รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนเมษายน 2566

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
ประจำเดือนเมษายน 2566
***************************************
1. ภาพรวมเศรษฐกิจ/ สถานการณ์สำคัญ
สถานการณ์ภาพรวมเศรษฐกิจของเมียนมาในเดือนเมษายน 2566 รัฐบาลเมียนมาได้ออกกฎหมาย
การวางแผนแห่งชาติปี 2566-2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศเมียนมา
ต่อหัว (GDP Per Capita) มีมูลค่ามากกว่า 2.45 ล้านจ๊าตต่อปี (ประมาณ 29,500 บาท: อัตราแลกเปลี่ยน 83
จ๊าตต่อ 1 บาท) GDP เฉลี่ยของประเทศเมียนมาคาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 400,000 จ๊าตในปีงบประมาณ
2565-2566 ซึ่งรวมอยู่ในกฎหมายการวางแผนแห่งชาติที่ลงนามเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2566 และได้ประกาศ
บังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2566 คาดว่าจะสามารถเพิ่มผลิตภัณฑ์และบริการมวลรวมภายในประเทศเมียนมา
(GDP) ร้อยละ 4.1 โดยในส่วนของภาครัฐจะลงทุนโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศและประชาชน มูลค่า
มากกว่า 8,300 พันล้านจ๊าต
มูลค่าการค้าระหว่างประเทศโดยรวมของเมียนมาในช่วงเดือนเมษายน 2565 – มีนาคม 2566
มีมูลค่า 33,365.697 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยใน
ด้านของการส่งออกมีมูลค่า 16,284.310 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.37 การนำเข้าสินค้าจาก
ต่างประเทศของเมียนมามีมูลค่า 17,081.387 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.20 เมื่อเทียบกับช่วงเวลา
เดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากสถานการณ์ของประเทศเมียนมามีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นทั้งในด้านสถานการณ์
ทางการเมืองและสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งนี้ ในเดือนมีนาคม 2566 เมียนมา
เสียดุลการค้าเป็นมูลค่า 797.077 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่า ในปี 2566 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
ของเมียนมา (GDP) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.49 อัตราเงินเฟ้อในปี 2566 ของเมียนมา มีแนวโน้มอยู่ที่ร้อยละ 6.81
เพิ่มขึ้นจากปี 2565 นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (GDP per Capita) อยู่ที่ระดับ 1,228.54
เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า ดังตาราง
ตารางที่ 1 – เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจเมียนมา
รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนเมษายน 2566

1.2 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบอัตราแลกเปลี่ยนเงินจ๊าตต่อสกุลเงินสำคัญ เม.ย. 65 และ เม.ย. 66

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนเมษายน 2566

จากตารางที่ 2 จะเห็นได้ว่า อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกับเงินสกุลท้องถิ่นเมียนมาจ๊าตมี
ความผันผวน ในช่วงเดือนเมษายนของปี 2566 เงินจ๊าตอ่อนค่าลงต่อทุกสกุลเงินเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน
ของปีที่ผ่านมา โดยค่าเงินจ๊าตอยู่ที่อัตรา 2,100 MMK ต่อ 1 USD เนื่องจากการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนของ
ธนาคารกลางเมียนมา ทั้งนี้ ตลาดแลกเงินนอกระบบมีอัตราที่แตกต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารกลาง
โดยอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ระหว่าง 2,800- 2,850 จ๊าตต่อ 1 USD
กราฟแสดงค่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินเมียนมาจ๊าต (MMK) ต่อ ดอลลาร์สหรัฐ (USD) ช่วงเดือนเมษายน 2566

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนเมษายน 2566

เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2565 ธนาคารกลางเมียนมาได้ประกาศอัตราแลกเปลี่ยนใหม่ โดยมีอัตรา
แลกเปลี่ยนคงที่อยู่ที่ 2,100 MMK ต่อ 1 USD เพื่อให้ใกล้เคียงกับอัตราที่แท้จริงในตลาดแลกเงินท้องถิ่น และเป็น
อัตราคงที่ สําหรับเงินสกุลต่างประเทศอื่นๆ จะมีอัตราแลกเปลี่ยนโดยคำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยน 2,100 จ๊าต
ต่อ 1 ดอลลาร์ ทั้งนี้ ธนาคารกลางเมียนมาจะออกประกาศเพิ่มเติม หากอัตราแลกเปลี่ยนมีการเปลี่ยนแปลง

1.3 ภาวะการลงทุน
1.3.1 มูลค่าการลงทุนตามรายประเทศนักลงทุนสำคัญ
ภาพรวมด้านการลงทุนทางตรงของต่างประเทศในเมียนมา (FDI) ในเดือนเมษายน 2565 – มีนาคม
2566 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเมียนมา (Myanmar Investment Commission : MIC) อนุมัติ
โครงการไปแล้ว คิดเป็นมูลค่า 1,640.667 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังตาราง
ตารางที่ 3 – ประเทศที่มีการลงทุนทางตรง FDI ในเมียนมา เดือนเมษายน 2565 – มีนาคม 2566

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนเมษายน 2566

สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่เคยได้รับอนุญาตสะสม จนถึงปีงบประมาณ 2022-
2023 (ณ เดือนมีนาคม 2566) มีมูลค่าทั้งสิ้น 94,796.876 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่เข้ามาลงทุนใน
เมียนมา สูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ไทย 4) ฮ่องกง และ 5) สหราชอาณาจักร ตามลำดับ
โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 3 มูลค่า 11,609.573 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 12.54 โดยมีโครงการที่ได้รับอนุมัติ
แล้ว จำนวน 154 โครงการ

ตารางที่ 4 – มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่เคยได้รับอนุญาตสะสม จนถึงปีงบประมาณ 2022-2023

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนเมษายน 2566

สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศของโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ
2022-2023 (ณ เดือนมีนาคม 2566) มีมูลค่าทั้งสิ้น 76,075.908 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่ยังคง
ลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ฮ่องกง 4) สหราชอาณาจักร และ 5) ไทย
ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 5 มูลค่า 4,429.539 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 5.99 โดยมีโครงการที่ยัง
ดำเนินการอยู่ จำนวน 104 โครงการ

ตารางที่ 5 – มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2022-2023

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนเมษายน 2566

1.3.2 มูลค่าการลงทุนตามประเภทสาขาการลงทุนที่สำคัญ
ในส่วนของอุตสาหกรรมที่ต่างชาติลงทุนในเมียนมาของปีงบประมาณ 2022- 2023 ระหว่าง
เดือนเมษายน – มีนาคม 2566 ได้แก่ ธุรกิจพลังงาน สัดส่วนร้อยละ 50.00 ธุรกิจบริการ สัดส่วนร้อยละ 30.73
และธุรกิจการผลิต สัดส่วนร้อยละ 16.57 รายละเอียดดังตาราง
ตารางที่ 6 – อุตสาหกรรมที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในเมียนมา
ปีงบประมาณ 2022-2023 (มี.ค. 66)

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนเมษายน 2566

สำหรับสาขาการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2022-2023 สาม
อันดับแรกได้แก่ พลังงาน ร้อยละ 27.08 น้ำมันและแก๊ส ร้อยละ 21.55 และอุตสาหกรรมการผลิต ร้อยละ
15.36
ตารางที่7 สาขาการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2022-2023

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนเมษายน 2566

ตารางที่ 8 – สาขาการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2022-2023

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนเมษายน 2566

2. สถานการณ์การค้า (การนำเข้า-ส่งออก) ของเมียนมา
2.1 สถิติการค้าระหว่างประเทศของเมียนมา
ตารางที่ 9 – มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของเมียนมา (เมษายน – เมษายน 2566)
เปรียบเทียบระหว่าง ปีงบประมาณ 2022-23 และ ปีงบประมาณ 2023-24
รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนเมษายน 2566

ในช่วงเดือนเมษายน 2566 ของปีงบประมาณ 2023-24 ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณของประเทศ
เมียนมา มูลค่าการค้าระหว่างประเทศโดยรวมของเมียนมามีมูลค่า 1,111.881 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ
2.93% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยในด้านของการส่งออกมีมูลค่า 436.515 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ลดลงร้อยละ 36.75 การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศของเมียนมามีมูลค่า 675.366 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 28.59 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ในครึ่งเดือนเมษายน 2566 เมียนมาเสียดุลการค้า
เป็นมูลค่า 238.851 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
2.2 สินค้าส่งออกสำคัญของเมียนมา
ตารางที่ 10 – มูลค่าการส่งออกสินค้าที่สำคัญของเมียนมา (เมษายน 2566

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนเมษายน 2566

2.3 สินค้านำเข้าสำคัญของเมียนมา
ตารางที่ 11 – มูลค่าการนำเข้าสินค้าที่สำคัญของเมียนมา (เมษายน 2566)

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนเมษายน 2566

2.4 สถานการณ์การค้าระหว่างไทย – เมียนมา
ตารางที่ 12 สรุปมูลค่าการค้าระหว่างไทย – เมียนมา

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนเมษายน 2566

เดือนมกราคม – มีนาคม 2566 มูลค่าการค้ารวมระหว่างไทยและเมียนมา รวมทั้งสิ้น 2,105.09
ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 1.08 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยไทยมีการส่งออกไปยังเมียนมาเป็นมูลค่า
1,207.05 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 2.27 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากการส่งออกของไทยไป
ตลาดโลกลดลงร้อยละ 4.46 และการส่งออกไทยไปยังอาเซียนลดลงกว่าร้อยละ 3.92 สำหรับการนำเข้าสินค้าจาก
เมียนมามายังประเทศไทยมีมูลค่า 898.05 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.57 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ไทยได้ดุลการค้าเป็นมูลค่า 309 ล้านเหรียญสหรัฐ
สินค้าที่ไทยส่งออกไปเมียนมา ที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องดื่ม เหล็ก เหล็กกล้าและ
ผลิตภัณฑ์เครื่องเทศและสมุนไพร เคมีภัณฑ์รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ปูนซิเมนต์ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี
และอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบของ
เครื่องจักรกล เป็นต้น
สินค้าที่ไทยนำเข้าจากเมียนมา ที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช สินแร่
โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้
สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์เครื่องจักรไฟฟ้าและ
ส่วนประกอบ กาแฟ ชา เครื่องเทศ และเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เป็นต้น

3. สถานการณ์สำคัญ
3.1 ประธานสภาบริหารแห่งรัฐและนายกรัฐมนตรีอวยพรวันขึ้นปีใหม่เมียนมา
เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่เมียนมา แรม ๑๓ ค่ำ เดือนตะกู จุลศักราช ๑๓๘๕ ซึ่งตรงกับวันที่ 17 เมษายน
2566 ของประเทศเมียนมา ประธานสภาบริหารแห่งรัฐและนายกรัฐมนตรี(พลเอกอาวุโสฯ มินอ่องหล่าย)
ได้กล่าวอวยพรในโอกาสวาระขึ้นปีใหม่แก่ประชาชนชาวเมียนมา โดยกล่าวถึงความเข้มแข็งของชาติ
ให้สามารถเอาชนะความท้าทายทั้งหมดในปีเก่า และช่วยเหลือซึ่งกันและกันของสหภาพฯ ด้วยความสามัคคี
กลมเกลียวกัน
ในช่วงปีที่ผ่านมา สภาบริหารแห่งรัฐที่นำโดยประธานสภาบริหารแห่งรัฐได้ประสบความสำเร็จในการ
แก้ปัญหาเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วยความร่วมมือร่วมใจของรัฐบาล
กองทัพเมียนมา และประชาชน โดยการพยายามสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพสำหรับ
พลเมืองทุกคน และสร้างแนวปฏิบัติด้านสุขภาพที่ดีในระยะยาว รวมถึงให้ความสำคัญกับความมั่นคงทาง
อาหารเป็นสิ่งสำคัญต่อประชาชนทุกคนเพื่อให้มีชีวิตที่สุขภาพแข็งแรง โดยกำหนดเป็นวาระแห่งชาติเพื่อ
ส่งเสริมการผลิตด้านการเกษตรและปศุสัตว์ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานของประชาชนเพื่อ
ก่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร
ประเทศเมียนมาได้เผชิญหน้ากับวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2564 แต่ด้วยความเข้มแข็งภายในประเทศในปี
2565 การผลิตสินค้าก็กลับมาเพิ่มขึ้นได้รวมถึงการเปิดการค้าชายแดนอีกครั้งมีส่วนสนับสนุนต่ออุตสาหกรรม
ที่ดำเนินอยู่และ GDP ของรัฐ เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3 ในด้านการทำให้เศรษฐกิจของประเทศเฟื่องฟูรัฐบาล
มีความจำเป็นต้องส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่มั่นคงยั่งยืนและการส่งเสริมการผลิตในประเทศ ผ่านการส่งเสริม
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และพยายามส่งออกสินค้ามากขึ้น โดยมุ่งหวังการพัฒนาเศรษฐกิจในปี
2566นี้ให้สูงกว่าปีก่อนหน้า ด้วยการร่วมมือของประชนและสหภาพฯที่เป็นเสาหลัก ช่วยเป็นแรงผลักดันใน
การพัฒนาประเทศเมียนมาให้บรรลุถึงเป้าหมาย
นอกจากนี้ ความสงบสุขยังเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างประชาธิปไตยของชาติ ในขณะที่ประเทศเมียนมา
ยังคงเผชิญกับการก่อการร้ายที่ส่งผลทำให้การพัฒนาประเทศเกิดความล่าช้า โดยหากประชาชน
ภายในประเทศพยายามด้วยความชอบธรรมและความซื่อสัตย์เพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติและสหภาพฯ
ประเทศก็จะสามารถพัฒนาก้าวหน้าต่อไปเพื่อบรรลุเป้าหมายได้
ในทำนองเดียวกัน ความสำเร็จของทรัพยากรบุคคลยังขึ้นอยู่กับความรู้และทักษะของบุคคลนั้น
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทรัพยากรบุคคลต้องมีการศึกษา ดังนั้นการยกระดับการศึกษาในโรงเรียนของเด็กวัยเรียนทุก
คนจะทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ ซึ่งทรัพยากรบุคคลต้องมีส่วนร่วมเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ เช่น
การเมือง สังคม และเศรษฐกิจ มีความเป็นผู้นำ และมีความคิดสร้างสรรค์โดยหากร่วมมือร่วมใจปฏิบัติหน้าที่
ในภาคส่วนต่าง ๆ ประเทศชาติก็จะประสบความสำเร็จได้
ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm

3.2 เมียนมาตั้งเป้า GDP เฉลี่ยต่อหัวเท่ากับ 2.45 ล้านจ๊าต (29,500 บาท) ต่อปี
รัฐบาลเมียนมาได้ออกกฎหมายการวางแผนแห่งชาติปี 2566-2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันให้
ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศเมียนมาต่อหัว (GDP Per Capita) มีมูลค่ามากกว่า 2.45 ล้านจ๊าตต่อปี
(ประมาณ 29,500 บาท: อัตราแลกเปลี่ยน 83 จ๊าตต่อ 1 บาท)
GDP เฉลี่ยของประเทศเมียนมาคาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 400,000 จ๊าตในปีงบประมาณ 2565-
2566 ซึ่งรวมอยู่ในกฎหมายการวางแผนแห่งชาติที่ลงนามเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2566 และได้ประกาศบังคับใช้
โดยประธานสภาบริหารแห่งรัฐ นายพลอาวุโส มิน อ่อง หล่าย
กฎหมายการวางแผนแห่งชาติมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2566 คาดว่าจะสามารถเพิ่มผลิตภัณฑ์
และบริการมวลรวมภายในประเทศเมียนมา (GDP) ร้อยละ 4.1 โดยในส่วนของภาครัฐจะลงทุนโครงการที่เป็น
ประโยชน์ต่อประเทศและประชาชน มูลค่ามากกว่า 8,300 พันล้านจ๊าต
ในร่างล่าสุดของกฎหมายการวางแผนแห่งชาติปี 2565-2566 นี้ มีเป้าหมายให้ผลิตภัณฑ์มวลรวม
ภายในประเทศเมียนมาโดยเฉลี่ยของแต่ละบุคคล (GDP ต่อหัว) เพิ่มขึ้นจาก 2,052,528 จ๊าต เป็น 2,222,230
จ๊าตต่อปี
ในกฎหมายการวางแผนแห่งชาติฉบับปัจจุบัน กำหนดอัตราส่วนมวลรวมของภาคเกษตรกรรม
ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ มีมูลค่ารวมของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเมียนมาและบริการต่อปี
สูงขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ร้อยละ 4.8 และร้อยละ 6.7 ตามลำดับ
นอกจากนี้ กฎหมายการวางแผนแห่งชาติระบุไว้ว่า หากรัฐบาลเมียนมาตรวจสอบว่าโครงการใดไม่
ก่อให้เกิดรายได้แก่ประเทศ โครงการนั้นอาจจะถูกปฏิเสธ ระงับ และได้รับการอนุมัติงบประมาณที่น้อยลง
ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)
3.3 เมียนมากำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
ตามกฎหมายเครื่องหมายการค้าที่ประกาศเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2566 ได้กำหนดให้ผู้ขอจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าต้องชำระค่าธรรมเนียมตามประเภทของบริการที่เกี่ยวข้องกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมาย
การค้า
ตามกฎหมายเครื่องหมายการค้า มาตรา 8 บท (j) ค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระตามประเภทของบริการ
การยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามข้อตกลงของรัฐบาลเมียนมา มีอัตราค่าธรรมเนียมดังนี้

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนเมษายน 2566

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนเมษายน 2566

นอกจากนี้ค่าธรรมเนียมสำหรับประเภทของบริการที่เกี่ยวข้องกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมาย
การค้าอาจจะมีการปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)
3.4 เมียนมายกเว้นภาษีศุลกากรให้กับสินค้าที่เกี่ยวข้องกับพลังงานแสงอาทิตย์
กระทรวงการวางแผนและการคลังแห่งเมียนมายกเว้นภาษีศุลกากรสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าพลังงาน
แสงอาทิตย์และส่วนประกอบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประเทศมีพลังงานเพียงพอ โดยอ้างอิงจากมาตรา 7 (A) ของ
กฎหมายภาษีศุลกากร ตามประกาศลงวันที่ 20 เมษายน 2566
สินค้าที่ได้รับการยกเว้น คือ แผงโซลาร์เซลล์ตัวควบคุมประจุพลังงานแสงอาทิตย์อินเวอร์เตอร์
พลังงานแสงอาทิตย์ อินเวอร์เตอร์พลังงานแสงอาทิตย์ในครัวเรือนสำหรับการติดตั้งบนหลังคาและบนพื้นดิน
ระบบการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับในน้ำ ตัวควบคุมพลังงานแสงอาทิตย์และแบตเตอรี่ การประกาศครั้ง
นี้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2566 Yangon Electricity Supply Corporation (YESC) ประกาศว่า มีความ
ประสงค์ที่จะรับซื้อพลังงานส่วนเกินจากระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดเล็กของเอกชน การประกาศ
ดังกล่าวระบุว่า รัฐบาลจะซื้อพลังงานส่วนเกินจากศูนย์การค้า โรงแรม ครัวเรือน โรงงาน และโรงงานในนิคม
อุตสาหกรรมและบนที่ดินส่วนบุคคล ที่ตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดเล็ก หากพลังงานส่วนเกินเชื่อมโยงกับ
ระบบโครงข่ายไฟฟ้าย่างกุ้ง จะมีการเสนอซื้อ 85 จ๊าตต่อ 100 KW ถึง 1 MGW และ 80 จ๊าตต่อ 1 MGW ถึง
10 MGW
นอกจากนี้ YESC ระบุว่า แนวทางทางเทคนิคและข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการเชื่อมโยงกับระบบ
เครือข่ายไฟฟ้าของ YESC จะประกาศให้ทราบเพิ่มเติมต่อไป
ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง
เมษายน 2566

thThai