประธานาธิบดี Trump ได้ประกาศเลื่อนการเก็บภาษีตามอัตราใน Annex I ออกไป 90 วัน เป็นวันที่ 7 กรกฏาคม 2568

 

ใน executive order นี้ได้ระบุรายชื่อสินค้าที่จะไม่เข้าข่ายถูกขึ้นภาษีนำเข้าภายใต้ executive order นี้ ได้แก่
1. สิ่งของที่นำเข้าเพื่อการบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย และสื่อข้อมูลข่าวสารต่างๆ รวมถึง สิ่งพิมพ์ ภาพยนต์ รูปภาพ และ โปสเตอร์ เป็นต้น ที่ไม่มีเนื้อหาต่อต้านรัฐบาลสหรัฐฯ

 

2. สินค้าเหล็กและอลูมิเนียม ซึ่งได้ถูกขึ้นภาษีร้อยละ 25 ไปแล้วตาม executive order ที่ประกาศในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 และมีผลบังคับใข้วันที่ 12 มีนาคม 2568

 

3. สินค้ารถยนต์และชิ้นส่วนประกอบ ซึ่งได้ถูกขึ้นภาษีร้อยละ 25 ไปแล้วตาม executive order ที่ประกาศในเดือนมีนาคม 2568 โดยการขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์มีผลบังคับในวันที่ 3 เมษายน 2568 และการขึ้นภาษีนำเข้าชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2568

 

4. สินค้าที่ระบุไว้ใน Annex II ภายใต้รหัสศุลกากรสหรัฐฯ 8 หน่วย ประกอบไปด้วยสินค้าจากธาตุทองแดง สินค้าเวชภัณฑ์ สินค้า semiconductors ไม้ (lumber) แร่ธาตุสำคัญๆ และพลังงานและสินค้าพลังงาน

 

5. สินค้าที่นำเข้าจากเกาหลีเหนือ สาธารณรัฐเบลารุส รัสเซีย และ คิวบา

 

6. สินค้าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯจะประกาศต่อไปว่า อาจเป็นสินค้าที่มีความเสี่ยงต่อความมั่นคงของประเทศ

 

7. สินค้าที่ อย่างน้อยร้อยละ 20 ของมูลค่า มีต้นกำเนิดจากสหรัฐฯ โดยศุลกากรสหรัฐฯจะเป็นผู้ตรวจสอบและตัดสิน

 

8. สินค้านำเข้าภายใต้ Duty-free de minimis จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ สหรัฐฯจะยกเลิกสิทธิพิเศษนี้สำหรับสินค้านำเข้าจากจีนและฮ่องกง มีผลบังคับในวันที่ 2 พฤษภาคม 2568

 

สินค้าที่ระบุไว้ใน Annex II ภายใต้รหัสศุลกากรสหรัฐฯ 8 หลัก (Harmonized Tariff Schedule of the United States – HTS) ที่ได้รับยกเว้นจากการขึ้นภาษีนำเข้ามีอยู่มากกว่า 700 รายการ ในจำนวนนี้เป็นสินค้าที่ประเทศไทยส่งเข้าไปยังสหรัฐฯในปี 2567 รวมอยู่ด้วย 194 รายการ มีมูลค่านำเข้าสหรัฐฯ รวมทั้งสิ้น 2,593,903,274.00 เหรียญฯ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าไม้ 55 รายการ สินค้าเคมีภัณฑ์ทุกประเภท 31 รายการ และ สินค้าทองแดง 30 รายการ

 

สินค้ากลุ่มนี้ที่มีมูลค่านำเข้าสหรัฐฯสูงสุด 5 อันดับแรก ในปี 2567 คือ

สินค้าไทยที่ยังไม่ถูกขึ้นภาษีจากคำสั่ง Reciprocal Tariff ของ Trump

สินค้าไทยที่ยังไม่ถูกขึ้นภาษีจากคำสั่ง Reciprocal Tariff ของ Trump

สินค้าไทยที่ยังไม่ถูกขึ้นภาษีจากคำสั่ง Reciprocal Tariff ของ Trump

สินค้าไทยที่ยังไม่ถูกขึ้นภาษีจากคำสั่ง Reciprocal Tariff ของ Trump

สินค้าไทยที่ยังไม่ถูกขึ้นภาษีจากคำสั่ง Reciprocal Tariff ของ Trump

สินค้าไทยที่ยังไม่ถูกขึ้นภาษีจากคำสั่ง Reciprocal Tariff ของ Trump

สินค้าไทยที่ยังไม่ถูกขึ้นภาษีจากคำสั่ง Reciprocal Tariff ของ Trump

หมายเหตุ: ข่าวข้างบนนี้เป็นข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลหลายแห่งที่จัดทำและนำเสนอข้อมูลเปิดเผยต่อสาธารณชนทั่วไป และบางส่วนเป็นความเห็นส่วนบุคคล สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส นำมารวบรวมเผยแพร่เพื่อแก่ผู้สนใจ เนื่องจากเป็นข้อมูลและความเห็นจากบุคคลที่สาม การนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ ไม่ว่าในกรณีใดๆ ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณเฉพาะบุคคล สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส ไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆที่อาจเกิดขึ้นจากการนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้                                                                                                                                                                              

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส | เมษายน 2568

thThai