นับตั้งแต่สาธารณรัฐเช็กเข้าร่วมสหภาพยุโรปในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2547 มาตรฐานการครองชีพของพลเมืองเช็กโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมาก แซงหน้าหลายประเทศในยุโรปใต้ อย่างไรก็ตาม สาธารณรัฐเช็กยังคงตามหลังยุโรปตะวันตกในแง่ของระดับค่าจ้าง ข้อมูลนี้เป็นไปตามการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจโดยธนาคารออมสินแห่งสาธารณรัฐเช็ก (Česká sporitelna/ Czech Savings Bank) ซึ่งระบุว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริงของสาธารณรัฐเช็ก (GDP) ต่อหัวเพิ่มขึ้นมากกว่า ร้อยละ 40 จาก 480,000 เช็กคราวน์ ในปี พ.ศ. 2547 เป็น 675,000 เช็กคราวน์ ในปีที่ผ่านมา รวมถึงการบริโภคในครัวเรือนโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นกว่า 1 ใน 5 รวมถึงให้ความเห็นว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของสาธารณรัฐเช็กจะแย่ลงหากไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรป ประกอบกับ GDP ต่อหัวในปีที่ผ่านมาจะลดลง 1 ใน 5 หรือลดลงประมาณ 130,000 เช็กคราวน์ และการบริโภคภาคครัวเรือนจะลดลง 1 ใน 3 หรือ 100,000 เช็กคราวน์
โดยรวมแล้ว มาตรฐานการครองชีพของเช็กได้ขยับเข้าใกล้มาตรฐานของยุโรปตะวันตกมากขึ้นในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ในขณะที่การเข้าร่วมสหภาพยุโรป สาธารณรัฐเช็กมี GDP ต่อหัวที่ร้อยละ 80 ของค่าเฉลี่ยของยุโรปในปี พ.ศ. 2566 และ GDP ต่อหัวในด้านความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อสูงถึงร้อยละ 91
สาธารณรัฐเช็กมีมาตรฐานการครองชีพแซงหน้าประเทศต่างๆ เช่น กรีซ โปรตุเกส และสเปน ประกอบกับมีแนวโน้มมาตรฐานการครองชีพเข้าใกล้อิตาลีมากขึ้น อย่างไรก็ตาม บางประเทศที่เข้าร่วมสหภาพยุโรปในเวลาเดียวกันก็เติบโตเร็วขึ้นเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น โปแลนด์ เปลี่ยนจากมาตรฐานการครองชีพที่ร้อยละ 50 ของค่าเฉลี่ยของยุโรป เป็นร้อยละ 80 รวมถึงลิทัวเนียเติบโตจากร้อยละ 43 เป็นร้อยละ 90 ของค่าเฉลี่ยของสหภาพยุโรป
แม้ว่าสาธารณรัฐเช็กจะเข้าใกล้มาตรฐานการครองชีพโดยเฉลี่ยของสหภาพยุโรปมากขึ้น แต่การเพิ่มขึ้นดังกล่าวไม่ได้ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาค Karlovy Vary และ Ústí nad Labem มาตรฐานการครองชีพเติบโตช้ากว่าในพื้นที่ที่เหลือ และเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของสหภาพยุโรป กล่าวโดย David Navrátil นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของธนาคารออมสินแห่งสาธารณรัฐเช็ก
ข้อคิดเห็น/เสนอแนะของ สคต.
จากข้อมูลสถิติตัวเลขทางเศรษฐกิจสาธารณรัฐเช็ก ในปี พ.ศ. 2567 เศรษฐกิจเช็กมีเสถียรภาพมากขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ผลมาจากการเกินดุลการค้าต่างประเทศที่สูง ทำให้ค่าเงินเช็กคราวน์อยู่ที่ 24 เช็กคราวน์ ต่อ 1 ยูโร ประกอบกับรายงานล่าสุดจากสำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยว่าเช็กคราวน์เป็นสกุลเงินเดียวในยุโรปกลางที่จะแข็งค่าขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า เนื่องจากสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาคเผชิญกับความเสี่ยงด้านเสถียรภาพอย่างต่อเนื่อง
สำหรับพื้นฐานการเติบโตที่แข็งแกร่งของสาธารณรัฐเช็ก “เหตุผลหลักคือการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างค่อยเป็นค่อยไปในปีนี้” Jaromír Gec นักเศรษฐศาสตร์ของ Komerční banka กล่าวกับรอยเตอร์ นอกจากนี้ การเกินดุลการค้าต่างประเทศที่สูงยังช่วยสนับสนุนค่าเงินในประเทศในเชิงบวกอีกด้วย ตามข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติเช็กที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2567 การเกินดุลการค้าต่างประเทศในเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 34.6 พันล้านเช็กคราวน์ มากกว่าปีก่อน 19.7 พันล้านเช็กคราวน์ นอกจากนี้ ปัจจัยที่สามารถส่งผลให้ค่าเงินของประเทศแข็งค่า ได้แก่ เศรษฐกิจที่มั่นคงและเติบโต ความต้องการในการส่งออกสูง ธนาคารกลางที่แข็งแกร่งพร้อมนโยบายการเงินที่มีประสิทธิภาพ ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่แข็งแกร่ง เสถียรภาพทางการเมือง อัตราเงินเฟ้อต่ำ อัตราดอกเบี้ยที่น่าดึงดูด และความเชื่อมั่นในสกุลเงินระดับสูงจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าการเลือกตั้งสหรัฐในปี พ.ศ. 2567 อาจส่งผลกระทบต่อทิศทางของค่าเงินนักเศรษฐศาสตร์จากบริษัทการลงทุน Patria Finance และธนาคาร ČSOB บอกกับสื่อเช็ก Seznam Zprávy ว่าหากผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี Donald Trump ชนะการเลือกตั้ง และเพิ่มภาษีในสหภาพยุโรปอีกร้อยละ 10 ก็อาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการส่งออกและการลงทุน ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะเป็นข่าวร้ายสำหรับเงินยูโรและสกุลเงินยุโรปกลางทั้งหมด นอกจากนี้ ชัยชนะของทรัมป์ยังอาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐเพิ่มสูงขึ้น นับเป็นความท้าทายอีกประการหนึ่งสำหรับค่าเงินในอนาคต