ตลาดสินค้าผลไม้สดและแปรรูปในฮ่องกง
- ภาพรวมตลาดผลไม้ในฮ่องกง
อุตสาหกรรมผลไม้ของฮ่องกงมีขนาดค่อนข้างเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งมุ่งเน้นที่การเงิน การค้า และบริการ อย่างไรก็ตามปัจจุบันประชากรที่อาศัยอยู่ในฮ่องกงมีความหลากหลายทางเชื้อชาติมีทั้งประชากรท้องถิ่นและชาวต่างชาติ จึงทำให้ความต้องการในการบริโภคสูงและมีความหลากหลายมากขึ้น ด้วยการเป็นศูนย์กลางระบบขนส่งสินค้าในระดับภูมิภาค ซึ่งสามารถทำได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทำให้มีการนำเข้าผลไม้จากทั่วโลกเข้าสู่ฮ่องกงและมีการแข่งขันที่เข้มข้นในการนำเสนอผลไม้ที่สดใหม่และมีคุณภาพ ในอดีตผู้ประกอบการหรือผู้นำเข้าในฮ่องกงดำเนินธุรกิจแบบและซื้อมาและขายตรงให้กับตลาดสดหรือธุรกิจร้านสะดวกซื้อสมัยใหม่ ปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนการค้าเป็นคนรุ่นใหม่ดำเนินธุรกิจแบบขายตรงไปยังร้านค้าและผู้บริโภคปลายทางผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น
1.1 ผลไม้สด
(1) การนำเข้าจากทั่วโลก
จากข้อมูลหน่วยงาน Census and Statistics Department ในปี 2567 การนำเข้าผลไม้สด(Hs Code 08): ของฮ่องกงจากทั่วโลกมูลค่ารวมทั้งสิ้น 633 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 5.9% เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2566 ที่มีมูลค่า 597 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ โดยแหล่ง นำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน ไต้หวัน เกาหลี เวียดนาม ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย สหรัฐราชอาณาจักร ไทย และสิงค์โปร์
ภาพรวมการนำเข้าผลไม้สด (HS CODE 08) จากทั่วโลกรายสำคัญๆ
ที่มา: https://tradeidds.censtatd.gov.hk/Index/
ในปี 2567 ฮ่องกงนำเข้าผลไม้จากต่างประเทศแบ่งชนิดผลไม้และส่วนแบ่งตลาด ได้แก่ แอปเปิ้ล 20.8% รองลงมา ได้แก่ ลูกแพร์ (15.5%) ส้ม (14.3%) และกล้วย (8.7%) เมล่อน (4.8%) มะนาว (4.3%) และอื่น ๆ (กีวี ทุเรียนและองุ่น) 31.6%
ภาพรวมสัดส่วนผลไม้สดแต่ละชนิดนำเข้าในตลาดฮ่องกงปี 2567
แหล่งข้อมูล : https://www.censtatd.gov.hk/en/chat20250214.html
นอกจากนี้หน่วยงาน Census and Statistics Department ได้แสดงการแบ่งสัดส่วนนำเข้าผลไม้สดแยกแต่ละประเทศและชนิดของผลไม้
ฮ่องกงนำเข้าผลไม้สดรายประเทศและแยกชนิดผลไม้ปี 2567
แหล่งข้อมูล : https://www.censtatd.gov.hk/en/chat20250214.html
(2) การนำเข้าจากไทย
ประเทศไทยส่งออกผลไม้สด แช่เย็น และแช่แข็งเข้าสู่ฮ่องกงในปี 2567 รวมมูลค่า 85.7 ล้านดอลล่าร์ สหรัฐ ลดลง19.68% เทียบกับปี 2566 ที่มีมูลค่า 106.69 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยทุเรียนเป็นผลไม้ไทยที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด มีมูลค่าการส่งออก 47.13 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ตามมาด้วยส้มโอ 6.53 ล้านดอลล่าร์สหรัฐมะพร้าวอ่อน 4.64 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ลำไย 1.25 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และมังคุด 1.03 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ตามลำดับ
ผลไม้ไทยที่การส่งออกไปฮ่องกงขยายตัวเพิ่มขึ้นในปี 2567 ได้แก่มะนาว 657,297 ดอลล่าร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 11) เงาะ 353,337 ดอลล่าร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 19) ลองกอง 235,653 ดอลล่าร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 22) และสัปะรด 67,547 ดอลล่าร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 31) ตามลำดับ
การส่งออกผลไม้สดจากไทยไปยังฮ่องกง แยกตามชนิดผลไม้ในปี ม.ค.-ธ.ค.67
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
1.2 ผลไม้แปรรูปและอบแห้ง
ตลาดผักและผลไม้แปรรูปในฮ่องกงมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2567 มีมูลค่าตลาด 557 ล้านดอลล่าร์ฮ่องกง (ประมาณ 2,780 ล้านบาท) เติบโตขึ้นร้อยละ 2 เทียบกับปีก่อนหน้า
ด้วยผู้บริโภคในปัจจุบันมีพฤติกรรมรักสุขภาพจึงมีแนวโน้มที่จะเลือกซื้อสินค้าผักและผลไม้สดเพื่อการบริโภคในทันที ทำให้ความต้องการบริโภคผักผลไม้แปรรูปในรูปแบบ Shelf Stable ปรับตัวลดลง แต่ด้วยวิถีชีวิตที่เร่งรีบทำให้มีความต้องการซื้อสินค้าแช่แข็งเพิ่มมากขึ้น โดยตลาดผักผลไม้แช่แข็งกลุ่มพรีเมียมมีแนวโน้มเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยซุปเปอร์มาร์เก็ตพรีเมียมเช่น CitySuper และ MarketPlace กำลังขยายพื้นที่จำหน่ายสินค้าผลไม้แช่แข็ง
แบรนด์ Del Monte เป็นแบรนด์ที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงที่สุดที่ร้อยละ 28.6 รองลงมาเป็น S&W (ร้อยละ 9.2) SELECT (ร้อยละ 8.0) และ Waitrose (ร้อยละ 4.4) ตามลำดับ
ตลาดผลไม้แปรรูปและอบแห้งในฮ่องกงมีแนวโน้มผู้บริโภคหันไปใส่ใจเรื่องสุขภาพเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ผลิตผลไม้แปรรูปปรับรูปกลยุทธ์การผลิตเพื่อสอดคล้องกับเทรนด์เพื่อสุขภาพ เช่น สแน็คบาร์ ขนมขบเคี้ยวผลไม้ คุกกี้และบิสกิต
ภาพรวมค้าปลีกแยกตามชนิดสินค้า ขนมหวาน สแน็คบาร์และ ขนมขบเคี้ยวผลไม้ในฮ่องกง
- ช่องทางการจำหน่าย
ผู้บริโภคชาวฮ่องกงส่วนใหญ่นิยมความสะดวกสบายและเลือกซื้อผักผลไม้และอาหารสด (Fresh Produce) ผ่านช่องทางค้าปลีกสมัยใหม่ ตลาดสด และการสั่งซื้อผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ตามลำดับ
- พฤติกรรมผู้บริโภค
3.1 กลุ่มกระแสรักสุขภาพ เนื่องจากผู้บริโภคมีความตระหนักรู้มากขึ้น โดยเฉพาะความกังวลเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ทำให้ผลไม้สดและแปรรูปที่มีคุณภาพสูงต้องการเพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ผลิต ผู้ค้า ซูเปอร์มาเก็ตสามารถปรับกลยุทธ์เพื่อดึงดูดผู้บริโภคจากกลุ่มนี้
3.2 นิยมตามประเพณี ชาวฮ่องกงและชาวจีนนิยมผลไม้ อาทิ ส้ม องุ่น ส้มเขียวหวาน และส้มโอรูปร่าง (กลม) และสี(ทอง) ผลไม้เหล่านี้สื่อถึงความสมบูรณ์และความมั่งคั่ง รวมถึงเชอร์รี่เป็นผลไม้ยอดนิยมในฮ่องกงในช่วงตรุษจีน แม้ว่าจะไม่ใช่ผลไม้ตามประเพณีของเทศกาลตรุษจีนก็ตาม
3.3 กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนและฮ่องกงที่เดินทางไปประเทศไทยได้มีโอกาสสัมผัสและชิมผลไม้ใหม่จากไทย ทำให้ผลไม้สดจากไทยเป็นที่รู้จักและสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นในฮ่องกง โดยเฉพาะผลไม้สดพร้อมรับประทาน อาทิ มะม่วง น้ำมะพร้าว สับปะรด ชมพู่ มะยมชิด มะขามหวาน
3.4 ความสะดวกในการซื้อของออนไลน์ ผู้บริโภคหันมาสั่งซื้อสินค้าออนไลน์เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว โดยผ่านแพลต์ฟอร์มออนไลน์ อาทิ Food Panda หรือ Keeta ที่ได้รับความนิยมในฮ่องกง
ข้อมูล : รายงาน Hong Kong Market Report บริษัท KANTAR
ด้วยข้อจำกัดด้านสถานที่ทำให้ชาวฮ่องกงไม่กักตุนอาหารสดจำนวนมากไว้ที่ผ่าน และนิยมซื้อผักผลไม้และอาหารสด (Fresh Produce) เป็นประจำเพื่อความสดใหม่ โดยร้อยละ 40 ซื้อสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และร้อยละ 39 ซื้อมากกว่าสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผักผลไม้และอาหารสด (Fresh Produce) ได้แก่ ราคา ฤดูกาลของผลิตภัณฑ์ ส่วนลดพิเศษ และความสะดวกในการรับประทานตามลำดับ
- การขนส่ง
การเลือกรูปแบบการขนส่งที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการขนส่งผลไม้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวเลือกหลักที่มี ได้แก่ รถบรรทุกห้องเย็นและการขนส่งทางอากาศ ซึ่งแต่ละทางเลือกมีข้อได้เปรียบที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภทของผลผลิตและระยะทางในการขนส่ง ซึ่งการขนส่งผลไม้จากไทยมาฮ่องกงมีด้วยกัน 2 วิธี
4.1 การขนส่งทางเรือ
การขนส่งผลไม้สดจากไทยไปฮ่องกงทางเรือมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ผู้ส่งออกจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ อย่างรอบด้าน ทั้งประเภทของผลไม้ ปริมาณการส่งออก ต้นทุน และความต้องการของตลาดปลายทาง เพื่อตัดสินใจเลือกวิธีการขนส่งที่เหมาะสมที่สุด การขนส่งผลไม้สดจากไทยไปฮ่องกงทางเรือมีขั้นตอนสำคัญดังนี้
1) การเตรียมสินค้าคัดเกรดและบรรจุหีบห่อที่เหมาะสมสำหรับการขนส่งทางเรือ
2) การจัดเตรียมเอกสาร ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า, ใบรับรองสุขอนามัยพืชและเอกสารการ ส่งออกอื่นๆ ตามข้อกำหนด
3) การขนส่งไปท่าเรือ ใช้รถห้องเย็นขนส่งจากแหล่งผลิตไปยังท่าเรือ และรับการตรวจสอบจากศุลกากรผ่านพิธีการศุลกากรขาออกที่ท่าเรือไทย
4) การบรรทุกสินค้าบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ควบคุมอุณหภูมิลงเรือ ใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน จากท่าเรือไทยถึงฮ่องกง
5) การนำเข้ามายังฮ่องกง ผ่านพิธีการศุลกากรขาเข้าที่ท่าเรือฮ่องกงตรวจสอบคุณภาพสินค้าโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการกระจายสินค้าส่งต่อไปยังผู้ค้าส่งหรือผู้ค้าปลีกในฮ่องกง
4.2 การขนส่งทางเครื่องบิน
เหมาะสำหรับผลผลิตที่มีความเสี่ยงที่จะเน่าเสียได้ง่าย เช่น ผลไม้ออร์แกนิก หรือผลผลิตที่ต้องใช้ระยะเวลาขนส่งให้สั้นที่สุด แม้ว่าการขนส่งทางเครื่องบินจะมีราคาสูงกว่า แต่การขนส่งทางเครื่องบินจะช่วยลดระยะเวลาในการขนส่งให้สั้นลง ลดโอกาสที่ผลไม้จะเน่าเสีย และสามารถรับประกันได้ว่าผลผลิตที่ขนส่งนั้นจะยังคงสภาพสดใหม่เข้าสู่ตลาดไปจนถึงมือผู้บริโภค การขนส่งทางเครื่องบินมีขั้นตอนสำคัญดังนี้
1) การเตรียมสินค้า บรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับการขนส่งทางอากาศ
2) จัดเตรียมเอกสารสำคัญ เช่น ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า ใบรับรองสุขอนามัยพืช และเอกสารการส่งออกอื่นๆ ตามข้อกำหนด
3) รถห้องเย็นขนส่งจากแหล่งผลิตไปยังสนามบินต้นทางและดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรขาออกที่สนามบิน
4) การบรรทุกสินค้าผลไม้จะถูกบรรทุกในส่วนเก็บสินค้าของเครื่องบินที่ควบคุมอุณหภูมิ ใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมงจากกรุงเทพฯ ถึงฮ่องกง
5) นำเข้าที่ฮ่องกงผ่านพิธีการศุลกากรขาเข้าและตรวจสอบคุณภาพสินค้าและการกระจายสินค้า ส่งต่อไปยังผู้ค้าส่งหรือผู้ค้าปลีกในฮ่องกงอย่างรวดเร็ว
กฎระบียบที่ผู้ส่งออกผลไม้สด/แปรรูปควรทราบ
5.1 กฏระเบียบจากหน่วยงานไทย
(1)ใบรับรองสุขอนามัยพืช (Phytosanitary Certificate) ออกโดยกรมวิชาการเกษตรรับรองว่า ผลไม้ปลอดจากศัตรูพืชและโรคพืชเป็นเอกสารที่ประเทศผู้นำเข้าส่วนใหญ่ต้องการ
(2)ใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม GAP (Good Agricultural Practice) รับรองว่าผลไม้ผลิตจากฟาร์มที่ได้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ออกโดยกรมวิชาการเกษตรหรือหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง
(3)ใบรับรองมาตรฐานโรงคัดบรรจุ GMP (Good Manufacturing Practice) รับรองว่าโรงคัดบรรจุผลไม้ได้มาตรฐานการผลิตที่ดี ออกโดยกรมวิชาการเกษตรหรือหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง
(4)ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) แสดงแหล่งที่มาของผลไม้ ออกโดยกรมการค้าต่างประเทศหรือหอการค้าไทย
5.2 หน่วยงานหลักในฮ่องกงที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบและรับสินค้าสำหรับการนำเข้าผลไม้มีดังนี้
(1)Centre for Food Safety (CFS) – ศูนย์ความปลอดภัยด้านอาหาร เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยของอาหารนำเข้า รวมถึงผลไม้ ทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัย
(2)Food and Environmental Hygiene Department (FEHD) – กรมสุขอนามัยอาหารและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานที่ CFS สังกัดอยู่ ดูแลเรื่องสุขอนามัยและความปลอดภัยของอาหารโดยรวม
(3)Agriculture, Fisheries and Conservation Department (AFCD) – กรมเกษตร ประมง และอนุรักษ์ รับผิดชอบในการตรวจสอบพืชนำเข้าเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคพืช ตรวจสอบใบรับรองสุขอนามัยพืช (Phytosanitary Certificate)
(4)Customs and Excise Department – กรมศุลกากรและสรรพสามิต ดูแลเรื่องพิธีการศุลกากรและการตรวจปล่อยสินค้า
(5)Customs and Excise Department – กรมศุลกากรและสรรพสามิต ดูแลเรื่องพิธีการศุลกากรและการตรวจปล่อยสินค้า
6) ข้อกำหนด/ระเบียบอาหาร ส่วนผสมของสารเติมแต่งในอาหารต้องไม่เกินมาตรฐานที่กำหนดในผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูป ได้แก่
Food Which may Contain Food Additive and the Description and Proportion of Food Additive in Each Case