พัฒนาการสินค้ายางพาราในบังกลาเทศ
บังกลาเทศมีการทำสวนยางพาราขนาดใหญ่ในพื้นที่ลาดชันทางภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ (พื้นที่ส่วนที่ติดกับอินเดียและเมียนมาร์) ซึ่งภูมิภาคส่วนนี้ปลูกพืชอย่างอื่นได้ผลน้อย เหมาะสำหรับการปลูกยางพารา ชาและการปลูกป่ามากกว่าการปลูกพืชทั่วไป อย่างไรก็ตาม การทำสวนยางมีกำไรมากกว่าการปลูกป่าและปลูกชาในแง่ของการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเหมาะสม เกิดการจ้างงาน และช่วยให้การจัดการสิ่งแวดล้อมดีขึ้น
ในปี 2495 กรมป่าไม้บังกลาเทศ (ขณะนั้นยังเป็นปากีสถานตะวันออก) ได้นำเมล็ดยางพาราและต้นกล้ายางพารามาจากมาเลเซียและศรีลังกา นำมาปลูกในพื้นที่จิตตะกองและมาธุปูร์ ในปี พ.ศ. 2502 ผู้เชี่ยวชาญด้านยางขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับศักยภาพของการปลูกยางพาราในบังคลาเทศ และได้คำแนะนำให้มีการทดลองปลูก รัฐบาลในขณะนั้นจึงตัดสินใจเปิดการปลูกยางพาราเชิงพาณิชย์ขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2503 บนพื้นที่ 710 เอเคอร์ เป็นโครงการระยะยาว 5 ปี และ ในปี พ.ศ. 2505 ได้ขยายพื้นที่เป็น 3,000 เอเคอร์รวมทั้งได้ตั้งบริษัทพัฒนาอุตสาหกรรมป่าไม้ (ปัจจุบันคือ Bangladesh Forest Industries Development Corporation -BFIDC) ขึ้นมาเป็นหน่วยงานดำเนินการของโครงการ ความสำเร็จของโครงการนำร่องเป็นแรงบันดาลใจให้รัฐบาลดำเนินโครงการระยะยาวอีก 5 ปี ในปี พ.ศ. 2508 เพื่อปลูกยางพาราบนพื้นที่ 10,500 เอเคอร์พร้อมตั้งโรงงานแปรรูปยางพารา
ระหว่างปี พ.ศ. 2503-2517 รัฐบาลได้จัดทำโครงการพัฒนาสวนยางโดยมีการลงทุนเพิ่มเติม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งการปลูกต้นยางใหม่ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการวิจัยและฝึกอบรมเกษตรกร
ระหว่างปี พ.ศ. 2523-2524 รัฐบาลได้วางแผนสร้างสวนยางกว่า 70,000 เอเคอร์ ซึ่งเป็นพื้นที่รกร้าง ซึ่งไม่เหมาะสมสำหรับการผลิตปลูกพืชอาหารและพืชอื่นๆ ซึ่งพื้นที่ 40,000 เอเคอร์เป็นของราชการและที่เหลือเป็นที่ดินของเอกชน โดยเริ่มปลูกกล้ายางพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงตั้งแต่ปี 2523-2524
ในปี 2540 ได้พัฒนาสวนยาง 16 แห่งบนพื้นที่ 32,635 เอเคอร์ในเขตจิตตะกอง ซิลเหต และมาธุปูร์ กล้าไม้ประมาณร้อยละ 80 ของสวนยางที่ BFIDC เลี้ยงนั้นเป็นพันธุ์โคลนนิ่ง RRIM-600 และ PB-235 ของประเทศมาเลเซีย ต้นยางแต่ละต้นให้ผลผลิตยางประมาณ 3 กิโลกรัมต่อปี
ในขณะเดียวกัน ที่ดินทั้งหมด 32,550 เอเคอร์ในเขตเนินเขา Bandarban ได้รับการจัดสรรให้กับบุคคลและองค์กร 1,302 คน (พื้นที่ละ 25 เอเคอร์) เพื่อทำสวนยาง มีการจัดตั้งคณะกรรมการประจำสมาชิก 18 คน โดยมีคณะกรรมการคัดเลือกชาวสวนยางที่มีศักยภาพและจัดสรรที่ดินสำหรับสวนยาง นอกจากนี้ คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่เนินเขาจิตตะกองยังได้พัฒนาสวนยางบนพื้นที่ 13,000 เอเคอร์ บริษัทข้ามชาติต่างๆ องค์กรเอกชน ขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงพื้นที่สวนชา มีสวนยางพารา 20,800 เอเคอร์ (1 เอเคอร์ เท่ากับ 2.53 ไร่)
อายุเฉลี่ยของต้นยางโดยทั่วไปอยู่ที่ 32 ถึง 34 ปี เมื่อหมดระยะเวลาการให้น้ำยางแล้ว ต้นไม้ยางเก่าจะถูกแทนที่ด้วยการปลูกใหม่ ต้นยางให้ไม้ความยาว 5 ถึง 8 ลูกบาศก์ฟุต ยังไม่มีข้อมูลที่แท้จริงเกี่ยวกับการผลิตและการบริโภคไม้ยางพารารวมทั้งจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ไม้ยางในการผลิต
ในบังกลาเทศมีโรงงานที่เกี่ยวข้องกับยางพาราขนาดกลางและขนาดย่อมเกือบ 400 แห่ง โรงงานเหล่านี้ผลิตท่อยางที่ใช้ในพาหนะต่างๆ รองเท้า กระบอก ถัง ปะเก็น ชิ้นส่วนรถยนต์ และชิ้นส่วนเสื้อผ้า ฯลฯ โดยใช้ยางที่ผลิตในท้องถิ่นเป็นวัตถุดิบ และจากไม้ยางพาราที่เคยใช้เป็นฟืนในอดีต ขณะนี้ได้นำมาผลิตเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน เช่น ประตูและหน้าต่างออกจำหน่ายในประเทศ
ภาพรวมตลาด:
บังกลาเทศมีความต้องการยางพาราต่อปีประมาณ 29,037 ตันและมีแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจุบันมีการนําเข้ายางพาราจากต่างประเทศประมาณร้อยละ 24 ของปริมาณความต้องการใช้ทั้งหมด โดยความต้องการนำเข้าและแหล่งนำเข้าขึ้นกับราคาและความต้องการในแต่ละช่วงเวลา บังกลาเทศนำเข้ายางพาราในรูปแบบและประเภทที่แตกต่างกัน เช่น น้ำยางพารา ยางแผ่น ยางแผ่นรมควันและยางแท่ง (ยางแท่ง มีชื่อเรียกโดยสากลว่า Technically specified Natural Rubber หรือ TSR ผลิตภัณฑ์ยางที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีมาตรฐาน สามารถควบคุมสมบัติและคุณภาพได้และง่ายต่อการนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อย่างอื่น) ส่วนใหญ่ผู้นำเข้าที่เป็นโรงงานผลิตยางรถยนต์จะนำเข้ายางแผ่นหรือยางแท่งรมควัน ปัจจุบันบังกลาเทศนิยมนำเข้าจากประเทศเวียดนามเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากราคาต่ำกว่าแหล่งนำเข้าอื่น
การผลิตยางพาราในบังกลาเทศ:
ตามสถิติของ FAO ตั้งแต่ปี 2560-2564 บังกลาเทศผลิตยางพาราได้เฉลี่ยปีละ 22,080 ตัน ปี 2562 ผลิตได้มากสูงที่สุด23,000 ตัน ปี 2563 ผลผลิตลดลงกว่า ร้อยละ 4.78 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 0.46 ในปี 2564
การผลิตยางพาราในบังกลาเทศ
ปี 2560–2564
ปีการผลิต | พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) | ปริมาณผลผลิต (ตัน) | D % |
2560 | 1,312,456 | 21,000 | – |
2561 | 1,405,206 | 22,500 | 7.14 |
2562 | 1,434,544 | 23,000 | 2.22 |
2563 | 1,366,169 | 21,900 | -4.78 |
2564 | 1,372,644 | 22,000 | 0.46 |
Source: FAO Statistics, https://www.fao.org/faostat/en/#data/QCL/visualize
การนําเข้ายางพารา
ในปีงบประมาณ 2563-64 บังกลาเทศนําเข้ายางพาราลดลงร้อยละ 30.23 เป็นปริมาณ 7,037 ตัน เทียบกับปริมาณนำเข้าที่เคยนำเข้าในปีงบประมาณ 2562-63 จำนวน 10,087 ตัน ในส่วนมูลค่าการนําเข้ายางพาราในปีงบประมาณ 2563-64 อยู่ที่ประมาณ 12.56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับ 16.22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2562-63 ลดลงร้อยละ 22.32 มูลค่าการนําเข้าและปริมาณสินค้ายางพาราในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาแสดงในตารางด้านล่าง
ปริมาณมูลค่าการนําเข้าสินค้ายางพาราของบังกลาเทศ
ปีงบประมาณ 2559-64
HS Code 4001
ปี | ปริมาณ (ตัน) | มูลค่า US$ | D ปริมาณ % | D มูลค่า % |
2559 -60 (July–June) | 9,769 | 18,914,539 | 29.24 | 50.63 |
2560 -61 (July–June) | 6,874 | 11,998,636 | -29.63 | -36.56 |
2561 -62 (July–June) | 8,397 | 13,264,641 | 22.17 | 10.55 |
2562-63 (July–June) | 10,087 | 16,224,724 | 20.12 | 22.32 |
2563-64 (July–June) | 7,037 | 12,556,764 | -30.23 | -22.61 |
Source: Bangladesh Bureau of Statistics (BBS)
หมายเหตุ: “มูลค่าเป็น US$” คํานวณจากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยต่อปี อัตราแลกเปลี่ยนต่อ 1 เหรียญสหรัฐฯ เท่ากับ 84.81 ตากา (2563-64), 84.78 ตากา (2562-63) 84.02 ตากา (2561-62), 82.10 ตากา (2560-61),79.12 ตากา (2559-60)
แหล่งนำเข้า:
เวียดนามเป็นซัพพลายเออร์หลักของยางพาราไปยังตลาดบังกลาเทศ มีส่วนแบ่งการตลาดของอยู่ที่ประมาณ ร้อยละ 76.29 ในแง่ของปริมาณและร้อยละ 75.71 ในแง่ของมูลค่า ในปีงบประมาณ 2563-64 เกาหลีใต้เป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่อันดับ 2 ของตลาดยางพาราไปยังตลาดบังกลาเทศ มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ประมาณร้อยละ 8.13 ประเทศไทยครองอันดับ 3 ด้วยปริมาณการนำเข้า 568 ตัน ในปีงบประมาณ 2563-64 ส่วนแบ่งการตลาดยางพาราไทยอยู่ที่ร้อยละ 8.07 ในแง่ของปริมาณและร้อยละ 7.47 ในแง่ของมูลค่า ในปีนั้น ปริมาณและมูลค่าการนำเข้ายางพาราของบังกลาเทศจากแหล่งนำเข้ารายใหญ่แสดงอยู่ในตารางด้านล่าง
ซัพพลายเออร์รายใหญ่สินค้ายางพาราไปยังบังกลาเทศ
ปีงบประมาณ 2563-64
HS Code: 4001
ลำดับ | ประเทศ | ปริมาณ :Tons | มูลค่า : US$ | % ส่วนแบ่งปริมาณ | % ส่วนแบ่งมูลค่า |
1 | Vietnam | 5,369 | 9,507,092 | 76.29 | 75.71 |
2 | South Korea | 572 | 1,091,431 | 8.13 | 8.69 |
3 | Thailand | 568 | 937,971 | 8.07 | 7.47 |
4 | Taiwan | 49 | 113,319 | 0.70 | 0.90 |
5 | Hong Kong | 47 | 157,340 | 0.66 | 1.25 |
6 | China | 23 | 68,178 | 0.33 | 0.54 |
7 | Malaysia | 18 | 41,592 | 0.26 | 0.33 |
Other Countries | 392 | 639,841 | 5.57 | 5.10 | |
Total | 7,037 | 12,556,764 | 100.00 | 100.00 |
Source: Bangladesh Bureau of Statistics (BBS)
นโยบายการนําเข้า:
ยางพาราเป็นสินค้านําเข้าได้อย่างอิสระในบังกลาเทศ บริษัทใดที่มีใบอนุญาตนําเข้าสามารถนําเข้าได้โดยต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานกลางควบคุมการนำเข้าส่งออก (Chief Controller Import and Export (CCI&E)) ซึ่งสังกัดกระทรวงพาณิชย์
อัตราภาษีนําเข้า:
อัตราภาษีของยางพาราอยู่ที่ร้อยละ 15-37 สําหรับปีงบประมาณ 2565-2566 (กรกฎาคมถึงมิถุนายน) รายละเอียดภาษีนำเข้าสินค้าแสดงดังตารางด้านล่าง
ภาษีนำเข้า
สําหรับปีงบประมาณ 2565-2566 (กรกฎาคมถึงมิถุนายน)
HS. Code | Description | CD | SD | VAT | AIT | RD | AT | TTI |
4001.10.00 | Natural rubber latex, in primary forms or in plates, sheets or strips | 10 | 0 | 15 | 5 | 0 | 5 | 37.00 |
4001.21.10 | Smoked sheets imported by Tyre and Tube manufacturers of a rim size >=16″ | 10 | 0 | 15 | 5 | 0 | 5 | 37.00 |
4001.21.90 | Other (Commercial importer and other) | 10 | 0 | 15 | 5 | 0 | 5 | 37.00 |
4001.22.00 | Technically specified natural rubber (TNSSR), in primary forms or in plates, etc | 10 | 0 | 15 | 5 | 0 | 5 | 37.00 |
4001.29.00 | Other natural rubber, in primary forms or in plates, etc. | 10 | 0 | 15 | 5 | 0 | 5 | 37.00 |
4001.30.00 | Balata, gutta-percha, guayule, chicle and similar gums, in primary forms or in plates | 10 | 0 | 0 | 0 | 5 | 0 | 15.00 |
Notes: CD = Custom Duty, AIT =Advance Income Tax, VAT = Value Added Tax , AT=Advance Tax , RD= Regulatory Duty, SD = Supplementary Duty, TTI= Total Tax Incidence.
บทสรุป:
การนําเข้ายางพารามีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในบังกลาเทศ เวียดนามเป็นคู่แข่งของยางพาราของไทยในตลาดนี้ ผู้นําเข้าหลายรายได้ให้ความเห็นว่า หากราคาส่งออกจากไทยสามารถแข่งขันกับคู่แข่งรายอื่นๆ สินค้ายางพาราจากไทยสามารถครองตลาดบังกลาเทศได้ไม่ยากนัก ผู้ส่งออกไทยอาจติดต่อผู้นำเข้าเพื่อเสนอขายสินค้ายางพาราให้กับผู้นำเข้าในบังกลาเทศเพื่อรักษาและขยายตลาดสินค้าชนิดนี้
List of natural rubber importers
Sl. No | Company Name | Address | Remarks |
1 | Meghna Innova Rubber Co. Ltd
|
187-188/B, Tejgaon – Gulshan Link Road, Dhaka 1208, Bangladesh Tel: (880 2) 881 7613 – 4 Email: info@meghnabangladesh.comWeb: www.meghnagroup.com.bdMd. Luthful BariDirector ( Operation )Cell : 01819224164 |
Company produces bicycle tyre & tube for local and international market. Beside this, company also produces tyre & tube of motor cycle Tri-wheeler for local market.
Company imports natural rubber (RSS 1, RSS 3) from Vietnam and Thailand. |
2 | GAZI TYRES | 84-85,water works road,posta,lalbagh, postcode, Dhaka-1211
Tel:+8802 7319714-18 E-mail:ashria@gazi.com web: www.gazi.com. Mr. Gazi Golam Ashria Deputy Managing Director Mr. Asim Kumar Brahma General Manager |
Company is the largest tyre manufacturer in Bangladesh. It imports natural rubber (RS1 & RS3) Vietnam. |
3 | Rupsha Tyres & Chemicals Limited | 11th Floor, House 100, Block F, Road 8,
Banani , Dhaka 1213. Tel: +880-2-9870337 ,9870278 e-mail: info@rupsha.com Web: www.rupsha.com Mr. Md Miraj Rahman |
Company produces bicycle tyres and bicycle tube for local market and sometimes export to India. Requires around 960 tons of natural rubber annually. Imports natural rubber from Vietnam since Vietnam price is lower than Thailand. Company also imports tyre cord from China and Pigment from Singapore. |
4 | East Asian Cox. (Pvt.)Ltd.
( A sister Concern of Apex Husain Group)
|
House No 131, Road No 4, Block – A, Banani , Dhaka-1213, Bangladesh
Tel: +88-02- 55033623-626 FAX: +88-02- 9886551,9884958 E-mail: commercial@apexhusain.com Web: www.apexhusain.com Mr. Mamunur Rahman
|
Imports around 150 tons of synthetic rubber from Korea, Japan & India. Requires 150 tons of natural rubber per month, 80% procured locally and 20% import from Vietnam since Vietnam price is lower than Thailand.
Exports reclaim rubber made from wastage tyre & tube. |
5 | Siraj Cycle
|
73/B, bangshal Road, Dhaka1100
Mob: 01713116220 Email: rio@lioncycle.net Mr. Md. Shamiul Islam Proprietor |
Company produces bicycle tyres and bicycle tube for local market. |
6 | Hussain Polymers | 278/A, Tejgaon Industrial Area.
Dhaka-1208 Mobile: (+88) 01815003617 Email: rtctejgaon@gmail.com Mr. Andalib Hossain Chief Executive
|
Manufacture Rubber products like Rubber Sole for boots, shoes, safety shoes, rubber slipper and sandals. Also manufacture rubber components for industries like – Jute, Textile, Leather, Paper, Garments, Rubber Packing & Seals etc. |
7 | Apex Polymer Group | Apex Centre, (4 th Floor),
39-40/A, Haranath Ghosh Road, (Level-04), Lalbagh, Dhaka-1211, Bangladesh. Tel: +88-02- 9664199, 58616079 Fax: +88-02- 9666518 Email: apexltd@bol-online.com, nrubber@bol-online.com Web: www.apexpolymer.com Mr. Zakir Husain Managing Director |
Apex Polymer Group (Apex
Limited & Northern Rubber Mfg. Co. Ltd.) produces Synthetic Rubber, Natural Rubber Sheet and Natural Rubber Shoe Sole and EVA Sheet.
|
8 | Suntec Tyre Ltd.
(A sister concern of Update Group)
|
10th Floor, Tower Hamlet, 16, Kemal Ataturk Avenue, Banani, Dhaka.Tel: +88 0821 2870228Mob: +88 01713046319Email: zamy@updategroupbd.comWeb: www.updategroupbd.com/suntec-tyre-ltd.php Mr. Ahmad Zami Director |
Company produces two and three wheeler tyres for domestic market. Import 500 tons of natural rubber (NR20) from Vietnam in a year. Import natural rubber from Vietnam since Vietnam price is lower than Thailand.
|
9 | Panama Rubber Industries.
|
109/95 Ali Bahar, Shampur, Dhaka
Mob: +8801713121475 Tel: +88 02 7445058, 7452060 Email: mmalamandco@yahoo.com Mr. Misbah Alam Managing Director
|
Company produces Bicycle tyre and rickshaw tyre for domestic market. Requires 100 tons of natural rubber per month which is procured locally. Company import synthetic rubber from Thailand, Korea and Japan. Interested to import natural rubber from Thailand. |
10 | CEAT AKKHAN LTD
|
Shanta Western Tower, 802 (Level 8), 186 Tejgaon Industrial Area, Dhaka–1208.Tel: +88 028870248-50Email: info@ceatbd.comWeb: www.ceatbd.com |
a joint venture company of CEAT Ltd (India) and A.K. KHAN Co. Ltd. (Bangladesh). Company produces tyre for Motorcycle, car and small commercial vehicle
|
11 | Shakil PVC Polymer and Rubber Industries | 135 Shahid Nagar, 1st lane Lalbagh, Dhaka-1211.
Tel: 9630105, 9614168 Mob: 01715002264 Email:sppari@hotmail.com Web:www.babarshoeind.com Md. Shakil Hossain Managing Director H Mahmud-un-nabi Deputy Managing Director
|
Company is one of the largest footwear manufacturer in Bangladesh. It imports synthetic rubber from India, Malaysia, Korea, china, germany and USA. |
สคต. ณ กรุงธากา
เมษายน 2566