การซื้อขายค่า CO2 ใน EU จะยากและแพงขึ้น

ในที่สุด สส. สหภาพยุโรปก็ได้ลงคะแนนผ่านการปฏิรูประบบจัดสรรและการซื้อขายสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (EU ETS – European Union Emissions Trading System) หลังจาก สส. จำนวนหนึ่งกลัวว่า คะแนนเสียงจะไม่สามารถทำให้การปฏิรูปกฎหมายด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุดลุล่วงได้ โดยกฎหมายฉบับนี้จะกำหนดค่าการปล่อย CO2 ในแต่ละอุตสาหกรรม และกลุ่มธุรกิจ อย่างการผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นต้น การปฏิรูปนี้ลดปริมาณการปล่อย CO2 ในอนาคตลง และเร็วขึ้น โดยเป้าหมายอยู่ที่ต้องการจะทำให้ภาคอุตสาหกรรมมีค่าการปล่อย CO2 เป็นกลางภายในปี 2050 ให้ได้ นาย Frans Timmermans รองคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป (EU) กล่าวว่า “สหภาพยุโรปจะเป็นแห่งแรกที่จะสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในด้านมาตรการปกป้องสภาพภูมิอากาศ” โดยหลังจากที่กฎหมายฉบับนี้ผ่าน สภาฯ เรียบร้อยแล้วก็ต้องผ่านอุปสรรค์สุดท้ายก็คือ ผ่านการยอมรับของคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป (Council of the European Union) อีกรอบ โดยคณะมนตรีฯ ประกอบไปด้วยตัวแทนของรัฐบาลประเทศสมาชิกนั้นเอง ซึ่งโดยปรกติแล้วหากการลงคะแน่นในรัฐสภาแล้วร่างกฎหมายต่าง ๆ ก็จะได้รับการยอมรับจากคณะมนตรีฯ แต่ล่าสุดเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาก็มีประเด็นอย่างที่แม้ว่าจะมีการตกลงเรื่องการห้ามใช้รถยนต์สันดาป แต่คณะมนตรีฯ เยอรมันก็เปลี่ยนใจไม่ยอมรับร่างดังกล่าวในวินาทีสุดท้าย จนต้องมีการหารือกันเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวอย่างเร่งด่วนอีกครั้งจึงสามารถสรุปข้อตกลงกันใหม่ได้อย่างกระชั้นชิด

นาย Peter Liese ผู้ดูแลด้านข่าวสารของพรรค CDU – Christlich Demokratische Union Deutschlands (พรรคสหภาพคริสต์เตียนเพื่อประชาธิปไตยประเทศเยอรมนี) กล่าวถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับ ETS ว่า “เพื่อที่จะสามารถเป็นอิสระจากรัสเซีย และสามารถรักษาราคาพลังงานในระยะยาวเอาไว้ได้ เราจึงต้องบอกลาแหล่งพลังงานจากฟอสซิลให้เร็วที่สุด และ EU ETS เป็นเครื่องมือที่ดี และมีประสิทธิภาพ” โดย EU ไม่ควรที่จะกลัวการลดตัวอุตสาหกรรม (deindustrialization) แต่ควรที่จะให้ความสำคัญกับการการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (decarbonization) นาย Michael Bloss นักการเมืองด้านสิ่งแวดล้อมของพรรคยุค 90 พันธมิตรสีเขียว (Bündnis 90/Die Grünen) เห็นว่า “สิ่งเหล่านี้จะทำให้เรากลายเป็นตัวอย่างที่ดีของโลก และเป็นวันประวัติศาสตร์ของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นการย้ำว่า ยุคแห่งการทำลายสิ่งแวดล้อมแบบไร้ราคาได้จบลงแล้ว”

EU ETS เป็นตลาดสำหรับการปล่อยค่า Co2 ที่มีการคิดค่าดังกล่าวเป็นตัน และปรับเปลี่ยนตามอุปสงค์และอุปทาน ซึ่งสิ่งนี้ทำให้เกิดการการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในพื้นที่ที่มีราคาถูกที่สุด สำหรับภาคเศรษฐกิจแล้วการอนุรักษ์สภาวะอากาศทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล แต่ ETS นั้นก็ทำให้เงินที่ใช้กับการอนุรักษ์สภาวะอากาศลดค่าการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุด โดย EU จะลดสิทธิ์การค่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงเร็วกว่าที่วางแผนไว้ในอดีต โดยจนถึงปี 2030 ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบสามารถปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เพียง 62% ของค่าที่วัดไว้ในปี 2005 ซึ่งสิ่งนี้เกิดขึ้นได้ผ่านการยกเลิก “ใบรับรอง” ลง 117 ล้านใบ และจำนวนใบรับรองนี้จะลดลงทุกปี ปีละ 4.3% และเปลี่ยนเป็น 4.4% ต่อไป ซึ่งสิ่งนี้เองทำให้ค่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ และทำให้ภาคอุตสาหกรรมต้องเร่งหา และนำเทคโนโลยีที่สะอาดมาใช้ให้งานเร็วขึ้น นอกจากนี้ยังมีการวางแผนที่จะปฏิรูปเรื่องต่าง ๆ อีกเป็นจำนวนมาก ในอนาคตน้ำมันเบนซินและดีเซล รวมไปถึงน้ำมันทำความร้อน และแก๊ส จะมีการบวกค่าการสร้าง CO2 ไว้ด้วย อย่างไรก็ตามราคานี้ก็จะต่ำกว่าที่ภาคอุตสาหกรรมต้องจ่าย ซึ่งน่าจะทำให้ราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลต่อ 1 ลิตรสูงขึ้นอีก 10% โดยประมาณ โดยใน EU เรียกเรื่องดังกล่าวว่า “ETS2” แต่สำหรับผู้ใช้รถยนต์ในเยอรมนีก็ไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรมากนักเพราะมีการเก็บค่าสร้าง CO2 ของน้ำมันเบนซินและดีเซลอยู่แล้ว แต่ผู้ที่จะได้รับผลกระทบน่าจะเป็นบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางที่จนถึงปัจจุบันไม่ต้องเข้าไปอยู่ในระบบ ETS โดยเฉพาะกลุ่มที่ต้องใช้พลังงานทำความร้อนอย่างเช่น ร้านขนมปัง หรืองานช่างต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม EU ก็เตรียมกองทุนไว้ช่วยเหลือผู้ยากไร้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนี้ไว้ด้วย อย่างเช่น การส่งเสริมการปรับปรุงอาคารให้ประหยัดพลังงาน และการสนับสนุนให้ซื้อระบบทำความร้อนที่มีประสิทธิภาพมาใช้งานแทน เป็นต้น โดยกองทุนที่ตั้งไว้ระหว่าง 2026 – 2032 มีมูลค่าสูงถึง 86.7 พันล้านยูโร โดยเงินในกองทุนนี้ส่วนใหญ่มาจากเงินงบประมาณของประเทศสมาชิก และรายได้จาก ETS2

ในอดีตบางอุตสาหกรรมได้รับผลประโยชน์โดยได้รับสิทธิในการสร้าง CO2 โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งสิทธินี้จะลดลงอย่างหนักจนหายไปในที่สุดในปี 2034 ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้ราคาเหล็กกล้า และอลุมิเนียมสูงขึ้นแน่นอน โดยเรื่องที่มีการถกเถียงกันอย่างหนักกับการปฏิรูป ETS นี้ก็คือ การเริ่มใช้งานมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (CBAM – Carbon Border Adjustment Mechanism) ของสหภาพยุโรป โดยสินค้าที่ผลิตนอกสหภาพยุโรปที่มีกระบวนการที่ใช้ CO2 จำนวนมาก และนำสินค้าเหล่านี้มาขำหน่ายในสหภาพยุโรปจะถูกเรียกเก็บเงินเพิ่มเติม จึงมีการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนให้เท่ากับค่าการผลิตคาร์บอนของสินค้าดังกล่าวให้เท่ากับใน EU ขึ้น โดยประเทศคู่ค้าต่างก็ออกมาวิจารณ์ว่า CBAM เป็นมาตรการเชิง Protectionism (ลัทธิการคุ้มครองทางการค้า เป็นนโยบายที่มุ่งปกป้องสินค้า และบริการที่ผลิตภายในประเทศ เพื่อมิให้ถูกแข่งขันจากสินค้าหรือบริการจากต่างประเทศ รัฐบาลจะใช้มาตรการต่างๆ เพื่อกีดกันสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ) ในองค์การการค้าโลก (WTO) ก็มีเสียงออกมากล่าวถึงประเด็นดังกล่าวเช่นกัน อย่างไรก็ตาม EU ก็เห็นว่า สิ่งนี้เป็นเรื่องจำเป็นเพื่อที่จะรักษาอำนาจการแข่งขันของบริษัทใน EU ไว้ และไม่ต้องการให้พวกเขาเสียเปรียบจากคู่แข่งจากประเทศที่สาม อีกเรื่องที่ใหม่ในการปฏิรูป ETS ในครั้งนี้ก็คือ บริษัทเรือเดินสมุทรก็ต้องชำระค่าการสร้าง CO2 โดยจะมีการเก็บค่าการสร้าง CO2 สำหรับเรือเดินสมุทรที่เดินทางเข้าและออกจากท่าเรือยุโรปคิกเป็น 50% ของการค่าการสร้าง CO2 รวมอยู่ด้วย

 

จาก Handelsblatt 12 พฤษภาคม 2566

 

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเบอร์ลิน (Thanit Hirungitrungsri)

thThai