ประเทศจีนมีประวัติศาสตร์การปลูกดอกไม้มายาวนาน ตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเริ่มต้นในช่วงทศวรรษ 1990 และตั้งแต่ปี 2558 สินค้าดอกไม้เริ่มมีการวางจำหน่ายบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ทำให้ไม่ว่าจะเทศกาลใด ๆ ของจีนก็จะมีการวางจำหน่ายดอกไม้ทั่วเมือง เช่น เทศกาลวันแห่งความรัก และวันครู เป็นต้น แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซได้สร้างแนวคิดให้ผู้บริโภคชาวจีน คือ การสนับสนุนให้ชาวจีนเลือกซื้อดอกไม้อย่างน้อย 1 น้อยในทุกสัปดาห์หรือทุกวัน เพื่อกระตุ้นการบริโภคดอกไม้ให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น
- พื้นที่เพาะปลูกดอกไม้
อุตสาหกรรมดอกไม้ในประเทศจีนมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 โดยภายในปี 2553 ประเทศจีนมีพื้นที่เพาะปลูกดอกไม้รวมทั้งสิ้น 764,000 เฮกตาร์ หรือประมาณ 4.775 ล้านไร่ จาก
ข้อมูลพบว่า ประเทศจีนมีตัวเลขพื้นที่เพาะปลูกดอกไม้ที่ค่อนข้างเสถียรภาพตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน สร้างผลผลิตดอกไม้ได้ปริมาณมาก และมีการพัฒนาอุตสาหกรรมดอกไม้ให้มีความทัยสมัยมากขึ้น
ปัจจุบัน ประเทศจีนเป็นฐานการผลิตดอกไม้ที่ใหญ่
ที่สุดในโลก จากข้อมูลจากที่เผยแพร่โดย State Forestry and
Grassland Administration ภายในงานแถลงข่าวงานแสดง
สินค้า China Flower Expo ครั้งที่ 10 เผยว่า ในปี 2563 ที่มี
การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้พื้นที่การเพาะปลูก
ดอกไม้ในประเทศจีนปรับตัวลดลง โดยมีพื้นที่เพาะปลูก
รวมทั้งสิ้น 1,500,000 เฮกตาร์ หรือประมาณ 9.375 ล้านไร่
หลังจากที่สถานการณ์โควิด-19 ได้คลี่คลายลง ในปี 2566 พื้นที่เพาะปลูกดอกไม้ในประเทศจีนรวมทั้งสิ้น1,660,000 เฮกตาร์ หรือ 10.375 ล้านไร่
สำหรับในมณฑลยูนนาน ซึ่งเป็นมณฑลที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมดอกไม้มาอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลของสมาคมดอกไม้จีน สหพันธ์อุตสาหกรรมดอกไม้ยูนนาน กรมวิชาการเกษตรและกิจการชนบทแห่งมณฑลยูนนาน พบว่า ตั้งแต่ปี 2554 – 2565 พื้นที่เพาะปลูกดอกไม้ในมณฑลยูนนานคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 54.16-84.60 ของสัดส่วนพื้นที่เพาะปลูกดอกไม้ทั่วประเทศไทย โดยในปี 2563 พื้นที่เพาะปลูกดอกไม้ในมณฑลยูนนานมีมากกว่าร้อยละ 80 ซึ่งมณฑลยูนนานทำสถิติสัดส่วนพื้นที่เพาะปลูกมากกว่าร้อยละ 80 ติดต่อกัน 3 ปี
- แหล่งผลิตดอกไม้ที่สำคัญ
ประเทศจีนมีแหล่งผลิตดอกไม้ที่สำคัญกระจายอยู่ทั่วประเทศจีน ได้แก่ มณฑลยูนนาน เจียงซู เจ้อเจียง เสฉวน เหอหนาน ชานตง และฝูเจี้ยน เป็นต้น ในจำนวนนี้ มณฑลยูนนานเป็นแหล่งเพาะปลูก/ ผลิตดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของจีน ซึ่งมีดอกไม้ที่มีชื่อเสียง เช่น ดอกกุหลายจากเขตจิ้นหนิง กล้วยไม้ดินของอำเภอซงหมิง ดอกกุหลาบรับประทานได้ของเมืองอานหนิง เป็นต้น โดยดอกไม้ของมณฑลยูนนานแต่ละชนิดมีความโดดเด่นที่แตกต่างกันและมีความสามารถในการแข่งขันทางการตลาดที่แข็งแกร่ง
ด้วยเหตุนี้ มณฑลยูนนานจึงได้กลายเป็นอันดับ 1 ของจีนในแง่ของพื้นที่ปลูกไม้ตัดดอกสด และเป็นมณฑลที่มีการเพาะปลูกไม้ตัดดอกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ดอกไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ดอกกุหลาบ ดอก คาร์เนชัน ดอกลิลลี่ ดอกไลเซนทัส ดอกเยอบีร่า และดอกไฮเดรนเยีย ทั้งนี้ ดอกกุหลาบคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของปริมาณการผลิตไม้ตัดดอกทั้งปีของมณฑลยูนนาน และคิดเป็นร้อยละ 70 ของปริมาณดอกกุหลาบทั่วประเทศจีน ส่วนดอกคาร์เนชันคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณการผลิตไม้ตัดดอกทั้งปีของมณฑลยูนนาน และคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 60 ของปริมาณการผลิตไม้ตัดดอก คาร์เนชันทั่วประเทศจีน นอกจากนี้ ไม้ตัดดอกประเภทอื่น ๆ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20 ของปริมาณ การผลิตไม้ตัดดอกทั่วมณฑลยูนนาน ในขณะเดียวกัน ยูนนานยังเป็นหนึ่งมณฑลที่เป็นฐานการผลิตไม้กระถางและพืชอาบน้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีนอีกด้วย
- มูลค่าตลาดค้าปลีกสินค้าดอกไม้
ประเทศจีนเป็นประเทศผู้ผลิตและบริโภคมากที่สุดของโลก ซึ่งอุตสาหกรรมดอกไม้กลายเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญเป็นอันดับ 2 ในสาขาเกษตรกรรม จากมุมมองของประโยชน์ทางด้านนิเวศวิทยาการปลูกดอกไม้ช่วยส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อมและการปกป้องระบบนิเวศ นอกจากนี้ ยังช่วยให้ประชาชนมีสภาพแวดล้อมที่สวยงามและสร้างความบันเทิงได้อีกด้วย
ในปี 2564 มูลค่าตลาดค้าปลีกสินค้าดอกไม้ของประเทศจีนรวมทั้งสิ้น 220,500 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปี 2563 มูลค่า 187,660 ล้านหยวน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.50 ส่วนในปี 2565 มูลค่าตลาดค้าปลีกสินค้าดอกไม้ของประเทศจีนเท่ากับ 198,680 ล้านหยวน และในปี 2566 เพิ่มขึ้นเป็น 220,000 ล้านหยวน
4.จำนวนบริษัทดอกไม้
ปัจจุบันประเทศจีนมีบริษัทที่ดำเนินธุรกิจดอกไม้รวมทั้งสิ้น 92,535 ราย ซึ่งในช่วงปี 2563 – 2564 มีปริมาณจำนวนบริษัทดอกไม้ลดลง เนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ในอนาคตคาดการณ์ว่าบริษัทดอกไม้ในประเทศจีนจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ความคิดเห็น สคต.
จีนเป็นผู้ผลิตดอกไม้รายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากประเทศเนเธอร์แลนด์ และเป็นผู้ส่งออกดอกไม้ที่สำคัญของโลก ดอกไม้ที่มีการเพาะปลูกมากในประเทศจีน เช่น ดอกกุหลาบ ดอกคาร์เนชัน ดอกลิลลี่ มณฑลยูนนานถือเป็นด่านสำคัญในการส่งออกดอกไม้เข้าสู่ไทย โดยเป็นการส่งออกผ่านด่านโม่ฮานเป็นส่วนใหญ่ จากข้อมูลพบว่า ในปี 2566 จีนส่งออกดอกไม้ผ่านด่าน โม่ฮานเป็นมูลค่ากว่า 150 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.3 ผู้ส่งออกมองว่า เป็นเส้นทางที่สะดวกที่สุดในการขนส่งสินค้าดอกไม้จากจีนมายังไทย และกระจายไปยังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ จีนมีการส่งออกดอกไม้ผ่านการขนส่งทางอากาศบ้างเป็นส่วนน้อย
นอกจากนี้ จีนก็กำลังส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ดอกไม้ โดยเพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทาน พัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีการเพาะปลูก/ การผลิตดอกไม้ เพื่อให้ผู้ประกอบการจีนได้พัฒนาสินค้าดอกไม้ให้มีคุณภาพสูงสุด นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาอุตสาหกรรมดอกไม้ผสมผสานเข้ากับอุตสาหกรรมการค้าอีคอมเมิร์ซ เพื่อผลักดัน การยกดับการซื้อขายดอกไม้ให้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น ผู้ประกอบการไทยที่สนใจนำเข้าสินค้าดอกไม้จากประเทศจีนสามารถหาโอกาสความร่วมมือนำเข้าดอกไม้จากจีนได้ ในขณะเดียวกัน ผู้นำเข้าดอกไม้จากจีนก็สามารถนำเข้าดอกไม้จากไทยได้ ซึ่งจีนมีการนำเข้าดอกกล้วยไม้จากไทยมากที่สุด อย่างไรก็ตาม การทำตลาดสินค้ากับประเทศจีนจะต้องมีการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งด้านสายพันธุ์ ราคา การเพิ่มมูลค่ากล้วยไม้อยู่เสมอ
*****************************************
แหล่งที่มา : https://baijiahao.baidu.com/s?id=1735062252125463639&wfr=spider&for=pc
https://baijiahao.baidu.com/s?id=1763026224787803091&wfr=spider&for=pc
https://www.sohu.com/a/641607768_120700738
สคต. คุนหมิง